Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
ลักษณะของการเรียนรู้
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะที่ค่อนข้างถาวร
เช่นการเปลี่ยนแปลงจากการขับรถยนต์ไม่ได้มาเป็นขับได้
พฤติกรรมมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม
การที่พฤติกรรมก่อนเรียนรู้และหลัง
การเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกัน
ประสบการณ์ที่เป็นปัจจัยหลักที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เช่นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝนและถ้าสามารถใช้เป็น แสดงว่าเกิดการเรียนรู้
ความหมายของการเรียนรู้
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล อันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัส เกิดขึ้นได้โดย
ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ลีลาการเรียนรู้
ความหมายของลีลาการเรียนรู้
พฤติกรรมที่บุคคลนิยมใช้ในการใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้ โดยพฤติกรรมที่บุคคลมักนิยมใช้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ สภาพแวดล้อม กระบวนการทางสติปัญญา ของแต่ละบุคคล
ประเภทของลีลาการเรียนรู้
การรับข้อมูล
-ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพแผนภูมิ แผนผังหรือจากเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราว
-ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างงกายและความรู้สึก เป็นพวกที่เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย จึงสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน
-ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าได้ฟังหรือได้พูดจะไม่สนใจรูปภาพ แต่ชอบฟังเรื่องราวซ้ำ ๆ และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง
การรับรู้และสภาวะของบุคคลขณะที่รับรู้ข้อมูล
V-A-K เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้อ่านได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้ผู้อื่นฟัง เด็กดีที่ขยันเรียนหนังสือ ไม่ชอบเล่นกีฬา
V-K-A เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้ลงมือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ ได้ตั้งคำถามเรื่อย ๆ ชอบทำงานเป็นกลุ่ม
A-K-V เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้สอนคนอื่น ชอบขยายความเวลาเล่าเรื่อง มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียน
A-V-K ความสามารถในการเจรจาติดต่อสื่อสารกับคนอื่น พูดได้ชัดถ้อยชัดคำ พูดจามีเหตุมีผล
K-V-A เรียนได้ดีที่สุดหากได้ทำงานที่ใช้ความคิดในสถานที่เงียบสงบ ทำงานที่ใช้กำลังกายได้ดีไม่ต้องให้ผู้สอนคอยบอก หากฟังผู้สอนพูดมากๆอาจเกิดความสับสนได้
K-A-V เรียนได้ดีหากได้เคลื่อนไหวร่างกายไปด้วย ไม่ชอบอยู่นิง มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียน
ลีลาการเรียนรู้กับลักษณะทางบุคลิกภาพ
แบบแข่งขัน
แบบร่วมมือ
แบบหลบหนี
แบบมีส่วนร่วม
แบบพึ่งผู้อื่น
แบบพึ่งตนเอง
ความสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้มีความสําคัญต่อการมีชีวิตรอด การปรับตัว การอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ ของ Bloom
ด้านทักษะพิสัย
การปฏิบัติที่ซับซ้อน
ปฏิบัติกิจกรรมที่ซับซ้อนขึ้น ไม่ต้องใช้ความคิดเยอะ และทำได้อย่างชำนาญ
การปรับเปลี่ยนปฏิบัติการ
ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติให้เข้ากับสถานการณ์
การปฏิบัติจนเป็นนิสัย
ปฏิบัติเป็นลำดับขั้นได้ อย่างต่อเนื่องและมั่นใจจนชิน
การสร้างปฏิบัติการใหม่
สร้างด้วยตนเอง โดยปรับปรุงจากประสบการณ์
การปฏิบัติตามข้อแนะนํา
ลงมือปฏิบัติการ เพื่อเกิดการเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ
ความพร้อมในการปฏิบัติ
ด้านนสมอง อารมณ์ และร่างกายที่ใช้ปฏิบัติ
การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ใช้ระบบประสาททั้ง 5 ในการรับรู้และแปลความหมายสิ่งที่เจอ
ด้านจิตพิสัย
การเห็นคุณค่า
การที่เชื่อว่าสิ่งนั้นมีคุณค่ากับตัวเองจะชอบสิ่งนั้นมากกว่าสิ่งอื่น และอุทิศตนเพื่อค่านิยมนั้น
การจัดระบบค่านิยม
เมื่อเห็นคุณค่าแล้วจะรวบรวม นำมาเปรียบเทียบจัดลำดับความสำคัญของค่านิยม และกำหนดแนวทางการแสดงออก
การตอบสนอง
เมื่อเกิดความสนใจต่อสิ่งเร้านั้นอย่างเต็มที่ ก็จะตอบสนองความพึงพอใจ
การแสดงออกตามค่านิยม
ค่านิยมนั้น ๆ ทำให้แสดงออกทางพฤติกรรมตามความเชื่อ
การรับรู้
การให้ผู้เรียนได้รับรู้ต่อสิ่งเร้า ทำให้เกิดความสนใจต่อสิ่งเร้านั้น
ด้านพุทธิพิสัย
การวิเคราะห์
การแยกเนื้อหาให้เป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง หรือความสัมพันธ์ในส่วนย่อยนั้น
การนําไปใช้
การนำเอาเนื้อหาสาระ หลักการ ความคิดรวบยอด และทฤษฎีต่าง ๆไปใช้ในรูปแบบใหม่
การสังเคราะห์
จะนำองค์ประกอบหรือส่วนย่อย ๆ นั้นเข้ามารวมกันเป็นรูปแบบต่าง ๆ แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
การประเมินค่า
การตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้หลักการแห่งเหตุผลภายในหรือเกณฑ์มาตรฐานมาใช้ในการตัดสินใจ
ความรู้ความจํา
จดจำหรือระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือมีประสบการณ์ไปแล้ว
ความเข้าใจ
การเข้าใจความหมายของเนื้อหาสาระ
Anderson and Krathwohl
จำ
เข้าใจ
ประยุกต์ใช้
วิเคราะห์
ประเมินค่า
คิดสร้างสรรค์
องค์ประกอบของการเรียนรู้
แรงขับ
ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลเป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง
สิ่งเร้า
เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เป็นตัวการที่ทําให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
การเสริมแรง
การให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่ม
พลังให้เกิดการเชื่อมโยง
การตอบสนอง
ปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคล
ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
กระบวนการเกิดการเรียนรู้
การเข้าใจ
การที่ผู้เรียนสามารถแปลความหมาย ตีความหรือสรุปความสำคัญในสิ่งที่รับรู้ได้ และสามารถอธิบายโดยให้เหตุผลประกอบด้วย
การปรับเปลี่ยน
การที่ผู้เรียนนำความเข้าใจที่เกิดจากการรับรู้มาสร้างแบบแผนพฤติกรรมของตนขึ้น
การรับรู้
การที่ผู้เรียนได้รับข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ผู้สอน
ความพร้อม
สภาพความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจที่พร้อมจะตอบสนองต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ความต้องการ
คนเราเรียนรู้ความต้องการจากสังคม ความต้องการจึงถูกก่อตัวและพัฒนามาตลอดช่วงชีวิต
-ความต้องการความสําเร็จ ต้องการที่จะทํางานได้ดีขึ้น
-ความต้องการอํานาจ ต้องการที่จะมีส่วนควบคุม
-ความต้องการความผูกพัน ต้องการที่จะรักษาความสัมพันธ์
อารมณ์และการปรับตัว
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าภายในหรือสิ่งเร้าภายนอก
การจูงใจ
การกระตุ้นหรือล่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นด้วยสิ่งเร้าใด ๆ
การเสริมแรง
การทําให้ผู้ทําพฤติกรรมเกิดความพึงพอใจ
แรงขับ
เแรงผลักดันที่เกิดในร่างกาย เพื่อให้แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ทัศนคติและความสนใจ
ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สอนต้องศึกษาความความสนใจของผู้เรียน จัดสภาพห้องเรียนให้น่าสนใจ
การเกิดมโนภาพ
เข้าใจประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้
การจํา
สะสมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้จากการเรียนรู้ แล้วสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปของการระลึกได้
บทเรียน
ความยากง่ายของบทเรียน
บทเรียนที่ง่ายจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เร็วกว่าบทเรียนที่ยาก
ความสั้นยาวของบทเรียน
บทเรียนที่มีความยาวมาก ๆ ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ช้ากว่าบทเรียนสั้น ๆ
การมีความหมายของบทเรียน
บทเรียนมีความหมายต่อผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าบทเรียนที่ไม่มีความหมาย เพราะจะช่วยทำให้ผู้เรียนเข้าใจองค์ความรู้ได้อย่างดี
ผู้เรียน
ประสบการณ์เดิม
บุคคลที่มีประสบการณ์มากจะช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้เร็วและดีกว่าผู้ที่มีประสบการณ์น้อย
อายุ
ยิ่งอายุมากขึ้นความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคลจะยิ่งลดลง
ความพร้อม
เมื่อสภาพของ บุคคลมีวุฒิภาวะ มีความสนใจและประสบการณ์เดิมเพียงพอที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี จึงเรียกได้ว่ามี ความพร้อมที่จะเรียนรู้
ระดับสติปัญญา
ผู้มีระดับสติปัญญาสูงจะมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดีกว่าผู้ที่มีระดับสติปัญญาต่ำ
วุฒิภาวะ
คำนึงถึงการเจริญเติบโตสูงสุดในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่บุคคลมีความพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เหมาะสมกับวัย
อารมณ์
ผู้ที่มีอารมณ์ปกติจะสามารถรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีอารมณ์ไม่มั่งคง
สภาพร่างกาย
ผู้ที่มีสภาพร่างกายปกติก็จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
แรงจูงใจ
การเรียนรู้จะประสบผลดีถ้าบุคคลมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ และจะไม่ประสบผลเท่าที่ควรถ้าบุคคลขาดแรงจูงใจในการเรียน
ความถนัด
ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนถนัด ก็ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น แต่ถ้าผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนไม่ถนัดก็อาจทำการเรียนรู้เกิดขึ้นช้าลงได้
สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
สิ่งที่สามารถรับรู้สัมผัสจับต้องได้ ที่อยู่รอบตัวของผู้เรียน
สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา
บรรยากาศในห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
วิธีการเรียนรู้
การใช้เครื่องล่อใจ
การให้รางวัล การแข่งขัน เป็นต้น จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความปรารถนาที่จะเรียนและสนใจในการเรียนดีขึ้น
การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียน
การโยงความสัมพันธ์ของประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็วถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม
การแนะแนวในการเรียน
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ดีขึ้น ถ้าได้รับการแนะแนวที่ถูกต้อง
ช่วงเวลาในการเรียน
ถ้าจัดให้ผู้เรียนได้เรียนในช่วงก่อนพักกลางวัน จะช่วยให้เรียนรู้ได้ดีกว่าเรียนในตอนบ่าย
การฝึกฝน
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้ว มีโอกาสฝึกฝนหรือกระทำซ้ำๆ อยู่เสมอจะทำให้การเรียนรู้สิ่งนั้นมีความมั่นคงถาวรขึ้น