Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหลากหลายของพรรณไม้หอม ในพื้นที่หุบเขาลำพญา ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา…
ความหลากหลายของพรรณไม้หอม
ในพื้นที่หุบเขาลำพญา
ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ที่มาและความสำคัญ
พรรณไม้หอมเป็นพืชกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญทางศิลปวัฒนธรรมไทยมากกลุ่มหนึ่ง มีความผูกพันกับคนไทยมายาวนานในวรรณกรรมหลายยุคหลายสมัยที่กล่าวถึงพรรณไม้หอมอยู่เสมอ พรรณไม้หอมหลายชนิดนอกจากให้ดอกหรือเนื้อไม้หอมชื่นใจแล้ว ยังเป็นสมุนไพรใช้ผสมยารักษาสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ และใช้เนื้อไม้ทำเครื่องใช้และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ได้อีกด้วย
บริเวณหุบเขาลำพญานี้เป็นพื้นที่ที่มีการกล่าวถึงในอดีตว่า มีความหลากหลายของสมุนไพรและพรรณไม้นานาชนิดเป็นอย่างมาก สภาพโดยรวมของพื้นที่เป็นป่าดงดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความสูงโดยเฉลี่ย 50-700 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีลำธาร น้ำตกและที่ลุ่มน้ำขังขนาดเล็กพบกระจายอยู่ทั่วไป บริเวณยอดเขาเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่มีความอุดมสมบูรณจากความอุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นของพื้นที่และระบบนิเวศที่หลากหลาย ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะพรรณไม้ทั้งที่เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และพืชอิงอาศัยจำนวนมาก
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้หอมในพื้นที่หุบเขาลำพญา จังหวัดยะลา
เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากพรรณไม้หอมในพื้นที่หุบเขาลำพญา จังหวัดยะลา
ผลการศึกษา
ผลการศึกษาพบพรรณไม้หอม 16 วงศ์48 สกุล 60 ชนิด วงศ์ANNONACEAE พบมากที่สุด คือ 13 สกุล 21 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ ORCHIDACEAE พบ 13 สกุล 16 ชนิด วงศ์APOCYNACEAE พบ 4 สกุล 4 ชนิด วงศ์ MAGNOLIACEAE พบ 2 สกุล 3 ชนิด ส่วนวงศ์DILLENIACEAE วงศ์LEGUMINOSAE วงศ์RUBIACEAE และวงศ์RUTACEAE พบ 2 สกุล 2 ชนิดเท่ากัน และพบ เพียง 1 สกุล 1 ชนิดต่อวงศ์ ได้แก่ วงศ์ ARACEAE คือ เดหลีใบกล้วย(Spathiphyllum cannifolium (Dryand.) Schott) วงศ์ CAESALPINIACEAE คือ โสกน้ำ (Saraca indica L.) วงศ์ COMBRETACEAE คือ เล็บมือนาง (Quisqualis indica L.) วงศ์ LECYTHIDACEAEคือ สาละลังกา (Couroupita guianensis Aubl.) วงศ์ OLEACEAE คือ มะลิซ้อน (Jasminum sambac (L.) Ait.G. Duke of Tuscany) วงศ์ ROSACEAE คือ กุหลาบมอญ (Rosa damascena Mill.) วงศ์ SAPOTACEAE คือ พิกุล (Mimusops elengi L.) และวงศ์ DIPTEROCARPACEAE คือ จันทร์กะพ้อ (Vatica diospyroides Symington)
พืชวงศ์ANNONACEAE
เดหลีใบกล้วย
กุหลาบมอญ
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ศึกษาลักษณะทางสัณฐานของพรรณไม้ที่เก็บมาอย่างละเอียด
จัดทำคำบรรยายลักษณะของพรรณไม้แต่ละชนิดที่เก็บรวบรวมมา
ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้หอมโดยใช้รูปวิธานจากเอกสารทางพฤกษอนุกรมวิธานพืชที่เกี่ยวข้องกับพรรณไม้ในประเทศไทยและภูมิภาคนี้ รวมทั้งตรวจสอบชื่อพื้นเมือง โดยยึดถือตามชื่อที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ “ชื่อพรรณไม้เมืองไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง)” (เต็ม, 2544)
ตัวอย่างพรรณไม้ที่ศึกษา นำมาจัดเป็นตัวอย่างแห้งตามวิธีมาตรฐานในการทำHerbarium specimen เก็บรักษาไว้ณ ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ศึกษาศักยภาพเพื่อการพัฒนาไปเป็นพรรณไม้หอม ไม้ดอกไม้ประดับทางการค้า
ศึกษารูปแบบการจัดทำฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้ เพื่อสนองพระดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ
สรุปผลการศึกษา
ชนิดของพรรณไม้หอม ผลการสำรวจชนิดของพรรณไม้หอม กรณีศึกษาไม้ดอกหอม พบทั้งหมด 16 วงศ์48 สกุล 60 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ ANNONACEAE พบ 13 สกุล 21ชนิด รองลงมาคือวงศ์ORCHIDACEAE พบ 13 สกุล 16 ชนิด วงศ์ APOCYNACEAE พบ 4 สกุล 4ชนิด วงศ์ MAGNOLIACEAE พบ 2 สกุล 3 ชนิด ส่วนวงศ์ DILLENIACEAE วงศ์LEGUMINOSAE วงศ์RUBIACEAE และวงศ์RUTACEAE พบ 2 สกุล 2 ชนิดเท่ากัน และพบเพียง 1 สกุล 1 ชนิดต่อวงศ์ได้แก่ วงศ์ARACEAE วงศ์ CAESALPINIACEAE วงศ์ COMBRETACEAE วงศ์ DIPTEROCARPACEAE วงศ์ LECYTHIDACEAE วงศ์ OLEACEAE วงศ์ ROSACEAE และวงศ์ SAPOTACEAE
พรรณไม้ดอกหอมที่พบจากการศึกษาครั้งนี้ เมื่อจัดจำแนกกลุ่มตามลักษณะวิสัยของพรรณไม้หอมมี 11 กลุ่ม โดยยึดหลักการจัดพืชตามหนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (2544) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
4 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้เถามาจากต่างประเทศ (ExC) พบ 1 ชนิด
5 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้ล้มลุกมาจากต่างประเทศ (ExH) พบ 1 ชนิด
6 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้พุ่ม (S) พบ 3 ชนิด
7 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง (S/ST) พบ 2 ชนิด
8 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้รอเลื้อย (ScanS) พบ 4 ชนิด
9 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้ต้นขนาดกลาง(ST) พบ 8 ชนิด
10 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ (T) พบ 11 ชนิด
11 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นกล้วยไม้ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินหรือก้อนหิน (TerO) พบ 3 ชนิด
2 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นกล้วยไม้ที่ลำต้นทอดเลื้อยไปตามดิน หิน หรือลำต้นไม้อื่นและมีรากเกิดขึ้นตามส่วนที่เกาะนั้น (CrO) พบ 2 ชนิด
3 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น (EO) พบ11ชนิด
1 พรรณไม้หอมที่จัดเป็นไม้เถา (C) พบ 12 ชนิด
พรรณไม้หอมที่เป็นไม้เถา พบจำนวนชนิดมากที่สุด คือ 12 ชนิด รองลงมาเป็นกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น และไม้ต้นขนาดใหญ่ พบกลุ่มละ 11 ชนิด ไม้ต้นขนาดกลาง พบ 8 ชนิด ไม้รอเลื้อย พบ 4 ชนิด ไม้พุ่ม พบ 3 ชนิด กล้วยไม้ที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินหรือก้อนหิน พบ 3 ชนิด กล้วยไม้ที่ลำต้นทอดเลื้อยไปตามดิน หิน หรือลำต้นไม้อื่นและมีรากเกิดขึ้นตามส่วนที่เกาะ พบ 2 ชนิด ไม้พุ่มขนาดกลาง พบ 2 ชนิดและกลุ่มที่พบเพียง 1 ชนิด คือ ไม้เถามาจากต่างประเทศ และไม้ล้มลุกมาจากต่างประเทศ
นางสาวกาญจนา แป้นจันทร์ 611120422
โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป