Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไต ( kidney ) - Coggle Diagram
ไต ( kidney )
ความสามารถของไต
ไตสามารถรับเลือดได้ถึง 25% ของปริมาณเลือดทั้งหมดที่ปั๊มออกมาจากหัวใจ คำนวณแล้วได้ประมาณ นาทีละ 1000 ml
ซึ่งในเลือด 1000 ml จะมีของเหลวที่ไม่รวมเม็ดเลือดต่างๆเรียกว่า พลาสมา (plasma) อยู่ถึง 60% หมายถึง จะมีปริมาตรพลาสมาที่ไหลเข้าหน่วยไตนาทีละ 600 ml
พลาสมา 600 ml นั้นผ่านการกรองออกมา 20% ได้สิ่งที่เรียกว่า “ปริมาตรการกรองในหน่วยไตส่วนต้น” (Glomerular filtration rate, GFR) คือ 120 ml ต่อ นาที ซึ่งทางการแพทย์จะใช้ GFR นี ในการอ้างอิงการทำงานของไตโดยรวม
แต่ถึงจะกรองออกมาสู่หน่วยไตส่วนต้น 120 ml ร่างกายจะมีการดูดกลับสารต่างๆและน้ำที่ผ่านออกมานี้ ผ่านระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน จนเหลือปัสสาวะเพียงแค่ 1 ml ต่อนาที หรือ ชั่วโมงละ 60 ml โดยประมาณ
โรคที่เกี่ยวกับไต
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
อาการ
มีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 มิลลิลิตรต่อวัน อย่างทันทีทันใดหรือไม่มีปัสสาวะออกเลย มีของเสียคั่ง (Blood urea nitrogen และ Creatinine สูง) ทำให้มีอาการของภาวะยูรีเมีย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เยื่อบุช่องปากอักเสบ ท้องผูก ท้องเสีย เลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึม ชัก หรือไม่รู้สึกตัว มีภาวะเป็นกรดจากการเผาผลาญ (Metabolic acidosis) ทำให้มีอาการหายใจเร็วลึก (Kussmaul's respiration) บวม อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ปอดบวมน้ำ มีโปแตสเซียมในเลือดสูง โซเดียมในเลือดต่ำ เมื่อพ้นระยะ 2 สัปดาห์แล้ว ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะออกมากขึ้น และเข้าสู่ภาวะปกติ
พยาธิสภาพ
Intrarenal failure; Intrinsic renal failure; Parenchymal renal failure ทำให้ตัวกรองของไตเสียหน้าที่ และแบ่งเป็น Nephrotoxic, Inflammatory หรือ Ischemic
Postrenal failure เกิดจากการอุดตันของปัสสาวะจากไตทั้งสองข้างซึ่งนำไปสู่ Postrenal failure สาเหตุอาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะ (Bladder) ท่อไต (Ureters) ท่อปัสสาวะ (Urethra) ซึ่งการอุดตันของกระเพาะปัสสาวะเป็นผลมาจากการใช้ยาต้านโคลิเนอร์จิก ระบบประสาทอัตโนมัติเสียหน้าที่ ติดเชื้อ มีก้อนเนื้องอก ท่อไตอุดตันทำให้ปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะน้อยลงซึ่งเกิดจากมีก้อนเลือดอุดตัน มีนิ่ว บวมหรืออักเสบ มีเนื้อตายที่ไต มีพังผืดหรือมีเลือดออกด้านหลังเยื่อบุช่องท้อง การผ่าตัดก้อนเนื้องอกหรือผลึกของกรดยูริก การอุดตันจากท่อปัสสาวะเกิดจากก้อนเนื้องอกหรือมีการตีบแคบ ไตวายทั้งสามชนิดนี้จะมีปัสสาวะน้อย (Oliguric phase) มีปัสสาวะน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ 400 มิลลิลิตรต่อวัน 2-3 วันต่อสัปดาห์ ระดับยูเรีย ครีอะตินิน และยูริกในซีรัมสูง การเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ มีอาการท่อไตและเซลล์ภายในบวมปัสสาวะมาก (Diuretic phase) ระยะนี้ไม่สามารถเก็บโซเดียมและน้ำไว้ มีอาการปัสสาวะมากกว่า 400 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมง เป็นสาเหตุให้ขาดน้ำและเสียสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในเลือด มี BUN สูง ต่อมามีการสูญเสียโปแตสเซียม โซเดียม และน้ำ ระยะนี้อาจมีอาการเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ และระยะฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิม (Recovery phase) หากระยะถ่ายปัสสาวะมากได้รับการแก้ไข อาการจะดีขึ้นกลับสู่ภาวะปกติหรือไตมีหน้าที่ใกล้เคียงกับปกติมากกว่า 3-12 เดือน
- Prerenal failure เกิดขึ้นตามมาเมื่อมีเลือดไปเลี้ยงไตลดลง เช่น ภาวะปริมาตรเลือดลดลง ความดันเลือดต่ำ หลอดเลือดหดตัว หรือเลือดที่บีบออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกายไม่พียงพอ ภาวะเลือดเป็นพิษเนื่องจากมีไนโตรเจนหรือมียูเรียในเลือดหรือมีของเสียไนโตรเจนสูงในเลือด (Azotemia) เมื่อเลือดไปเลี้ยงไตถูกขัดขวาง ทำให้นำออกซิเจนและขาดเลือดทำให้ไตเสียหน้าที่ ท่อไตมีออกซิเจนไปเลี้ยงลดลง Azotemia เป็นผลที่ตามมาของเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ทำให้อัตราการกรองของหน่วยกรองปัสสาวะ (Glomerular filtration rate; GFR) ลดลง และเพิ่มการดูดซึมโซเดียมและน้ำของท่อไต ซึ่ง GFR ที่ลดลง เป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์และภาวะเลือดเป็นกรดเนื่องจากความผิดปกติของการเผาผลาญสารอาหาร
-
ความหมาย
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury) คือภาวะที่ไตทำงานลดลงซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ววนระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ทำให้ไตไม่สามารถขับของเสียออกไปได้และไม่สามารถรักษาสมดุลของสารน้ำ เกลือแร่ และความเป็นกรดด่างในเลือดได้
ระยะของไตวายเฉียบพลัน
ระยะของไตวายเฉียบพลัน
ภาวะ AKI หมายถึง ภาวะท่ีมีการสูญเสียการทํางานของไตโดยวัดจากการลดลงของ GFR อ้างอิงตามเกณฑ์ การวินิจฉัย acute renal failure ที่เรียกว่า RIFLE criteria ประกอบด้วย 5 ระยะดังน้ี
ระยะที่ 3 Failure เป็นระยะที่มีการเพิ่มของระดับซีรัมครีเอตินินในเลือดมากกว่า 3 เท่าของระดับปกติ หรือมีระดับซีรัมครีเอตินินมากกว่า 4 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือมีการเพ่ิมระดับซีรัมครีเอตินินมากกว่า 0.5 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร หรือมีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 0.3 มิลลิลิตร ต่อน้ําหนักกิโลกรัมต่อชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 24 ช่ัวโมง หรือไม่มีปัสสาวะในเวลา 12 ช่ัวโมง
-
ระยะที่ 2 Injuryเป็นระยะที่มีการเพิ่มของระดับซีรมัครเีอตินินในเลอืดมากกว่า2เท่าของระดับปกติหรือ มีการลดลงของ GFR มากกว่าร้อยละ 50 หรือมีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 0.5 มิลลิลิตร ต่อน้ําหนักกิโลกรัมต่อชั่วโมง ติดต่อกันมากกว่า 12 ช่ัวโมง
ระยะที่ 5 ระยะ End stage kidney disease: ESKD คือ เป็นระยะที่มีการสญู เสียของไต กลา่ วคืออาการ ไตวายเฉียบพลัน เป็นระยะเวลาตดิ ต่อกันมากกว่า 3 เดือน
ระยะที่ 1 ระยะเสี่ยง (Risk) เป็นระยะที่มีการเพิ่มของระดับซีรัมครีเอตินินในเลือดมากกว่า 1.5 เท่าของ ระดับปกติ หรือมีการลดลงของ GFR มากกว่าร้อยละ 25 หรือมีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 0.5 มิลลิลิตร ต่อน้ําหนัก กิโลกรัมต่อช่ัวโมง ติดต่อกันมากกว่า 6 ชั่วโมง
การวินิจฉัยโรค
มีการเสียเลือด มีการทำลายของเม็ดเลือดแดง กล้ามเนื้อถูกทำลาย มีนิวอุดตันทางเดินปัสสาวะ จากการตรวจร่างกายพบหลอดเลือดดำที่คอโป่ง มีอาการหอบเหนื่อยคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร มีเลือดออกในทางเดินอาหารกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการสับสน หรือชัก
-
ตรวจเลือดจะพบค่า Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr) สูงกว่าปกติ BUN : CI = 10: 1 หรือต่ำกว่าค่าอิเล็กโทรไลต์พบค่า HCO ต่ำ
ตรวจจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count, CBC) พบระดับฮีมาโตคริทและระดับฮีโมโกลบินต่ำ
อาจวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ทรวงอกพบภาวะน้ำเกินหัวใจล้มเหลว ปอดบวมน้ำ ตรวจอัลตราซาวนด์ดูขนาดของไตและการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ
ภาวะไตวายเรื้อรัง
สาเหตุ
- โรคติดเชื้อ เช่น กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic pyelonephritis) , ไตอักเสบ (Glomerulonephritis)
- การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ เนื้องอก
- ความผิดปกติของหลอดเลือด โรคที่ทําให้หลอดเลือดไปเลี้ยงที่ไตตีบแคบ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
- ความผิดปกติทางอิมมูน เช่น SLE , Polyateritis , systemic sclerosis
- สารพิษ เช่น สารเคมี ยาฆ่าแมลง เห็ดที่เป็นพิษ สารโลหะหนัก ยาแก้ปวด
- โรคทางกรรมพันธ์ เช่น Polycystic Kidney และ Medullary cystic diseas
พยาธิสภาพ
เมื่อหน่วยไต (Nephron) ถูกทำลายจะทำให้ความสามารถในการขจัดของเสียออกจากเลือดลดลงหรืออัตราการกรองของหน่วยกรองปัสสาวะ (Glomerular filtration rate; GFR) ลดลง ปกติ GFR = 125 มิลลิลิตร / นาทีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจะมี GFR เป็นร้อยละ 35-50 ของปกติ หากผู้ป่วยมี GFR <10-20 มิลลิลิตร / นาทีหรือ GFR น้อยกว่าร้อยละ 10 ของปกติซึ่งหมายถึงหน่วยไตสูญเสียการทำหน้าที่ไปมากกว่าร้อยละ 85 หรือเรียกว่าไตวายระยะสุดท้ายผู้ป่วยในระยะนี้จะมีการคั่งของของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนทำให้ Blood urea nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) ในเลือดสูงขึ้น เรียกว่าภาวะยูรีเมีย (Uremia)
ความหมาย
ภาวะไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure; CRF) หรือปัจจุบันนิยมใช้คําว่า Chronic kidney disease; CKD เป็น ภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่การทํางานของไตอย่างช้าๆ โดยไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ ผู้ป่วยจะแสดงอาการไตวาย ต่อเมื่อหน่วยไต (nephron) เสียไปมากกว่าร้อยละ 60-80 ทําให้ไตไม่สามารถรักษาสมดลุ ของน้ำอิเล็คโตรลัยต์ ภาวะกรด ด่าง และขับของเสียออกได้ตามปกติเป็นผลให้มีของเสียคั่งเกิดภาวะuremiaจะต้องแก้ไขโดยการทํา dialysis หรือผ่าตัด เปลี่ยนไต ซึ่งสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้กําหนดวา่ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังหมายถึงผู้ป่วยทมี่ีลักษณะอย่างใด อย่างหนงึ่ ใน 2 ข้อต่อไปนี้
- ผู้ป่วยที่มีภาวะไตผิดปกตินานตดิตอ่กันเกิน 3 เดือนทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจจะมีอัตรากรองของไต (Glomerular filtration rate; GFR) ผิดปกติ หรือไม่ก็ได้
- ผู้ป่วยที่มี GFR น้อยกว่า 60 mL/min/1.73m2 ติดต่อกนั เกิน 3 เดือน โดยที่อาจจะตรวจพบหรือ ไม่พบว่ามรี่องรอยของไตผิดปกติก็ได้
อาการ
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอาจอาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย - ตัวซีด โลหิตจาง - คันตามตัว - อาจมีอาการชัก สมองหยุดทำงาน และหมดสติ - เป็นหมัน และหมดสมรรถภาพทางเพศ - มีอาการบวมบริเวณรอบดวงตา เท้า และท้อง โดยจะเป็นรอยบุ๋มเมื่อออกแรงกด - ประจำเดือนขาด (ในผู้หญิง) - มีอาการปวดเอว หรือบริเวณหลังด้านข้าง - ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
ระยะของภาวะไตวายเรื้อรัง
การแบ่งระยะของ CKD จะใช้ค่า GFR หรือ glomerular filtration rate ซึ่งเป็นปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาทีเป็นตัวบอกการทำงานของไตที่ดีที่สุดค่านี้แพทย์คำนวณมาจากค่าครีเอตินิน (Cr หรือ creatinine) ซึ่งได้จากการเจาะเลือดโดยเอาไปคำนวณร่วมกับอายุเพศและเผ่าพันธุ์ของแต่ละคนบางทีจึงเรียกว่า eGFR โดยที่ตัว e ย่อมาจาก estimated หมายถึงว่าได้มาจากการคำนวณค่า GFR ทำให้แพทย์บอกได้ว่าโรคไตเรื้อรังของท่านอยู่ในระยะใดโดยระยะ (Stage) ของโรคไตเรื้อรังแบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้
-
-
-
-
-
การรักษา
- การรักษาด้วยไตเทียม (Dialysis)** เพื่อทำหน้าที่ทดแทนไตจริงซึ่งไม่อยู่ในสภาพที่จะทำงานได้ไประยะหนึ่งจนกว่าจะสามารถแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายนั้นได้หรือจนกว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนไตซึ่งปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 3 วิธีคือ Peritoneal dialysis, Hemodialysis และ Continuous Hemofiltration
- การรักษาด้วยการแลกเปลี่ยนพลาสม่า (Therapeutic plasma exchange)** เป็นการนำส่วนประกอบของเลือดทั้งหมดจำนวนหนึ่งในร่างกายออกมาภายนอกร่างกายจากนั้นจะแยกทิ้งเฉพาะส่วนที่ไม่ต้องการมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเช่น SLE ส่วนที่เหลือก็จะถูกส่งคืนกลับสู่ร่างกายต่อไป
- การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative treatment)
2.1 อาหาร ในผู้ป่วยไตวายไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดก็ตามมีความจำเป็นต้องควบคุมเนื่องจากไตเสื่อมสมรรถภาพในการขับของเสียออกจากร่างกายดังนี้และ จำกัด สารอาหาร-จำกัด จำนวนโปรตีนควรได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพเช่นเนื้อสัตว์ไข่วันละ 0.5-1 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในรายที่มีภาวะยูรีเมียรุนแรงอาจให้โปรตีน 10-20 กรัม / วัน-จำกัด โซเดียมขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของไตในระยะปัสสาวะมากอาจยังไม่จำเป็นต้อง จำกัด โซเดียม แต่ในระยะสุดท้ายที่ไตไม่สามารถขับน้ำออกได้ทำให้ร่างกายบวมจำเป็นต้อง จำกัด โซเดียมเหลือวันละ 2-4 กรัมผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องของหมักดองซอสน้ำปลาซีอิ้วเป็นต้น-จำกัด โปตัสเซียม ได้แก่ กล้วยส้มถั่วเมล็ดแห้งผลไม้แห้งเกาลัดมะพร้าวมะขามทุเรียนเป็นต้น-จํากัดฟอสเฟตเช่นนมไข่แดง เป็นต้น
2.2 การจำกัดน้ำ หลักการให้น้ำแก่ผู้ป่วยภาวะไตวายนั้นคิดจากจำนวนปัสสาวะที่ออกมารวมกับจำนวนน้ำที่สูญเสียไปกับลมหายใจและเหงื่อประมาณวันละ 500-1000 ซีซีควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำมากเช่นก๋วยเตี๋ยวผลไม้ถ้าจำเป็นต้องรับประทานควรนับจำนวนน้ำรวมไปด้วย
2.3 ยา
- แก้ไขภาวะโปตัสเซียมสูงให้ Kayexalate ทางปากหรือสวนเข้าทางทวารหนักหรือให้อินสุลินและกลูโคสหรือให้แคลเซียมไบคาร์บอเนตหรือ 7.5% NaHCO, ทางหลอดเลือดดำ
- แก้ไขความไม่สมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสโดยให้ยา Aluminum hydroxide gel ซึ่งเป็นยาที่ไปจับฟอสเฟตทำให้มีระดับฟอสเฟตลดลง
- แก้ไขภาวะกรดในร่างกายโดยให้ 7.5% NaHCO3 แต่ถ้ายังมีอาการดังกล่าวอาจต้องทำ Dialysis
- แก้ไขภาวะโลหิตจางโดยให้เลือดหรือให้ฮอร์โมนสังเคราะห์ erythropoietin (Epectin)
- ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงโดยให้ยาลดความดันโลหิตพร้อมกับการ จำกัด น้ำและโซเดียมร่วมกับยาขับปัสสาวะ
- ป้องกัน stress ulcer โดยให้ยา H, receptor blockers หรือ sucrafate
- การปลูกถ่ายไต (Renal transplantation)** เป็นการนำไตที่ทำหน้าที่ดีจากคนหนึ่ง (donor) มาใส่ให้กับอีกคนหนึ่ง (recipient) ซึ่งปัจจุบันการเปลี่ยนไตประสบผลสำเร็จสูงมากจนนับได้ว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
1.1 สาเหตุจากร่างกายขาดเลือดและน้ำต้องให้เลือดหรือสารต่างๆทดแทนอย่างรวดเร็วและอาจพิจารณาให้ยาขับปัสสาวะเช่น Mannital, Furosemide ร่วมด้วย
1.2 สาเหตุจากภาวะร่างกายอุดตันเช่นนิ้วลิ่มเลือดหรือมีก้อนเนื้องอกมักพบปัญหาการติดเชื้อร่วมด้วยเสมอการแก้ไขต้องรักษาภาวะยูรีเมียโดยการทำ Dialysis ก่อนแล้วจึงแก้ไขหรือรักษาภาวะอุดตันโดยการผ่าตัดร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะโปรตีน
ลักษณะของไต
หน้าที่ของไตมีหลายอย่าง
ได้แก่
การปรับสมดุลน้ำในร่างกาย
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการควบคุมการขับหรือเก็บน้ำไว้ในร่างกาย เมื่อร่างกายขาดน้ำ เช่น อากาศร้อนจัด และเสียน้ำไปทางเหงื่อมาก ร่างกายจะปรับสมดุลน้ำ โดยจะกระหายน้ำและดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อเป็นการทดแทนน้ำที่เสียไป ร่างกายจึงจะอยู่ในภาวะสมดุล หรือเมื่อดื่มน้ำเป็นจำนวนที่มากเกินความต้องการ ไตก็จะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินออกเช่นเดียวกัน แต่เมื่อใดที่ไตผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับสมดุลน้ำได้ จะเกิดภาวะน้ำเกินหรือภาวะขาดน้ำ ซึ่งถ้ารุนแรงมาก จะทำให้มีผลกระทบต่อสมอง จนมีอาการสับสน ซึม และชักได้
-
-
-
-
โครงสร้างของไต
- Renal corpuscle คือ ส่วนของหน่วยไตที่ท้าหน้าที่ในการกรอง ของเสียออกจากเลือดเพ่ือขับออกจากร่างกายในรูปของน้้าปัสสาวะประกอบด้วยBowman’s capsule เป็น double wall cup หุ้มรอบ glomerulus ซึ่งเป็นขดของหลอดเลือดฝอยที่รับเลือดมาจาก afferent arteriole แล้ว รวบรวมเลือดออกสู่ efferent arteriole
-
โบว์แมนส์แคปซูล ( Bowman s capsule ) เป็นส่วนของท่อหลอดไตที่พองออกเป็นกระเปาะคล้ายถ้วย ล้อมรอบกลุ่มหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสไว้ โบว์แมนแคปซูลประกอบด้วย
ผนังบาง ๆ 2 ชั้น ผนังหลอดเลือดฝอยโกลเมอรูลัสจะแนบชิดกับเยื่อชั้นในของโบว์แมนแคปซูล ช่องว่างระหว่างเยื่อ 2 ชั้นของโบว์แมนแคปซูล เรียกว่า ช่องว่างภายในแคปซูล ( Intracapsular space ) ช่องว่างนี้ติดต่อกับส่วนที่เป็นท่อของหน่วยไต ( convoluted tubule )
ท่อขดส่วนต้น หรือ พรอกซิมอล คอนโวลูเตด ทิวบูล ( proximal convolutrd tubule ) มีลักษณะเป็นท่อขดไปมาเป็นบริเวณที่มีการดูดซึมสารกลับเข้ากระแสเลือดได้มากที่สุด ( ราว 65 % ) ซึ่งเกิดขึ้นทั้งโดยวิธีแอกทีฟทรานสปอร์ต และพาสซีฟทรานสปอร์ต
ห่วงเฮเลน หรือ เฮนเลส์ลูป ( Henle s loop ) เป็นหลอดโค้งรูปตัวยู อยู่ถัดจากท่อขดส่วนต้น เฮนเลส์ลูปยื่นเข้ามาในเนื้อไตส่วนเมดัลลา
ท่อขดส่วนท้าย หรือ ดิสตอล คอนโวลูเตด ทิวบูล ( distal convoluted tubule ) เป็นท่อขดไปมาคล้ายท่อขดส่วนต้น อยู่ถัดจากห่วงเฮนเลเข้ามาในเนื้อไตชั้นคอร์เทกซ์ตอนปลาย
ของท่อขดส่วนท้าย จะเปิดเข้าสู่ท่อรวม หรือคอลเลกติง ดักท์ ( collecting duct ) หรือ คอลเลกติงทิวบูล ( collecting tubule ) ต่อจากนั้นจะเปิดออกสู่กรวยไต (pelvis ) และส่งไปยังท่อไต ( ureter ) เพื่อนำน้ำปัสสาวะไปเก็บที่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อรอเวลาขับถ่ายทิ้งไป ทั้งท่อขดส่วนต้นและท่อขดส่วนท้าย ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์ แต่ห่วงเฮนเลและท่อรวมอยู่ในชั้นเมดัลลา
เป็นท่อไตส่วนปลายของ nephron นั่นคือต่อมาจาก distal convoluted tubule ให้เป็น collecting tubule จากนั้นจะมาเชื่อม และรวมกันเป็นท่อขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า collecting duct of Bellini เทลงสู่ area cribosa หน้าที่ของไตส่วนนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับการทำให้น้ำปัสสาวะเข้มข้น ภายใต้การควบคุมของ Antidiuretic hormone (ADH)
-
-