Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เสียง - Coggle Diagram
เสียง
ธรรมชาติของเสียง
-
-
การเคลื่อนที่ของเสียงจากตัวก่อกำเนิด เสียงต้องอาศัยตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงาน การสั่นของตัวก่อกำเนิดเสียงนั้นไปยังสิ่งต่าง ๆ
-
เสียงกับการแทรกสอด
ถ้าคลื่นเสียงเคลื่อนที่มาพบกันจะมีการแทรกสอดขึ้น ณ จุดที่พบกันนั้น ผลที่ได้ คือ การรวมคลื่นเข้าด้วยกัน
-
-
-
-
เสียงกับการเลี้ยวเบน
- การได้ยินเสียงดัง (เช่น เสียงปืน) เมื่ออยู่อีกมุมหนึ่งของตึก เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่แสดงว่าเสียงเลี้ยวเบนได้
- การเลี้ยวเบนของเสียงผ่านช่องแคบเดียว เสียงจะเลี้ยวเบนได้ดีก็ต่อเมื่อความกว้างของช่องเดียวมีขนาดใกล้เคียงกับความยาวคลื่น ถ้าความยาวคลื่นเสียงมีค่าน้อย (ความถี่สูง) เมื่อเทียบกับความกว้างของช่องเดียว เสียงจะเลี้ยวเบนไม่ดี
- การเลี้ยวเบนและการแทรกสอด มักเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
-
การหักเหของคลื่นเสียง
เมื่อเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกันหรือแม้แต่ตัวกลางชนิดเดียวกัน แต่อุณหภูมิต่างกัน จะมีผลทำให้อัตราเร็วของเสียง และทิศทางของเสียงเปลี่ยนไป เช่น ขณะที่พายุฝนฟ้าคะนอง ในบางครั้งปรากฎว่าเห็นฟ้าแลบแต่ไม่มีเสียง เนื่องจากเสียงที่เกิดขึ้น เกิดการหักเหในชั้นบรรยากาศกลับไปหมด จึงไม่มีคลื่นเสียงส่งมายังหูเรา
กฎการหักเห มี 2 ข้อ คือ
- ทิศทางเคลื่อนที่ตกกระทบ เส้นปกติ ทิศทางคลื่นหักเหต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
- อัตราส่วนระหว่าง sin ของมุมตกกระทบกับ sin ของมุมหักเหมีค่าคงที่ ค่าคงที่นั่นคือ ดรรชนีหักเหตัวกลางที่สองเทียบกับตัวกลางแรก
-
การสั่นพ้องของเสียง
การสั่นพ้องของเสียง เกิดเมื่อความถี่ตามธรรมชาติของอากาศในกล่องเสียง (Natural frequency) เท่ากับความถี่ของเสียงที่ถูกทำให้เกิดขึ้น (Forced frequency) หลักการนี้นำมาประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทสาย เช่น ซอ กีตาร์ ไวโอลิน โดยมีกล่องเสียงช่วยให้เกิดการสั่นพ้องเสียง
- ความถี่ธรรมชาติ คือ ความถี่ของวัตถุที่สามารถสั่นหรือแกว่งได้อย่างอิสระ
- การสั่นพ้องของเสียง อาจจะเรียกว่า การกำทอนของเสียงก็ได้
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์
ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงหรือความถี่ของเสียงอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างแหล่งกำเนิดเสียงกับผู้ฟัง ลักษณะการเกิดปรากฏการณ์มีดังนี้
- เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟัง หรือผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง คลื่นจากแหล่งกำเนิดเสียงจะอัดกระชั้นมากขึ้น ความถี่มากทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงสูงขึ้น
- เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ออกจากผู้ฟังหรือผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียง คลื่นเสียงจะกระจายกว้างออกจากเดิม ความถี่ลดลง ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงต่ำลง