Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญาการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical Pedagogy) - Coggle Diagram
ปรัชญาการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical Pedagogy)
ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
เริ่มจากการที่ เปาโล แฟรร์ (Paolo Feire) ต้องการพัฒนาปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนยากจนในการต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดโดยมีส่วนร่วมในการรับรู้และการวิเคราะห์ที่มากขึ้น เเละ พัฒนาให้เเผ่ขยายเป็นเเบบสมัยใหม่และนานานาชาติใหม่ในยุคของ ปีเตอร์ แม็คคลาเรน (Peter McLaren)
ความหมาย
ปรัชญาการศึกษาวิพากษ์เป็น ปรัชญาของการศึกษาและการเคลื่อนไหวทางสังคมที่พัฒนาและประยุกต์แนวคิดจากทฤษฎีวิพากษ์วิจารณ์และประเพณีที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาและการศึกษาวัฒนธรรม
ปรัชญานี้ยืนยันว่าประเด็นของความยุติธรรมทางสังคมและการปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่ได้แตกต่างไปจากการกระทำของการเรียนการสอนและการเรียนรู้
เป็นปรัชญาที่มุ่งศึกษาวิธีการวิพากษ์สิ่งที่เลวร้าย เเละ เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ เพื่อความเท่าเทียม และเปิดกว้างทางความคิดของผูเรียน
นักการศึกษาคนสำคัญ
เปาโล แฟรร์ (Paolo Feire)
นักวิชาการศึกษาที่สนใจเกี่ยวกับความมีศักดิ์ศรีและคุณค่ามนุษย์ เป็นผู้้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า "การศึกษาของผู้ถูกกดขี่ (Pedagogy of the Oppressed) " ซึ่งเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการให้มนุษย์หลุดพ้นจากสภาพแวดล้อมที่ถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบ เขามีแนวคิดว่า สาเหตุการกดขี่ครอบงำมาจากโครงสร้างทางสังคมดยเฉพาะการศึกษาที่เป็นระบบย่อยของสังคม
ปีเตอร์ แม็คคลาเรน (Peter McLaren)
นักการศึกษาเชิงวิพากษ์ชาวอเมริกัน ผู้ที่มีแนวคิดทางการศึกษาสมัยใหม่ การวิพากษ์ของปีเตอร์มีความคิดเกี่ยวกับการศึกษาสมัยใหม่เป็นอย่างมาก งานแรกที่แม็คลาเรนได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องทางปัญญาและเชิงประจักษ์ ในโครงการของเขา เขาพยายามตรวจสอบการก่อตัวของตัวตนในโรงเรียนของสังคมเสรีนิยมใหม่ สำหรับเรื่องนี้เขาต้องมีส่วนร่วมในโครงการที่สำคัญมากมาย
แนวคิด
ปรัชญานี้ได้ใช้การคิดเชิงวิพากษ์ในการพิจารณา
Critical Thinking
-ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ
-ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม
-เป็นการตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่มีอยู่เบื้องหลัง และพยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่าง
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ครูและนักการศึกษาควรชี้ให้เห็นว่าสังคมปัจจุบันกำลังอยู่ภายใต้การครอบครองทางความคิดชนิดใดท้าทายวิธีคิดปัจจุบันและมองเห็นว่าวิธีคิดเหล่านั้นเข้ามาสู่ระบบโรงเรียนจนเกิดเป็นวัฒนธรรมหลักได้อย่างไรและวัฒนธรรมหลักกำลังทำให้เสียงของกลุ่มอภิสิทธิ์มีความชอบธรรมมากกว่าเสียงของผู้ด้อยโอกาส
ครูและนักการศึกษาควรเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนท้องถิ่นและคำนึงถึงบริบทเสมอ(แต่ไม่ใช่มีลักษณะท้องถิ่นจนเกินเหตุ) และต้องเป็นพวกต่อต้านการเหยียดผิว ต่อต้านการมีคติทางเพศ และการกีดกันทางเชื้อชาติ
ครูและนักการศึกษาต้องพูดความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ตลอดเวลา แต่ไม่ใช่พูดบนฐานชีววิทยา ทั้งนี้ปัญหาความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์มาจากการกีดกันและการกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างไม่ธรรม
ครูและนักการศึกษา ลงมือค้นหาวิธีการสื่อสารกัน เพื่อทำให้สามารถเป็นตัวแทนเสมือนจริงของคนในหลากหลายกลุ่ม บูรณาการประสบการณ์ชีวิตกับการแสวงหาความรู้เพื่อคนด้อยโอกาส และที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากนักเรียนที่มีลักษณะความเป็นวัตถุ ให้มีลักษณะของความกล้าที่จะวิพากษ์ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง
กระบวนการเรียนการสอน
1.การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ต้องชี้ให้เห็นถึงสังคมถูกอะไรครอบงำอยู่ความคิด วัฒนธรรมกระแสหลักต่างๆ
2.การเรียนการสอนเชิงวิพากษ์ต้องเป็นปากเป็นเสียงแก่คนท้องถิ่นและคำนึงถึงบริบท ไม่ท้องถิ่นนิยมเกินเหตุ มองบทบาททั้งสามมิติ พื้นที่ ความรู้ และอำนาจ
3.การสอนแนวทางนี้ต้องอยู่บนฐานมนุษย์ตลอดเวลา ไม่ใช่ฐานทางชีววิทยาหรือลักษณะทั่วไปซึ่งมองข้ามปัญหาทางชนชั้น
4.ต้องท้าทายวิธีคิดเรื่องเหตุผลซึ่งเป็นฐานคิดการได้เปรียบในทางระบบทุนนิยม นักการศึกษาเชิงวิพากษ์ต้องไม่ยอมรับลักษณะความสัมพันธ์ ความรู้ในตำรารับใช้ระบบเศรษฐกิจโลก แต่ต้องค้นหาเสรีภาพความยุติธรรมทางสังคม
5.นักการศึกษาแนวทางนี้ต้องทบทวนวิถีการผลิตสังคมพัฒนาจากอุตสาหกรรมสู่หลังอุตสาหกรรมภายใต้ระบบทุนนิยม
6.ต้องต่อต้าน racist การเหยียดสีผิว , sexist คือ การกีดกันทางเพศ
7.สิ่งสำคัญสุด คือ ต้องใส่ใจความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความจำเป็นที่ถูกสร้างตามบริบทประวัติศาสตร์ ยอมรับความจำเป็นพื้นฐานนี้ต้องเข้าใจว่าเป็นระดับต่ำสุด
8.ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการเมือง ต้องดูตนเองด้วยการพิจารณาเรื่องชนชั้น ต้องเห็นว่าคนถูกสร้างทางสังคมได้อย่างไร
9.ค้นหาการสื่อสารที่เป็นคำสามารถตัวแทนเหมือนจริงคนในหลากหลายกลุ่ม
10.บูรณาการประสบการณ์ชีวิตกับการแสวงหาความรู้เพื่อคนด้อยโอกาส แสวงหาระดับรากหญ้า
ลักษณะของผู้สอนเเละผู้เรียน
จะต้องมีการคิดเชิงวิพากษ์
Critical Thinking
-ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ
-ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม
-เป็นการตั้งคำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังพยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่าง
รูปเเบบการเรียนรู้
ครูจะต้องเป็นผู้เรียนควบคู่ไปกับนักเรียนและนักเรียนของนักเรียนด้วย เเละมีความเปิดกว้างทางความคิด รวมไปถึงต้องตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ
หลักการสำคัญ
โดยสรุป
1.ให้สงสัยไว้ก่อน อย่ารีบเชื่่อ
2.คิดไว้เสมอว่าเรื่องที่ได้รับฟังมาอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้
3.ผู้ตั้งคำถามคัดค้าน
ความเชื่อมโยงหรืออิทธิพล
ของโลกาภิวัฒน์
ต่อเเนวคิดปรัชญาการศึกษา
ตั้งคำถามต่อการเปลี่ยนเเปลงของโลก ของสิ่งรอบตัว วัฒนธรรมทางความคิด และสิ่งที่ครอบงำโลกในเเต่ละช่วงเวลา เนื่องจากด้วยกระเเสโลกาภิวัตถ์ของโลก ทำให้การศึกษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวัดค่าคนในสังคมจึงเกิดการเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทำให้มีการศึกษาเชิงวิพากษ์เพื่อที่จะมาปรับเเก้เเละวิจารย์กับเหตุการที่เป็นอยู่