Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
2.ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, นายกิตติชาติ ทาระโช 64144529 -…
2.ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สถาบันราชภัฏเชียงใหม่
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม วิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า "สถาบันราชภัฏ" แปลว่าผู้ที่อยู่ใกล้พระราชา แต่หลายท่านให้ความหมายเป็นนัยว่า "นักปราชญ์ของพระราชา“
สีน้ำเงิน แทนสถาบันพระมหากษัตริย์
เขียว แทนแหล่งที่ตั้งของสถาบัน 36 แห่ง ที่อยู่ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
สีทอง แทนความรุ่งเรืองทางปัญญา
สีส้ม แทนความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
สีขาว แทนความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ครุยวิทยฐานะใหม่ ตั้งแต่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ลักษณะและความหมายของครุยวิทยฐานะนั้น ตัวเสื้อครุยทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเย็บเป็นเสื้อคลุม ตัวเสื้อผ่าอกตลอด แขนเสื้อกว้างและยาวตกข้อมือแขนปล่อย มีสำรดรอบขอบและที่ปลายแขน ส่วนสำรดต้นแขนเป็นสิ่งแสดงถึงระดับปริญญา และมีเข็มตราสถาบันราชภัฏประดับครุยด้วยสำหรับแถบสีประจำ สาขาวิชานั้น สังเกตได้ดังนี้
แถบสีฟ้า หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาครุศาสตร์
แถบสีแสด หมายถึง บัณฑิตสาขาวิชาศิลปศาสตร์
แถบสีเหลือง หมายถึง บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีภารกิจหน้าที่ในการทำงานหลักดังนี้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ อันมีผลให้สถาบันราชภัฏ เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์
การสอนในระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาคน
การวิจัย รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ให้บริการวิชาการแก่สังคม
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
วิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ปรัชญาของมหาวิทยาลัย
“การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครู และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ
3) สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ด้วยการวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน น้อมนำแนวพระราชดำริ
4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
2.ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
5) พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1.เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
วัตถุประสงค์
4) เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึกและความภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
3) เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ จากการวิจัย และการบริการวิชาการสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน น้อมนำแนวพระราชดำริ
2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสร้างโอกาสทางการศึกษา โดยร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
5) เพื่อให้การบริหารมหาวิทยาลัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
1) เพื่อผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานวิชาชีพ
ค่านิยมหลัก
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์
ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย การดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของมหาวิทยาลัย และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย “บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน”
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
• บุคลิกภาพดี หมายถึง บัณฑิตมีลักษณะท่าทาง การพูดจา การแต่งกายดี มีมนุษยสัมพันธ์ การวางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ และมีความเข้าใจในวัฒนธรรมข้ามชาติ
• สุขภาพดี หมายถึง บัณฑิตมีสุขภาวะที่ดีครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะกาย สุขภาวะจิต สุขภาวะสังคม และสุขภาวะปัญญา
• ความรู้ดี หมายถึง บัณฑิตรู้จักแสวงหาความรู้ มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาที่ศึกษาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
• พลเมืองดี หมายถึง บัณฑิตมีวินัย มีความรับผิดชอบ เคารพกฎระเบียบของสังคม เสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้และคำนึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าส่วนตน
• คนดี หมายถึง บัณฑิตมีความสุภาพอ่อนน้อม กตัญญูรู้คุณ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีสำนึกรักท้องถิ่นและความเป็นไทย
เอกลักษณ์
ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็น ลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของมหาวิทยาลัย จากการวิเคราะห์เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของผู้เข้าร่วม ประชุมสัมมนา
การแบ่งส่วนงานในมหาวิทยาลัย
1) หน่วยงานจัดการศึกษา ได้แก่คณะ วิทยาลัย
4) หน่วยงานลักษณะเฉพาะ
3) หน่วยงานภายใน
5) หน่วยงานอื่นๆ
2) หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ
นายกิตติชาติ ทาระโช 64144529