Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคระบบต่อมไร้ท่อ, image, image, image, image, image, image, image, image,…
โรคระบบต่อมไร้ท่อ
โรคเบาหวาน
สาเหตุ
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน “อินซูลิน” หรือประสิทธิภาพการทำงานของ “อินซูลิน” ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
-
-
การป้องกัน
-
ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องรับประทานยาสำหรับโรคอื่น ๆ ร่วมด้วยเพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
-
-
ไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุ
ร่างกายของเราเอง ที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากเกินความจำเป็นของร่างกาย เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์มีมากเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลให้มีอาการในอวัยวะต่าง ๆ ได้หลาย ๆ อย่าง เราเรียกภาวะที่ต่อมไทรอย์ทำงานมากผิดปกตินี้ว่า ไทรอยด์เป็นพิษ
Grave's disease: เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด โดยโรคนี้จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองชนิดหนึ่ง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป
ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodules): เป็นสาเหตุที่พบมากในผู้สูงอายุ โดยพบก้อนเนื้อเจริญบนต่อมไทรอยด์ ซึ่งมักเป็นก้อนเนื้อร้ายที่ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
-
การได้รับไอโอดีนมากเกินไป: ไอโอดีนสามารถพบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายทะเล อาหารทะเล เป็นต้น การบริโภคไอโอดีนมากเกินความจำเป็น ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติได้
ได้รับยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป: สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ที่รับประทานยากลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด
ไฮเปอร์ไทรอยด์
โรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายเร็วกว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายก็คือ น้ำหนักลดลงผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก เหนื่อย มีประจำเดือนน้อยลง ความจำไม่ดี กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ ผมร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องเสีย ผิวเป็นด่างขาว มือสั่น แขนขาไม่มีแรง ตาโปน ต่อมไทรอยด์โต เป็นปื้นหนาที่ขา
ไฮโปไทรอยด์
โรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่น้อยเกินไป ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำเกินไป มีการทำงานของเซลล์ในร่างกายช้ากว่าปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกายคือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขี้หนาว ง่วงนอน อ่อนเพลีย ผมร่วง ผิวแห้ง ซึมเศร้า เป็นตะคริวง่าย หัวใจเต้นช้า ท้องผูก รอบตาบวม หน้าบวม ตัวบวม ต่อมไทรอยด์โต
-
การป้องกัน
ไม่สามารถป้องกันได้ เพียงแต่ต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตนเอง หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา สำหรับผู้ป่วยที่รักษาอยู่แล้ว ปกติแพทย์มักจะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาใหม่ และยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนที่มีอยู่แล้ว
โรคอ้วน
สาเหตุ
การกินอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดการสะสมของพลังงานในรูปของไขมันตามร่างกาย หรืออาจมีภาวะระบบเผาผลาญของร่างกายไม่ดีจากการเป็นโรคไทรอยด์ ทำให้อ้วนง่ายขึ้น
-
การรักษา
-
การออกกำลังกาย
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วน ต้องออกกำลังกายมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อกระตุ้นการเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ ด้วยการเดิน วิ่ง เต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นกีฬา การออกกำลังกายเฉพาะส่วน อย่างการใช้เครื่องออกกำลังกาย การยกน้ำหนัก หรือออกกำลังกายแบบผสมผสานกันหลายประเภท
การใช้ยาลดน้ำหนัก
แพทย์อาจจ่ายยาลดน้ำหนักให้เพื่อรักษาอาการ เช่น ผู้ป่วยที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 28 ขึ้นไปที่ป่วยด้วยความดันโลหิตสูง หรือเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 จึงไม่สามารถออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก ๆ หรือไม่สามารถออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ ได้
-
-
มะเร็งไทรอยด์
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ที่เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในต่อมไทรอยด์ และพัฒนาเป็นก้อนมะเร็งขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางลำคอ
เพศ
แม้มะเร็งไทรอยด์จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า
กรรมพันธุ์
โรคทางพันธุกรรมบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งไทรอยด์ รวมถึงผู้ที่มีญาติสายตรง อันได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ ก็จะมีแนวโน้มของการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น
-
โรคประจำตัว
การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคอ้วน รวมถึงความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น
การสัมผัสกับรังสี
การฉายรังสีบริเวณศีรษะหรือลำคอเพื่อรักษาโรคในวัยเด็ก รวมถึงเคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าหรืออาวุธนิวเคลียร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงเผชิญโรคนี้ได้ ซึ่งความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ได้รับรังสีจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้น้อยกว่าเด็ก
-
-
อาการ
เสียงแหบลง เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตขึ้นจนเบียดทับหรือลุกลามไปยังเส้นประสาทของกล่องเสียงที่ติดอยู่กับต่อมไทรอยด์ หรือไอบ่อยทั้งที่ไม่ได้เป็นหวัด
หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวีด เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้นจนเบียด กดทับ หรือลุกลามเข้าไปที่หลอดลม ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
กลืนลำบาก หรือรู้สึกเจ็บขณะกลืน เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตขึ้นจนเบียด กดทับ หรือลุกลามเข้าไปที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
-
-
-
ตาโปน
สาเหตุ
เกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินปกติหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า hyperthyroidism ต่อมไทรอยด์หมายถึงต่อมที่อยู่ด้านลำคอ ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อช่วยควบคุมการทำงานของระบบการเผาผลาญภายในร่างกาย ไทรอยด์เป็นพิษ
สาเหตุจากโรคอื่นๆ
-
-
มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อนที่จะพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อลายเป็นมะเร็งชนิดที่เกิดกับการสร้างเนื้อเยื่ออ่อน
-
-
-
-
-
-
-
อาการ
-
จากปัญหาสุขภาพ
เป็นอาการตาโปนที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายเนื่องจากอาการเจ็บป่วย เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็ง เนื้องอกที่บริเวณหลังตา เป็นต้น
การป้องกัน
อาการตาโปนเป็นอาการที่ป้องกันได้ยาก โดยเฉพาะอาการตาโปนจากโรคไทรอยด์ เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันเกิดการทำงานที่ผิดปกติ จึงทำได้เพียงใช้ชีวิตโดยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางสุขภาพ และหมั่นพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ รวมทั้งหากเกิดความผิดปกติที่ดวงตาควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
โรคพีซีโอเอส
สาเหตุ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) เป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย โดยจะพบซีสต์หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่ เมื่อซีสต์หรือถุงน้ำเข้าไปเบียดรังไข่ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะนี้ยังไม่แน่ชัด อาจเกิดจากกรรมพันธุ์หรือความผิดปกติของหลายระบบในร่างกาย อาทิ ต่อมใต้สมอง รังไข่ ต่อมหมวกไต ฯลฯ
-
การป้องกัน
การป้องกัน PCOS ยังไม่มีวิธีที่แน่นอน เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดออกมายืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วย PCOS ควรปรับพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังเป็นประจำ และงดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ภาวะนกเขาไม่ขัน
ป้องกัน
ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดสม่ำเสมอ
-
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากร่างกายจะแข็งแรงแล้วยังช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายได้เป็นอย่างดี
สาเหตุ
สาเหตุทางด้านร่างกาย
นกเขาไม่ขันส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ คือโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน หรือโรคพาร์กินสัน และภาวะนกเขาไม่ขันเป็นเพียงปลายเหตุ
ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาแก้แพ้ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหนัก ร่างกายอ่อนล้า หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ เป็นต้น
สาเหตุทางด้านจิตใจ
สมองมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย หรือกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งภาวะทางจิตใจบางอย่างที่ไปขัดขวางหรือส่งผลด้านลบต่ออารมณ์ทางเพศ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรือภาวะสุขภาพจิตอื่น ๆ รวมไปถึงปัญหาความขัดแย้งหรือปัญหาความสัมพันธ์กับคู่ของตน
การรักษานกเขาไม่ขัน
พยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันโดยอาศัยความพยายามและความตั้งใจจริง เพื่อทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น เพราะการแข็งตัวของอวัยวะเพศชายเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพร่างกาย
หลีกเลี่ยงหรือพยายามลดความเครียด เพราะความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
โรคเนื้องอกในต่อมใต้สมอง
สาเหตุ
เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมหมวกไต หรือต่อมไต้สมองเนื้องอกต่อมใต้สมองคือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในต่อมใต้สมอง มีผลต่อการผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานในหลายระบบของร่างกาย
-
-
โรคคอพอก
-
-
การรักษา
การรับประทานยา
แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยโรคคอพอกจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือภาวะไฮโปไทรอยด์รับประทานยาที่ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยไทรอยด์อักเสบอาจให้รับประทานยาต้านอักเสบ เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาเอ็นเสด เป็นต้น
การผ่าตัด
หากต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มากจนส่งผลกระทบต่อการหายใจหรือการกลืนอาหาร แพทย์อาจตัดเนื้อเยื่อบางส่วนหรือต่อมไทรอยด์ทั้งหมด และอาจใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยที่มีก้อนเดี่ยวในต่อมไทรอยด์แบบมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้เช่นกัน
-
โรคมะเร็งตับอ่อน
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันสัตว์ ในปริมาณสูง โรคเบาหวาน รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคได้ การผ่าตัดเอามะเร็งออกเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำได้ในกรณีตรวจพบเร็วและมะเร็งยังไม่แพร่กระจาย แต่ในทางกลับกัน เมื่อคนไข้มีอาการและมาพบแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นมากแล้ว จึงไม่สามารถรักษาด้วยวิธีผ่าตัดได้ การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างละเอียด จึงเป็นอีกช่องทางในการดูแลสุขภาพที่ดี เพื่อให้ห่างไกลจากเนื้องอกตับอ่อน
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-