Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่รับรังสีรักษาและเคมีบำบัด - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่รับรังสีรักษาและเคมีบำบัด
เคมีบําบัด คือ การใช้ยาเพื่อทำการรักษาโรคมะเร็ง โดยยาเคมีบำบัดจะเข้าไปทําลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยาเคมีบําบัดที่ใช้ในการรักษามีอยู่หลายประเภท ในบางครั้งแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาเพียงชนิดเดียว แต่บ่อยครั้งมักมีการให้ยาสองชนิดหรือมากกว่าในเวลาเดียวกันแก่ผู้ป่วย เรียกวิธีการนี้ว่า “การรักษาแบบผสม”
การให้ยาเคมีบําบัด มีวัตถุประสงค์ในการให้หลายประการ ดังนี้
เพื่อการรักษา : มะเร็งบางประเภทสามารถรักษาได้ด้วยเคมีบําบัดเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการรักษาแบบอื่น เช่น การผ่าตัด การฉายแสง หรือที่เรียกอีกอย่างว่ารังสีรักษา
เพื่อควบคุม : เคมีบําบัด สามารถให้ได้ก่อนหรือให้ร่วมกับการรักษาแบบอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้มะเร็งแพร่กระจาย ทําให้เซลล์เติบโตช้าลง และฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจแพร่กระจายไปที่อื่นแล้ว
เพื่อประคับประคอง : การรักษานี้มุ่งที่การบรรเทาอาการเป็นเรื่องสําคัญ โดยเฉพาะสําหรับบุคคลที่มะเร็งแพร่กระจาย แล้ว..แต่ต้องการรักษาคุณภาพชีวิตไว้ เช่น การให้เคมีบําบัดอาจใช้ในการบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดจากมะเร็ง หรือหยุดการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ
อาการข้างเคียง
ยาเคมีบำบัดนอกจากจะทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังมีผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่แบ่งตัวเร็วในร่างกายด้วย เป็นผลให้เกิดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย มีจุดเลือดจ้ำเลือดตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บปากเจ็บคอ ท้องเสีย อุจจาระมีสีดำ ท้องผูก ผมร่วง อาการเหล่านี้มักเกิดหลังจากได้รับยาประมาณ 7-14 วัน นอกจากนี้ อาจพบผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ผิวหนังและเล็บเปลี่ยนสี ฝ่ามือฝ่าเท้ามีสีดำคล้ำและเจ็บ ชาปลายมือปลายเท้า มีเพศสัมพันธ์ได้ยาก มีบุตรยาก และอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ผลข้างเคียง ที่พบในแต่ละอาการอาจมีความจำเพาะต่อยาแต่ละชนิดหรือขนาดของยาที่ใช้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจตอบสนองต่อยาชนิดและขนาดเดียวกันแตกต่างกันได้
วิธีการดูแล
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผู้ป่วยควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น และมีกำลังใจเสมอ
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
เมื่อมีไข้ต้องรีบพบแพทย์ ไม่ควรรับประทานยาลดไข้เอง
อาการที่ควรระวังหลังการให้เคมีบำบัด
บริเวณแขนข้างที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีอาการบวม แดง แสบ หรือดำคล้ำ
มีแผลหรือมีเชื้อราในช่องปากและลำคอ
มีอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ร่วมกับมีอาการท้องเสีย
ปัสสาวะมีเลือดปน เจ็บเวลาปัสสาวะ
มีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส
มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องผูกหรือท้องเดินอย่างรุนแรง
รังสีรักษา คือการนำรังสีมาใช้รักษาโรค ได้แก่ โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ เช่น โรคเนื้องอก แผลเป็นคีลอยด์ ซึ่งรังสีที่ใช้ในการรักษาโรค ได้แก่ รังสีประเภทไอออนไนเซซัน (ionization) ซึ่งเป็นรังสีประเภทเดียวกับรังสีที่ใช้ถ่ายภาพเอกซเรย์ แต่มีพลังงานสูงกว่าและใช้ในจำนวน ขนาด และปริมาณรังสีที่สูงกว่าที่ใช้ในการตรวจโรค
การฉายรังสีระยะไกล (teletherapy) เป็นการรักษาด้วยรังสีที่ได้จากเครื่องกำเนิดรังสีที่อยู่ห่างจากตัวผู้ป่วย
การให้รังสีระยะใกล้ (brachytherapy) หรือที่เรียกกันว่าการฝังแร่ หรือใส่แร่ เป็นการนำสารกัมมันตรังสีซึ่งห่อหุ้มมิดชิดใส่เข้าไปภายในตัวผู้ป่วยหรือวางชิดกับบริเวณที่ต้องการจะรักษา