Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ที่ได้รับรังสีรักษา - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
ที่ได้รับรังสีรักษา
รังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
เป็นวิธีการหลักในการรักษามะเร็งปากมดลูก
: การฉายรังสี และสอดใส่แร่ iridium
แร่ iridiumเป็นแท่งกลมๆ เล็กๆ
ควบคุมการเคลื่อนที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
สามารถวางแผนการรักษาล่วงหน้าแบบ
3Dทำให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแม่นยา
เป็นการรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ เนื้องอก/ก้อนมะเร็งบริเวณที่อยู่ใกล้ต้นกาเนิดรังสีได้รับปริมาณรังสีสูงในขณะที่เนื้อเยื่อปกติได้รับปริมาณรังสีน้อย
ใช้ระยะเวลาการรักษาไม่นาน
ภายหลังการรักษาแต่ละครั้งเม็ดแร่จะถูกนำออกจากตัวผู้ป่วย และไม่มีรังสีตกค้าง
ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
หากรักษาร่วมกับการฉายรังสี ให้หยุดการฉายรังสี
ในวันที่สอดใส่แร่ 1วัน
การเตรียมตัวก่อนสอดใส่แร่
เช้าก่อนมาใส่แร่ ควรรับประทานอาหารอ่อน
เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
นาอุปกรณ์และยาที่แพทย์สั่ง
ผ้าอนามัย 1-2ชิ้นมาโรงพยาบาล
ขั้นตอนการสอดใส่แร่
ขั้นตอนที่ 1การเตรียมตัว
ประเมินอาการผู้ป่วย โรคประจำตัว
ประวัติการแพ้ พร้อมแนะนำการปฏิบัติตัว
ผู้ป่วยจะได้รับประทานยาแก้ปวดและยาคลายเครียด ซึ่งจะทำให้มีอาการง่วงนอนทั้งวัน ดังนั้นญาติควรเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดการพลัดตกหกล้มได้
ขั้นตอนที่ 2การใส่เครื่องมือ
แพทย์จะใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้ และฉีดสารทึบแสงเข้าไปในลูกโป่งของสายสวนปัสสาวะ เพื่อดูตาแหน่งของกระเพาะปัสสาวะ
แพทย์จะทาการตรวจภายในเพื่อดูขนาดของช่องคลอด ขยายปากมดลูก วัดความลึกของโพรงมดลูก จากนั้นสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในโพรงมดลูก และปากมดลูกทั้งสองข้าง ใส่ผ้าก๊อซเข้าไปในช่องคลอดจนแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะปัสสาวะและทวารหนักถูกรังสีมากเกินไป ช่วยให้เลือดหยุดในกรณีที่มีเลือดออก ป้องกันไม่ให้เครื่องมือสอดใส่แร่เคลื่อนไปจากตาแหน่งที่ต้องการ
ขณะทำการใส่เครื่องมือ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บด้วยการหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ ไม่ควรยกขา เกร็งก้นหรือขยับก้นหนี เพราะจะทำให้แพทย์จัดเครื่องมือลำบากและเกิดอาการเจ็บมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 3เอกซ์เรย์ตรวจสอบตำแหน่ง
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าห้องเอกซ์เรย์ CT / MRI
เพื่อตรวจสอบตาแหน่งเครื่องมือที่ใส่
ใช้เวลาการเอกซเรย์ประมาณ 3-15 นาที
แนะนำให้ผู้ป่วยจะต้องนอนนิ่งๆ
เพื่อป้องกันเครื่องมือเคลื่อนจากตำแหน่ง
ขั้นตอนที่ 4การคำนวณแผนการรักษา
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ห้องพักประเมินอาการ
จัดผ้ารองส้นเท้าให้ผู้ป่วย เพื่อลดอาการปวดเมื่อย
นักฟิสิกส์ทางการแพทย์คำนวณระยะเวลาในการใส่แร่
แนะนำให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ เพื่อป้องกันเครื่องมือเคลื่อนจากตำแหน่ง
ขั้นตอนที่ 5 การรักษาด้วยแร่ Iridium
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าห้องแร่
ขณะรับการรักษาผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ แต่ผู้ป่วยควรกลั้นปัสสาวะและนอนนิ่งๆ ภายในห้องแร่จนกว่าจะครบเวลารักษา เพื่อป้องกันเครื่องมือเคลื่อนจากตำแหน่ง
ใช้เวลาในการรักษาประมาณ10-40นาที
พยาบาลเฝ้าสังเกตอาการทางโทรทัศน์วงจรปิดด้านนอก กระบวนการโหลดแร่จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพ ความคงคลาดเคลื่อนของการโหลดแร่จะไม่เกิน 1มิลลิเมตร จากแผนการรักษาที่วางไว้
มื่อครบการรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
จะนำแร่ออกจากตัวผู้ป่วย
ขั้นตอนที่ 6การนำเครื่องมือออกและกลับบ้าน
เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากห้องใส่แร่ เพื่อนาเครื่องมือที่แพทย์ใส่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด ผ้าก๊อซ สายสวนปัสสาวะออก
พยาบาลประเมินอาการภายหลังนาเครื่องมือออก
ผู้ป่วยปัสสาวะ เปลี่ยนเสื้อผ้า
กรณีใส่แร่ครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยจะได้รับใบนัดเพื่อพบแพทย์ตรวจครั้งต่อไปจากพยาบาล
การให้คำแนะนำในการดูแลตนเอง
หลังสอดใส่แร่ iridium
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด มีคุณค่าครบทั้ง 5หมู่ ควรงดอาหารรสเผ็ด หรืออาหารที่ทาให้ท้องเสีย
ควรใส่ผ้าอนามัยไว้ก่อน และควรนั่งพักจนกว่าจะหายอาการมึนงงจากฤทธิ์ยา
งดมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังสอดใส่แร่ เช่น มีเลือดออกมาก หรือ ปวดท้องมาก เป็นต้น ถ้ามีอาการควรปรึกษาแพทย์
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8แก้ว