Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฏิบัติผู้ป่วยนรีเวช🧘🏻♀️👩🏻⚕️ - Coggle Diagram
การปฏิบัติผู้ป่วยนรีเวช🧘🏻♀️👩🏻⚕️
โรคทางนรีเวช หมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานสตรีซึ่งได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก และช่องคลอด โดยผู้ป่วยมักมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการร่วมกันดังนี้คือ ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตกขาวผิดปกติ คลำพบก้อนในอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มามากหรือน้อยเกินไป ประจำเดือนขาดหายโดยไม่ได้ตั้งครรภ์
การผ่าตัดทางนรีเวช
การผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบดั้งเดิม (open surgery) เป็นการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน เนื่องจากเจ็บแผลผ่าตัดมากกว่า
การผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยวิธีการส่องกล้อง (gynecologic laparoscopic surgery) เป็นการผ่าตัดโดยสอดกล้องผ่านเข้าไปในช่องท้อง แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็กทำให้กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในน้อยทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดลงได้ ผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า และมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดด้วยระบบดาวินชี (robotic–assisted da Vinci surgical system) เป็นวิธีการผ่าตัดที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และปลอดภัยให้กับการผ่าตัดที่มีความสลับซับซ้อนหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยาก แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเช่นเดียวกับการผ่าตัดผ่านกล้อง
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด
ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินสภาพก่อนผ่าตัด โดยประมวลข้อมูลจากการทบทวนประวัติ การตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจร่างกายทางนรีเวช และผลการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร่วมกับการประเมินความเสี่ยงทางอายุรกรรมต่อการผ่าตัด นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก ขั้นตอนการผ่าตัด การดูแลหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
ภาวะการเสียเลือด ซึ่งอาจต้องให้เลือดขณะผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด
ภาวะการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
มีเลือดออกจากแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือทางช่องคลอด
เกิดอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ ท่อไต
การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถลุกจากเตียงได้ทันทีที่ตื่นและเอาสายสวนปัสสาวะออก ควรลุกเดินบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีพังผืดในช่องท้อง
ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารอ่อนได้เมื่อลำไส้เริ่มทำงานแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์
ผู้ป่วยจะได้รับยาบรรเทาอาการปวด และคำแนะนำในการจัดการกับอาการปวด
ระยะเวลาที่ใช้พักฟื้นในโรงพยาบาล ประมาณ 2-3 วัน ในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับโรคที่เข้ารับการผ่าตัด
โรคทางนรีเวชที่พบบ่อย
เนื้องอกในมดลูก (Myoma Uteri)
ถุงน้ำในรังไข่ (Cystic Ovary)
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
รังษีรักษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
การเตรียมตัวก่อนสอดใส่แร่
เช้าก่อนมาใส่แร่ ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
นำอุปกรณ์และยาที่แพทย์สั่ง ผ้าอนามัย 1-2 ชิ้นมาโรงพยาบาล
มาถึงโรงพยาบาลตามเวลานัดหรือก่อนเวลานัด 30 นาที
กรุณานำญาติมาด้วยทุกครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับยาคลายเครียด
เมื่อมาถึงให้หยิบบัตรคิว เพื่อเรียงลำดับการรักษาสอดใส่แร่ก่อน-หลัง
การดูแลตนเองหลังสอดใส่แร่อิรีเดียม
หลังถอดเครื่องมือออกแล้วอาจมีเลือดออกได้บ้าง ควรใส่ผ้าอนามัยไว้ก่อน และควรนั่งพักจนกว่าจะหายอาการมึนงงจากฤทธิ์ยา
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่ ควรงดอาหารรสเผ็ด หรืออาหารที่ทำให้ท้องเสีย
ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
รักษาความสะอาดของร่างกาย ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ำสะอาด ใช้ผ้านุ่ม ๆซับให้แห้ง งดอาบน้ำหรือแช่ในแม่น้ำ ลำคลอง น้ำตกและน้ำขังต่างๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ถ้ามีเลือดหรือน้ำออกทางช่องคลอด ควรทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 – 4 ชั่วโมง
งดมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา เพื่อป้องกันการอักเสบปากมดลูก
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังสอดใส่แร่ เช่น มีเลือดออกมาก หรือ ปวดท้องมาก เป็นต้น ถ้ามีอาการควรปรึกษาแพทย์
การบริหารข้อสะโพก
ท่าที่ 1 ยืนแยกขา 2 ข้างออกจากกันเล็กน้อย ก้มตัวสลับกับแอ่นตัวไปข้างหลังให้มากที่สุด ทำอย่างช้าๆ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 ยืนแยกขา 2 ข้างออกจากกันเล็กน้อย ส่ายสะโพกเป็นวงกลม ทำอย่างช้าๆ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 ยืนตรง มือข้างหนึ่งท้าวบนโต๊ะ หรือ พนักเก้าอี้ที่มั่นคง ไม่มีล้อ เตะขาขวาไปข้างหน้าและหลังให้มากที่สุด ทำอย่างช้าๆ
ท่าที่ 4 ยืนตรงเตะขาข้างขวาออกทางด้านข้าง และหุบกลับในท่าเดิมอย่างช้าๆ 10 ครั้ง สลับขา เตะขาข้างซ้ายออกทางด้านข้างและหุบกลับในท่าเดิมอย่างช้าๆ 10 ครั้ง
วิธีการเหน็บยาช่องคลอด
เมื่อจะเข้านอนปัสสาวะให้เรียบร้อย
ตัดเล็บมือให้สั้น ล้างมือให้สะอาด
นั่งยอง ๆ กางขาออกเล็กน้อย หรือนอนหงายชันเข่าขึ้น แยกขาออกจากกัน
แกะเม็ดยาออก ชุบน้ำเล็กน้อย ค่อยๆสอดเม็ดยาเข้าในช่องคลอดโดยใช้นิ้วมือดันยาเข้าไปให้ลึกที่สุด และเข้านอน ไม่ควรลุกขึ้น เดินอีก ยาจะละลายภายในช่องคลอด เมื่อตื่นนอนตอนเช้าอาจมีคราบยาที่ละลายบริเวณปากช่องคลอด ให้ล้างทำความสะอาด ภายนอกด้วยสบู่อ่อนและน้ำสะอาด ไม่ควรสวนล้างน้ำเข้าช่องคลอด ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสบในช่องคลอดเล็กน้อย
กรณียาที่เหน็บช่องคลอดหล่นจากช่องคลอดภายหลังเหน็บยา ให้ทิ้งยาที่หล่นไป ไม่ต้องนำยาเม็ดใหม่มาเหน็บ
เหน็บยาคืนเว้นคืนตามจำนวนที่แพทย์สั่งจนครบ