Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทำไมคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงเป็นหัวใจล้มเหลว? -…
ทำไมคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงเป็นหัวใจล้มเหลว?
สาเหตุของความดันโลหิตสูง
อารมณ์: มีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ในขณะที่ ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท
เวลา:ความดันโลหิตจะขึ้นๆลงๆ ไม่เท่ากันตลอดทั้งวัน
อายุ:ส่วนมากเมื่ออายุมากความดันโลหิตจะสูงขึ้น
และนอกจากนี้ยังมี เพศ เชื้อชาติ และอีกมากมาย
อาการของความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ
มีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน
ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกัน คือ ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนจากที่เป็นความดันโลหิตสูง คือ ภาวะหัวใจวายหรือเส้นเลือดในสมองแตก
โรคหัวใจขาดเลือด : ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เส้นเลือดหัวใจหนาและแข็งขึ้นซึ่งอาจทำให้หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองและอื่นๆ
หัวใจล้มเหลว : พอมีความดันสูง หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปั๊มเลือดไปทุกส่วนของร่างกาย กล้ามเนื้อที่หัวใจจึงหนาขึ้น ในระยะยาวหัวใจอาจไม่สามารถปรับตัวได้อีกจนไม่สามารถปั๊มเลือดไปส่งได้พอเพียง หรืออาจมีผลต่อการคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ผลเสียต่อร่างกาย
เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตวายเรื้อรัง
หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง
มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม
เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต
ความดันโลหิตสูง คือภัยเงียบทำลายหัวใจ
ความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบทำลายหัวใจ
โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท)
ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ ดังนั้นถ้าป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจได้
ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล
นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน
สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการ ลดกินเกลือ (โซเดียม) เพิ่มการรับประทานผักผลไม้(รสหวานน้อย) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่