Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะเบาหวานที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus),…
ภาวะเบาหวานที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus)
หมายถึง
หมายถึง หญิงตั้งครรภ์ที่มีความผิดปกติของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เนื่องจากมีความไม่สมดุลระหว่างความต้องการและการสร้างหรือการใช้อินซูลินของร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการทำลายอินซูลินโดยรกและฮอร์โฒนจากรก
อาการ
1.ปัสสาวะมาก (Polyuria) พบถ่ายปัสสาวะมากทั้งกลางวัน กลางคืนเนื่องจากน้ำตาลในปัสสาวะดึงน้ำออกจากร่างกายด้วยวิธีดูดซึมเพื่อขับปัสสาวะ
2.ดื่มน้ำมาก (Polydipsia) เนื่องจากการถ่ายปัสสาวะมากทำให้กะหายน้ำและดื่มน้ำมาก
3.รับประทานอาหารจุ (Polyphagia) เนื่องจากร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตไม่ได้ทั้งๆที่ร่างกายต้องการ
4.น้ำหนักลด (Loss weight) จากร่างกายใช้ไขมัน และโปรตีนที่สะสมในร่างกายสร้างพลังงานทดแทนคาร์โบไฮเดรต ทำให้ผอมลง
5.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คันตามตัว มีการติดเชื้อง่าย
ชนิด
1.GDM class A1 หมายถึง ระดับกลูโคสหลังงดอาหารน้อยกว่า 105 มก./ดล. และระดับกลูโคสหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hour-postprandial plasma glucose) น้อยกว่า 120 มก./ดล.
2.GDM class A2 หมายถึงระดับกลูโคสหลังงดอาหารมากกว่าหรือเท่ากับ 105 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ กลูโคสหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง (2-hour-postprandial plasma glucose) มากกว่าหรือเท่ากับ 120 มก./ดล. ขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยง
ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
อายุ > 30 ปี
เคยคลอดบุตรและทารกตายในครรภ์ โดยไม่ทราบสาเหตุ
เคยคลอดบุตร นน. >4000 g.
เคยคลอดบุตรพิการแต่กำเนิด
เคยเป็น GDM เมื่อตั้งครรภ์ครั้งก่อน
BMI > 27 กก. /ม2
การพยาบาล
ควบคุมอาหารให้ได้รับแคลอรี่ วันละ 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม
แนะนำ เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่สำคัญในการควบคุมเบาหวาน เพื่อป้องกนัความรุนแรงของโรคและ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
ให้รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ปริมาณแคลอรี่ที่ และน้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้น ตลอดการตั้งครรภ์ 11 – 16 Kg
-แนะนำให้งดอาหารที่มีน้ำตาลสูงเพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้งนมข้นหวาน ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุกเป็นต้น
แนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หลอดเลือดฝอยของ กล้ามเนื้อที่กำลังทำงานถูกเปิด กลูโคสถูกนา ไปใช้มากขึ้นและอินซูลินดูดซึมได้เร็วขึ้น ต้องระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อรู้สึกเหนื่อยต้องพัก
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อการตรวจประเมินอาการและให้การรักษาพยาบาลได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์ละทารกในครรภ์
แนะนำภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้และการสังเกตอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ ปัสสาวะแสบขัด เป็นต้น ถ้ามีอาการผิดปกติควรมารับการตรวจทันที
แนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ เพราะขณะตั้งครรภ์ผิวหนัง แห้งเกิดแผลได้ง่าย มีตกขาวมากและปัสสาวะบ่อย จะทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้
การวินิจฉัย
1.การตรวจคัดกรองโดยการใช้น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม ( 50 g Glucose challenge test, GCT)
การทดสอบนี้ใช้เป็นขั้นตอนแรกในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วิธีการตรวจ
GCT ทำได้โดยให้สตรีตั้งครรภ์ดื่มสารละลายที่มีกลูโคส 50 กรัม (50 g 1-hour blood sugar) แล้ว หลังจากนั้น 1 ชั่วโมงให้ทำการเจาะเลือดตรวจระดับกลูโคส โดยที่สตรีตั้งครรภ์ไม่จำเป็นต้องงดอาหารก่อนรับการตรวจ
การแปลผลและแนวทางปฏิบัติ
1) ในกรณีที่ระดับกลูโคสในเลือดมีค่าน้อยกว่า 140 มก./ดล. แปลผลว่า
ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนวทางปฏิบัติคือ ให้ทำการฝากครรภ์ต่อไปตามปกติ และควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
2) ในกรณีที่ระดับกลูโคสในเลือดมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 140 มก./ดล. แปลผลว่า ผลการตรวจผิดปกติ แนวทางปฏิบัติ คือ ให้ทำการนัดตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย (diagnostic test) โรคเบาหวานต่อไป โดยการใช้น้ำตาลกลูโคส 100 กรัม (100-g oral glucose tolerance test, OGTT)
2.การตรวจเบาหวานโดยใช้น้ำตาลกลูโคส 100 กรัม (100-g Oral glucose tolerance test, OGTT)
เป็นขั้นตอนการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคเบาหวานที่วินิจฉัยได้เป็นครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (GDM)
วิธีการตรวจ
OGTT ในการตรวจ 100-g OGTT สามารถทำเป็นขั้นตอนดังนี้
1) งดอาหารก่อนวันตรวจเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 14 ชั่วโมง
2) ก่อนการตรวจให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารตามปกติที่เคยรับประทานอยู่โดยไม่ต้องจำกัดปริมาณอาหารโดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลา 3 วันก่อนวันนัดตรวจ ปริมาณคาร์โบไฮเดรตควรมากกว่า 150 กรัมต่อวัน และไม่จำกัดการออกกำลังกาย
3) เช้าวันตรวจทำการเจาะเลือดตรวจระดับกลูโคสหลังงดอาหารข้ามคืน (fasting plasma glucose, FPG) เทียบเป็นเวลาชั่วโมงที่ 0
4) หลังจากนั้นดื่มสารละลายกลูโคสปริมาณ 100 กรัม
5) เจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับกลูโคสภายหลังดื่มสารละลายกลูโคสที่ 1, 2, 3 ชั่วโมงตามลำดับ
การแปลผลและแนวทางปฏิบัติ
ซึ่งกำหนดค่าปกติของระดับกลูโคสที่เวลา 0, 1, 2 และ 3 ชั่วโมงหลังดื่มสารละลายกลูโคสต้องไม่เกิน 105, 190, 165, 145 มก./ดล. ตามลำดับ 1) ในกรณีที่ระดับกลูโคสอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกค่าหรือเกินเกณฑ์ปกติ 1 ค่า แปลผลว่าผล
การตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนวทางปฏิบัติคือ ให้ทำการฝากครรภ์ต่อไปตามปกติ และนัดตรวจหาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) ครั้งต่อไปโดยวิธีการตรวจคัดกรองซ้ำ (โดยการใช้น้ำตาลกลูโคส 50 กรัม) เมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
2) ในกรณีที่ระดับกลูโคสเกินเกณฑ์ปกติตั้งแต่ 2 ค่าขึ้นไป แปลผลว่า ผล
การตรวจอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ
และให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) แนวทางปฏิบัติคือ ให้การดูแลรักษาและควบคุมเบาหวานต่อไป
นางสาวสุตาภัทร ประเสริฐศักดิ์ 611001055 เลขที่ 55