Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 1 การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, G :…
กรณีศึกษาที่ 1
การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระยะตั้งครรภ์
Urine albumin/sugar= 1+/negative
Urine albumin = 1+ ถือว่าผิดปกติ ควรดูร่วมกับอาการบวมและภาวะความดันโลหิตสูง
-Sugar = negative ถือว่าปกติ ไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
(วาสนา พรหมช่วย, 2563)
การตรวจพบ albumin ในปัสสาวะ
แสดงว่าผู้ป่วยมี albumin ในเลือดต่ำ บ่งบอกถึงพร่องโปรตีน
-การตรวจพบ sugar ในปัสสาวะ บ่งบอกว่าผู้ป่วยมีปัญหาที่ไต ส่งผลให้ไตไม่สามารถดูดซึมกลับน้ำตาลกลูโคสจากปัสสาวะไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แม้ว่าจะพบแค่เพียงเล็กน้อยก็ตาม (ซึ่งปกติแล้วจะตรวจไม่พบโปรตีนหรือน้ำตาลในปัสสาวะ)
ระยะคลอด
ผลการตรวจทางห้องทดลอง Hct 31 %, Hb 11.7%, MCV 86.4 fl, Alb 2.7 g/dl (3.5-4.8)ู
-ผลHb 11.7% ค่าปกติ <11g/dL(1,3 trimester)<10.5 g/dL(2 trimester) แปลผล ปกติ
-ผลMCV 86.4 fl ค่าปกติ MCV < 80 fl: iron deficiency หรือ thalassemia MCV > 95 fl: ขาด folic acid แปลผล ปกติ
-ผลHct 31 % ค่าปกติ <33% แปลผล ต่ำกว่าปกติ
ผลAlb 2.7 g/dl ค่าปกติ(3.5-4.8) แปลผล ต่ำกว่าปกติ
เจาะ Lab Toxemia
Preeclampsia ภาวะครรภ์เป็นพิษ คือ ความดันโลหิตสูงตรวจพบในช่วงอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้น ไป ร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะ คือ urine protein 24 hr. ≥ 300 mg แบ่งเป็น Mild preeclampsia (BP<160/110 mmHg) และ Severe preeclampsia (BP>160/110 mmHg)(สุดา ใจห้าว. 2564)
ซักประวัติ
ระยะตั้งครรภ์
-G3P1A1 หมายถึง การตั้งครรภ์นี้เป็นการตั้งครรภ์ครั้ง 3 เคยคลอดมาแล้ว 1 ครั้ง และมีประวัติการแท้ง 1 ครั้ง
(ดาริน โต๊ะกานิ, 2557)
ทฤษฎี
(ดาริน โต๊ะกานิ, 2557)
การตรวจร่างกายมารดา
ระยะแรกรับ
จุกแน่นลิ้นปี่
อาการจุกแน่นลิ้นปี่ในมารดาที่มีความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงตับ เกิดการหดเกร็ง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณตับลดลง ทำให้เซลล์ตับขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้มารดามีอาการจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หรือปวดบริเวณชายโครง (สุชาดา เตชวาทกุล.2015)
เจ็บครรภ์มากร่วมกับมีเลือดสดออก ทางช่องคลอดประมาณ 1⁄2 แก้ว
การเจ็บครรภ์มาก มาจากการที่มดลูกหดรัดตัว มาก และการมีเลือดสดออกมาประมาณ 1⁄2 แก้วแสดงถึง ด้านในของมดลูกมีความผิดปกติ อาจเกิดจากการฝังตัวของอ่อนตัวที่ไม่แข็งแรงได้ (สุรพงษ์ ลีโทชวลิต.2564)
ผู้คลอดมารพ.ด้วย 1 ชั่วโมงก่อนมา รู้สึกปวดศีรษะ
ความดันส่งผลต่อสมอง อาจมีเลือกออกในสมองจากการแตกของหลอดเลือดซึ่งแสดงโดยอาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่แสดงถึงภาวะ Preeclampsia with severe feature (สุดา ใจห้าว. 2564)
แรกรับคำนวณอายุครรภ์ ได้ 37+4wks พบระดับยอดมดลูก 2/4 เหนือระดับสะดือ
อายุครรภ์ 37+4wks พบระดับยอดมดลูก 2/4 เหนือระดับสะดือ ถือว่าผิดปกติ ทารกอาจจะมีความเจริญเติบโตช้า หรือมีความผิดปกติของทารก
ประเมิน FHS ได้ 100 ครั้ง/นาที
การฟังเสียงหัวใจทารก ซึ่งช้ากว่าปกติ ปกติ(110-160bpm)
(สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกพบว่า Interval ได้ 2 นาที Duration 60 วินาที ความแรง 3+-4+
● Interval เป็นช่วงเวลาของการหดตัวของ มดลูกซึ่งหดรัดตัวถี่(ปกติะยะ latent 5-30 นาท)
● Duration เป็นระยะเวลาของการหดตัวของ มดลูกซึ่งหดรัดตัวนาน (ปกติระยะ latent 2 0 - 3 0 วินาที)
● Intensity เป็นความแรงของการหดรัดตัวของมดลูกซึ่งมีความแรงในระดับมาก (Strong) คือ พบมดลูกหดรัดตัวแข็งมาก ขณะหดรัดตัวไม่สามารถคลําส่วนต่างๆของทารก และ ไม่สามารถฟังเสียงหัวใจทารกได้(ปกติระยะ latent อยู่ในระดับเล็กน้อยหรือ mild : 1+)(กรรณิการ์ แสงประจง, 2564)
ตรวจภายในปากมดลูกเปิด 2 cms, effacement 50%
, station -2, MI,
● ปากมดลูก เปิด 2 cms อยู่ในระยะ latent phase หรือ ระยะปากมดลูกเปิดช้า ซึ่งครรภ์หลังปากมดลูก เปิดขยาย 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
● effacement คือ ความหนาบางของปาก มดลูกซึ่งบาง 50%
● station คือ ระดับของส่วนนําภายในช่องเชิงกรานซึ่ง station-2หมายถึง ส่วนนําอยู่ เหนือขึ้นไปจาก ischial spines 2 เซนติเมตร
● membrane คือ สภาพของถุงน้ำคร่ำ
ระดับ BP 150-170/100-110 mmHg
ความดันโลหิต : สูงกว่าปกติ (ปกติ SBP </= 140 ,DSP </= 90 mmHg
(สิริกรานต์ สุทธิสมพร, 2563)
หายใจหอบเหนื่อย 28 ครั้ง/ นาที
หายใจเร็ว (ปกติ 12-20 bpm ) (สิริกรานต์ สุทธิสมพร, 2563)
มีอาการขาบวม 2 ข้าง
ขาบวมทั้ง 2 ข้าง ในมารดาที่มีความดันโลหิตสูง เกิดจากหลอดเลือดถูกทําลาย ทําให้ permeability สูง การเกิด plasma leak และการมีโปรตีน รั่วในปัสสาวะ ทําให้ Ulbumin ในร่างกายต่ำทําให้บวมกดบุ๋ม ทำให้มารดามีอาการบวมของขาทั้ง 2 ข้าง(สุดา ใจห้าว. 2564)
พบ Urine albumin/sugar =3+/negative
พบ Urine albumin/sugar =3+/negative คือ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 3+ และไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ (สุดา ใจห้าว, 2564)
มี pitting edema +3
-จากหลอดเลือดถูกทําลาย ทําให้ permeability สูง การเกิด plasma leak และการมีโปรตีน รั่วในปัสสาวะ ทําให้ Ulbumin ในร่างกายต่ำ ทําให้บวมกดบุ๋ม มี pitting edema +3 คือ บวมที่เท้า ขา ใบหน้า มือและก้นกบ
ระยะหลังคลอด
หลังผ่าตัดคลอด 4 ชั่วโมง ย้ายมาแผนกหลังคลอด พบมดลูกหดรัดตัวไม่ดีมีเลือดออก ชุ่มผ้าอนามัย 1 ผืน
เนื่องจากมารดาเป็นสตรีตั้งครรภ์อายุมาก ซึ่งในระยะหลังคลอด อาจทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ส่งผลให้เกิดการตกเลือดสูง(กรรณิการ์ แสงประจง,2564)
BP 160/100 mmHg
มีภาวะความดันโลหิตสูง (ค่าปกติ อยู่ในช่วง 120/80 - 90/60 mmHg
ขณะอายุครรภ์ 15+3 wks ตรวจครรภ์พบ HF 1/3 >SP ระดับ BP 100/70mmHg
-ขณะอายุครรภ์ 15+3 wks ตรวจพบ HF ⅓>SP ซึ่งปกติแล้ว อายุครรภ์ 15+3 wks ควรจะอยู่ที่ระดับ ⅔ เหนือกระดูกหัวหน่าว แสดงว่าอายุครรภ์ไม่สัมพันธ์กับระดับยอดมดลูก ทารกเจริญเติบโตช้า (IUGR)
-ระดับ BP 100/70 mmHg
ความดันโลหิตในไตรมาสที่สองปกติ
ขณะอายุครรภ์ 19+3 wks พบ HF 2/3 > SP
ระดับ BP 105/73 mmHg
-ขณะอายุครรภ์ 19+3 wksพบ HF 2/3 > SP แสดงว่าอายุครรภ์ไม่สัมพันธ์กับระดับยอดมดลูก ทารกเจริญเติบโตช้า (IUGR)
-ระดับ BP 105/73 mmHg
ความดันโลหิตในไตรมาสที่สองปกติ
ขณะ อายุครรภ์ 27+3 wks BP 150/90 mmHg (HDP)
-ขณะอายุครรภ์ 27+3 wks พบว่ามี BP 150/90 mmHg ซึ่งถือว่ามีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ อาจจะเป็นแบบ Gestation Hypertension ซึ่งไม่พบ Target organ involvement
ปัจจัยเสี่ยง
ระยะคลอด
จากการตรวจรกพบลักษณะรกลอกตัวก่อน กำหนด เสียเลือดรวม 1,200 ml BP 110/90 mmHg PR 110 ครั้ง/นาที มดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ภาวะตกเลือดกอนคลอด หมายถึง การที่มีเลือดออกทางชองคลอด ตั้งแตตั้งครรภได 28 สัปดาห เปนตนไป จนถึงกอนการเจ็บครรภคลอด พบไดประมาณรอยละ 3 - 4.8 ของการตั้งครรภทั้งหมด สวนสาเหตุนั้น มีหลายสาเหตุ พบวารอยละ 31 เกิดจากรกเกาะต่ำ (placenta previa) รอยละ 22 เกิดจากรกลอกตัวกอนกําหนด (abruptio placentae) และรอยละ 47 เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ (ถวัลวงศ รัตนศิริ, 2548: 11)
รกลอกตัวกอนกําหนด (abruptio placentae) หมายถึง ภาวะที่รกซึ่งเกาะอยูในตําแหนงปกติมีการ ลอกตัวกอนทารกคลอด(อนุวัฒนสุตณั ฑวิบูลยและประเสริฐศันสนียวิทยกุล,2548:239)
ระยะตั้งครรภ์
อายุ 35 ปี
-เป็นการตั้งครรภ์อายุมาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลงส่งผลให้แรงต้านทานของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น BP จึงสูงขึ้น
การตรวจร่างกายทารก
ระยะคลอด
สัญญาณชีพ
Monitor FHS (EFM) พบ Late deceleration
Late deceleration คือ การลดลงของ FHR อย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไปและกลับคืนสู่ baseline อย่างช้า ๆ สัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกโดยจุดดังต้นของการลดลงของ FHR จุดด่าสุดและการกลับคืนสู่ baseline จะเกิดช้ากว่าจุดเริ่มต้นของการหดรัดตัวของมดลูกจุดสูงสุดและการคลายตัวของมดลูกกลับคืนสู่ baseline ตามล่าดับการลดลงของ FHR จะใช้เวลาจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดต่าสุดมากกว่าหรือเท่ากับ 30 วินาที (จารุภา จิรโสภณ,2564)
หลังผ่าตัดคลอด ได้ทารกเพศ ชาย น้ำหนัก 1,700 กรัม
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ การที่มีระยะเวลาในการเจริญเติบโตน้อยในครรภ์ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ในหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะของร่างกาย (ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์,2559)
APGAR score นาทีที่ 1 และ 5เท่ากับ 5 และ 7 คะแนน ตามลำดับ
ใช้แบบประเมิน APGARscore นาทีที่ 1 และ 5เท่ากับ 5 และ 7 คะแนน
อยู่ในช่วง 4-6 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะปานกลาง หรือมีภาวะขาดออกซิเจนเล็กน้อย อาจต้องช่วยกระตุ้นการหายใจการดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกด้วยสายยางและให้ออกซิเจนทางหน้ากากช่วยด้วย
นาทีที่5อยู่ในช่วง 7-10 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะดี ไม่ขาดออกซิเจนต้องช่วยดูดสารคัดหลั่งในปากและจมูกด้วยลูกสูบยางแดงเช็ดตัวให้แห้งแล้วห่อตัว(ยุวดี วัฒนานนท์,2543)
แผนการรักษาของทารก
ระยะคลอด
มีแผนการรักษาให้ Monitor EFM
Monitor FHS (EFM) คือเครื่องตรวจประเมินการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์และประเมินการหดรัดตัวของมดลูกแบบวัดภายนอก ซึ่งมีการบันทึกและแสดงผลไว้อย่างต่อเนื่อง (จารุภา จิรโสภณ,2564)
มีแผนการรักษาให้ Monitor EFM
Monitor FHS (EFM) คือเครื่องตรวจประเมินการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์และประเมินการหดรัดตัวของมดลูกแบบวัดภายนอก ซึ่งมีการบันทึกและแสดงผลไว้อย่างต่อเนื่อง (จารุภา จิรโสภณ,2564)
แผนการรักษามารดา
ระยะคลอด
ให้ 10% MgSO4 4 gm iv push ช้าๆ ต่อด้วย 50% MgSO4 20 gm + 5% D/W 500 ml iv. rate drip 25 ml/hr
ในการให้10% MgSO4 จะให้เพื่อป้องกันการชัก
ในกรณีที่มี Severe features(สุดา ใจห้าว,2654)
Obs. อาการหลังให้ยา(MgSO4)
โดยติดตาม อาการหายใจช้า (น้อยกว่า 14 ครั้งต่อ/นาที) Absent DTRs และ Urine out put น้อยกว่า 100 ซีซีใน 4 ชั่วโมงหรือUrine out put น้อยกว่า 25ซีซี/ชั่วโมง หากพบอาการดังกล่าว ให้หยุดยาก่อนและเจาะ ระดับยา MgSO4 และแพทย์จะพิจารณาให้ยา calcium gluconate เพื่อต้านฤทธิ์ (สุดา ใจห้าว,2654)
NPO
ป้องกันการสำลักและเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
retained foley’s catheter
ไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะโป่งตึง อาจรวมถึงติดตาม Urine output
oxygen Mask with bag 10 LPM
ให้ออกซิเจนทางMask with bag 10 LPM เพื่อป้องกันภาวะ hypoxia และป้องกันทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน(สุดา ใจห้าว,2654)
เจาะ MgSO4 level เมื่อครบ 1 ชั่วโมง
Monitor magnesium level (Therapeutic serum level 4.8-8.4 mg/dl)
(สุดา ใจห้าว,2654)
on Acetar 1000 ml. 100 ml/hr
Acetate Solution มีข้อบ่งใช้เป็น fluid resuscitation ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดหรือ plasma เช่น trauma, hemorrhagic shock และ burn หรือใช้เป็นสารน้ำทดแทนในระหว่างการผ่าตัดได้เหมือนกัน(ระบบเครือข่ายเภสัชสนเทศประชานาถ Prachanath DIS Collaboration,คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
Set c/s due to severe pre-eclampsia
เตรียมอุปกรณ์เพื่อผ่าตัดคลอดเพราะมารดาเกิด
severe pre-eclampsia
Sodium citrate 30 ml. oral stat ก่อนไป OR
การงดอาหารทางปากควรงดอาหารนานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ในรายท่ีอดอาหารมาไม่นานพอ อาจจะให้รับประทานยาลดกรดท่ีไม่มีอนุภาค เช่น sodium citrate หรือฉีดยาลดกรด 30 นาที ก่อนใหยาระงับความรู้สึกเพื่อลดอันตรายจากการสำลักเศษอาหารที่ผู้ป่วยทานเข้าไปก่อนหน้า (น้ำทิพย์ เชี่ยวชาญศิลป์,2555)
ให้ Acetar 1000 ml 120 ml/hr,
Acetate Solution มีข้อบ่งใช้เป็น fluid resuscitation ในผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดหรือ plasma เช่น trauma, hemorrhagic shock และ burn หรือใช้เป็นสารน้ำทดแทนในระหว่างการผ่าตัดได้เหมือนกัน(ระบบเครือข่ายเภสัชสนเทศประชานาถ Prachanath DIS Collaboration,คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
Hct 24 % มีแผนการรักษาให้ PRC 2 unit
ผู้ป่วยโลหิตจางที่มีอาการหอบเหนื่อย มักเป็นผูที่้เกิด โลหิตจางอย่างรวดเร็ว (acute anemia) เชน acute hemolysis, acute leukemia และ acute blood loss ระดับฮีโมโกลบิน ต้ังแต่ 8 กรัม/ดล.หรือ้นอยกว่า (อภิชัย ลีละสิร,2552)
มีแผนการรักษา ให้ Cytotec 1⁄4 tab เหน็บทางช่องคลอด
ผู้ป่วยมีภาวะตกเลือดก่อนคลอด ยาที่ใช้เพื่อการรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดทันทีจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ขนาด 200-800ไมโครกรัม sublingual,oral, rectal suppository ผลข้างเคียง ได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น(คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ,2560)
G/M PRC 2 unit, 0.3 M.
Cross-Matching คือ หาหมู่เลือดและจัดเตรียมเลือดให้ผู้ป่วย ซึ่งเป็นPRC 2 unit,0.3M.
ระยะหลังคลอด
ให้ 5%D/N/2 1000 ml + syntocinon 10 unit iv drip 100 ml/hr 2 ขวด
plasil 1 gm v push prn
การได้รับ5%D/N/2 (1,000 ml) เป็นการทดแทนสารน้ำและ electrolyte ที่มารดาได้สูญเสียไปตอนคลอด ยา oxytocin (หรือ syntocinon) เป็นยาที่เพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของมดลูก ใช้ในการลดความเสี่ยงการตกเลือดหลังคลอด ที่เกิดจากมดลูก บีบรัดตัวไม่ดี
(พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์, 2562)
ampicillin 1 gm iv push ทุก 6 hr
เนื่องจากมารดาได้รับการผ่าตัดคลอด แพทย์จึงมีแผนการรักษาให้ยา ampicillin 1 gm iv push ทุก 6 hr หลังคลอดเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด(สุดา ใจห้าว,2564)
มีแผนการรักษาให้ 50% MgSO4 20 gm + 5% D/W 500 ml iv rate 25 ml/hr ต่อจนครบ 24 ชม
ในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมารดาแพทย์จะมีแผนการรักษาให้ 50% MgSO4 20 gm + 5% D/W 500 ml iv rate 25 ml/hr เพื่อป้องกันและรักษาอาการชัก(สุดา ใจห้าว,2564)
งานวิจัย"ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว"
(สมพาน ศรีสวัสดิ์และนิลุบล จิรประเสริฐ,2563)
-อายุเป็นปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคลต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์จากการศึกษาของ Yeและคณะ9 ในประเทศจีนพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ มีอายุมากกว่า 35-39 ปีเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ถึง 1.84 เท่า
หากสตรีตั้งครรภ์มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์จะ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการสะสมไขมันซึ่งอาจสนับสนุน ให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลินตามมาและชักนำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ตามมา
ปัจจัยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ในทางปฏิบัติแล้วสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์เพราะอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ดีตามมาได้ เช่น ทารกเจริญ เติบโตช้าในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนดเป็นต้น
G : Gravida จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์
P : Para จำนวนครั้งของการคลอด ซึ่งนับทั้งจำนวนการคลอดครบกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด
A : หมายถึงจำนวนการแท้ง