Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ - Coggle Diagram
โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
โรคติดต่อ
covid-19
สาเหตุ สันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด
อาการ ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น
-
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19 กักตัวตามมาตรการรัฐเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โทรแจ้งเรื่องที่เบอร์ 1330, 1668,1669 เพื่อเข้ารับการรักษา
AIDS
สาเหตุ เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง โดยเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการรับของเหลวอย่างเลือด และผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกผ่านการตั้งครรภ์ การคลอด การให้นม การใช้เข็มฉีดยาหรือสิ่งของที่มีเลือดและของเหลวของผู้ที่ติดเชื้ออยู่
อาการ
-ระยะแรกเริ่มติดเชื้อ จะมีอาการ เช่น มีไข้ ปวดหัว เจ็บคอ มีผื่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
-ระยะอาการสงบ มักจะไม่มีอาการแสดงที่เด่นชัด หรือแทบจะไม่มีอาการป่วยเลย แต่ยังคงมีเชื้อพัฒนาอยู่ภายในร่างกาย
-ระยะเอดส์ เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันถูกทำลายจนเสียหายหนัก ทำให้เกิดการติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
การป้องกัน การป้องกันระมัดระวังในเรื่องเพศสัมพันธ์ หากจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ต้องใช้เข็มที่สะอาด และไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น และหากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีเชื้อเอชไอวี ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาหรือรักษาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
การรักษา ในปัจจุบันไม่มียาหรือวิธีการรักษาใดที่จะกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปได้ มีเพียงแต่ยาที่จะช่วยชะลอการพัฒนาของโรค คือ ยาต้านเอชไอวี หรือยาต้านรีโทรไวรัส
โรคไข้เลือดออก
-
อาการ
- ระยะไข้ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
- ระยะช็อค ระยะนี้ไข้จะเริ่มลดลง ผู้ป่วยจะซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย เช่น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระมีสีดำ ในรายที่รุนแรง จะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อค และอาจถึงตายได้ ระยะนี้กินเวลา 24-48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรงและเข้าสู่ภาวะช็อคทุกราย ในผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดก็จะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว
- ระยะฟื้นตัว อาการต่างๆจะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
การป้องกัน
ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งบริเวณรอบๆบ้าน ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ
การรักษา
เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสเดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซทตามอลในช่วงที่มีไข้สูง ห้ามให้ยาแอสไพริน ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ยาแก้คลื่นไส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันภาวะช็อคได้ ระยะที่เกิดช็อคส่วนใหญ่จะเกิดพร้อมๆกับช่วงที่ไข้ลดลง ผู้ปกครองควรทราบอาการก่อนที่จะช็อค คือ อาจมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆกับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย หากเป็นดังนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
โรคซิฟิลิส
สาเหตุ
-การติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร
-การได้รับเชื้อโดยการสัมผัสโดยตรงกับบริเวณที่มีการติดเชื้อ เชื้อซิฟิลิสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง และเยื่อบุต่างๆ การติดเชื้อโดยวิธีนี้ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ และการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
อาการ
-ระยะที่ 1 หลังจากได้รับเชื้อไปประมาณ 3 สัปดาห์ จะเริ่มมีแผลริมแข็ง (Chancre)
-ระยะที่ 2 หลังจากแผลริมแข็งหายไปประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะเกิดอาการของโรคซิฟิลิส จะมีอาการทางร่างกายอื่นๆ ได้แก่ ไข้ ปวดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ มีผื่น ซึ่งมักจะพบบริเวณฝ่ามือ และฝ่าเท้า สามารถพบ
-ระยะแฝง ระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีอาการใดๆ ซึ่งกินระยะเวลานานได้เป็นปี โดยเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเป็นซิฟิลิส ระยะที่ 2 แล้วไม่ได้รับการรักษา โดยส่วนใหญ่จะตรวจพบขณะมาตรวจเลือด
ระยะที่ 3 ระยะนี้เกิดการติดเชื้อเข้าสู่อวัยวะภายใน ผู้ป่วยอาจมีอาการ ตาบอด หูหนวก มีอาการพิการทางสมอง มีโรคหัวใจ เส้นเลือด ตับ กระดูก และข้อต่อต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากได้รับเชื้อนานหลายปีโดยไม่ได้รับการรักษา
-
-
โรคไม่ติดต่อ
โรคมะเร็ง
สาเหตุ
พฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารไขมันสูง หรือรับประทานอาหารซ้ำ ๆ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด การได้รับรังสี ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน
อาการ
สำหรับในช่วงแรกของการเกิดโรคมะเร็งขึ้นในร่างกายนั้นเรียกได้ว่าแทบไม่มีอาการ
เมื่ออยู่ในระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามมากขึ้นจะเริ่มปรากฏอาการอย่างชัดเจน อาการแสดงจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรคที่มีการกระจายไป เช่น หากกระจายไปที่ปอดจะมีไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อยเป็นต้น
-
การรักษา
-การผ่าตัด การเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป
-รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
-เคมีบำบัด การให้ยา (สารเคมี) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
-ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
-การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค
โรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุ
การรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ โดยก้อนไขมันนี้เกิดจากคอเลสเตอรอลและของเสียอื่น ๆ
-
การป้องกันโรค
งดสูบบุหรี่ ลดน้ำหนักส่วนเกิน ควบคุมความเครียด หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษา
หากหลอดเลือดตีบตันเพียงบางส่วน รักษาด้วยยา หากหลอดเลือดตันมาก รักษาด้วยการทำบอลลูนหัวใจ หากไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ รักษาด้วยการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ
โรคเบาหวาน
สาเหตุ
โรคเบาหวานมีหลายประเภท สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน
อาการ
โรคเบาหวานในระยะแรกจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ กระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด รู้สึกเหนื่อยง่าย
การป้องกันโรค
ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การรักษา
ผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก
โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก
สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
โรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมากส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุพบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว
อาการ
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง
การป้องกันโรค
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ลดการบริโภคเกลือในอาหารรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงออกกำลังกายสม่ำเสมอจำกัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ห้ามสูบบุหรี่พยายามจัดการหรือลดความเครียด
การรักษา
-การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่น ลดอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนัก
-การรักษาโดยการใช้ยา การรักษาความดันโลหิตสูงโดยการใช้ยาจะช่วยลดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงได้ โดยคนไข้แต่ละคนจะตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ไม่เหมือนกัน ซึ่งแพทย์จะปรับยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน