Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นบ้าน อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น, 93B4926F-C804-4D45-B44E…
การแสดงพื้นบ้าน อินเดีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
ประเทศอินเดีย
นาฏศิลป์ในประเทศอินเดีย
๑) “ภารตนาฏยา” (Bharata natya)
คือ เป็นศิลปะการฟ้อนรำแบบดั้งเดิมอยู่ทางภาคใต้ของอินเดีย และเป็นนาฏศิลป์ประเภทเดียวที่มีนักแสดงเป็นผู้หญิง เนื่องจากการแสดงชุดนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบวงสรวงบูชาเทพเจ้า แบบแผนของการแสดงจึงต้องเป็นไปตามประเพณี และระเบียบแบบแผน ของการแสดงที่ได้กำหนดไว้ตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์
๒) “กถักกฬิ” (KATHAKALI)
คือ การแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราวเหมือนกับการแสดงละคร เรื่องที่นำมาแสดงเป็นเรื่องราวของพระผู้เป็นเจ้าหรือเรื่องราวเกี่ยวกับบรรพบุรุษ เช่น รามายณะ มหาภารตะ เป็นต้น การแสดงกถักกะลินี้เดิมใช้ผู้ชายแสดง แม้ผู้ที่แสดงเป็นตัวนางก็ใช้ผู้ชายแสดง ผู้แสดงจะแต่งหน้าซึ่งดูเหมือนกับการสวมหน้ากาก
๓) “กถัก” (KATHA)
“กถัก” (KATHA)มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย การแสดงประเภทนี้เป็นการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนาเช่นเดียวกับกถกฬิแต่มีข้อแตกต่างคือกถักจะแสดงเฉพาะเรื่องหรือตอนที่มีบทบาทคึกคัก แสดงความกล้าหาญของตัวละคร นิยมการแสดงเดี่ยวมากกว่าการแสดงหมู่ เวทีที่แสดงจะได้รับการประดับตกแต่งสวยงาม
ผู้แสดงจะแสดงลีลาด้วยการหมุนตัวไปรอบๆ เวที เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงกถัก
๔) “มณีปุรี” (MANIPURI)
คือ การแสดงนาฏศิลป์ของชาวมณีปุระ ลีลาการแสดงที่ค่อนข้างช้ากว่าการแสดงนาฏศิลป์ประเภทอื่นที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะการแสดงมณีปุระมักแสดงเป็นหมู่มากกว่าแสดงเดี่ยว ผู้แสดงใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่งกายคล้ายชาวยุโรป คือ นุ่งกระโปรงสุ่มที่มีลวดลายมากและมีการนำกระจกสีต่างๆ มาประดับกระโปรงเพื่อความสวยงาม
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ประเทศอินเดีย
คัมภีร์นาฏยศาสตร์
คือ พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึง พระราชาแห่งการฟ้อนรำ ยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อินเดียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านนาฏศิลป์ การละคร วัฒนธรรม ตะวันตกได้เข้ามาผสมผสานทำให้นาฏศิลป์ที่เป็นแบบฉบับในราชสำนักขาดการดูแลรักษา ต่อมาเมื่ออินเดียเป็นเอกราช จึงฟื้นฟูนาฏศิลป์ประจำชาติขึ้นมาใหม่
ประเทศจีน
นาฏศิลป์ในประเทศจีน
๑) “อุปรากรจีน (งิ้ว)”
การแสดงงิ้วเป็นการแสดงที่เน้นดนตรี ขับร้อง ศิลปะการต่อสู้ การแสดงอารมณ์ นักแสดงจะต้องมีทักษะรอบได้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงที่ไพเราะ มีความอดทนอดกลั้น มีความจำที่ดีเลิศ
๒) “ระบำพัด”
การแสดงนี้มีประวัติมายาวนาน แต่มีการบันทึกไว้เมื่อสมัยราชวงศ์ฮั่น นักแสดงจะรำไปพร้อมกับการโบกสะบัดพัดด้วยท่าทางที่สง่างาม เช่นเดียวกับการรำกระบี่ มันถูกพบเห็นได้ในพิธีกรรมต่างๆ แต่ชาวบ้านก็มักจะนำมาแสดงเพื่อความสนุกสนาน
๓) “ระบำกระบี่”
การรำกระบี่นั้น ถูกพัฒนามาเพื่อให้ทหารออกกำลังกาย หากจะให้เปรียบเทียบก็เหมือนการเต้นแอโรบิกในปัจจุบัน ระบำกระบี่เป็น 1 ใน 4 ระบำโบราณของจีน บ่อยครั้งที่มักจะนำพู่มาติดที่ด้ามของกระบี่ เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับการแสดงให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
๔) “ระบำนกยูง”
ระบำประเภทนี้มีถิ่นกำเนิดในมณฑลยูนนาน ระบำบำนกยูงนี้เป็นที่โด่งดังอย่างมากในแถบเอเชีย มันมีความหมายสื่อถึง สวรรค์ ความสงบ ความสง่างาม และความโชคดี รูปแบบการเคลื่อนไหวจะเป็นการเลียนแบบนกยูง
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ในประเทศจีน
ในสมัยราชวงศ์โจวศิลปะทางนาฏศิลป์ของจีนมีหลากหลาย นาฏศิลป์มีทั้งที่เป็นของชาวบ้าน และในราชสำนัก แต่เจริญสูงสุดในราชวงศ์ถัง โดยจักรพรรณ "มิ่งฮวง" ทรงเชี่ยวชาญนาฏศิลป์ และการดนตรีเป็นอย่างยิ่ง ทรงจัดตั้งวิทยาลัยการละคร ทรงอุปถัมภ์ค้ำจุนนาฏศิลป์ทุกแขนง ชาวนาฏศิลป์จีนยกย่องท่าเป็นบิดาแห่งการละคร
ประเทศเกาหลี
นาฏศิลป์ในประเทศเกาหลี
๑)ระบำหน้ากากเกาหลี (Korean Mask Dance)
เรียกว่า “ทัลชุม” (Talchum) ในสมัยก่อนการระบำหน้ากากเกาหลีนั้นเป็นการแสดงของชนชั้นล่าง เนื้อหาที่ใช้แสดงจึงจะเกี่ยวกับการเสียดสีสังคม การเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น ซึ่งขณะแสดงผู้แสดงจะสวมหน้ากากเพื่อปกปิดตัวตน และว่ากันว่าเสมือนได้ปลดปล่อยความอึดอัดใจภายใต้หน้ากากอีกด้วย
๒) การแสดงนัมซาดัง ของเมืองอันซอง
นัมซาดัง เริ่มขึ้นในตอนปลายของยุคโชซอน
(ค.ศ. 1392-1910) ซึ่งในช่วงเวลานั้นกลุ่มคณะนักแสดงได้เดินทางไปเปิดการแสดงยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อให้ความบันเทิงให้แก่คนในหมู่บ้านนั้นๆ
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ในประเทศเกาหลี
นาฏศิลป์เกาหลีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในราวศตวรรษที่ 3 นาฏศิลป์เกาหลีในสมัยโบราณใช้แสดงในพิธีทางศาสนา วิวัฒนาการของนาฏศิลป์เกาหลีก็ทำนองเดียวกับของชาติอื่น มักจะเริ่มและดัดแปลงให้เป็นระบำปลุกใจในสงคราม เพื่อให้กำลังใจแก่นักรบ หรือเป็นการร้องรำทำเพลงในหมู่ชนชั้น
ประเทศญี่ปุ่น
นาฏศิลป์ในประเทศญี่ปุ่น
๑) “ละครโนะ”
มีต้นกำเนิดมาจากเพลงสวดและการร่ายรำบูชาเทพเจ้าที่เกิดขึ้นในสมัยมุโรมะจิคำพูดมักจะใช้สำนวนโวหารที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ให้ผู้ชมตีความไปพร้อมๆ กับการแสดงที่มีท่วงท่าการเคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้า ซึ่งจะทำให้จิตใจของผู้ชมเกิดความสงบขณะนั่งชม
๒) “ละครคาบูกิ”
เป็นละครอีกแบบหนึ่งของญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมมากกว่าละครโน้ะ มีลักษณะเป็นการเชื่อมประสานความบันเทิงจากมหรสพของยุคเก่าเข้ากับยุคปัจจุบันคำว่า “คาบูกิ” หมายถึง การผสมผสาน ระหว่างโอเปร่า บัลเล่ต์ และละคร ซึ่งมีทั้งการร้อง การรำ และการแสดงละคร
๓) “บูงักกุ”
ลักษณะการแสดงเป็นการแสดงที่มีลักษณะเป็นการร่ายรําที่แตกต่างจากการร่ายรําของญี่ปุ่นแบบอื่น จะเน้นไปในทางร่ายรําล้วนๆ มากกว่าที่จะเน้นเนื้อหาของบทละคร ซึ่งถือว่ามีความสําคัญน้อยกว่าการร่ายรํา จะเน้นส่วนสัดอันกลมกลืน ไม่เฉพาะในการรําคู่ แม้ในการรําเดี่ยวก็มีหลักเกณฑ์แบบเดียวกัน
ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ในประเทศญี่ปุ่น
ประวัติของละครญี่ปุ่นเริ่มต้นประมาณศตวรรษที่7แบบแผนการแสดงต่างๆที่ปรากฏอยู่ในครั้งยังมีเหลืออยู่ และปรากฏชัดเจนแสดงสมัยปัจจุบันนี้ ได้แก่ ละครโนะ ละครคาบูกิ ปูงักกุ ละครหุ่นบุนระกุ การกำเนิดของละครญี่ปุ่น กล่าวกันว่ามีกำเนิดมาจากพื้นเมืองเป็นปฐม กล่าวคือวิวัฒนาการมาจากการแสดง ระบำบูชาเทพเจ้าแห่งภูเขาไฟและต่อมาญี่ปุ่นได้รับแบบแผนการแสดงมาจากประเทศจีนโดยได้รับผ่านประเทศ เกาหลีช่วงหนึ่ง
Comments
-การนำเสนอประเทษอินเดียและจีนอ่านไม่คล่อง
-หัวข้อในแต่ละประเทศน้อยเกินไป
-เนื้อหาของแต่ละการแสดงมากเกินไป
-มีรูปภาพเยอะและเหมาะสม
การแสดงนาฏศิลป์อินเดียชุดภารตนาฏยา
การแสดงนาฏศิลป์อินเดียชุดกถักกะลิ
การแสดงนาฏศิลป์อินเดียชุดกถัก
อุปรากรจีน (งิ้ว)
ระบำกระบี่
ระบำนกยูง
ระบำหน้ากากเกาหลี
ละครคาบูกิ
บูงักกุ
ระบำพัด
นัมซาดัง
ละครโนะ
การแสดงนาฏศิลป์อินเดียชุดมณีปุรี