Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มที่ 3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติ ที่สัมพันธ์กับการมีระดู …
กลุ่มที่ 3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติ
ที่สัมพันธ์กับการมีระดู
Menstrual cycle disorders
ภาวะเลือดออกจากช่องคลอดในวัยหมดระดู
Postmenstrual bleeding
การวินิจฉัยโรค
ทำการตรวจภายในตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดูด หรือการตรวจชิ้นเนื้อในโพรงมดลูก
รายที่เป็นติ่งเนื้อในโพรงมดลูก แพทย์อาจพิจารณานำชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกนั้น
ออกมาตรวจด้วยวิธีส่องกล้องในโพรงมดลูกและตัดชิ้นเนื้อ
การรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของประจำเดือนผิดปกติ
การตรวจภายในตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ
สาเหตุ
มีการอักเสบในโพรงมดลูก
เยื่อบุมดลูกหนาตัวจากการได้รับฮอร์โมนหรือสารที่กระตุ้น
มีพยาธิสภาพในช่องคลอด ปากมดลูก และโพรงมดลูก : ติ่งเนื้อเนื้องอก มะเร็งที่ปากมดลูก
มะเร็งเยื่อบุมดลูก
เยื่อบุช่องคลอดหรือเยื่อบุมดลูกบางจากภาวะพร่องฮอร์โมนในสตรีวัยหมดระดู
การพยาบาล
การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติจากมดลูก ที่มีสาเหตุจากโรคใดๆ ก็ตาม มีหลักการเหมือนกัน คือ
ท่าให้เลือดหยุด ควบคุมระดูให้เป็นปกติ และรักษาโรคทีเป็นสาเหตุ ส่วนรายละเอียดของการรักษา
มีความแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของการเสียเลือด อายุ ความต้องการมีบุตร โรคทีเป็นสาเหตุ
ความหมาย
ภาวะที่สตรีหมดระดูต่อเนื่องมา 12 เดือนแล้วกลับมามีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยทั่วไปสตรี
ใกล้วัยหมดระดูจะขาดระดูต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ถือว่าเข้าสู่วัยทองสมบูรณ์ จึงไม่ควรมีเลือดออก
จากมดลูกอีก ถ้ามีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดควรได้รับการค้นหาสาเหตุของเลือดระดูที่ออกผิดปกตินั้น
วัยทอง
Menopause
อาการ
ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
ซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
ร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน
ผิวหนังเหี่ยวแห้งและบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผลและกระได้ง่าย
การรักษา
ให้ฮอร์โมนเพศหญิงทดแทน (HRT)
ใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการรุนแรง
ให้กลุ่มยาที่ไม่ใช่ฮอร์โมนเพศหญิง (non-hormonal treatment)
ยากลุ่ม antidepressant เช่น ยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs
ยากลุ่ม selective estrogen receptor modulators (SERMS)
ความหมาย
ภาวะที่สตรีเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน โดยรังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า เอสโตรเจนและ
โปรเจสเตอโรน ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือน ถ้าประจำเดือนขาดหายไปครบ 1 ปี แสดงว่ารังไข่ได้หยุด
ทำงานแล้วและถือว่าได้เข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์ โดยอายุเฉลี่ยที่ผู้หญิงไทยเข้าสู่วัยทองประมาณ 48-52 ปี
การพยาบาล
อาหาร
สตรีวัยทองควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก
ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก
และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง
ตรวจเช็คความดันโลหิต
ตรวจเลือดหาระดับไขมัน
ตรวจภายในเช็คมะเร็งปากมดลูก
ตรวจหามะเร็งเต้านม (Mammography)
ตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
รวมทั้งการตรวจระดับของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง
ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน
ปวดประจำเดือน
Dysmenorrhea
อาการ
ปวดมากในวันแรกของประจำเดือน ซึ่งจะปวดบิดบริเวณ
ท้องน้อยแนวกลางลำตัวอาจปวดร้าวไปที่หลังต้นขา
อวัยวะเพศอาจปวดตื้อ ๆ บริเวณท้องน้อยตลอดเวลา รู้สึกถ่วงในอุ้งเชิงกราน
ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน
เจ็บถึงหน้าอก ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยล้า
ปวดศีรษะ มึนงง ใจสั่น เหงื่อออกมาก ไม่สุขสบาย
การวินิจฉัยโรค
มีประวัติการปวดท้อง โดยมีลักษณะตำแหน่ง ความรุนแรง ระยะเวลาของการปวด มีความสัมพันธ์
กับประจำเดือน ตรวจภายใน และตรวจ Bimanual examination ตรวจ CBC Hct. ตรวจปัสสาวะ
และอุจจาระ ตรวจการตั้งครรภ์ อัลตราซาวนด์ และส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อวินิจฉัยแยกโรค
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เกี่ยวพันกับปัจจัยต่างๆ
จาก Prostaglandin มีผลให้มดลูกหดรัดตัว
ผู้ที่ไม่เคยคลอดหรือตั้งครรภ์จะมีการขัดขวางการไหลของประจำเดือน
พบในผู้ที่มีไข่ตกจะมี Progesterone มากจะกระตุ้น Prostaglandin จับตัวกับ
ตัวรับความรู้สึกในกล้ามเนื้อมดลูกมีผลมดลูกหดรัดตัวอย่างรุนแรงแบบหดเกร็ง
ภาวะทางจิตใจ
การรักษา
ให้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Estrogen และ Progesterone เพื่อกดการสุกของไข่ ลดเยื่อบุมดลูก
ผ่าตัดขยายมดลูก ตัดเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพก
ให้ยายับยั้งการสร้าง Prostaglandin
ความหมาย
การปวดประจำเดือนมี 2 ชนิด
1. Primary Dysmenorrhea
เป็นภาวะที่มีอาการปวดช่องท้องพร้อมกับการมีประจำเดือนครั้งแรกหรือ
มีครั้งแรกหลังจากไม่มีนาน โดยไม่มีความผิดปกติของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน
2. Secondary Dysmenorrhea
เป็นภาวะที่มีอาการปวดช่องท้องขณะมีประจำเดือนเนื่องจากมีความผิดปกติ
ภายในอุ้งเชิงกรานซึ่งไม่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือนครั้งแรก
การพยาบาล
ดูแลความสุขสบาย ลดอาการปวด โดยให้นอนพักขณะปวดมาก นวดหน้าท้องเบา ๆ
ใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางที่ท้องน้อยหรือตำแหน่งที่มีอาการปวด และให้ยาแก้ปวด
เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโพรเฟนเป็นต้น
ภาวะขาดระดู
Amenorrhea
สาเหตุ
ตั้งครรภ์และให้นมบุตร, ภาวะอ้วน, มีความเครียดอย่างรุนแรง, ออกกำลังกายอย่างหนัก
กลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome – PCOS)
ขาดฮอร์โมน leptin
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติหรือมีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
ใช้วิธีคุมกำเนิดหรือยาบางชนิด (ยาโรคซึมเศร้าและยาโรคความดันโลหิต)
การรับยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีสำหรับรักษาโรคมะเร็ง
รอยแผลเป็นในมดลูก : พังผืดในมดลูก การผ่าตัดคลอด หรือการทำแท้งสามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นได้
สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาทางฮอร์โมนซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดประจำเดือน ประกอบด้วย
ความเจ็บป่วยเรื้อรังเช่นโรคหัวใจ หรือ cystic fibrosis
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
ปัญหาเกี่ยวกับรังไข่
อาการ
การขาดประจำเดือน ร่วมด้วยกับสาเหตุอื่น ๆ
มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านมหรือมีน้ำนมไหลจากเต้านม
สิวขึ้น ผมร่วง มีขนขึ้นบนหน้า
น้ำหนักตัวเพิ่มหรือน้ำหนักลด
ปวดหัวหรือมีการมองเห็นที่เปลี่ยนไปและอาการปวดท้องน้อย
ความหมาย
ภาวะขาดประจำเดือน แบ่งเป็น 2 ชนิด
primary amenorrhea
ภาวะที่ไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อนเมื่อถึงวัยที่ควรมี คือ 13-18 ปี
secondary amenorrhea
การขาดประจำเดือนในหญิงที่เคยมีประจำเดือนแล้ว
ขาดหายไปมากกว่า 3 เดือนติดต่อกัน
การพยาบาล
ทางด้านจิตใจ
พยาบาลต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการตรวจ และความจำเป็นที่ต้องตรวจ
เพื่อลดความวิตกกังวล ไม่เกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย เมื่อต้องตรวจหลายครั้งเพื่อการวินิจฉัยโรค
พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในความผิดปกติที่เกิดขึ้น
เพื่อให้ยอมรับสภาพความผิดปกติของตนเองตลอดจนอธิบายขั้นตอนการรักษา
ผลของการรักษาและสภาพที่เขาเป็นอยู่เมื่อได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว พยาบาลจะต้องเป็นผู้ให้กำลังใจ
แก่ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่าพยาบาลเป็นผู้ช่วยเหลือตลอดเวลาที่รักษาอยู่
ในรายที่ต้องทำการผ่าตัด ควรให้ผู้ป่วยได้มีเวลาคิด ตัดสินใจ ยอมรับว่าจะสมัครใจทำผ่าตัด
ได้เมื่อไหร่เพื่อจะได้เกิดความร่วมมือที่ดีในการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยเพื่อการรักษาวิธีต่างๆ
การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศ
ส่วนใหญ่จะเป็นพวก ovarian dysgenesis และต้องมีการเตรียม
ผู้ป่วยก่อนรับการรักษาด้วยฮอร์โมน ดังนี้
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและยอมรับสภาพของความผิดปกติที่เป็นอยู่
อธิบายให้ทราบถึงการรักษาด้วยฮอร์โมน อาจต้องใช้ฮอร์โมนเป็นระยะเวลานาน และบางราย
อาจจะต้องใช้ฮอร์โมนตลอดชีวิต
อธิบายให้ญาติทราบว่าจำเป็นต้องได้รับการประคับประคองทางด้านจิตใจในการที่จะยอมรับ
สภาพความเป็นจริงและสามารถปรับตัวกับสภาพความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นได้
อธิบายให้ทราบว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
ที่จะมีอันตรายในระหว่างการรักษาด้วยฮอร์โมน
การผ่าตัด
การผ่าตัดที่พบบ่อยคือผู้ป่วยที่เยื่อพรหมจารีไม่มีรูเปิด และผู้ป่วยที่มีช่องคลอดตีบตัน
ภาวะที่มีเลือดออกเนื่องจากมดลูกทำงานผิดปกติ
Dysfunctional Uterine Bleeding (DUB)
ความหมาย
เป็นภาวะที่มีเลือดออกจากเยื่อบุมดลูกผิดปกติ (Abnormal endometrial bleeding) หรือความผิดปกติ
ของรอบประจำเดือน โดยไม่มีพยาธิสภาพของมดลูกหรือพยาธิสภาพของระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
เช่น เนื้องอก การตั้งครรภ์ การบาดเจ็บ ความผิดปกติของเลือด หรือผลกระทบจากการใช้ฮอร์โมน
สาเหตุ
ขึ้นอยู่กับวัยของผู้ป่วย
วัยรุ่นมักเกิดจากการทำงานของต่อมใต้สมองและรังไข่ไม่สมบูรณ์
ความไม่สมดุลของอัตราส่วนระหว่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
การเสื่อมและความล้มเหลวของรังไข่ในการผลิตเอสโตรเจน
มีปัจจัยจากอายุ ความเครียด และความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
อาการ
มีเลือดออกทางช่องคลอดมากกว่าปกติ อาจมีก้อนเลือดใหญ่ ๆ ปนออกมาด้วย
กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่จะมีอาการไม่แน่นอน อาจมีช่วงที่ประจำเดือนขาดหายไประยะหนึ่งก่อนแล้วมีเลือดออกผิดปกติ
กลุ่มที่มีไข่ตกจะมีเลือดออกมาก เนื่องจากกลไกที่ทำให้เลือดหยุดมีความผิดปกติและอาจมีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย
กลุ่มที่มีความผิดปกติจากการทำงานของ Corpus lutium บกพร่องจะมีเลือดออกกะปริบกะปรอยก่อนหรือหลังมีประจำเดือน
การพยาบาล
แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ รักษาผิวหนังบริเวณฝีเย็บให้สะอาดอยู่เสมอ โดยใช้สบู่อ่อน
ไม่ใช้สบู่หรือสารที่มีกลิ่นหอมหรือยาฆ่าเชื้อผสมทำความสะอาดผิวบริเวณฝีเย็บหรือช่องคลอด
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
สังเกตลักษณะสีจำนวนของเลือดและสิ่งขับหลั่งทางช่องคลอด หากมีความผิดปกติรายงานให้แพทย์ทราบ
หลังผ่าตัดบันทึกสัญญาณชีพแผลผ่าตัด กระตุ้นให้หายใจลึก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนะนำให้เคลื่อนไหวและลุกจากเตียงโดยเร็วที่สุด
ดูแลแผลให้แห้งและสะอาด หากปวดแผลให้ยาตามแผนการรักษา
จัดให้นอนท่าศีรษะสูง
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา เมื่อสามารถรับประทานอาหาร
ได้ให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีน มีกากใยและเหล็กสูง ให้ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 2,000 มิลลิลิตร
ลดการสูญเสียเลือด ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว
การรักษา
กลุ่มที่ไม่มีการตกไข่ให้ฮอร์โมน Progestin-estrogen ยาคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมนตามรอบในขนาดต่ำ ๆ
หรือยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมกลุ่มที่มีไข่ตกให้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมยายับยั้งการสังเคราะห์ Prostaglandin
หากมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติให้ยา Desmopressin (Minirin)
หากมีเลือดออกมากต้องการให้หยุดโดยเร็วอาจให้ Estrogen และยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม
เมื่อเลือดออกน้อยลงให้รับประทาน Estrogen หรือรับประทาน Estradiol แล้วตามด้วย Progestin
และยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม
การทำลายเยื่อบุมดลูกด้วยเลเซอร์