Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CBL สถานการณ์ที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี G2P1A0L1 - Coggle Diagram
CBL สถานการณ์ที่ 2 หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี
G2P1A0L1
อายุมากกว่า 30 + มีประวัติมารดาเป็นเบาหวาน
Insulin ลดลง
Hyperglycemia
มีความผิดปกติของหลอดเลือด
HDP (Hypertensive disorder in pregnancy
น้ำตาลรั่วผ่านไปยังทารก
ทารกมีน้ำตาลในเลือดสูง
กระตุ้นการสร้าง Insulin มากขึ้นของทารก
ยับยั้งการทำงานของ cortisol
สร้าง Surfactant ของปอดทารกลดลง
RDS
Fetal polyuria
Polyhydramnios
over uterine distention
Uterine stretch theory
1 more item...
Uterine atony
1 more item...
เกิด depolarization
1 more item...
ไขมันสะสมบริเวณคอ ไหล่และลำตัว
Macrosomia
(ทารกน้ำหนัก 4200 g.)
Shoulder dystocia
การบาดเจ็บของช่องคลอด
1 more item...
ผ่าตัดคลอด
4 more items...
ทารกมีโอกาสคลอดติดไหล่
เสี่ยงต่อภาวะ Hyper/hypoglycemia เนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตัวเอง
การตั้งครรภ์
ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
กลูโคสถูกใช้เป็นพลังงานให้ทารก
Hypoglycemia
HCG สูง
มีผลต่อ Chemoreceptor trigger zone (CTZ)
กระตุ้น vomiting center
Nausea&Vomiting
Hyperemesis gravidarum
ความอยากอาหารลดลง
Electrolyte imbalance
ช่วงหลังของการตั้งครรภ์
Placental hormones/Enzyme
hPL
progesterone
Prolactin
estrogen
insulinase
ต้านการหลั่ง insulin
insulin ทำงานลดลง
insulin resistance
diabetogenetic stage
post pradial hyperglycemia
สตรีตั้งครรภ์รายนี้ควรได้รับการคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ควรได้รับการคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ สตรีตั้งครรภ์รายนี้มีอายุ 38 ปี (มากกว่า 30 ปี)และมีประวัติมารดาเป็นโรคเบาหวาน
หากสตรีตั้งครรภ์รายนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีการตรวจ อะไรบ้าง
การคัดกรองและวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง จะมีการคัดกรอง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์,ขณะอายุครรภ์
24-28 สัปดาห์,ขณะตั้งครรภ์ 32-34 สัปดาห์
ตรวจคัดกรอง
-50 g Glucose challenge test (50 g GCT) ถ้าผลผิดปกติให้ตรวจวินิจฉัยต่อด้วย 100 กรัม OGTT
ตรวจวินิจฉัย
-100 g oral glucose tolerance test (100g OGTT)
สตรีตั้งครรภ์รายนี้ควรได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง
การควบคุมอาหาร (กาญจนา ศรีสวัสดิ์, 2557)
เป้าหมาย
เพื่อให้อาหารเพียงพอแก่มารดาและทารกในครรภ์
ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ป้องกันภาวะคีโตซีสจากการขาดอาหาร
(starvation
ketosis)
สิ่งสำคัญในการควบคุมอาหาร
คือ การจำกัดพลังงานรวมทั้งควบคุมสัดส่วนของอาหารในแต่ละวัน โดยคงสารอาหาร
ให้ครบทุกหมู่ตามหลักโภชนาการ
หญิงตั้งครรภ์ที่มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรได้รับพลังงาน 30 - 35 แคลอรี่/กิโลกรัม
(ก่อนตั้งครรภ์ได้ ) /วัน
โปรตีนร้อยละ 12 - 20
คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50 - 60
ไขมันร้อยละ 20 - 30
การกระจายมื้ออาหารในแต่ละวัน
อาหารหลัก 3 มื้อ
อาหารว่างอย่างน้อย 3 มื้อ
อาจมีมื้อก่อนนอนเพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำช่วงกลางคืน
งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย
น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนมหวานต่างๆ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก เป็นต้น
ควรรับประทานผักและผลไม้ให้ได้ 5 ส่วนต่อวันและไม่ควรรับประทานผลไม้อบแห้ง หรือผักที่เป็นหัวเพราะจะมีคาร์โบไฮเดรตสูง
เลือกอาหารที่เป็นธัญพืช เช่น ข้าวกล้องแทนข้าวขาว ส่วนโปรตีนควรเน้นอาหารโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา หมูเนื้อแดง ไก่ชนิดที่ไม่ติดหนัง เนื้อวัวไม่ติดมัน เป็นต้น สำหรับโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วลิสง และงา เป็นแหล่งโปรตีนที่มีใยอาหารจะช่วย ระบบขับถ่าย และป้องกันไม่ให้ท้องผูกได้
ควรเน้น การดื่มนมสดชนิดจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย เพื่อหลีกเลี่ยง ไขมันในนม หรือดื่มน้ำนมถั่วเหลืองแทน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูติดมัน หนังไก่ เป็นต้น และใช้ไขมันจากพืชเพื่อป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
การออกกำลังกาย
(กาญจนา ศรีสวัสดิ์,2557)
เป้าหมาย
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยเพิ่มความไวต่ออินซูลินและเพิ่มฤทธิ์ของ
อินซูลิน จึงช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน
การออกกำลังกายขนาดปานกลางในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวาน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการคลอดบุตรที่มีขนาดใหญ่
ควรออกกำลังในระดับปานกลางที่ไม่หักโหมจนเกินไป
การเดินนาน ขี่จักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องอยู่ในท่านอนหงาย เนื่องจากหลอดเลือดดำใหญ่ (inferior vena cava)
อาจถูกกดทับโดยมดลูกได้
ใช้เวลาวันละประมาณ 30 นาทีหรือมากกว่า
ก่อนออกกำลังกายทุกครั้งควรมีการอบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 5 - 10 นาที เพื่อป้องกันการ
บาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
อัตราการเต้นของหัวใจไม่ควรเกิน
140 ครั้งต่อนาที
ขณะออกกำลังกายถ้าเกิดการหดรัดตัวของมดลูก หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดควรหยุดออก
ดูแลให้ได้รับอินซูลินตามแผนการรักษา ได้แก่ อินซูลิน 8-8-6-0 ac ก่อนอาหาร 30 นาที
เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน
4.ตรวจติดตามสุขภาพ
ทารกในครรภ์
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับมารดาและทารกในครรภ์
ตรวจติดตามการทำงานของไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และระดับของ HbA1C
นักศึกษาคิดว่าสตรีตั้งครรภ์รายนี้ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำในการเป็นเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์ เพราะเหตุใด
เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง
มารดามีประวัติเป็นเบาหวาน
สตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 30 ปี
4.การเตรียมตัวเพื่อตรวจ 50 g GCT และ 100 g OGTT แก่สตรีตั้งครรภ์รายนี้
50g. GCT ผู้ป่วยไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนการตรวจ และให้กินน้ำตาล 50 กรัม หลังจากกิน 1 ชม. ให้เจาะเพื่อหาระดับน้ำตาล
• 100g OGTT ให้งดน้ำงดอาหารก่อนวันตรวจอย่างน้อย 8-14 ชั่วโมง และเจาะ Fasting blood sugar ก่อน จึงให้กินน้ำตาล 100 กรัม รอ1,2,3 ชั่วโมง จึงเจาะหาระดับน้ำตาล
5.สตรีตั้งครรภ์รายนี้ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ เพราะเหตุใด
เป็น เนื่องจากผลการตรวจคัดกรอง 50 g GCT เมื่ออายุครรภ์ 25+1 สัปดาห์ ได้ 150 mg/dl ถือว่าผิดปกติ จึงมีการตรวจวินิจฉัย 100g OGTT ต่อ ได้ค่า FBS 110 mg
(ตามเกณฑ์คาร์เพนเตอร์ปกติ 95 mg/dl)
1 hr -PPG = 192 mg.
(ตามเกณฑ์ปกติของCarpenter 180 mg)
2 hr -PPG = 168 mg.
(ตามเกณฑ์ปกติของCarpenter 155 mg)
GDM A2
3 hr -PPG = 140 mg.
(ตามเกณฑ์ปกติของCarpenter 140 mg)
7.ท่านคิดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์รายนี้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มารดามีอายุมาก (38 ปี)
ประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด สตรีตั้งครรภ์รายนี้ ควรได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง
1.ให้คลอดปกติทางช่องคลอด ยกเว้น ถ้าประเมินน้ําหนักทารกได้ตั้งแต่ 4000 กรัมขึ้นไป
สามารถพิจารณาให้ผ่าตัดคลอด
2.รับอินซูลินเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด(active labor) ให้งดน้ําและอาหารและหยุดยาตอนเช้า
3.ตรวจระดับน้ําตาลก่อน
ให้สารน้ํา
ถ้าน้อยกว่า 70-80 มก./ดล. ให้ 5% dextrose ในอัตรา 100-150 มล./ชม.
ถ้ามากกว่า 70-80 มก./ดล. ให้ normal saline
ตรวจติดตามระดับน้ําตาลทุก 1 ชั่วโมง ให้มีค่าประมาณ 80-120 มก./ดล.
ให้ Regular (short-acting) insulin ถ้าระดับน้ําตาลมากกว่า 120 มก./ดล
ตรวจสอบการฉีกขาดของแผลฝีเย็บอย่างละเอียด
ประเมินอาการทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด เช่น การบาดเจ็บจากการคลอด
วิธีการคลอด โดยทั่วไปสามารถให้คลอดทางช่องคลอดตามปกติแต่ในรายที่ทารกตัวโตมากอาจพิจารณาผ่าตัดทางหน้าท้อง
ในกรณีที่มีการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อาจพิจารณายับยั้งการเจ็บเหมือนครรภ์
ทั่วไป
ตรวจหาการฉีดขาดของช่องทางคลอดเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
8.สตรีตั้งครรภ์รายนี้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อย่างแน่นอน ควรได้รับการซักประวัติหรือประเมินเรื่องใดบ้าง
การซักประวัติ
การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
การนับลูกดิ้น
น้ำหนักและส่วนสูง
การตรวจร่างกาย
ตรวจครรภ์เพื่อดูว่าครรภ์ใหญ่กว่าปกติหรือไม่ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์แฝดน้ำได้
วัดระดับยอดมดลูก
ตรวจอัลตราซาวด์
ประเมิน BMI
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
ประเมินการตรวจวินิจฉัย 100g (OGTT) ตอน 32 สัปดาห์
9.สตรีตั้งครรภ์รายนี้ ได้รับผลกระทบจากการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วหรือยัง
ได้รับการผ่าตัดคลอดทางท้อง เนื่องจาก ทารกมีขนาดใหญ่ทำให้เกิดการคลอดยาก
11.ท่านสามารถกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการรักษาได้อย่างไร
ทารกหลังคลอด
1.มีภาวะ RDS เนื่องจากอินซูลินขัดขวางการสร้างเอนไซม์ที่ผลิตสาร surfactant
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกชิเจนอย่างเพียงพอต่อร่างกาย เพื่อลดอาการ RDS
2.ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ค่าก๊าชในเลือด เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลง
3.จัดท่านอนให้ลำคอตรง ไม่พับงอ (Neutral position) หรือจัดท่านอนคว่ำ เพื่อช่วยลด
การใช้แรงในการหายใจ
4.ดูแลรักษาอุณหภูมิกายให้อยู่ในช่วง 36.8-37.2 องศาเซลเชียส เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ของร่างกาย
5.ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารอย่างเพียงพอ
6.ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะ RDS ได้แก่ หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน มีอกบุ๋ม มีภาวะ cyanosis เป็นต้น
เป้าการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะ RDS
ข้อมูลสนับสนุน : RR 72 bpm.
เกณฑ์การประเมิน
• ไม่มีอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะ RDS ได้แก่ หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน มีอกบุ๋ม มีภาวะ cyanosis เป็นต้น
• สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
มีภาวะ Neonatal hypoglycemia เนื่องจากไม่ได้รับน้ำตาลจากมารดา
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเหมาะสมเพียงพอ ควรเริ่มให้นมแม่โดยเร็ว
ภายใน 1 ชั่ว โมง แรกหลังเกิดและให้ต่อเนื่องกันตามความต้องการของทารก ทุก 2-3
ชั่วโมง
ควบคุมอุณหภูมิห้องและดูแลให้ความอบอุ่นแก่ทารก
ติดตามผลการตรวจหาระดับน้ำตาลเป็นระยะ 1-2 hr จนกว่าจะคงที่ โดยทำการเจาะ DTX
ดูแลให้ทารกพักผ่อนให้เพียงพอ จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เพื่อลดการใช้พลังงาน
ประเมินอาการและอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะ hypoglycemia ได้แก่ ซึม ไม่ดูดนม มีสะดุ้งผวา สั่น ชีด หายใจไม่สม่ำเสมอ หายใจเร็ว ร้องเสียงแหลม
เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก เหงื่อออก เป็นต้น
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะ Neonatal hypoglycemia
ข้อมูลสนับสนุน : เจาะ DTX แรกคลอด 38 mg%
เกณฑ์การประเมินผล
DTX มากกว่า 45 mg%
มีภาวะ Hypothermia เนื่องจากปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ไม่ดี
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้ทารกอยู่ในตู้อบที่มีอุณหภูมิเหมาะสมตามตารางเปรียบเทียบน้ำหนักและอายุของทารกหรือประมาณ 32-35 องศาเซลเชียส
2.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 15 นาที 2 ครั้งหรือจนกว่าอุณหภูมิของร่างกายคงที่อยู่ใน
ระดับปกติต่อไปวัดทุก 4 ชั่วโมงหรือเมื่อทารกมีระดับอุณหภูมิปกติพร้อมที่จะออกจากตู้
ให้การพยาบาลโดยสวมเสื้อผ้าและห่อตัวทารกให้อบอุ่นพร้อมบันทึกอุณหภูมิทุกครั้ง
3.ประเมินภาวะอุณหภูมิต่ำ เช่น อาการซึมลง หัวใจเต้นช้าลง หายใจช้าลง ริมฝีปาก
ปลายมือปลายเท้าเขียว แขนขาเย็น
4.ประเมินภาวะอุณหภูมิสูง เช่น หน้าแดง หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผิวหนังร้อนกว่าปกติ
5.ดูแลให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล หลีกเลี่ยงการเปิดตู้อบโดยไม่จำเป็น
6.ดูแลความสะอาดร่างกายทารกโดยเปลี่ยนผ้ารองกันผ้ปูทุกครั้งที่อุจจาระปัสสาวะ
7.ดูแลให้ความอบอุ่นร่างกายเมื่อจำเป็นต้องนำเด็กออกนอกตู้อบ โดยห่อด้วยผ้าสำลีหรือใช้เครื่องให้ความอบอุ่นขณะให้การพยาบาล
ข้อมูลสนับสนุน : BT 36.3 องศาเซลเชียส
เป้าหมายการพยาบาล ไม่เกิดภาวะ hypothermia
เกณฑ์การประเมินผล
•BT อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะ hypothermia เช่น ดูดนมน้อยลง หรือไม่ดูดนม ซึม ตัวซีด เป็นต้น
มารดาขณะตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อภาวะHypoglycemia/Hyperglycemia เนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ควบคุมอาหารให้ได้รับแคลอรี่วันละ 30-35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการควบคุมเบาหวาน เช่น รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แนะนำให้งดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เพื่อจำกัดจำนวนน้ำตาลที่เข้าสู่ร่างกาย ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน มะม่วงสุก เป็นต้น
แนะนำให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้และอินซูลินดูดซึมได้เร็วขึ้น
ประเมินค่าระดับน้ำตาลในเบือดจากปลายนิ้วทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
ผล 100 g OGTT พบเป็น GDM A2
เป้าหมายการพยาบาล ไม่มีภวะน้ำตาลในเลือดสูง/ต่ำ
เกณฑ์การประเมินผล
•คงระดับน้ำตาลให้ไม่เกินไปกว่าปัจจุบัน
2.ทารกมีโอกาสคลอดติดไหล่
ข้อมูลสนับสนุน
• หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี
• สตรีตั้งครรภ์มีภาวะ GDM A2
• ระดับความสูงของยอดมดลูก สัปดาห์ที่25 อยู่ที่ระดับ 2/4 > สะดือ (ความสูงของยอดมดลูกสูงกว่าอายุครรภ์จริง)
เป้าหมายการพยาบาล
ไม่เกิดภาวะคลอดติดไหล่
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่คลอดติดไหล่
กิจกรรมการพยาบาล
1.รายงานความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้แพทย์ได้ทราบ เพื่อเตรียมช่วยเหลือการคลอด
ให้การช่วยเหลือการคลอด โดยการตัดฝีเย็บให้กว้างขึ้นช่วยกดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
ถ้าไหล่ยังไม่คลอด รายงานแพทย์เตรียมพร้อมช่วยเหลือ
4.ประเมินสัญญาณชีพและสภาพร่างกายหลังการคลอดทารก
3.มารดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์จากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เป้าหมายการพยาบาล
มารดามีควรมวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะของโรคเบาหวาน
ข้อมสนับสนุน
• มีภาวะ GDM A2
เกณฑ์การประเมินลนผล
มารดามีสีหน้าแววตาสดชื่นขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ปลอบโยนผู้ป่วยให้รู้สึกอบอุ่น คลายความกลัว และความวิตกกังวล
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามและรระบายความวิตกกังวลและอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับโรคให้ผู้ป่วยได้รับทราบ
3.ยกตัวอย่างให้ผู้ป่วยทราบว่าเคยมีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถตั้งครรภ์และคลอดได้ บุตรสมบูรณ์แข็งแรงดี โดยปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
ภายหลังคลอด C/S มารดาหลังคลอดรายนี้ควรได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง
หยุดให้อินซูลินทันที
แนะนำให้ตรวจ 75 g OGTT เกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวาน คือ FBS > 126 มก.ดล.หรือ2 hrPPG > 200 มก./ดล. ถ้าปกติให้ตรวจคัดกรองอย่างน้อยทุก 3 ปี
ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ ถ้าไม่ปวดแผลผ่าตัดมาก สามารถให้ทารกดูดนมได้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและเพื่อสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
ประเมินและสังเกตอาการผิดปกติ หากมีน้ำหรือเลือดออกจากแผลผ่าตัดในปริมาณที่
มาก มีหนอง บริเวณแผลมีอาการบวมแดง ปวดแผลมากยิ่งขึ้น ให้รายงานแพทย์ทันที
กระตุ้นให้มารดาเปลี่ยนอิริยาบถ กรณีมีอาการปวดแผลไม่มาก โดยการลุก นั่ง เดิน ใกล้ๆ
แนะนำไม่ให้แผลผ่าตัดถูกน้ำประมาณ 7 วัน
ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์ หากสามารถรับประทานอาหารได้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำ รับประทานอาหารเหลวและอ่อนตามลำดับ แต่ควรเพิ่มปริมาณอาหารและพลังงานต่อวันเป็น 500 กิโลแคลลอรี่/วัน
แนะนำการคุมกำเนิด ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่มีเอสโตรเจนปริมาณสูง และไม่แนะนำการใส่ห่วงอนามัยอาจเพิ่มการติดเชื้อได้
ขณะ 2 ชั่วโมงหลังคลอด ทารกรายนี้ควรได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง
หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะ ตั้งครรภ์ควรได้รับคำแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เพื่อลด ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วยให้ภาวะ
การทนต่อกลูโคสดีขึ้น
ดูแลให้ทารกได้รับออกชิเจน เพื่อลดภาวะ RDS
3.จัดท่านอนให้ลำคอตรง ไม่พับงอ (Neutral position) หรือจัดท่านอนคว่ำ เพื่อช่วยลดการใช้แรงในการหายใจ
จัดให้ทารกอยู่ในตู้อบที่มีอุณหภูมิเหมาะสม
ดูแลให้ความอบอุ่นร่างกายเมื่อจำเป็นต้องนำเด็กออกนอกตู้อบ โดยห่อด้วยผ้าสำลีหรือ
ใช้เครื่องให้ความอบอุ่นขณะให้การพยาบาล
ดูแลให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
สังเกตภาวะแทรกช้อนของทรกหลังคลอดโดยประเมินอัตราการหายใจ
และอุณหภูมิกายทุก 30 นาที
ดูแลให้มารดาและทารกนอนอยู่บนเตียงเดียวกันหลังให้ทารกดูดนม โดยเอาไม้กันเตียงขึ้นทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันทารกตกเตียง คอยดูแลอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมารดาหลังคลอดจะอ่อนเพลียจากการคลอด
ติดตามผลการตรวจหระดับน้ำตาลเป็นระยะ โดยทำการเจาะ DTX เพื่อประเมินภาวะ Neonatal hypoglycemia
ดูแลทารกอย่างใกล้ชิด โดยการติดตามภาวะแทรกช้อนจาก
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ RDS, Hypothemia, Neonatal hypoglycemia เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
สุดา ใจห้าว.(2564). การพยาบาลมารดาที่มีถาวะแทรกซ้อนเนื่องจากการตั้งครรภ์.เอกสารประกอบการสอนรายวิชา NUR-343
การผดุงครรภ์ และการพยาบาลมารดา-ทารก 2. สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : นครศรีธรรมราช.
กาญจนา ศรีสวัสดิ์และอรพินท์ สีขาว. (2557). การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 50-57.
Chen Wang , Hui-xia Yang. (2016). Diagnosis, prevention and management of gastational diabetes mellitus. Chronic disease and Medicine, 1-6.
กรรณิกา เพ็ชรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการเกิด ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี,29(1), 11-20.