Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี G2P1A0L1, …, ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตส…
หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี G2P1A0L1
ระยะหลังคลอด
การดูแลทารก 2 ชม.หลังคลอด
-เจาะเลือดส่งตรวจพลาสมากลูโคสทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยกลูโคสในเลือด < 40 มก/ดล (DTX แรกคลอด 38 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
-ดูแลให้ได้รับสารละลายกลูโคส 200 มก. / กกโดยให้ 10% D / W 2 มล / กก.ทางหลอดเลือดดำช้าๆมากกว่า 1 นาทีตามด้วยกลูโคสทางหลอดเลือดดำในอัตรา 6-8 มก / กก. / นาที ตามอัตรา endogenous glucose production (AAP แนะนำในอัตรา 5-8 มก / กก. / นาที) เพื่อให้ระดับพลาสมากลูโคส> 45 มก. / ดล. 34 โดยคิดปริมาณน้ำที่เท่ากับที่ทารกแรกเกิดปกติต้องการในแต่ละวัน
-ตรวจกลูโคสในเลือดทุก 30 นาที และตรวจทุก 1-2 ชั่วโมงจนกว่าระดับกลูโคสจะคงที่ต่อไปตรวจทุก 4-6 ชั่วโมงหากระดับกลูโคสยังคงต่ำให้รายงานแพทย์เพื่อเพิ่มปริมาณกลูโคสในอัตรา 1-2 มก / กก. / นาทีทุก 3-4 ชั่วโมงหรืออาจให้สารละลายเดกซ์โตรสทางหลอดเลือดดำ เฝ้าระวังภาวะ rebound hypoglycemia
-กรณีพลาสมากลูโคสคงที่อยู่ในระดับ 50-70 มก / ดล.รายงานแพทย์เพื่อลดอัตรากลูโคสเข้าหลอดเลือดดำทุก 3-4 ชั่วโมง
-กรณีที่ทารกยังคงต้องการอัตรากลูโคสเข้าหลอดเลือดดำสูง (12-15 มก / กก / นาที) เฝ้าระวังภาวะ hyper insulinism และรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยาหรือการรักษาอื่น
-เมื่อทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดปกติและคงที่แล้วดูแลให้ให้กินนมได้
การให้ Vit K
กระตุ้นให้ตับสังเคราะห์ prothrombin ช่วยในการแข็งตัวของเลือดป้องกันภาวะเลือดออกที่เกิดจาก Vit K
ประเมิน Apgar score
ดูแลทางเดินหายใจ
Suction
ประเมิน Vital sign
BP วัดในกรณี Apgar ต่ำ ค่าปกติ 50-70/30-45 mmHg
Axillary temperature 36.5-37.3 องศาเซลเซียส
ฟัง HR บริเวณ Apex
RR 40-60 bpm
ดูแลทารกให้อบอุ่น
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอด ป้องกันการสูญเสียความร้อนกับการระเหย
ใส่หมวก ห่อตัวทารก เพื่อลดการพาความร้อนออกจากร่างกาย
ใช้ผ้าอุ่นวางบนเครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อป้องกันเครื่องชั่งน้ำหนักนำความร้อนออกจากร่างกายทารก
มือและอุปกรณ์ที่สัมผัสทารกควรวางให้อุ่นก่อนตรวจทารก
หลีกเลี่ยงการวาง crib ใกล้กำแพงที่มีความเย็น เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนแบบแผ่รังสี ควรวางทารกได้ radiant warmer
การดูแลตา terramycin eye ointment
การดูแลมารดาหลังจาก C/S
-ระยะหลังคลอดส่วนใหญ่ระดับน้ำตาลในเลือดในระยะหลังคลอดจะกลับสู่ภาวะปกติ งดอินซูลินทันทีหลังคลอด
-ตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดควรทำ 2-4 ครั้งต่อวัน
-ประเมินสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์โดยใช้ 75 gram oral glucose tolerance test เมื่อ 6-12 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าผลตรวจปกติควรได้รับการตรวจซ้ำอย่างน้อยทุก 3 ปี
-ให้คำแนะนำมารดาสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ตามปกติ แต่กรณีกลับมาใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลจะไม่สามรถให้นมมารดาเนื่องจากยาสามารถผ่านทางน้ำนมได้
-ให้คำแนะนำมารดาในการคุมกำเนิด
: ผู้ป่วยที่มีบุตรเพียงพอแล้วควรแนะนำทำหมัน
: การคุมกำเนิดชั่วคราวสำหรับสตรีที่เป็นเบาหวาน
แนะนำ low dose oral contraceptive pill ได้ (ในกรณีผู้ป่วยไม่มี vascular หรือ ischemic heart disease มาก่อน
การใช้ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของโปรเจสเตอโรนสามารถใช้แบบชนิดรับประทานหรือฉีดเนื่องจากมีผลกระทบต่อระดับน้ำตาลน้อยยกเว้น Norplant ซึ่งอาจทำให้การควบคุมเบาหวานเลวลงได้
ไม่แนะนำห่วงอนามัย (IUD) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
-แนะนำไม่ให้แผลโดนน้ำ 7 วันหลังคลอด ควรเช็ดตัวให้สะอาดจนกว่าจะตัดไหมหรือแผลติดดีแล้วจึงอาบได้
-แนะนำให้ปรับเวลานอนวรนอนกลางวันพร้อมทารกหรือหาบุคคลอื่นมาช่วยดูแลทารกเมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย
ณ คลินิกฝากครรภ์
หญิงตั้งครรภ์อายุ 38 ปี
ปัจจัยเสี่ยงลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สตรีวัยเจริญพันธุ์จะอยู่ที่ช่วงอายุ 15-49 ปี และช่วงอายุที่เหมาะกับการตั้งครรภ์คือ 20-34 ปี (สำนักงานอนามัยการเจริญพันธุ์ขับเคลื่อนนโยบาย,2562)
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 52 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร
ปัจจัยเสี่ยงต่ำ
ค่าดัชนีมวลกายที่อยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนตั้งครรภ์อยู่ที่ 18.5-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตรโดยในหญิงตั้งครรภ์รายนี้มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 20.31 กิโลกรัม/ตารางเมตรซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ำ
(เวชบันทึกศิริราช,2551)
การซักประวัติการตั้งครรภ์และการแท้งในอดีต
G2P1A0L1
จากกรณีศึกษา G2P1A0L1 หมายถึง การตั้งครรภ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 จำนวนครั้งของการคลอดมีประวัติการคลอดบุตร 1 ครั้ง ไม่มีประวัติเรื่องของการแท้งเกิดขึ้นและจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ของกรณีศึกษารายนี้มารดาได้คลอดบุตรและมีชีวิตอยู่
(สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ปัจจัยเสี่ยงสูง
มีประวัติมารดาเป็นเบาหวาน
การที่ประวัติมารดาของกรณีศึกษารายนี้เป็นเบาหวานซึ่งจากการที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวานทำให้หญิงตั้งครรภ์รายนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน
(สุดา ใจห้าว, 2564)
ฝากครรภ์ครั้งแรก
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงของทารกในครรภ์
ความดันโลหิต 110/70 mmHg
จากข้อมูลของกรณีศึกษารายนี้พบว่าไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากในภาวะความดันโลหิตสูงจะต้องมีค่า SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และ/หรือ DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg โดยวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที และคงที่นานกว่า 6 ชั่วโมง
(ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
urine albumin= negative
การตรวจ urine albumin คือการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ สำหรับในกรณีศึกษารายนี้ตรวจไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ แปลผลว่าไตยังสามารถทำงานได้ปกติ ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
(ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อคัดกรองเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
sugar= nevative
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะของกรณีศึกษารายนี้พบว่า ไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ แปลผลว่าไตยังสามารถทำงานได้ปกติ ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
(ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)
การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
ไม่ได้ยินเสียง FHS
ฟังไม่ได้ยินเสียง FHS เนื่องจากกรณีศึกษารายนี้มีอายุครรภ์ 7+2 สัปดาห์ซึ่งปกติจะฟังเสียง FHS ได้ตอน 12 สัปดาห์
(ดวงพร ผาสุวรรณ, 2564)
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
ผล 50 g GCT(Glucose challenge test) เท่ากับ 150 mg / dl
การตรวจ 50 g GCT เป็นการตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือดโดยตรวจเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ มีวิธีการตรวจคือ เจาะเลือดหลังรับประทานน้ําตาลกลูโคส 50 กรัม ท่ี 1 ชั่วโมง โดยไม่ต้องงดน้ําและอาหารก่อนการตรวจ ซึ่งค่าปกติจะไม่เกิน 140 mg/dl ในกรณีศึกษารายนี้ผลตรวจ 50 g GCT ได้เท่ากับ 150 mg/dl ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์บ่งชี้ว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังรับประทานน้ำตาล 1 ชั่วโมง
(สุดา ใจห้าว, 2564)
แพทย์นัดอีก 1 สัปดาห์เพื่อทํา 100 g OGTT
การวินิจฉัยโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
ผลการตรวจ 100 g OGTT (oral glucose tolerance test) พบว่า
FBS = 100 mg
ค่าปกติ 95 mg
จากข้อมูลของกรณีศึกษารายนี้ พบว่ามีผลการตรวจที่ผิดปกติแค่ค่าเดียว ซึ่งการวินิจฉัยโรคต้องมีเกณฑ์ผิดปกติ 2 ค่า ซึ่งเคสนี้จึงอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถฝากครรภ์ตามปกติต่อไปได้ แต่ควรมีการตรวจซ้ำเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์
(สุดา ใจห้าว, 2564)
1 hr-PPG 170 mg
ค่าปกติ 180 mg
2 hr-PPG 150 mg
ค่าปกติ 155 mg
3 hr-PPG 130 mg
ค่าปกติ 140 mg
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ 7+2 wks by LMP น้ำหนัก 53 กิโลกรัม
และยังคลำยอดมดลูกไม่ได้
กรณีศึกษารายนี้มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ คือ 52 กิโลกรัม ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 น้ำหนัก 53 กิโลกรัมซึ่งตามอายุครรภ์ 7+2wks ในไตรมาสที่ 1 น้ำหนักควรจะเพิ่มไม่เกิน 1กิโลกรัม แปลผลว่าเป็นไปตามเกณฑ์ปกติ(ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)และยังคลำยอดมดลูกไม่ได้เนื่องจากอายุครรภ์ยังอยู่ที่7+2wks ซึ่งปกติจะคลำยอดมดลูกได้ตอน 12 สัปดาห์ (รศ.สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 2
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต 130/60 mmHg
ความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 30 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 15 mmHg จะจัดอยู่ในเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นความดันโลหิตสูง และหากค่า MAP อยู่ ระหว่าง 100-105 mmHg ควรเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ มีค่าความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 20 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure ต่ำกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 10 mmHg และค่าMAP อยู่ที่ 83 mmHg แปลผล ความดันโลหิตสูงผิดปกติ ควรเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูง (สุดาใจห้าว, 2564)
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ
เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
urine Albumin = negative
การตรวจ urine albumin คือการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ สำหรับในกรณีศึกษารายนี้ตรวจไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ แปลผลว่าไตยังสามารถทำงานได้ปกติ ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
sugar = trace
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะของกรณีศึกษารายนี้พบว่า พบความผิดปกติเล็กน้อยซึ่งในสตรีตั้งครรภ์อาจพบน้ำตาลในปัสสาวะ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มาจากรก หรือการรับประทานอาหารก่อนการตรวจ(ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564)
FHS 132 bpm
การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
ปกติจะฟังเสียง FHS ได้ตอน 12 สัปดาห์ Baseline FHS 110-160 bpm ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ฟังเสียง FHS ได้ 132 bpm ในช่วงอายุครรภ์ 13+5 wks by LMP แปลผล การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปกติ (ดวงพร ผาสุวรรณ, 2564)
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์,
การเพิ่มของน้ำหนักตัวที่มากกว่าเกณฑ์ปกติ
อายุครรภ์ 13+5 wks by LMP, น้ำหนัก 54 กิโลกรัม, HF 1/3 >sp
ตามอายุครรภ์ 13+5 wks by LMP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนัก 1 kg. ไตรมาสที่2-3 ควรมีน้ำหนัก 0.4-0.5 kg/wks. จากไตรมาสแรก ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ 7+2 wks. ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13+5 wks จากกรณีศึกษารายนี้ หากนับตั้งแต่มาฝากครรภ์จนถึงไตรมาสที่2 ต้องมีน้ำหนักเพิ่ม ไม่เกิน 1.5 kg/wks. แปลว่าไตรมาสที่ 2 ในการฝากครรภ์ครั้งที่2 ควรมีน้ำหนัก 53.5 kg. ซึ่งกรณีศึกษารายนี้หนัก 54 kg.แปลผล สตรีตั้งครรภ์มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ซึ่งสตรีตั้งครรภ์ที่น้ำหนักเพิ่มมากมีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า รวมทั้งความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งพบสูงขึ้นและอาจมีผลต่อทารก ทำให้ทารกตัวโต ส่งผลให้มีการคลอดยาก และ มีความเสี่ยงในการใช้สูติศาสตร์หัตถการในการคลอดตามมา (ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564)คลำยอดมดลูกได้ 1/3 >sp ในช่วง 12 สัปดาห์ และจะคลำยอดมดลูกได้ 2/3 >sp ในช่วง 16 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีศึกษารายนี้มีอายุครรภ์ 13+5 wks by LMP คลำยอดมดลูกได้ 1/3 >sp แปลผล เป็นภาวะปกติ ทารกเจริญเติบโตได้ดีตามอายุครรภ์(รศ.สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 4
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์,
การเพิ่มของน้ำหนักตัวที่มากกว่าเกณฑ์ปกติ
อายุครรภ์ 21+1 wks by LMP, น้ำหนัก 53 กิโลกรัม, HF เท่ากับระดับสะดือ
อายุครรภ์ 21+1 wks by LMP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนักไม่เกิน 1 kg. ไตรมาสที่2-3 ควรมีน้ำหนัก 0.4-0.5 kg/wks. จากไตรมาสแรก ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ 7+2 wks. ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13+5 wks ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 17+4 wks. และฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 21+1 wks จากกรณีศึกษารายนี้ หากนับตั้งแต่มาฝากครรภ์จนถึงไตรมาสที่ 2 ต้องมีน้ำหนักเพิ่ม ไม่เกิน 0.5 kg/wks. แปลว่าไตรมาสที่ 2 ในการฝากครรภ์ครั้งที่4 ควรมีน้ำหนัก 57.5 kg.ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ มีน้ำหนัก 53 kg. แปลผลได้ว่า สตรีตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจจะเกิดภาวะความเครียด หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย
(ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564) คลำยอดมดลูกได้ 1/3 >sp ในช่วง 12 สัปดาห์ จะคลำยอดมดลูกได้ 2/3 >sp ในช่วง 16 สัปดาห์ จะคลำยอดมดลูกได้ ระดับสะดือ ในช่วง 20 สัปดาห์
และจะคลำยอดมดลูกได้ ระดับ 1/4 >สะดือ ในช่วง 24 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีศึกษารายนี้มีอายุครรภ์ 21+1 wks คลำยอดมดลูกได้ HF เท่ากับระดับสะดือ แปลผล เป็นภาวะปกติ ทารกเจริญเติบโตได้ดีตามอายุครรภ์(สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ความดันโลหิต 126/66 mmHg
ความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 30 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตสูงพื้นฐาน 15 mmHg จะจัดอยู่ในเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นความดันโลหิตสูง และหากค่า MAP อยู่ ระหว่าง 100-105 mmHg ควรเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ มีค่าความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่า ความดันโลหิตพื้นฐาน 16 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure ต่ำกว่า ความดันโลหิตพื้นฐาน 4 mmHg และค่าMAP อยู่ที่ 86 mmHg แปลผลได้ว่า ความดันโลหิตปกติ
(สุดา ใจห้าว, 2564)
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
urine albumin = negative
เกิดจากน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์ลดลง ซึ่งอาจจะมาจากความเครียด หรือการรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ซึ่งไตมีหน้าที่ในการช่วยขับของเสีย ที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกาย และมีหน้าที่ดูดซึมกลับของโซเดียม และน้ำ ซึ่งจากการที่กรณีศึกษารายนี้ ในการฝากครรภ์ครั้งที่ 4 ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้มีประสิทธิภาพ ในการกรองของเสียออกจากร่างกายเพียงพอ ส่งผลให้การตรวจไม่พบการรั่วของโปรตีน ปนมากับปัสสาวะ แปลผล อยู่ในภาวะปกติ (สุดา ใจห้าว, 2564)
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
sugar = negative
เกิดจากน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์ลดลง ซึ่งอาจจะมาจากความเครียด หรือการรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ไตสามารถดึงน้ำตาลกลับได้เพียงพอ ทำให้ไม่มีน้ำตาลรั่วปนออกมากับปัสสาวะ ส่งผลให้กรณีศึกษารายนี้ ในการฝากครรภ์ครั้งที่ 4 ตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ แปลผลว่า มีภาวะน้ำตาลในเลือดปกติ (สุดา ใจห้าว, 2564)
การประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
FHS 150 bpm
ปกติจะฟังเสียง FHS ได้ตอน 12 สัปดาห์ Baseline FHR 110-160 bpm ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ฟังเสียง FHS ได้ 150 bpm ในช่วงอายุครรภ์ 21+1 wks by LMP แปลผล การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปกติ (ดวงพร ผาสุวรรณ, 2564)
การวินิจฉัยโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
แพทย์นัด ตรวจ 100 gm OGTT เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งถัดไป
จะต้องตรวจครรภ์ทุก 1-2 สัปดาห์ ติดตามระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และตรวจติดตามการทำงานของไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ระดับHbA1C(สุดา ใจห้าว, 2564)
ฝากครรภ์ครั้งที่ 5
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
อายุครรภ์ 25+1 wks by LMP น้ำหนัก 55 กิโลกรัม
HF 2/4> ระดับสะดือ
อายุครรภ์ 25+1 wks by LMP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนักไม่เกิน 1 kg. ไตรมาสที่2-3 ควรมีน้ำหนัก 0.4-0.5 kg/wks. จากไตรมาสแรก ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ 7+2 wks. ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13+5 wks ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 17+4 wks. ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 21+1 wks และฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 25+1 wks จากกรณีศึกษารายนี้ หากนับตั้งแต่มาฝากครรภ์จนถึงไตรมาสที่ 2 ต้องมีน้ำหนักเพิ่ม ไม่เกิน 0.5 kg/wks. แปลว่าไตรมาสที่ 2 ในการฝากครรภ์ครั้งที่5 ควรมีน้ำหนัก 59.5 kg. ซึ่งกรณีศึกษารายนี้มีน้ำหนัก 55 kg. แปลผล สตรีตั้งครรภ์ที่ น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจจะเกิดภาวะความเครียด หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย
(ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564)
คลำยอดมดลูกได้ 1/3 >sp ในช่วง 12 สัปดาห์ จะคลำยอดมดลูกได้ 2/3 >sp ในช่วง 16 สัปดาห์ จะคลำยอดมดลูกได้ ระดับสะดือ ในช่วง 20 สัปดาห์ คลำยอดมดลูกได้ ระดับ 1/4 >สะดือ ในช่วง 24 สัปดาห์ และจะคลำยอดมดลูกได้ ระดับ 2/4- >สะดือ ในช่วง 28 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีศึกษารายนี้มีอายุครรภ์ 25+1 wks by LMP คลำยอดมดลูกได้ 2/4 > สะดือ แปลผล ยอดมดลูกสูงกว่าอายุครรภ์ ทารกมีการเจริญเติบโตมากกว่าอายุครรภ์ ส่งผลให้ทารกตัวโต และทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ประมาณร้อยละ 20-30 (สุดา ใจห้าว, 2564) ซึ่งอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ยอดมดลูกควรอยู่ในระดับ 1/4+ > สะดือ (สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิต 130/70 mmHg
จากข้อมูลของกรณีศึกษารายนี้พบว่าไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากในภาวะความดันโลหิตสูงจะต้องมีค่า SBP มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg และ/หรือ DBP มากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg โดยวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที และคงที่นานกว่า 6 ชั่วโมง แต่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูงได้
(สุดา ใจห้าว, 2564)
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ
เพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
urine albumin = negative
เกิดจากน้ำหนักตัวของสตรีตั้งครรภ์ลดลง ซึ่งอาจจะมาจากความเครียด หรือการรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ ซึ่งไตมีหน้าที่ในการช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกาย และมีหน้าที่ดูดซึมกลับของโซเดียมและน้ำ ซึ่งจากการที่กรณีศึกษารายนี้ ในการฝากครรภ์ครั้งที่ 5 ไม่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้มีประสิทธิภาพในการกรองของเสียออกจากร่างกายเพียงพอ ส่งผลให้การตรวจ ไม่พบการรั่วของโปรตีนปนมากับปัสสาวะ แปลผล อยู่ในภาวะปกติ (สุดา ใจห้าว, 2564)
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
sugar = 1+
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะของกรณีศึกษารายนี้พบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะเนื่องจากไตไม่สามารถดึงน้ำตาลกลับได้ทำให้มีน้ำตาลรั่วปนออกมากับปัสสาวะจึงทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แปลผลว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (ปฤษดาพร ผลประสาร,2564)
การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์
FHS 148 bpm
ปกติจะฟังเสียง FHS ได้ตอน 12 สัปดาห์ Baseline FHR 110-160 bpm ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ฟังเสียง FHS ได้ 148 bpm ในช่วงอายุครรภ์ อายุครรภ์ 25+1 wks by LMP แปลผลว่า การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปกติ (ดวงพร ผาสุวรรณ,2564)
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์โดยวิธี 50 g GCT
ผล 50 g GCT เท่ากับ 150 mg / dl
เป็นการตรวจคัดกรองโดยการเจาะเลือดหลังรับประทานน้ำตาลกลูโคส 50กรัม ท่ี 1 ชั่วโมงโดยไม่ต้องงดน้ําและอาหารก่อนการตรวจ โดยค่าปกติของผล 50 g GCT ต้องน้อยกว่า 140 mg/dl ซึ่งในกรณีศึกษา ผล 50 g GCT เท่ากับ 150 mg/dl ซึ่งมากกว่าค่าปกติ แปลว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงให้ทำการให้ตรวจ วินิจฉัยต่อด้วย 100 กรัม OGTT
(สุดา ใจห้าว, 2564)
การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ ด้วยวิธี 100 g OGTT
ผลการตรวจ 100 g OGTT พบว่า
1 hr-PPG 192 mg
ค่าปกติ 180 mg
2 hr-PPG 168 mg
ค่าปกติ 155 mg
FBS = 110 mg
ค่าปกติ 95 mg
3 hr-PPG 140 mg
ค่าปกติ 140 mg
แปลผลว่าเป็นเบาหวานชนิด GDM A2
เป็นการตรวจวินิจฉัยโดยแนะนําให้ผู้ป่วย งดน้ําและอาหารมา ก่อนอย่างน้อย 8- 14ชั่วโมง แล้วเจาะ เลือด Fasting blood sugar (FBS) แล้วจึงให้ รับประทานน้ําตาล กลูโคส 100กรัม แล้วจึงเจาะเลือดซ้ำที่1,2,และ3 ชั่วโมงหลังรับประทานน้ําตาล โดยค่าปกติของการการตรวจด้วย100 g OGTT ตามเกณฑ์ Carpenter and Coustan FBS = 95 mg หลังรับประทานกลูโคส 1 ชั่วโมง = 180 mg 2 ชั่วโมง = 155 mg 3 ชั่วโมง = 140 mg ซึ่งกรณีศึกษานี้พบว่า ค่า FBS มีค่ามากกว่าปกติ และพบว่ามีค่าจากการตรวจ 100 g OGTT ผิดปกติ 2 ค่า คือ หลังรับประทานกลูโคสชั่วโมงที่ 1และ2 แปลผลว่าเป็นเบาหวานชนิด GDM A2 ให้การดูแลคือรักษาด้วยอินซูลินเลยทันที (สุดา ใจห้าว, 2564)
การรักษา
แพทย์มีแผนการรักษาด้วยอินซูลิน 8-8-6-0 ac ก่อนอาหาร 30 นาที
แพทย์มีแผนการรักษาด้วยอินซูลิน 8-8-6-0 ac ก่อนอาหาร 30 นาที- ช่วงเช้า ให้อินซูลินครั้งละ 8 ยูนิต ก่อนอาหาร 30 นาที- ช่วงเที่ยง ให้อินซูลินครั้งละ 8 ยูนิต ก่อนอาหาร 30 นาที- ช่วงเย็น ให้อินซูลินครั้งละ 6 ยูนิต ก่อนอาหาร 30 นาที- ช่วงก่อนนอน ไม่ต้องฉีดอินซูลิน การให้อินซูลินต้องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดก่อนการฉีด หากระดับน้ำตาลในเลือด<100 mg/dl งดฉีดอินซูลินในมื้อนั้น (กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม, 2561)
ฝากครรภ์ครั้งที่3
Urine albumin= +1
เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆในร่างกายและมีหน้าที่ดูดซึมกลับของโซเดียมและน้ำโดยในภาวะปกติ จะต้องไม่พบโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งจากการที่กรณีศึกษารายนี้ มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้หลอดเลือดฝอยที่ไตมีน้ำตาลสะสมที่ผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบ และอุดตันส่งผลให้ไตมีประสิทธิภาพในการกรองของเสียออกจากร่างกายลดลง ทำให้ตรวจพบการรั่วของโปรตีนปนมากับและปัสสาวะ +1 แปลผลได้ว่า มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
(โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, 2564)
Sugar= +1
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะของกรณีศึกษารายนี้ พบว่ามีน้ำตาลในปัสสาวะ เนื่องจากไตไม่สามารถดึงน้ำตาลกลับได้ ทำให้มีน้ำตาลรั่วปนออกมากับปัสสาวะ จึงทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ แปลผลว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
(ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564)
ความดันโลหิต 126/70 mmHg
ความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตพื้นฐาน 30 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure สูงขึ้นกว่าความดันโลหิตสูงพื้นฐาน 15 mmHg จะจัดอยู่ในเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นความดันโลหิตสูง และหากค่า MAP อยู่ ระหว่าง 100-105 mmHg ควรเฝ้าระวังภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ มีค่าความดันโลหิต systolic blood pressure สูงขึ้นกว่า ความดันโลหิตพื้นฐาน 16 mmHg และ/หรือ diastolic blood pressure เท่ากับความดันโลหิตสูงพื้นฐาน และค่า MAP อยู่ที่ 89 mmHg แปลผล ความดันโลหิตปกติ (สุดา ใจห้าว, 2564)
FHS= 148 bpm
ปกติจะฟังเสียง FHS ได้ตอน 12 สัปดาห์ Baseline FHR 110-160 bpm ซึ่งกรณีศึกษารายนี้ฟังเสียง FHS ได้ 148 bpm ในช่วงอายุครรภ์ 17+4 wks by LMP แปลผล การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ปกติ (ดวงพร ผาสุวรรณ, 2564)
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์, การเพิ่มของน้ำหนักที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ
อายุครรภ์ 17+4 wks by LMP น้ำหนัก 54 กิโลกรัม HF 2+/3 > sp
อายุครรภ์ 17+4 wks by LMP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งไตรมาสแรก ควรมีน้ำหนักไม่เกิน 1 kg. ไตรมาสที่2-3 ควรมีน้ำหนัก 0.4-0.5 kg/wks. จากไตรมาสแรก ฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ 7+2 wks. ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13+5 wks ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 17+4 wks. จากกรณีศึกษารายนี้ หากนับตั้งแต่มาฝากครรภ์จนถึงไตรมาสที่2 ต้องมีน้ำหนักเพิ่ม ไม่เกิน 0.5 kg/wks. แปลว่าไตรมาสที่ 2 ในการฝากครรภ์ครั้งที่3 ควรมีน้ำหนัก 55.5 kg. ซึ่งกรณีศึกษารายนี้มีน้ำหนัก 54 kg. แปลผลว่า สตรีตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อาจจะเกิดภาวะความเครียด หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย
(ปฤษดาพร ผลประสาร, 2564)คลำยอดมดลูกได้ 1/3 >sp ในช่วง 12 สัปดาห์ จะคลำยอดมดลูกได้ 2/3 >sp ในช่วง 16 สัปดาห์ และจะคลำยอดมดลูกได้ ระดับสะดือ ในช่วง 20 สัปดาห์ ซึ่งในกรณีศึกษารายนี้มีอายุครรภ์ 17+4 wks by LMP คลำยอดมดลูกได้ 2+/3 >sp แปลผล เป็นภาวะปกติ ทารกเจริญเติบโตได้ดีตามอายุครรภ์(สุภาวดี เครือโชติกุล, 2564)
ระยะคลอด
ผลกระทบจากโรคเบาหวานต่อทารก
ทารกเพศหญิงมีชีวิตน้ำหนัก 4,200 กรัม
โดยปกติน้ำหนักตัวแรกคลอดของทารกปกติคือ 2500-3000 กรัม เคสกรณีศึกษาทารกมีน้ำหนักแรกคลอด 4200 กรัม แปลว่าทารกรายนี้มีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งมีภาวะ macrosomai
ตัวยาว 54 เซนติเมตร
ค่าปกติ 45-50 cm.
ความยาวของลำตัว 54 เซนติเมตร โดยค่าปกติของความยาวแรกเกิดคือ 50 เซนติเมตร ไม่มีความผิดปกติของความยาวลำตัว
เส้นรอบศีรษะ 34 เซนติเมตร
ค่าปกติ 33-35.5 cm.
เส้นรอบศีรษะของกรณีศึกษารายนี้ 34 เซนติเมตร โดยค่าปกติของเส้นรอบศีรษะคือ 32 เซนติเมตร ซึ่งแปลว่ากรณีศึกษารายนี้มีลักษณะของศีรษะที่โตกว่าปกติ
(น้ำฝน ฤทธิภักดี, 2564)
ผลกระทบของโรคเบาหวานต่อทารก
สัญญาณชีพ
BT 36.3 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 36.5-37.3 องศาเซลเซียส)
HR 146 bpm.(ค่าปกติ 120-160 bpm)
RR 72 bpm,(ค่าปกติ 40-60 bpm )
O2 sat 95%(ค่าปกติ 95-100%)
โดยปกติค่าของอุณหภูมิร่างการทารกคือ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส จากกรณีศึกษา BT = 36.3 องศาเซลเซียส ซึ่งแปลว่ามีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติอยู่ในภาวะ Hypothermai ค่าปกติของอัตราการหายใจคือ 40-60 ครั้ง/นาที จากกรณีศึกษา RR = 72 ครั้ง/นาที ซึ่งแปลว่าทารกมีอัตราการหายใจกว่าเร็วกว่าปกติมีภาวะ tachypnea ค่าปกติของอัตราการเต้นของชีพจรคือ 120-160 ครั้ง/นาที จากกรณีศึกษา PR = 146 ครั้ง/นาที ซึ่งแปลว่าทารกมีอัตราการเต้นของชีพจรปกติ ค่าปกติของ O2 saturation คือ >95 % จากกรณีศึกษา O2 saturation = 95 % ซึ่งแปลว่าทารกมีความเสี่ยงที่จะพร่องออกซิเจน มีอาการหายใจลำบาก(Respiratory distress syndrome)
APGAR score
นาทีที่ 1 เท่ากับ 9 คะแนน
นาทีที 5 เท่ากับ 10 คะแนน
APGAR score: นาทีที่ 1 เท่ากับ 9 นาทีที 5 เท่ากับ 10 คะแนน
แปลผล: 8-10 คะแนนแปลผล : 8-10 คะแนน (No asphyxia) ทารกในกลุ่มนี้ถือว่าปกติไม่ต้องให้การช่วยเหลือพิเศษใดๆ นอกจากสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและให้ความอบอุ่นแก่ทารกก็เพียงพอ (ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร,2564)
ผลกระทบจากโรคเบาหวานต่อทารก
เจาะ DTX แรกคลอด 38 mg%
ทารกมีภาวะ hypoglycemia (< 45 mg%)
ค่าปกติ DTX ของทารกโดยเจาะภายหลังทารกคลอด 1 ชั่วโมง คือ > 45 mg/dl ซึ่งในกรณีศึกษาค่า DTX = 38 mg/dl ซึ่งแปลว่าทารกรายนี้มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติเนื่องจากก่อนคลอดทารกยังคงได้รับน้ำตาลจากมารดา แต่หลังคลอด ทารกไม่ได้รับน้ำตาลจากมารดา ในขณะที่ร่างกายทารกสามารถผลิตอินซูลินได้เอง ทำให้เกิดความไม่สัมพันธ์ของระดับน้ำตาลและอินซูลินในร่างกาย (โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช, 2561)
คำแนะนำในระยะคลอด
ดูแลโดยให้คลอดปกติทางช่องคลอด
ประเมินอาการทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิด
ตรวจสอบการฉีกขาดของแผลฝีเย็บอย่างละเอียด
ให้ Regular(short-acting)
ตรวจติดตามระดับน้ำตาลทุก 1 ชั่วโมง ให้มีค่าประมาณ 80-120 มก./ดล.
ตรวจระดับน้ำตาลก่อนให้สารน้ำ
ในรายที่ได้รับอินซูลิน เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด (active labor)
พยาธิสภาพ
ไตรมาสสองและสามของการตั้งครรภ์
Placenta homones
Prolectin
Insulinase
Estrogen
Progesterone
ต้านการหลั่ง insulin
insulin ทำงานลดลง
insulin resistance
Hyperglycemia
ส่งน้ำตาลผ่านไปยังทารกเพิ่มขึ้น
ทารกน้ำตาลในเลือดสูง
3 more items...
มารดามีความเครียด
กระตุ้น hypothalamus
หลั่ง CRH เพิ่มขึ้น
มีผลต่อ anterior pituitary gland
หลั่ง adrenocortirophic hormone
กระคุ้นการสร้างต่อมหมวกไตชั้นนอก
สร้าง cortisol
ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
HCG สูง
มีผลต่อ chemoreceptor trigger zone (CTZ)
กระตุ้น vomiting center
Hyperemesis gravidarum
Dehydration
Electrolyte imbalance
Ketosis
DKA
ความอยากอาหารลดลง
รับประทานอาหารได้น้อย
Hypoglycemia
1 more item...
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เสี่ยงต่อการมีภาวะ large for gestational age, LGA เนื่องจากมารดาเป็นเบาหวาน
ข้อมูลสนับสนุน: O: สตรีตั้งครรภ์มีภาวะ GDM A2
:ระดับยอดมดลูกในweekที่ 25อยู่ในระดับ 2/4 >ระดับสะดือ
กิจกรรมการพยาบาล
1.การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมารดาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย แบบแอโรบิค
3.ดูแลให้ได้รับ insulin ตามแผนการรักษา
สตรีตั้งครรภ์มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์จากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน O: สตรีตั้งครรภ์มีภาวะ GDM A2
กิจกรรมการพยาบาล
1.แสดงความเป็นมิตร ปลอบโยนให้รู้สึกอบอุ่น คลายความกังวล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความ วิตกกังวล
2.ซักถามและเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้เล่าถึงสาเหตุความวิตกกังวล
3.อธิบายให้ทราบถึงลักษณะ อาการ สาเหตุ ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์ และแนวทางการรักษาพยาบาล
4.ให้ความรู้ที่เหมาะสมและถูกต้องเกี่ยวกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทั้งความรู้เกี่ยวกับความหมายกลไกการเกิดประเภทปัจจัยเสี่ยงการตรวจคัดกรองการตรวจวินิจฉัยผลกระทบของโรคเบาหวาน
5.ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถปรับตัวต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
6.ส่งเสริมความเข้มแข็งอดทนการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดระดับสูงต่อสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
7.ส่งเสริมให้สตรีที่เป็นที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้สนับสนุนทางสังคมเช่นการให้สามีและญาติพาสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ทุกครั้งให้สามีและญาติมีส่วนร่วม
(วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 2564)
(BMC)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน O:สตรีตั้งครรภ์มีภาวะ GDM A2
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนพักบนเตียงโดยให้ศีรษะสูงเล็กน้อย (Semi Fowler’s position) เพื่อช่วยให้มดลูกไม่กดทับ Inferior vena cava และไม่เบียดกระบังลม ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนได้ดีขึ้น
2.สังเกตอาการ หากพบอาการผิดปกติ เช่น อาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือ ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม เหงื่อออกมาก ตัวเย็น น้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 80 mg/dl รายงานแพทย์
3.ประเมินสภาพทารกในครรภ์ โดยการฟัง FHS หากพบความผิดปกติ เช่น FHS มากกว่า 160 ครั้ง/นาทีหรือน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที หรือจังหวะไม่สม่ำเสมอ ให้ออกซิเจน 5ลิตร/นาที เพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่ทารกในครรภ์ และรายงานแพทย์
มารดาไม่สุขสบายจากมีอาการปวดแผลผ่าตัดเนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงกลไกของอาการปวด
2.ให้มารดาทำกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการปวด
3.แนะนำมารดาให้รักษาความสะอาดบริเวณแผล
4.แนะนำการเคลื่อนไหวร่างกายช้าๆเพื่อช่วยลดการกระทบกระเทือนบริเวณแผล
5.นอนในท่าที่สะบาย นอนในท่าที่สบาย นอนศีรษะสูง นอนชันเข่า เพื่อให้หน้าท้องหย่อนตัว ลดการดึงรั้งของแผล
เสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดเนื่องจากเป็น GDM A2
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมิน v/s ติดตามประเมินสัญญาณชีพ
2.แนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสม
3.แนะนำการทานอาหารที่เหมาะสมไม่หวานจนเกินไป
4.ดูแลให้ได้รับอินซูลินตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ติดตามเฝ้าระวังอาการแสดงภาวะไม่สมดุลของน้ำตาลในเลือด
ข้อมูลสนับสนุน O:ฝากรรภ์ครั้งที่ 5 Urine sugar = +1,ผล OGTT ได้ 110 mg/dL.,192,168 และ 40mg/dL.
O:วินิจฉัยเป็น GDM A2,
O:ครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ 25+1 wks by LMP
เกิดภาวะ Hypoglycemia หลังคลอด เนื่องจาก hyperinsulinemia
ข้อมูลสนับสนุน : O: DTX แรกคลอด 38 mg%O: มารดาวินิจฉัยเป็นGDM A2,ผล OGTT ได้ 110 mg/dL.,192,168 และ 40
กิจกรรมพยาบาล
1.ติดตาม V/S เพื่อติดตามสัญญาณชีพของทารก
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลไว้
3.ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วเป็นระยะทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดโดยการติดตามอาการและอาการแสดงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
4.โดยการบันทึกเสียงการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 นาทีดูแลทารกแรกเกิดอย่างใกล้ชิดโดยประเมินภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
5.เตรียมอุปกรณ์เพื่อการช่วยเหลือช่วยฝื้นืนชีพทารก ให้พร้อมและดำเนินการติดต่อประสานงานกับกุมารแพทย์เพื่อรับทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไปดูแลอย่างใกล้ชิด
6.ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ DTX เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด
…
ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์