Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การธนาคาร - Coggle Diagram
การธนาคาร
3) ธนาคารพิเศษ
ธนาคารที่จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง ประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์
เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการระดมเงินออมจากประชาชนสู่รัฐบาล เพื่อให้หน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ไปใช้เป็นเงินทุนพัฒนาประเทศ ปัจจุบันธนาคารออมสินดำเนินงานตามพระราชบัญญัติออมสิน พ.ศ. 2489 ให้บริการแก่ประชาชนทั้งทางด้านการธนาคารและการออกสิน
มีการรับฝากและให้บริการ 4 ประเภท คือ รับฝากเงินกระแสรายวัน รับฝากเงินประจำ จำหน่ายตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทางภายในประเทศ และให้ผู้เช่าตู้นิรภัย
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง การดำเนินงานของธนาคารที่สำคัญ คือ การให้เงินกู้และรับประกันกู้แก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ยังมีโครงการพิเศษ อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล เช่น โครงการเงินกู้เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกและผลผลิตทางการเกษตร โครงการปลดเปลื้องหนี้สินเกษตรกร โครงการเงินกู้ระดับปานกลางพิเศษ เป็นต้น
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ คือ การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่มีฐานะปานกลางให้สามารถมรบ้านที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินกล่าวคือ ให้กู้ในระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ
-
ความหมาย
ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งที่ช่วยระดมเงินออมจากเอกชน ธุรกิจและรัฐบาล เพื่อนำไปบริการเงินกู้แก่เอกชน ธุรกิจ หรือรัฐบาลที่มีความต้องการเงินทุนไปลงทุน
สถาบันการเงิน หมายถึง สถาบันธุรกิจที่ทำหน้าที่ระดมเงินออกจากประชาชน มาให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเพื่อบริโภค การลงทุน หรือการประกอบธุรกิจต่าง ๆ และรับภาระการเสี่ยงจากการให้กู้นั้นแทน โดยอาศัยเครื่องมือเครื่องมือหรือตราสารทางการเงิน สถาบันการเงินจึงทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่างผู้ออม และผู้ลงทุนโดยมีกฎหมายให้การคุ้มครองจึงช่วยลดการเอาเปรียบจากเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือผู้กู้เงินเพื่อการลงทุน โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องทางการลงทุนในกิจการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้กู้สามารถตัดสินใจในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
-
สถาบันการเงินที่สำคัญ
ประเทศไทยแบ่งประเภทของสถาบันการเงิน เป็น 2 ประเภท คือ สถาบันการเงินประเภทธนาคาร และสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร พอสรุปได้ดังนี้
1) สถาบันการเงินประเภทธนาคาร เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
2) สถาบันการเงินประเภทมิใช่ธนาคาร เช่น กิจการประกันภัย สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และโรงรับจำนำ เป็นต้น
2) ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์นับเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สามารถระดมเงินออมจากประชาชนได้มากที่สุด เพราะมีปริมาณเงินฝากและจำนวนเงินให้กู้สูงสุด เมื่อเทียบกับสถาบันการเงิน อื่น ๆ ทำหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ มีดังนี้
รับฝากเงินจากประชาชน มีทั้งเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากกระแสรายวัน โดยเงินฝากแต่ละประเภทจะมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน
การให้กู้ยืมเงิน เพื่อการบริโภคหรือการลงทุนตลอดจนนำเงินออมที่มีผู้นำมาฝากไปลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดผลตอบแทน
การให้บริการอื่น ๆ เช่น การโอนเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การให้เช่าตู้นิรภัย การรับชำระค่าบริการต่าง ๆ