Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการเรียนที่ได้ในวันที่ 29/11/2564 - Coggle Diagram
สรุปการเรียนที่ได้ในวันที่ 29/11/2564
ความหมายของการทดสอบ การวัดผล และการประเมินผล
การทดสอบ (Testing)
หมายถึง การหาหรือกำหนดจำนวน ปริมาณ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรมหรือความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบเป็นเครื่องมือ หรือเป็นสิ่งเร้า
การวัดผล (Measurement)
หมายถึง กระบวนการในการกำหนดตัวเลขแทนขนาดหรือปริมาณให้กับคุณลักษณะสิ่งที่ต้องการวัด โดยใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสม
การประเมินผล (Evaluation)
หมายถึง กระบวนการในการตัดสินคุณค่า ให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยนำผลจากการวัดพิจารณาตัดสินเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่ามีคุณภาพในระดับใด
ความแตกต่างของการวัดผลและประเมินผล
การวัดผล
1.เป็นการกำหนดจำนวน ปริมาณ หรือรายละเอียด
3.ใช้เครื่องมือเป็นหลักในการวัด
5.อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการให้รายละเอียดข้อมูล
2.ให้รายละเอียดของข้อมูล
4.ผลที่ได้เป็นข้อมูลรายละเอียด
การประเมินผล
1.เป็นการกำหนดระดับของคุณค่าหรือการตัดสินใจ
3.ใช้ผลการวัดเป็นหลักในการประเมิน
5.อาศัยดุลพินิจ และคุณธรรมของผู้ประเมิน การสรุป หรือตัดสินผล
2.ให้ผลสรุปที่เป็นข้อตัดสินชี้ขาด
4.ผลที่ได้เป็นการตัดสินใจ
มาตราในการวัด (Scale measurement)
1.มาตรานามบัญญัติ (Nominal scale)
มาตรการวัดในระดับนี้เป็นระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเครื่องหมายแทนสิ่งที่ต้องการจะวัด รวมทั้งการเรียกชื่อเพื่อใช้ในการสื่อความหมาย
3.มาตราอันตรภาค (Interval scale)
มาตรการวัดระดับนี้เป็นการกำหนดตัวเลขแทนปริมาณของสิ่งต่างๆ ที่ต้องการจะวัด ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นมีความแตกต่างกัน และมีช่วงห่างที่เท่าๆ กันตัวเลขที่ได้จึงสามารถลบ กันได้มาตรการวัดนี้มีลักษณะเหมือนมาตราเรียงอันดับ แต่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างมีความหมาย
4.มาตราอัตราส่วน (Ratio scale)
มาตรการวัดในระดับนี้เป็นมาตรการวัดที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะมีช่องคะแนนที่เท่ากัน และมีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไรเลยหรือเริ่มต้นจากศูนย์
2.มาตราเรียงอันดับ (Ordinal scale)
มาตรการวัดระดับนี้จะเป็นการกำหนดตัวเลขให้กับสิ่งต่างๆที่ต้องการจะวัดสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นมีคุณสมบัติต่างกันแต่ไม่สามารถบอกได้ว่าต่างกันมากน้อยเท่าใด มาตรการวัดนี้อยู่ในระดับสูงกว่ามาตรานามบัญญัติแต่จะครอบคลุมลักษณะในมาตรานามบัญญัติด้วย
ความสำคัญของการวัดและประเมินผลการศึกษา
2.พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
5.มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
1.การปฏิรูปการศึกษาไทย พ.ศ. 2542
4.มาตรฐาน สมศ.
ด้านนักเรียน
ด้านครู
6.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(สาระความรู้ และ สมรรถนะของครู)
3.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2542
7.การปฏิรูปการศึกษาไทย คนไทยยุคใหม่
ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบ
ตัดสินใจอย่างฉลาด
มีคุณธรรม
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
เป็นคนแห่งการเรียนรู้
อยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข