Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : Electronic Transactions…
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : Electronic Transactions Act
ต้นแบบพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ฉบับที่ ๑ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔
รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
รองรับสถานะทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ฉบับที่ ๒ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๕๑
ช่วงเปลี่ยนผ่านกระดาษ - อิเล็กทรอนิกส์
ฉบับที่ ๓ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๒
รองรับการทำสัญญาระหว่างประเทศในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ๓) กับความเปลี่ยนแปลง
พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ออกมานี้ เป็นการปรับปรุงกฎหมายมาจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.๒๕๔๔ และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีการเพิ่มอำนาจให้ ETDA ดำเนินการต่อธุรกิจบริการด้านธุรกรรมออนไลน์หรือดิจิทัลมากขึ้น
ถ้าต้องมีการยื่นเอกสารมาแสดงกับราชการ แล้วมีเอกสารนั้นเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงได้และไม่มีความเปลี่ยนแปลง ก็ถือว่าข้อความนั้นเป็นหนังสือที่สามารถใช้งานได้ (มาตรา๘)
ธุรกิจบริการด้านธุรกรรมออนไลน์ ต้องแจ้งให้ทราบ ขึ้นทะเบียน หรือได้รับใบอนุญาตก่อน เมื่อเป็นธุรกิจบริการที่กระทบต่อความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์ เพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ หรือป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน (มาตรา๓๒) (หมายถึงการกำกับดูแลจะทำเฉพาะเมื่อเป็นธุรกิจบริการที่กระทบต่อความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์ เพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนเท่านั้น)
หากไม่มีการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐใดเป็นผู้รับผิดชอบการควบคุมดูแล ก็มอบอำนาจให้ ETDA เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ด้วย (มาตรา๓๒)
ถ้าประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ โดยไม่ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒ แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา๔๔/๑)
ถ้าประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๓ แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๔๔ )ถ้าธุรกิจที่ต้องขึ้นทะเบียนนั้นไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สามารถถูก
ETDA ปรับได้สูงสุดถึง 1 ล้านบาท ส่วนธุรกิจใดต้องขอรับใบอนุญาตนั้นไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สามารถถูกปรับได้สูงสุดถึง ๒ ล้านบาท ซึ่ง ETDA มีอำนาจสั่งให้ธุรกิจนั้น ๆ แก้ไขการดำเนินการให้ถูกต้องได้เช่นกัน (มาตรา ๓๓/๑ และมาตรา๓๔)
การระบุถึง “คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ที่ติดตามการทำงานเรื่อง ธุรกรรมออนไลน์ (ตามมาตรา๓๖) ให้เป็นดังนี้
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๘ คน ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อีคอมเมีร์ซ), นิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์, สังคมศาสตร์ หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์
ให้ปลัดกระทรวง DE เป็นรองประธานกรรมการผอ.สพธอ. เป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการฯ ที่มีอยู่เดิม ให้อยู่ดำรงตำแหน่งไปก่อน จนกว่าจะสรรหาใหม่ได้
ETA version 3
กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2562
มีผลใช้บังคับ 15 เมษายน 2562
ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม
คำนิยาม (มาตรา 5)
e-Document (มาตรา 8)
e-Signature (มาตรา 9 และมาตรา 26 (4)
เกณฑ์การสั่งข้อมูล (มาตรา 16)
e-Government (มาตรา 35)
Harmonize Law with
UN E-Communication Convention
Invitations to make offers
(การเชื้อเชิญเพื่อทำคำเสนอ มาตรา 13/1)
Automatic Data System
(การทำสัญญาผ่านระบบข้อมูลอัตโนมัติ มาตรา 13/2 )
Input Error
(การลงข้อมูลผิดพลาด มาตรา 17/1)
ปรับปรุงกลไกการดูแลธุรกิจบริการ
และบทกำหนดโทษ
(มาตรา 32 - มาตรา 34/2, มาตรา 44 - มาตรา 45)
ปรับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(มาตรา 36 - มาตรา 41 และมาตรา 43/1
จัดตั้งหน่วยงานเพื่อส่งเสริมธุรกรรม
ออนไลน์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศ
(มาตรา 43 และ พ.ร.บ. ETDA พ.ศ. 2562)
ฉบับที่ ๔ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๒
รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
ทำหน้าที่เป็นกฎหมายกลาง
หลักการ "e-Transaction"
หรือพันธุกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานทางกฎหมาย
FUNCTIONAL EQUIVALENCE
หลักความเท่าเทียมกัน
TECHNOLOGICAL NEUTRALITY
หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี
PARTY AUTONOMY
หลักเสรีภาพการแสดงเจตนา
รองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผล=กระดาษ ใช้ได้ในทางกฎหมายจะเป็นหนังสือ จะเป็นลายเซ็น จะเป็นต้นฉบับหรือต้องเป็นพยานหลักฐานในศาล ก็ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยกฎหมายฉบับนี้