Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน, นางสาวญานิตา ประดับบุตร 611181 - Coggle…
การดูแลสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
เป็นวัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อนผลผลิตของเศรษฐกิจและยังเป็นที่พึ่งของคนในครอบครัว
ประเภทของแรงงาน
แรงงานในระบบ
ผู้มีงานทำที่ได้รับความคุมครองหรือหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน
แรงงานนอกระบบ
ผู้มีงานทำไม่ได้รับความคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในระบบส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานที่ทำงานโดยไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นทางการไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอนเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
แนวโน้มของปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยทำงาน
การสูญเสียปีสุขภาวะ ภาระโรค (Burden of disease) เป็นการวัดความสูญเสียทางสุขภาพในหน่วยของปีสุขภาวะหรือปีที่เทียบเท่าการมีสุขภาพสมบูรณ์การสูญเสียปีสุขภาวะ(DALYs)
ภาระโรคของประชากรไทย เพศชายและเพศหญิงมีการสูญเสียปีสุขภาวะจากการตายสูงสุดที่อายุ 45-59 ปีโดยสาเหตุหลักของการตายคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพศชายคืออุบัติเหต ส่วนในเพศหญิงคือโรคมะเร็ง
ความผิดปกติทางจิตเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียปีสุขภาวะเนื่องจากภาวะบกพร่องทางและความผิดปกติทางจิตและความผิดปกติทางการรับรู้
ลักษณะของช่วงวัยทำงาน
วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
(อายุ20 – 40 ปี )ร่างกายเริ่มสมบูรณ์เต็มที่อวัยวะทุกอย่างทำงานสมบูรณ์และมีการเจริญเติบโตถึงขีดสุดพร้อมที่จะก้าวออกสู่โลกของความเป็นตัวตนที่สมบูรณเป็นวัยของการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างลึกซึ้งและยาวนานสิ่งสำคัญที่คนในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจำเป็นต้องหาแนวทางในชีวิตคืออาชีพการงานการเลือกคู่ครอง การปรับตัวในชีวิตสมรสการมีบทบาทเป็นบิดามารดาหรือถ้าโสดก็ต้องมีการปรับตัวต่อการดำรงชีวิต
วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลงหรือที่เรียกว่าวัยทอง
การป้องกันโรคหรืออันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (Prevention and Control)
การควบคุมป้องกันที่แหล่งกำเนิด (Source Protection)
การหาวิธีการหรือแนวทางที่จะควบคุมป้องกันที่แหล่งกำเนิดของโรค
การแบ่งแยกขบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดอันตรายออก (Segregation)
การเปลี่ยนแปลงขบวนการผลิต (Changing the process)
การควบคุมโดยการระบายอากาศ (Ventilation)
การควบคุมฝุ่น (Suppression of Dust) สามารถทำได้โดยใช้ระบบเปียก (Wetting down methods) หรืออาจใช้เครื่องดูดจับฝุ่นละอองไฟฟ้า (Electrostatic Precipitation)
การปกปิดให้มิดชิด (Clothing)
การดูแลบำรุงรักษา (Maintenance)
การควบคุมป้องกันสิ่งแวดล้อมหรือทางผ่าน (Pathway Protection)
การจัดระบบระบายอากาศทั่วไป (Ventilation)
การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Good Housekeeping)
การกำจัดสิ่งโสโครก (Disposal of waste) กาจัดขยะหรือสารเคมีที่เป็นพิษอย่างมี ประสิทธิภาพให้ได้ระดับมาตรฐานก่อนที่จะปล่อยออกสู่ภายนอก
การควบคุมโดยการตรวจวัดระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทางาน
การควบคุมป้องกันที่ตัวผู้รับหรือผู้ปฏิบัติงาน (Personal Protection)
การจำกัดระยะเวลาการทำงานที่เสี่ยงต่ออันตราย (Limitation of exposure time)
การหมุนเวียนสับเปลี่ยนคนงาน (Rotate)
การติดตั้งอุปกรณ์หรือสัญญาณเตือนภัย
การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
การตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน
การรักษาพยาบาล (Curative)
การทาครีมป้องกัน (Barrier cream)
การสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค (Immunization)
การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal hygiene)
การฝึกอบรมคนงานเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย (Training for health and safety)
การประสานความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหาร ผู้ควบคุมงาน คนงาน พยาบาล เจ้าหน้าที่ ความปลอดภัย
อันตรายที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
โรคจากการประกอบอาชีพ (occupational diseases)
เช่น ได้รับสัมผัสไอกรดในโรงงาน แบตเตอรี่ มีอาการแสบตา แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเป็นต้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการประกอบอาชีพเป็นระยะเวลานานเช่นโรคนิวป์โมโคนิโอสิส ได้แก่โรคซิลิโคสิสส่วนใหญ่โรคจากการประกอบอาชีพจะมีระยะฟักตัวนานและความสำคัญคือเมื่อเป็นโรคแล้วมักจะรักษาไม่หายขาด
โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการประกอบอาชีพ (work-related diseases)
เช่น ในคนที่มีโครงสร้างผิดปกติอยู่แล้ว หรือผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะมีอาการโรคเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย ดังนั้น การประกอบอาชีพเมื่อมีการออกแรงซ้ำๆหรือมีท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องก็จะแสดงอาการขึ้น
โรคและภัยสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม (environmental diseases)
ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษปนเปื้อนในดิน น้ำ อากาศ ทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดโรคหรือผลกระทบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายจากการประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพ (Worker)
คุณสมบัติและสุขภาพพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ ความสูง พันธุกรรม ประสบการณ์ในการทำงาน โรคประจำตัว
พฤติกรรมสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพที่สูบบุหรี่ย่อมมีโอกาสเป็นโรคปอดจาก การประกอบอาชีพได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
สภาพการทำงาน (Working condition)
การจัดระบบงานและมอบหมายงาน ควรมีการ กำหนดแนวทางในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมกับงาน และมีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งการปฐมนิเทศเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน กฎระเบียบต่าง ๆ และแนวทางในการปฏิบัติในการ ป้องกันตนเองจากโรคและความเจ็บป่วยจากการทำงาน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Working environment)
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment)
สิ่งแวดล้อมทางเคมี (Chemical environment)
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological environment)
สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial environment)
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัย (Health hazard)
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางกายภาพ (Physical health hazard)
อุณหภูมิ(Temperature)
อุณหภูมิสูงทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นหลอดเลือดฝอยขยายตัวมีผลให้เกิดการเป็นลม(Heat stroke or sunstroke)เป็นผลเนื่องมาจากการสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานๆการเป็นตะคริว(Heat cramp) อุณหภูมิต่ำหรือความเย็นทำให้เกิดเทร็นต์ฟุต(Trench foot)ฟรอสไบต์(Frostbite)ชิลเบรนส์(Chilbrain)
แสง (Light)
ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการมองเห็น ตาลาย ปวดศีรษะ และแสงที่น้อยเกินไป ความเมื่อยล้าสายตานำมาสู่อุบัติเหตุและเกิดความผิดพลาดในการทำงานได้
-
เสียง (Noise)
เสียงที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องกล เครื่องจักรรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆในสถานประกอบการ
ความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure)
ความดันบรรยากาศสูง ทำให้เกิดตะคริวอย่างรุนแรง ความดันบรรยากาศต่ำ ทำให้เกิดการขาดออกซิเจน มีผลให้ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป
ความสั่นสะเทือน (Vibration)
เครื่องเจาะ เครื่องตัด เครื่องปั่น ทำให้การไหลเวียนของเลือดซึ่งไปเลี้ยง ปลายมือขัดข้องอาจมีอาการซีด ชา ปลายนิ้วตายได้ เกิดความเมื่อยล้าระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อประสาท การมองเห็น การทรงตัว ประสิทธิภาพการ ทางานลดลง
รังสี(Radiation)
กัมมันตภาพรังสีกรณีได้รับนานๆจะเกิดการท าลายของเนื้อเยื่ออาจกลายเป็นมะเร็งได้
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางเคมี(Chemical health hazard)
สารพิษฆ่าแมลงที่เป็นพวกอนินทรีย์ซึ่งเกิดขึ้นเองในธรรมชาติได้แก่ สารหนูกำมะถัน น้ำมันดิบ ไซยาไนด์ปรอท
สารพิษฆ่าแมลงประเภทอินทรีย์แบ่งเป็น
1 สารพิษฆ่าแมลงที่เกิดจากธรรมชาติจำแนกได้ ดังนี้ ไพเรซริน (Pyrethrine) นิโคติน (Nicotine) ไรยาเนีย (Ryania) โรติโนน (Rotinone)
2 สารพิษฆ่าแมลงชนิดอินทรีย์สังเคราะห์ในทางเคมี ได้แก่ ดีดีที(Dichloro-diphenyl trichloroethane) ฟอสเฟต (Phosphate) คาร์บาเมต (Carbamate)
ฝุ่น (Dust) ฝุ่นหินทราย ฟูม (Fume) ควัน (Smoke) ไอระเหย (Vapour) ละออง (Mist) ก๊าซ (Gas) ตัวทำละลาย (Solvent)
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางชีวภาพ (Biological health hazard
)
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยที่เป็นสิ่งมีชีวิตได้แก่จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต แมลงชนิดต่างๆ
สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยทางจิตวิทยาสังคม (Psychosocial health hazard)
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้รับความบีบคั้นยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
องค์ประกอบของเออร์โกโนมิกส์
องค์ประกอบด้านกายวิภาคศาสตร์(Anatomy)
โดยคำนึงถึงขนาด รูปร่าง ท่าทางการทำงาน
องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา (Physiology)
ได้แก่ สรีรวิทยาการทำงาน โดยคำนึงถึงการใช้ พลังงานในขณะทำงานและสรีรวิทยาสิ่งแวดล้อมโดยคำนึงถึงผลจากการทำงานที่กระทบต่อสุขภาพ
องค์ประกอบด้านจิตวิทยา (Psychology)
โดยมุ่งเน้นถึงความชำนาญในการทำงานรวมถึง ปัญหาด้านจิตวิทยาสังคม
โรคหรืออันตรายจากการประกอบอาชีพ
โรคพิษจากสารทำละลาย (Solvents)
เป็นโรคจากการประกอบอาชีพของผู้ที่ทำงานต้องสัมผัสกับสารเคมีต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรค ได้แก่ โรคพิษตัวทำละลาย โรคพิษเบนซีน และโรคพิษโทลูอีน
โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ (Dermatological Disorders)
เป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสสารต่าง ๆ ในขณะทำงานโดยมักจะมีผื่นเกิดขึ้นบริเวณที่สัมสัมผัสกับ สารและอาการจะดีขึ้นหลังจากหยุดงานระยะหนึ่ง พบโรคผิวหนังชนิด contact dermatitis มากที่สุด และโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง อันดับรองลงมา
โรคของกล้ามเนื้อและข้อ (Musculo-skeletal Disorders)
เป็นโรคที่พบบ่อยในการท างานทุกอาชีพ เกิดเนื่องจากท่าทางการทำงานที่ใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ปวดต้นคอ, ปวดหลัง, การปวด กล้ามเนื้อตา ตาพร่ามัว เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดจากการทำงาน (Psychological Disorders and Occupational Stress)
โรคพิษจากสารโลหะหนัก (Heavy Metals Poisoning)
โรคพิษสารตะกั่ว (Lead Poisoning) อาการเรื้อรังมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหน่าย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูก ซึม กระสับกระส่าย อาเจียนเป็นบางครั้ง ตรวจร่างกายพบเส้นตะกั่วสีม่วงคล้ำที่เหงือก โลหิตจาง ในรายที่เป็นมาก ๆ จะมีอาการทางประสาทเข้ามาร่วมด้วย
โรคพิษจากสารปรอท แมงกานิสและสารหนู(Mercury Manganese and Arsenic Poisoning) ปอดอักเสบ มีอาการหืดหอบ ไอ ลักษณะเฉพาะมี มือสั่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องร่วง ถ้าได้รับสะสมนาน ๆจะเกิดอาการความจำเสื่อม ทำลายระบบประสาท
โรคพิษ
จากสารจำกัดศัตรูพืช (Pesticides Poisoning) โรคนี้เป็นโรคที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย
ภาวะหูเสื่อมจากเสียงดัง (Occupational Hearing Loss)
ได้แก่ การทำงานใน โรงงานที่มีเครื่องจักรต่าง ๆ เช่น โรงงานทอผ้า โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานผลิตแก้ว โรงเลื่อย เป็นต้น
อุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ (Accidents/Occupational Injuries)
ลักษณะของการเกิดการบาดเจ็บพบว่า เกิดจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง การพลัดตกหก และสาเหตุจากการชน/กระแทกจากวัสดุเกิดในกลุ่มแรงงานนอกระบบจะมากกว่ากลุ่มแรงงานในระบบ
โรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Occupational Lung Diseases)
โรคซิลิโคสิส (Silicosis) เป็นโรคปอดที่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นซิลิกาทำให้ปอดสร้างเยื่อพังผืดมาห่อหุ้มผลึกเหล่านั้นไว้มีอาการหายใจลำบากปริมาตรปอดลดลงเหนื่อยง่ายและนำไปสู่การติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงได้แก่ อุตสาหกรรมโม่ บดย่อยหิน, อุตสาหกรรมเป่าทราย ขัดเหล็ก, อุตสาหกรรมแก้ว ฯลฯ
โรคแอสเบสโตสิส (Asbestosis) เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นใยแอสเบสตอสเข้าไป ทำให้ปอดต้องสร้างเยื่อ พังผืดห่อหุ้มไว้คล้ายแคปซูล อาการของโรคคล้ายกับซิลิโคสิส จะเกิดหลังสัมผัสสารเกินกว่า 20 ปี นอกจากนี้แอสเบสตอสยังทำให้เกิดมะเร็งปอดและเนื้องอกที่ช่องท้อง (Mesothelioma) ได้อีกด้วยมักพบในคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตแร่ใยหินการผลิตผ้าเบรค/ คลัทซ์ การผลิตกระเบื้องมุงหลังคาที่ผสมใยหิน พลาสติกซีเมนต์
โรคบิสสิโนสิส (Byssinosis) โรคปอดจากฝุ่นฝ้ายประเทศไทยมีโรงงานสิ่งทอจำนวนมากและมีการเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งทอตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอาการของโรคเกิดทำให้เกิดการแพ้มีอาการหลอดลมอักเสบและไอเรื้อรัง
นางสาวญานิตา ประดับบุตร 611181