Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Second and Third degree burn - Coggle Diagram
Second and Third degree burn
ระดับความลึกของแผล
Superficial burns หรือ first degree burns
มักพบบ่อย มีการบาดเจ็บไปที่ชั้น epidermal layer เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทําลาย เป็นชั้นตื้น มีอาการเฉพาะผื่นแดง (Erythema) ปวด แสบปวดร้อน ผิวหนังยังไม่พอง อาการปวดหายไปใน 48-72 ชั่วโมง แผลหายภายใน 2-5 วัน
ในกรณีศึกษาพบได้ที่ ต้นขาข้างขวาและเท้าด้านหน้า
Partial thickness (second-degree burn)
การบาดเจ็บพบได้ที่ชั้น epidermal layer และ dermal layer มีการทําลายชั้นผิวหนังเพียงบางส่วน แต่ลึกถึงผิวหนังชั้นใน คือ ต่อมเหงื่อและรูขุม ขน จะปรากฏอาการบวมแดงมากขึ้น มีผิวหนังพอง และมีน้ําเหลืองซึม เด็กจะปวดแสบปวดร้อน มาก บาดแผลหายภายใน 2-6 สัปดาห์
ในกรณีศึกษาพบได้ที่ลำคอ ลำตัวด้านหน้า อวัยวะสืบพันธุ์ ขาข้างซ้ายทั้งขาและ เท้าข้างซ้าย
Full thickness (third degree)
ชั้นผิวหนังถูกทําลายไปหมด บาดแผลลึกมากถึงชั้นหนังแท้ และอาจถึงชั้นไขมัน (adipose tissue fascia) แผลอาจมีลักษณะดําขาว น้ําตาล ไหม้ดํา จะไม่ เจ็บปวด เพราะปลายประสาทถูกทําลายไป ไม่สามารถหายได้เองต้องทํา การปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin-graft) การงอกใหม่ของเนื้อเยื่อใช้เวลานาน เป็นเดือน อาจเกิดแผลเป็น
ในกรณีศึกษาพบได้ที่ต้นแขนข้างซ้าย
การคํานวณขนาดของแผล(%burn)
Lund browder’s chart
Second degree burn
ลำคอ = 2
ลำตัวด้านหน้า = 13
อวัยวะเพศ = 1
ต้นขาซ้าย = 6.5
ขาซ้าย = 5
เท้าซ้าย = 3.5
Third degree burn
ต้นแขนซ้าย = 4
Total BSAB = 35
การตรวจและซักประวัติเพิ่มเติม
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC,electrolyte
ประเมิน pain score
Children Hospital Eastern Ontario Pain Scale (CHEOPS)
คะแนนอยู่ระหว่าง 4-13 คะแนน
หากมีคะแนนความปวดมากกว่า 6 คะแนน ให้การดูแลช่วยเหลือตามระดับ
4-6 คะแนน = ง่วงซึม หลับ หรือไม่ปวด
7-8 คะแนน = ปวดน้อย
9-10 คะแนน = ปวดปานกลาง
11-13 คะแนน = ปวดมาก
พยาธิสภาพ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิด
.
ภาวะ shock
การติดเชื้อในกระแสเลือด
ปอดบวมน้ํา
ภาวะ acute respiratory distress syndrome
การติดเชื้อที่แผล
การรักษาที่ได้รับ
Cloxacillin 250 mg. IV drip q 6 hr.
กลุ่มยา
Penicillin
กลไกการออกฤทธิ์
เข้าจับกับ Penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการTranpepsidationในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์Peptidoglycanของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์ แบคทีเรียจะถูกย่อยสลายโดย Autolysin enzym และ murein hydrolase
อาการข้างเคียง
อาจก่อให้เกิดความดันโลหิตต่ำ สับสน มีไข้ อ่อนแรง อาการชัก ผื่นแดง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
พิษต่อตับ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ โปรตีนรั่วในปัสสาวะ พิษต่อไต หลอดลมหดตัว
การบริหารยา
ยา 1 Vial = 500 mg.
ยา 500 mg. ผสม NSS 10 ml.
ดึงยามา 5 ml. = 250 mg.
นำยาที่ดึงออกมา 5 ml. ผสมกับ NSS 50 ml.
Rate = (ปริมาณสารน้ำ x drop factor) / time(min)
= (50x20) / 60
= 17 drop/min
การปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft)
การเตรียมผู้ป่วยก่อนทำการปลูกถ่ายผิวหนัง
อธิบายวัตุประสงค์ ชั้นตอนและวิธีการปลูกถ่ายผิวหนัง สภาพผู้ป่วยหลังการปลูกถ่ายผิวหนัง ให้บิดา มารดาหรือผู้ป่วยเด็กในวัยที่สามารถเข้าใจได้ โดยใช้คำพูดง่ายๆ และบิดา มารดาต้องลงใบยินยอมการรักษา
ทำความสะอาดร่างกาย แผล และผิวหนังบริเวณที่จะทำการปลูกถ่ายผิวหนัง หากมีขน จำเป็นต้องมีการจำกัดขนด้วย
ดูแลให้ NPO และให้สารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลถอดเครื่องประดับ และเปลี่ยนชุดเพื่อเตรียมไปห้องผ่าตัด
การดูแลบาดแผลปลูกถ่ายผิวหนัง
ระมัดระวังในการเลื่อนหลุดของ graft เนื่องจากเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือดูแลจำกัดการเคลื่อนไหวส่วนที่ปลูกถ่าย โดยทั่วไปแพทย์จะทำการใส่เฝือกบริเวณที่ทำการปลูกถ่ายไว้ประมาณ 3 วัน
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง พลิกตะแคงตัวด้วยความระมัดระวัง
ในการเปิดแผลครั้งแรกแผลอาจจะติดมาก ควรใช้สำลีชุบ 0.9% NSS ซับให้ชุ่มหรือราดเบาๆ ค่อยๆ ดึงออกช้าๆ เพื่อป้องกัน graft หลุด หลังจากนั้นทำความสะอาดแผลตามปกติ ผิดแผลด้วยแผ่นปิดแผลแแบบตาข่าย ทับด้วย gauze และพันด้วย Elastic bandage หรือ conform
ประเมินสิ่งคัดหลั่ง และการติดเชื้อของแผลทั้ง 2 บริเวณ
จัดท่ายกบริเวณบริเวณที่ทำการปลูกถ่ายผิวหนังให้สูงเล็กน้อย ประเมินอวัยวะส่วนปลาย เนื่องจากอาจมีการพันแผลที่แน่นเกินไป
IV fluid resuscitation สูตร Parkland formula
Parkland Formula = 4 ml/ kg/ %burn
กรณีศึกษา น้ำหนัก 18 กิโลกรัม
%burn = 35 คะแนน
จะได้รับการชดเชยสารน้ำ 4 x 18 x 35 = 2,520 ml
8 ชั่วโมงแรก ให้ 1,260 ml. Rate 157.5 ml/hr.
16 ชั่วโมงที่เหลือ ให้ 1,260 ml. Rate 78.75 ml/hr.
Sliver sulfadiazine
กลุ่มยา
Sulfa
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ ใช้ทาบนผิวหนังบริเวณที่มีแผลไหม้รุนแรง เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปยังผิวหนังโดยรอบ หรือเข้าสู่กระแสเลือดจนอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามมาได้
อาการข้างเคียง
ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะหากยาเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ป่วย ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติหลังจากใช้ยา ควรรีบไปพบแพทย์ โดยตัวอย่างผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้ เป็นไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย ภาวะโลหิตจาง
การเก็บรักษา
เก็บไว้ในภาชนะเดิมตามที่ได้รับมา เก็บยาในที่แห้ง อย่าให้โดนแสงโดยตรง
โดยทั่วไปควรเก็บที่อุณหภูมิตต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ไม่เก็บยาในที่ร้อนหรือชื้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ระยะ 24 ชั่วโมงแรก
เสี่ยงต่อภาวะช็อคและเสียสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรไลท์เนื่องจากมีการรั่วของสารน้ำ
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
น้ำมันร้อนหกราดลำตัว
Objective data
ได้รับการวินิจฉัยเป็น 2nd and 3rd degree burn
มีแผลพุพอง มีตุ่มน้ํา บวมแดง บริเวณลําคอ ลําตัวด้านหน้า อวัยวะสืบพันธุ์ ขาข้างซ้ายทั้งขาและ เท้าข้างซ้าย ต้นแขนข้างซ้ายมีแผลสีขาวปนดําลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ต้นขาข้างขวาและเท้าด้านหน้าเป็นรอยแดง
BP 105/65 mmHg.
PR 124 bpm.
RR 36 bpm.
BT 36.3 องศาเซลเซียส
เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะ hypovolemic shock
เกณฑ์การประเมินผล
เด็กรู้สึกตัวดีไม่พบอาการแสดงของภาวะช็อก คือ ไม่มีอาการกระสับกระส่ายไม่มีอาการใจสั่น หรือ เหงื่อออกไม่มีตัวเย็น
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ความดันโลหิตค่า 110 / 70 mmHg
อัตราการเต้นของชีพจรแรงสม่ำเสมอ 65 -110 ครั้ง / นาที
อัตราการหายใจสม่ำเสมอ 20-30 ครั้ง / นาที
Conjunctiva แดง ไม่ซีด ผิวหนังไม่เย็น
ปัสสาวะมีจำนวนมากกว่า 30 ซีซี. ต่อ 1 ชั่วโมง (0.5 ml / kg / hr)
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและเกลือแร่ตามแผนการรักษาโดย 8 ชั่วโมงแรก ให้ 1,260 ml. Rate 157.5 ml/hr. และ 16 ชั่วโมงที่เหลือ ให้ 1,260 ml. Rate 78.75 ml/hr เพื่อทดแทนสารที่รั่วออกนอกหลอดเลือด
ติดตามประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วยเพื่อประเมินความผิดปกติ และอาการของภาวะช็อค
ติดตามผลเกลือแร่ในเลือด เพื่อเฝ้าระวังภาวะโซเดียมในเลือดต่ำและภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูงในระยะแรกและอาจมีภาวะความเป็นกรดด่าง
บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกเพื่อประเมินความสมดุลของน้ำในร่างกาย
5.ติดตามประเมินระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินอาการของการมี electrolyte imbalance
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
เด็กมีอาการซึมลงเล็กน้อย
ได้รับการวินิจฉัยเป็น 2nd and 3rd degree burn
RR 36 bpm.
BP 105/65 mmHg.
PR 124 bpm.
เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
มีอาการซึมลดลง
RR 20-30 bpm.
BP 110/70 mmHg.
PR 65-110 bpm.
O2 sat มากกว่าหรือเท่ากับ 95%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอวัยวะบริเวณใบหน้าปากคอจมูกเป็นระยะ เพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของการมีภาวะพร่องออกซิเจน
จัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อให้ทรวงอกขยายตัวได้ดี และทำให้ทางเดินหายใจให้โล่ง
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจน และติดตามค่าออกซิเจนในเลือดและ ABG เพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน
ดูแลช่วยแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจในรายที่หายใจผิดปกติ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ และดูแลดูดเสมหะให้ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการอุดตันในทางเดินหายใจ
ระยะ 24 ชั่วโมงหลัง
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีแผล skin graft บริเวณต้นแขนซ้าย
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
มีบาดแผลน้ำมันลวกบริเวณลําคอ ลําตัวด้านหน้า อวัยวะสืบพันธุ์ ขาข้างซ้ายทั้งขาและ เท้าข้างซ้าย
ต้นแขนข้างซ้ายมีแผลสีขาวปนดําลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ ต้นขาข้างขวาและเท้าด้านหน้า
ได้รับการวินิจฉัยเป็น 2nd and 3rd degree burn
ได้รับการทำ skin graft
เป้าหมาย
ไม่เกิดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมินผล
BT 36.5.- 37.5 องศาเซลเซียส
แผลแดงและแห้ง ไม่มีหนองสีขาวไหล
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก (isolation unit) ดูแลรักษาความสะอาดของผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ให้การพยาบาลโดยการยึดหลัก universal precaution โดยการใส่เสื้อคลุมผ้าปิดจมูกถุงมือปราศจากเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ดูแลทำความสะอาดแผลด้วย silveron cream 2 ครั้ง/วัน เพื่อช่วยในการหายของแผล และลดการติดเชื้อ
การทำแผล skin graft
ในครั้งแรกผ้าก๊อซจะติดแผลมาก ให้ใช้สําลีหรือ top dressing ซุบ 0.9% NSS ซับแผล ให้ชุ่มหรือใช้ 0.9 % NSS ที่อุ่นไว้ราดเบาๆ จากนั้นค่อยๆดึงผ้าปิดแผลออก ระวัง graft หลุด ทําความสะอาดแผลและปิดแผลด้วย แผ่นปิดแผลแบบตาข่าย ปิดทับด้วยผ้าก๊อสและพันทับด้วยผ้า ยึด ป้องกัน graft เลื่อนหลุด
การดูแล donor site
ไม่ต้องเปิดทําแผล แพทย์จะพันผ้ายืดรัดแผลไว้ หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก ไม่ควรลงนําหนักเพราะอาจมีเลือดออกมากขึ้น ในวันต่อมาถ้าเปื้อนมากดูแลเปลี่ยนผ้ายืดและ gauze ชั้นนอกได้ แผลจะหายเองประมาณ2 สัปดาห์ ถ้าไม่มีการติดเชื้อ เมื่อแผลแห้งดีให้ลอกผ้า ปิดแผลและแผ่นปิดแผลแบบตาข่ายออกได้
ส่งเสริมให้ได้รับโภชนาการที่ช่วยในการหายของแผล หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ใส่ NG tube for feed เพื่อประเมินการทำงานของลำไส้เริ่ม feed และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของภาวะ stress ulcer แต่อาจจะต้อง จำกัด น้ำในผู้ป่วยบางรายเพราะอาจทำให้เกิดภาวะท้องอืดหรือเกิดการขยายตัวของกระเพาะอาหารได้ (gastric dilation) หรือภาวะพิษจากน้ำได้ (water intoxication) ซึ่งในเด็กไตอาจขับน้ำได้ไม่ดีร่วมกับภาวะไตวายเฉียบพลันทำให้ขับน้ำได้น้อย
เสี่ยงต่อการมีของเสียคั่งเนื่องจาก ไตสูญเสียหน้าที่
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
BP 105/65 mmHg.
% burn = 35
RR 36 bpm.
เป้าหมาย
ไม่เกิดของเสียคั่ง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการของการมีของเสียคั่ง เช่น ปัสสาวะออกน้อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง
ระดับ BUN Cr ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตระดับความรู้สึกตัวเพื่อประเมินภาวะของเสียคั่ง
ประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วย เพื่อประเมินอาการและอาการแสดงของการมีภาวะของเสียคั่ง
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่า BUN Cr Electrolyte เพื่อประเมินการทำงานของไตในการขับของเสีย
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและออกทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินการทำงานของไต
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลจากน้ำมันลวก
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
ผู้ป่วยมีอาการซึมเล็กน้อย
RR 36 bpm.
2nd and 3rd degree burn
เป้าหมาย
บรรเทาอาการปวดแผลของผู้ป่วย
เกณฑ์ประเมินผล
เด็กซึมน้อยลง
RR 15-30 bpm.
O2 sat มากกว่าหรือเท่ากับ 95%
สีหน้าผู้ป่วยสดชื่นขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินระดับความปวดด้วย face score หรือ CHEOPS score เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษา
ให้ยาตามแผนการรักษา ประเมินอาการปวดของผู้ป่วย และสังเกตอาการข้างเคียง เพื่อบรรเทาอาการปวด
ดูแลจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดของผู้ป่วย
ดูแลให้นอนบนฟูกหรือที่นอนลมเพื่อลดการกดทับบริเวณแผล
เบี่ยงเบนความเจ็บปวดของเด็กโดยให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่นเล่นเกมหรือการดูการ์ตูน
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองของเด็กได้ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและควรปลอบโยนให้กำลังใจเด็ก
ผู้ป่วยและผู้ดูแลวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยและภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
ผู้ป่วยมีแผล skin graft บริเวณต้นแขนซ้าย และมีแผล donor site
ผู้ป่วยมีสีหน้าเคร่งเครียด ไม่สดชื่น
เป้าหมาย
ผู้ป่วยและบิดามารดาคลายความวิตกกังวล
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยและบิดามารดาบอกมีสีหน้าสดชื่นขึ้น
บิดามารดาเข้าเยี่ยมทารกสม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและบิดามารดาเปิดโอกาสให้ได้แสดงความเห็นระบายความรู้สึกและระบายปัญหาให้คำอธิบายเกี่ยวกับโรคปัญหาของผู้ป่วยและวิธีการรักษาพยาบาลแก่บิดามารดาโดนใช้คำพูดที่ง่ายแก่การเข้าใจ เพื่อคลายความกังวล
ปลอบโยนให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและบิดาและมารดา ส่งเสริมให้บิดามารดาเยี่ยมผู้ป่วยทุกวันเพื่อติดตามและทราบความก้าวหน้าของโรค ให้บิดามารดามีร่วมทำกิจกรรมดูแลผู้ป่วยโดยพยาบาลคอยดูแลให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมสานสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก
เมื่อผู้ป่วยได้รับการพิจารณากลับบ้านได้จะต้องประเมินสภาพก่อนจำหน่าย เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินของโรคดีขึ้น และแนะนำมารดาเกี่ยวกับการสังเกตความผิดปกติและเน้นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
Reference
จินดารัตน์ สมใจนึก. (2564). การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุบัติเหตุ จมน้ำ ได้รับสารพิษ พิษจากสัตว์ ไฟไหม้และน้ำร้อนลวก. เอกสารประกอบการสอน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สิริกรานต์ สุทธิสมพร. (2564). การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับอุบัติเหตุในระยะฉุกเฉินและระยะวิกฤติ. เอกสารประกอบการสอน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ปัณณยา วันกฤษณ์. (2561). Cloxaciliin. สืบค้นเมื่อวันที่ 24/11/2564 จาก :
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=7538
ปิยศักดิ์ วิทยบูรณานนท์ และ หฤทัย โชติสุขรัตน์.(2559).ความปวดในเด็ก.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง,60(2),135-145.
ฉลวย เหลือบรรจง และ เนตรนภิศ จินดากร.(2560).แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก.วารสารการพยาบาลและการศึกษา,10(3),14-22.