Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีผู้สูงอายุ นาง - Coggle Diagram
ทฤษฏีผู้สูงอายุ
นาง
ทฤษฎีความสูงอายุเชิงชีวภาพ(Biological theories of aging)
ทฤษฎีความสูงอายุที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม (Genetic theory)
ทฤษฎีนาฬิกาชีวภาพ(Watch spring theory)
ผู้ป่วยมีอายุ 88 ปี มีกระบวนการของความสูงอายุ การเจริญเติบโต การพัฒนาและเสื่อมลง เป็นวัฎจักรที่เกิดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่มีการกำหนดไว้แล้ว
ทฤษฎีความสูงอายุที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม(Nongenetic cellular theory)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม(Wear and theory)
กรณีศึกษามีอายุ 88 ปี เมื่ออายุมากขึ้นระยะเวลานานเซลล์ภายในร่างกายเสื่อมสภาพลงทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย
ทฤษฎีนี้ได้เปรียบเทียบ : สิ่งมีชีวิตคล้ายกับเครื่องจักรเมื่อมีการใช้งานมากๆก็จะเกิดความผิดปกติขึ้นแต่มนษุยอและเครื่องจักรจะแตกต่างกันเพราะมนุษย์สามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองและใช้งานต่อไปได้โดย กระบวนการสร้างใหมเพื่อทดแทนทเช่น เซลล์ของผิวหนงั เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว แต่มีเซลล์บางชนิดไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเซลล์กล้ามเนื้อลายและเซลล์ประสาท เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ก็จะเสื่อมลงและตาย ทําให้การทํางานของ อวัยวะเหล่านี้ลดลง
ทฤษฎีการสะสม(Accumulative theory)
ทฤษฎี
ความสูงอายุของเซลล์เกิดจากการคั่งค้างของของเสียสะสมในเซลล์เป็นระยะเวลานานทำให้เซลล์เสื่อมสภาพการสะสมของเสียจากการเผาผลาญ ทฤษฎีนี้แสดงว่าความสูงอายุเป็นผลมาจากการสะสมที่เป็นอันตรายต่อเซลล์
กรณีศึกษารายนี้มีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และเป็นโรคปอดอักเสบ อีกทั้งการเผาผลาญของผู้ป่วยลดลง สำหรับผู้ป่วยรายนี้มีค่า BUN สูง และค่า Creatinine ต่ำ แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีการคั่งของ Blood Urea Nitrogen ในกระแสเลือด แต่ในทางตรงกันข้ามค่า Creatinine ต่ำ เนื่องจากการที่มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
สำหรับผู้ป่วยรายนี้มีค่า eGFR ที่ผิดปกติ บ่งบอกถึงอัตราการกรองของเสียจากไตเสื่อมลง แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของโรคไตเรื้องรังในระยะที่ 3Bและ 3A เป็นระยะที่ไตทำงานผิดปกติปานกลาง
ทฤษฎีอนุมูลอิสระ (Free radial theory
ทฤษฎี ความสูงอายุเกิดจากร่างกายมีการสะสมของอนุมูลอิสระมากขึ้นจนเกิดเป็นสารหรือโมเลกุลที่มีฤทธิ์ ทําลายอนุมูลอิสระอาจเกิดจากการ Metabolism ของร่างกายเองหรือจากการรับเข้าจากภายนอกก็ตามแล้วไปทำปฏิกิริยากับไขมันที่ไม่อิ่มตัวในเซลล์ได้แก่ ไมโตคอนเดรีย ไลโซโซม และเยื่อหุ้ม นิวเคลียส ทําให้มีการใช้ออกซิเจนมากขึ้นเกิดเป็นอนุมูลอิสระมากขึ้นก่อให้เกิดการยับยั้งการทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เยื่อหุ้มเซลล์ถูกทําลายทําใหเพิ่มปริมาณน้ําเข้าสู่เซลล์มากขึ้น ระบบสมดุลของน้ําในเซลล์เสียไป ในที่สุดส่งผลทําให้เซลล์ตายได้
กรณีศึกษา ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องระบบสมดุล Sodium 146 Potassium3.58 Chloride104.4 CO2 35.5 Calcium8.2 Phosphorus2.4 Magnesium2.1 Anion Gap9.7 มีภาวะขาดน้ำ
ทฤษฎีการเชื่อมตามขวาง(Cross-linking theory)
ทฤษฎีนี้อธิบายความสูงอายุเกิดขึ้นจากมีการเชื่อมตามขวางของโมเลกุลของโปรตีนส่วนใหญ่จะพบการเชื่อมตามขวาง มากที่สุดในอิลาสตินและคอลลาเจน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างร่างกาย ช่วยพยุงและให้ความแข็งแกร่งเนื้อเยื่อเหล่านี้ จะพบมากใน ผิวหนังเอ็นกระดูกกล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจ
อัตราของการเชื่อมตามขวางจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่จะเกิดเร็วในช่วงอายุ 30-50 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมหลายประเภทที่ทําให้มีการเพิ่มอัตราการ เชื่อมตามขวาง ได้แก่สารประกอบอัลดีไฮด์ ทองแดง แมกนีเซียม และ Oxidizing fat ดังนั้นเมื่ออายุ มากขึ้นเนื้อเยอื่ คอลลาเจนและอิลาสตินจะมีการเชื่อมตามขวางมากขนึ้ ทําให้สูญเสียความยืดหยุ่นมีลักษณะแข็งแตกและฉีกขาดง่ายขึ้นก่อให้เกิดผลต่อการซึมผ่านของสารที่เยื่อหุ้มทําให้การแพร่และการดูดซึมของก๊าซสารอาหารแอนตี้บออดี้ท็อกซินตลอดจนเมตาโบลัยท์ต่างๆผ่านผนังหลอดเลือดลดลง เอ็นจะแข็งและแห้ง ผิวหนังแห้งเหี่ยวฟันหลดุร่วงกล้ามเนื้อเสียความยืดหยุ่นผนังหลอดเลือดมีแรงตึงตัวลดลงทําให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆมีประสิทธิภาพในการทํางานลดลง
กรณีศึกษา ผิวหนังผู้ป่วยเหี่ยวย่น แห้ง บวมตึงบริเวณแขนข้างขวา คอลลาเจนในร่างกายน้อย ผิวหนังแตกลายฉีกขาดได้ง่าย เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น
ทฤษฎีการเชื่อมไขว้ (Cross link Theory on cross link of collagen T.)
ทฤษฎีการเชื่อมไขว้ (Cross link Theory on cross link of collagen T.) เชื่อว่าเมื่อชรา สาร Fibrous Protcin จะเพิ่มขึ้น และจับตัวกันมากขึ้นทำให้ collagen Fiber หดตัวขาดความยืดหยุ่นและจับกันไม่เป็นระเบียบมีผลให้cell ตายและเสียหน้าที่กระบวนการนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับ DNA ของ cell โดยสาร cross link ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีจะทำให้ DNA มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อม ปัจจุบันเชื่อกันว่าสารเคมีพวก lathyrogens, prednisolone และpenicillamine จะช่วยลดปฏิกิริยาการเกิดสาร Cross link ได้
นอกจากที่กล่าวมายังมีความเชื่อที่เกี่ยวกับรังสีอุลตราไว้ โอเลตที่มีผลต่อความชราและการเปลี่ยนแปลงในระดับสรีระวิทยาทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย (Wrinking) ที่เรียกว่า SolarElastosis ซึ่งเกิดจากการแทนที่ของ collagen ด้วย Elastin ลักษณะเปราะ เหี่ยว แตกเล็กน้อย) และ
ขังมีผลให้เกิดมะเร็วผิวหนังได้ด้วย อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อกันว่า ภาวะโภชนาการ การบริโภคอาหารให้ได้สัดส่วนทั้งปริมาณและคุณภาพจะช่วยให้ชีวิตยืนยาว
กล่าวโดยสรุปทฤษฎีกลุ่มนี้อธิบายความสัมพันธ์ของปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกาย
กับกระบวนการแก่ ข้อคิดที่ได้คือ การลดกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายโดยจำกัดอาหาร
จำพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน และบริโภคอาหารจำพวกผักและผลไม้ จะช่วยให้อายุยืนยาว