Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค, F7B45E76-B7C9-4E85-BDE0-3ED5C028C0D5, 8DED21CD…
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
ภาคอีสาน
เซิ้งกระติบข้าว
ประวัติความเป็นมาของเซิ้งกระติบข้าว
เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้ายกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ แต่ภายหลังได้มีการห้อยกระติกข้าวแล้วเซิ้งให้เข้ากับจังหวะกลอง
การแต่งกาย
ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ซ้ายเฉียงไปทางขวา แต่งกายแบบพื้นเมืองภาคอีสาน นุ่งผ้าซิ่น มีเชิงยาวคลุมเข่าเล็กน้อย สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมหรือคอปิด ห่มสไบทับเสื้อ ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ เกล้าผมมวยสูงทัดดอกไม้
-
-
-
เซิ้งสวิง
ประวัติเซิ้งสวิง
เป็นการละเล่นพื้นบ้านของภาคอีสาน ซึ่งเป็นการละเล่นเพื่อการส่งเสริมทางด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น เซิ้งสวิงเป็นชุดฟ้อนที่มีความสนุกสนาน โดยดัดแปลงท่าฟ้อนจากการที่ชาวบ้านออกไปหาปลา โดยมีสวิงเป็นหลักในการหาปลา นอกจากมีสวิงแล้วจะมีข้อง ซึ่งเป็นภาชนะในการใส่ปลาที่จับได้ เซิ้งสวิงมีการประยุกต์กันมาเรื่อยๆ และในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทางกรมศิลปากรจึงได้นำท่าฟ้อนของท้องถิ่นมาปรับปรุงให้มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงขึ้น ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และการรื่นเริงใจ
-
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ
-
เครื่องแต่งกาย
ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง หญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง
-
-
เซิ้งโปงลาง
เครื่องแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
-
ประวัติเซิ้งโปงลาง
โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง ส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็ก ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โปงลาง แคน พิณ ซ่อ ฉาบ ฉิ่ง กลอง
-
-
-
ภาคกลาง
ภาคกลาง มีศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูการเก็บเกี่ยว เช่น เต้นกำรำเคียว รำโทน ลำตัด เป็นต้น
เต้นกำรำเคียว
ประวัติเต้นกำรำเคียว
เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อย ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่น เพื่อให้เหมาะสมกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยมีการแต่งทำนองเพลงประกอบการแสดงตอนต้น ก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบบทร้อง
-
การแต่งกาย
-
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้ และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
-
ดนตรีที่ใช้
ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้ เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนำไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข้า-ออก
-
-
ลำตัด
-
-
ประวัติลำตัด
ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม
-
-
รำโทน
ประวัติรำโทน
รำโทน เป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวบ้านเมืองลพบุรี นิยมเล่นกันแพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ เหตุที่เรียกชื่อว่ารำโทน เพราะเดิมเป็นการรำประกอบจังหวะการตี "โทน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในการเล่น ภายหลังแม้ใช้เครื่องดนตรีอื่น เช่น รำมะนา ตีให้จังหวะแทนก็ยังเรียกชื่อเช่นเดิม ผู้ที่นิยมเล่นรำโทน คือหนุ่มสาวชาวบ้าน การละเล่นชนิดนี้ชาวบ้านรู้จักและเล่นได้ทุกคน ขณะที่เล่นจะจุดตะเกียงตั้งไว้ตรงกลาง ผู้เล่นจะยืนล้อมวง จุดประสงค์ของการเล่นคือ เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อพบปะเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว
-
ดนตรีที่ใช้
เดิมใช้ ใช้โทนใบเดียว หรือหลายใบก็ได้ ต่อมานิยมใช้ "รำมะนา" แทนเพราะเสียงดังไพเราะและเร้าใจดีกว่า อาจใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถังน้ำมันตีให้จังหวะ แทนก็ได้ นอกจากนี้อาจจะใช้ฉิ่งตีให้จังหวะได้อีกด้วย
-
การแต่งกาย
จะเห็นได้ว่าการเล่นรำโทนยังไม่มีระเบียบแบบแผนของการแต่งกายเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นการ “ร่วมเล่น” เพื่อความบันเทิงไม่ใช่เพื่อการแสดง
-
-
-
ภาคเหนือ
-
-
นาฏศิลป์ของภาคเหนือ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ และนอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ ชาวไทยภูเขา ชาวยอง
ฟ้อนเล็บ
ประวัติฟ้อนเล็บ
ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ ผู้ฟ้อนจะสวมเล็บยาว ลีลาท่ารำของฟ้อนเล็บคล้ายกับฟ้อนเทียน ต่างกันที่ฟ้อนเทียนมือทั้งสองถือเทียนตามแบบฉบับของการฟ้อน
-
เครื่องแต่งกาย
การแต่งกายแต่เดิมจะนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม หรือคอจีนผ่าอก เกล้าผมมวยโดยขมวดมวยด้านท้ายทอย ทัดดอกไม้ประเภทดอกเอื้อง จำปา กระดังงา หางหงส์ หรือลีลาวดี
-
เครื่องดนตรีและเพลง
- ใช้เป็นขบวนกลองยาว ได้แก่ กลองแอร์ กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบ ฆ้องโหม่งใหญ่ ฆ้องโหม่งเล็ก ฉิ่ง ปี่
- เพลงที่ใช้บรรเลง สำหรับเพลงที่ใช้บรรเลง เช่น เพลงแหย่ง เพลงเชียงแสน เพลงหริภุญชัยหรือลาวเสี่ยงเทียน
-
-
ฟ้อนเทียน
เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย
-
การแต่งกาย
แต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบคืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม
-
-
-
ฟ้อนมาลัย
ฟ้อนมาลัย คำว่า ฟ้อน หมายถึง ลักษณะท่าทางแบบหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย ฟ้อนมาลัยคือฟ้อนดวงดอกไม้เป็นศิลปะการฟ้อนแบบฉบับอย่างหนึ่งของชาวเชียงใหม่ที่นิยมจัดแสดงกันแพร่หลายมาแต่โบราณ
-
-
เมื่อ พ.ศ. 2501 อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำทำนองเพลงฟ้อนดวงดอกไม้มาใช้เป็นเพลงฟ้อนของนางข้าหลวงของแม่ท้าวคำปิน โดยได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ และคุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ประดิษฐ์ท่ารำ ฟ้อนชุดนี้ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป
-
ภาคใต้
-
วัฒนธรรมไทยมุสลิม
ระบำตารีกีปัส
-
เครื่องแต่งกาย
-
- ผ้านุ่ง เป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ (Song Ket) สอดดิ้นเงิน – ทอง
- ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นโบว์ด้านหน้า
-
-
-
-
-
-
ระบำตารีกีปัส เป็นการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นการฟ้อนรำที่ใช้พัดประกอบการแสดง
ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู
เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
-
เครื่องดนตรี
ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ฆ้องเป็นเครื่องกำกับจังหวะ นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยม เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการละเล่นคือ การตบมือ
-
การแต่งตัว
-
การแต่งกายที่ใช้ในการแสดงลิเกฮูลู จะแต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุงผ้าโสร่ง สวมเสื้อคอกลม มีผ้าโพกหัว บางครั้งเหน็บขวานจะไว้ข่มคู่ต่อสู้ ต่อมานิยมแต่งกายแบบซีละ คือนุงกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลม มีผ้าโพกหัวและนิยมใช้สีเหมือนกันทั้งคณะ
วัฒนธรรมไทยพุทธ
หนังตะลุง
หนังตลุง คือ ศิลปการเล่นเงา (Shadow Play) ที่สืบต่อ กันมาช้านาน แม้ว่าปัจจุบัน การเล่นหนังเสื่อมความนิยมของคนดูลงไป แต่ก็ยังมีการเล่นหนังตะลุงอยู่ตามงานเทศกาลต่าง ๆ ศิลปการเล่นหนังตะลุงคือ การเล่าเรื่อง ผสมผสานกับเงาของรูปหนัง ตะลุงผ่านผ้าขาวบางประกอบดนตรี
-
องค์ประกอบ
๑. คณะหนังตะลุง ประกอบด้วยนายหนังและลูกคู่ ประมาณ 9 – 12 คน ทำหน้าที่จัดรูปหนัง คอยส่งรูปหนังให้นายหนัง และสามารถเล่นแทนนายหนังได้บางตอน
๒. เครื่องดนตรี ได้แก่ โหม่ง ฉิ่ง กลอง ทับ ปี่ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องดนตรีสากลเข้ามาเสริม
๓. จอหนัง ทำด้วยผ้าขาวบางความยาว 8 – 9 ศอก ขอบริมด้วยผ้าสีแดงหรือน้ำเงิน มีเชือกสำหรับผูกรายโดยรอบ
๔. โรงหนัง ปลูกแบบยกพื้นสูงประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 3 เมตร ไม่นิยมหันหน้าโรงหนังไปทางทิศตะวันตก ไม่ปลูกคล่อมตอ คันนา แอ่งน้ำ จอมปลวก ระหว่างต้นไม้ใหญ่ เขตป่าช้า ถือว่าไม่เป็นมงคล
๕. รูปหนัง ทำด้วยหนังสัตว์ ฉลุระบายสีสวยงาม คณะหนึ่งมีรูปหนัง 100 – 300 ตัว
-
-
ขนบนิยมการเล่น
๑. พิธีเบิกโรง จะนำอุปกรณ์การแสดงทั้งหมดขึ้นทางหน้าโรงหนัง ส่วนผู้แสดงขึ้นทางหลังโรงหนัง มีการตั้งเครื่อง และเบิกรูปหนังจัดให้เป็นระเบียบ
๒. การโหมโรง คือการบันเลงดนตรีก่อนการแสดง นายหนังเป็นผู้ประเดิมในการโหมโรงโดยการ ตีกลองนำลูกคู่
๓. การออกลิงหัวค่ำ ในหนังโบราณ จะออกลิงหัวค่ำก่อนฤาษี ปัจจุบันไม่นิยมอาจมีบ้างในงานแก้บน
๔. ออกฤาษี ฤาษีเป็นตัวแทนครูหนัง เมื่อเชิดรูปออก มักปฏิบัติดังนี้ ตั้งนโม 3 จบ ชุมนุมเทวดา ตั้งบทธรณีสาร
๕. ออกโคหรือพระอิศวร เป็นตัวแทนเทพเจ้าแห่งศิลปการร่ายรำ แสดงถึงการรับเอาวัฒนธรรมอินเดียอย่างชัดเจน
๖. ออกรูป(อภิ)ปรายหน้าบท เป็นตัวแทนนายหนัง กล่าวไหว้ครู สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนเจ้าภาพและผู้ชม
๗. บอกเรื่อง มักจะใช้รูปนายขวัญเมือง บอกให้ผู้ชมทราบว่าคืนนี้จะแสดงเรื่องอะไร
๘. ตั้งเมือง เป็นการเปิดเรื่องโดยการเอารูปเจ้าเมืองอัน เป็นเมืองสำคัญของเรื่อง แล้วดำเนินเรื่องต่อไปจนกระทั่งเลิก
-
โนรา
เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ อีกทั้งปัจจุบันยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากองกรณ์ยูเนสโก การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
-
วงดนตรีประกอบ
- ประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่
-
- ประเภทเครื่องตี ได้แก่ กลองทับ โหม่ง (ฆ้องคู่) ฉิ่ง แกระหรือแตระ (ไม้ไผ่ 2 อัน ใช้ตีให้จังหวะ)
-
การแต่งกาย
การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-