Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) :warning: HIHL-ภาวะหลอดเลือดแข็ง…
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Arteriosclerosis) :warning:
-
อาการและอาการแสดง
หลอดเลือดแดงแข็งทีหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ โดยอาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และจะทุเลาลงเมื่อหยุดพัก
-
ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บร้าวมาที่คอ กระดูกกราม ไหล่ และแขน โดยเฉพาะฝั่งซ้ายของร่างกาย มีเหงื่อออกมาก หายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ คล้ายจะเป็นลม หรือหมดสติ
หลอดเลือดแดงบริเวณลำคอมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง หากเกิดหลอดเลือดแดงแข็งที่คอจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยมีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างมากในทันที วิงเวียน สับสน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ ตามองไม่เห็นชั่วคราว 1 ข้าง ซึ่งเป็นอาการของโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราว
-
-
หลอดเลือดแดงแข็งที่ไต อาจทำให้เนื้อเยื่อไตขาดเลือดและส่งผลต่อการทำงานของไต
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เท้าบวม ปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งน้ำปัสสาวะอาจมากหรือน้อยผิดปกติร่วมกับมีความดันโลหิตสูง
-
หลอดเลือดแดงแข็งที่แขนและขา เลือดไปเลี้ยงแขน ขา และกระดูกเชิงกรานไม่เพียงพอ
ผู้ป่วยเกิดอาการปวดและชาบริเวณแขนและขา อาจทำให้เป็นตะคริวบ่อยครั้ง มือและเท้าเย็น หากหลอดเลือดตีบมากอาจทำให้มือและเท้ามีสีเขียวคล้ำและอาจเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงได้
-
สาเหตุของโรค
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการทำลายผนังชั้นในของเส้นเลือดแดงซึ่งเป็นบริเวณที่มักเริ่มมีการสะสมของสารต่างๆ เช่น ไขมัน แคลเซียม โดยคราบตะกอนเหล่านี้ทำให้เลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดถูกจำกัด เกิดการแข็งตัวตามมาภายหลัง เมื่อหลอดเลือดเกิดการตีบตัน เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ หัวใจขาดเลือด นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย
ผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง - แข็ง มี fibrocyte กล้ามเนื้อเรียบ คอลลาเจน เซลล์เยื่อบุ มีแคลเซียมและไขมันไปเกาะ ส่งผลให้เกิดการอุดตัน
ผนังชั้นกลาง - มีคอลลาเจนมากขึ้น เนื้อเยื่ออีลาสตินเสื่อม ถูกแทนที่ด้วยพังผืด เซลล์กล้ามเนื้อจับกับแคลเซียม ทำให้ผนังหลอดเลือดไม่เรียบ ขาดความยืดหยุ่น ขนาดภายในหลอดเลือดลดลง การบีบตัวไม่เป็นปกติ
-
กลไกการเกิดโรค
ไขมัน Low density lipoprotein (LDL) เข้าสู่ชั้น sub-endothelial LDL จะกลายเป็น oxidized LDL ที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
เกิดการกระตุ้นให้หลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น interleukin-1 (IL-1), tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) ทำให้เกิด Endothelial dysfunction ส่งผลให้ Nitric oxide (NO) ลดลง และกระตุ้น monocyte เข้าสู่ชั้น sub-endothelial
-
-