Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ, นางสาวนัฎฐริกา ทองคำ เลขที่ 13 sec.1 …
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ
ผู้ที่สุขภาพดีมีกระบวนการสูงอายุช้ากว่าผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม เช่น นายกอที่ชอบกินผักและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะมีกระบวนการสูงอายุช้ากว่านายขอ ที่รับประทานอาหารฟาสฟู๊ดเป็นอาหารเช้า และไม่กินผัก
ประสบการณ์ชีวิต
ผู้ที่มีความประทับใจที่ดีต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพดี ย่อมมีพฤติกรรมสุขภาพดี และผู้สูงอายุที่มีความประทับใจที่ดีต่อการสูงอายุย่อมยอมรับและเตรียมตัวที่จะเป็นผู้สูงอายุได้ดี
กรรมพันธุ์
คนเเถบตะวันตกมีกระบวนการสูงอายุเร็วกว่าคนแถบตะวันออก เช่น คนอเมริกันมีมีกระบวนการสูงอายุเร็วกว่าคนญี่ปุ่น
ความเชื่อ และ วัฒนธรรม
การยอมรับหรือต่อต้านความรู้ความคิดใหม่ๆ การอยู่ร่วมกับคนต่างวัย เช่น ผู้สูงอายุเชื่อว่าการไม่กินไข่ขณะมีแผลจะทำให้เเผลหายเร็วขึ้นเเต่ในความเป็นจริงเเล้วไข่นั้นเป็นโปรตีนซ่งเป็นตัวช่วยในการหายของแผล
ปัจจัยภายนอก
การเกษียณการทำงาน (Retirement)
ทำให้สูญเสียความมั่นคง รายได้ อำนาจ สังคมหรือบทบาทหน้าที่ในครอบครัว กาเตรียมตัวดีจะทำให้ไม่รู้สึกสูญเสียแต่ต้องปรับตัวเพื่อรับบทใหม่
การจากไปของสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
เช่น การเเต่งงานแยกไปมีครอบครัวของลูกๆ และ การเสียชีวิตของคู่ชีวิต
การศึกษา
ผู้ที่มีการศึกษาสูงย่อมสามารถทำงานที่มีรายได้สูง ทำให้มีฐานะดี สามารถหาซื้ออาหารที่มีคุณค่ามารับประทาน มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข้าวสารที่ถูกต้อง จึงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพพได้อย่างเหมาะสม
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ดวงตา
สายตายาว
ต้อหิน
ท่อน้ำตาอุดตันทำให้มีน้ำตาไหลในเ้าตาเพิ่มขึ้น
เปลือกตาบนตกลง
กล้ามเนื้อควบคุมม่ายตาทำงานลดลง
แก้วตามีการสะสมของโปรตีนเพิ่มขึ้น เลนส์มัวมีความยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงทั้งแสงและสี
ระบบต่างๆทำงานได้น้อยลง
ริมฝีปากแห้ง ลอกง่าย ฟันผุ ฟันโยกเเตกง่าย การรับรู้รสชาติอาหารเปลียน หินปูนเกาะ
ข้อวินิจฉัย
อาจจะมีระดับนำตาลในเลือดสูงเนื่องจากรับประทานอาหารรสจัดขึ้นจากการที่ความสามารถในการรับรสลดลง
คำแนะนำ : ให้ผู้ป่วยดูภาพเกี่ยวกับการฟอกไต และให้เห็นถึงปริมาณของเครื่องปรุงที่ใช้ในเเต่ละวันอย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปรุงอาหารรสจัด
อาจเกิดอาการท้องผูกเนื่องปัญหาฟันโยกคลอนจากกระดูกขากรรไกรหดสั้นทำให้เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดส่งผลให้การย่อยอาหารไม่ดี
คำแนะนำ : แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและมีกากไย และรับประทานผลไม้ เช่นมะม่วง
เสี่ยงต่อกาวะการติดเชื้อเนื่องจากหินปูนเกาะ
คำแนะนำ : แนะนำให้ผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการขูดหินปูน
กล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น
ข้อวินิจฉัย
การเปล่งเสียงไม่มีพลังเนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น
คำแนะนำ : ให้ผู้สูงอายุฝึกอ่านเสียงตัวโน๊ตวันละหนึ่งรอบในตอนเช้าเพื่อบริหากล่องเสียง
ผิวหนังเหี่ยวย่น หน่อนคล้อน แห้ง ทำให้เเตกคัน แพ้ง่าย มีผมหงอก กระดูกผุกร่อน กล้ามเนื้อเล็กลง หลังโก่ง เคลื่นไหวร่างกายช้าลง
ระบบประสาท
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ
เสี่ยงต่อการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอเนื่องจากช่วงการหลับสนิทลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
เสี่ยงต่อการได้รับยานอนหลับมากเกินควาจำเป็นเนื่องจากการนอนไม่หลับแต่ตื่นกลางคืนบ่อย
คำแนะนำ : แนะนำญาติให้ดูและเกี่ยวกับการกินยานอนหลับของผู้สูงอายุ และหากิจกรรมที่ทำให้หลับในรูปแแบบอื่น เช่น เปิดบทสวดธรรมมะ
เสี่ยงต่อภาวะความจำเลอะเลือนเนื่องจากมวลสมองลดลง น้ำหนักสมองลดลงและเซลล์ประสาทมีจำนวนลดลง
คำแนะนำ : แนะนำญาติว่าให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมเกี่ยวกับความจำอยู่เสมอ
ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมลง
ทำให้เกิดอาการต่างๆ ความดันโลหิดต่ำเมื่อเปลี่ยนอริยบท ควบคุมและกล้้นปัสสาวะไม่ได้ และสมรรถภาพทางเพศเสื่อม
หู
เกิดภาวะหูตึงเนื่องจากวัยชรา
การเปลี่ยนแปลงของ cochlea ทำให้ความสามารถในการได้ยินเสียงมีความถี่สูงจะลดลง (presbycusis)
ได้ยินเสียงไม่ชัดเนื่องจากผนังเส้นเลือดแดงในหูแข็งตัว
การทรงตัว มีอาการวิงเวียนเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือเปลี่ยนทิศทางของศรีษะอย่างรวดเร็ว
ด้านสรีรวิทยาอื่นๆ
ต่อมไทรอยด์
ถ้าหากทำงานลดลงอาจทำให้เคลื่นไหวช้าลง น้ำหนักเพิ่ม ท้องผูก ถ้าทำงานเพื่มขึ้นอาจซึม สับสน เหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย
ต่อมหมวกไต
สร้างฮอร์โมน Aldosterone ลดลงทำให้มีการสูญเสียเกลือออกจากร่างกายหากท้องเสียจะทำให้ความดันโลหิดต่ำ
เบาหวาน
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง Target organs ของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้อิซูลิน ออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
ฮอร์โมนเพศ
ความหนาเเน่นของกระดูกลดลง กระดูกพรุนง่าย เนื่อจากการสร้าง เอสโตรเจนและแอนโดรเจนลดลง
เยื่อบุช่องคลอดบาง ช่องคลอดเเห้ง และการผลิตอสุจิรวมถึงการหลั่งน้ำลดลง
น้ำหนักไตลดลง ทำให้ความสามารถในการกรองของเสียลดลง
กระเพาะปัสสาวะความจุลดลง ปัสสาวะค้างมากขึ้นส่งผลให้ติดเชื้อง่าย
ต่อมลูกหมากหนาตัวขึ้นเบียดอุดตันท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยเบ่งปัสสาวะเป็นเวลานาน
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน
งูสวัด
มะเร็ง
วัณโรค
ท้อง
ลำไส้
มีการลดลงของการดูดซึมวิตามินดี โฟลิก วิตามิินบี12 แคลเซียม ทองแดง สังกะสี กรดไขมันและคอเรสเตอรอล เคลื่อนไหวช้า ท้องผูกง่าย
ตับ
จำนวนเซลล์และปริมาณเลือดมาหล่อเลี้ยงลดลง ทำให้การกำจัดสารพิษต่างๆและยา ช้าลง
กระเพาะอาหาร
การตึงตัวและกรดกระเพาะอาหารลดลง ทำให้การย่อยโปรตีนลดลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ลิ้นหัวใจ
เกิดความเสื่อมเนื่องจากมีไขมันสะสม และหินปูนเกาะทำให้เกิการปิดเปิดของลิ้นหัวใจมีประวิทธิภาพลดลง
คำแนะนำ : แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันหรือมีไขมันน้อย เช่น ลด ละ เลิก การรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน
หลอดเลือดเเดง
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มข้น และเกิดการสะสมของหินปูนการอุดตันของหลอดเลือดแดง
คำแนะนำ : แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันหรือมีไขมันน้อย เช่น ลด ละ เลิก การรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน
หัวใจ
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดลงและผังผืดเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขยายขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เซลล์กำหนดหัวใจลดลง มีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
คำแนะนำ : ให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในตอนเช้าโดยการเดินเตาะเเตะประมาณ 10 ครั้งในทุกวันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
ระบบหายใจ
หลอดลมแข็งตัวและมีผังผืดเพิ่มขึ้นทำให้หายใจ
ไม่เพียงพอ
ทรวงอก หากผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังคดงอ หายใขเข้าไม่เต็มที่เนื่องจากกระดูกซี่โครงยุบห่อตัวเข้าหากัน
ปอดจะยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้อากาศคงเหลือในปอดเพิ่มขึ้นผนังทางผ่านแก๊สหนาตัวขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซรหว่างอากาศและเลือดมีประสิทธิภาพลดลง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
การรับรู้ ซึ่งผู้สูงอายุจะยึดติดกับความคิดและเหตุผลของตนเอง
อาการหลงๆลืม จำเหตุการณ์ต่างๆไม่ได้
เรียนรู้สิ่งใหม่ยากเพราะไม่มั่นจในการปรับตัว
การแสดงออกทางอารมณ์ ซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระเเวง วิตกกังวล โกรธง่ายเอาเเต่ใจตนเอง
หมกมุ่นเรื่องของตนเอง สนใจสิ่งแวดล้อมน้อยลง
มีความสุขลดน้อยลงซึ่งพบบ่อยมาก
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
ภาระหน้าที่และบทบาททางสังคมลดน้อยลง
คนส่วนใหญ่มีควาเชื่อผิดๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น คิดว่าความสามารถของผู้สูงอายุน้อยลง
เปลี่ยนแปลงบทบาทจากหัวหน้า ผู้นำครอบครัว มาเป็นผู้อาศัย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เช่น เกษียณอายุเมื่อครบ 60 ปี
สูญเสียบทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัว
การถูกทอดทิ้ง
ความเคารพความเชื่อถือลดลง
การสูญเสียชีวิตของคู่สมรส ญาติคนใกล้ชิดหรือเพื่อนสนิท
การรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่ทำให้ผู้สูงอายุ คิดว่าตนแก่เเล้วมีอยู่ 2 ลักษณะ
ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
แสดงให้สังคมรับรู้ว่าสามารถช่วยเหลือตนเองได้
การเรียนรู้สิ่งใหม่ช้าลง
หากมีประสบการณ์สามารถประมวลความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาเปรียบเที่ยบกับข้อมูลที่รับมาใหม่ได้ จะมีความสุขุมและวิจารณญาณที่ดี
มีความเป็นตัวเองสูง
ทำให้การเข้ากับบุคคลต่างวัยที่ไม่เข้าใจผู้สูงอายุได้ไม่ง่ายนัก
การเกษียณจากงาน
หากผู้สูงอายุไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือขาการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณจากงาน จพทำให้รู้สึกสูญเสียทุกๆอย่างเพียงข้ามคืน ความสามารถในการรับบทบาทใหม่จึงลดลง
การจากไปของสมาชิกในครอบครัว
ผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว
ต้องวางแผนชีวิตใหม่ต้องยอมรับการเปลี่ยน
คู่คิดหรือผู้ดูแล
ปัญหาที่พบ
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ผู้สูงอายุฐานะไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแล อาจไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงชีพอาจไม่มีที่อยู่อาศัยทำให้ได้รับความลำบาก
ปัญหาด้านความรู้
ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับวัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อให้เข้ากันได้กับเยาวชนรุ้นใหม่
ปัญหาทางสุขภาพกาย
ผู้สูงอายุมักมีปัญหาเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียนทั้งทางกายและทางสมอง
ปัญหาทางด้านสังคม
ผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิมเยาวชนรุ่นใหม่หลากหลายคนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้สูงอายุเห็นเป็นคนรุ่นเก่าล้าสมัยพูดไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์
ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดุแลต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา อนาคตประเทศไทยอาจจะเป็นการอยู่ด้วยกันเเบบต่างคนต่างอยู่
นางสาวนัฎฐริกา ทองคำ เลขที่ 13 sec.1
รหัส 6317701001015