Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน …
การพยาบาลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อน
ในระยะหลังคลอด (หัวข้อ 10.5-10.7)
หลอดเลือดดำอักเสบ (thrombophlebitis)
อาการและอาการแสดง
กรณีมีการอักเสบของหลอดเลือดดำบริเวณพื้นผิว : จะมีอาการปวดน่องเล็กน้อย บวม แดงร้อน หลอดเลือดดำแข็ง
กรณีมีการอักเสบของหลอดเลือดดำที่ลึกลงไป : จะมีอาการไข้ต่ำๆ ผิวหนังร้อน แต่มองไม่เห็นหรือคลำไม่ได้ กดหลอดเลือดดำส่วนลึกเจ็บ ดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวหน่องตึงจะรู้สึกปวดมาก กล้ามเนื้อน่องเกร็ง ปวดตื้อ ๆ ที่น่องหรือที่ขา มีอาการบวมบริเวณขาเนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน
แนวทางการรักษา
ให้ยากระตุ้นการจับตัวเป็นลิ่มเลือด
ให้ยาปฏิชีวนะ
ผ่าตัดในรายที่อาการรุนแรง
ให้ยาแก้ปวด
. การพยาบาลเพื่อป้องกัน
1 รองผ้าบนขาหยั่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักกดลงบนน่อง และไม่ให้อยู่บนขาหยั่งนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
2 กระตุ้นสตรีหลังคลอดให้ลุกจากเตียงโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดส่วนล่าง
3 กรณีที่มีคลอดเลือดดำขอดพอง หรือมีประวัติหลอดเลือดดำอักเสบมาก่อน แนะนำให้สวมถุงน่องช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยการสวมถุงน่อง ให้สวมก่อนลุกจากเตียงตอนเช้าเพราะถ้าลุกยืนและเดิน ก่อน จะมีคั่งของเลือด เกิดขึ้นแล้ว ควรถอดถุงน่องวันละ 2 ครั้ง เพื่อประเมินอาการ
4 แนะนำสตรีหลังคลอดให้ดูแลตนเองให้หลีกเลี่ยงการนั่งนาน ๆ ลุกเดินทุกครึ่งชั่วโมงหรือทุกชั่วโมง
เต้านมเป็นฝี (breast abscess)
อาการและอาการแสดง
อาการเริ่มต้นคัดตึงเต้านมอย่างรุนแรง ต่อมาปวดเต้านมมาก ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีอาการหนาวสั่น มีไข้สูงอย่างรวดเร็ว อาจสูงถึง 38.3-40.0 ๐C ชีพจรเร็ว มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมไหลออกน้อยลง บริเวณเต้านมแดงร้อน แข็งตึง ขยายใหญ่ กดเจ็บ ปวดเมื่อยตามตัว
แนวทางการรักษา
การให้ยาปฏิชีวนะ กรณีที่เป็นหนองอาจจะต้องเปิดแผลกว้าง เพื่อระบายให้หนองไหลออกสะดวก
การพยาบาลเพื่อช่วยเหลือขณะมีการอักเสบติดเชื้อ
1 ลดการกระตุ้นเต้านมและหัวนมบริเวณที่มีการติดเชื้อ รักษาความสะอาด ใช้ความร้อนเป่า เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำนมดี ลดความเจ็บปวด และอาจช่วยให้น้ำนมออกมา โดยใช้เครื่องปั๊มน้ำนมไฟฟ้าหรือใช้มือบีบแต่ไม่นวด
2 กรณีเต้านมอักเสบให้ทารกดูดนมต่อไปได้ ถ้าเต้านมเป็นฝีอาจจะงดทารกดูดน้ำนมข้างนั้นและบีบน้ำนมออก
3 ให้ยาปฏิชีวนะและยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
4 สวมเสื้อชั้นในหรือพันผ้าเพื่อพยุงเต้านม ต้องระวังไม่พันผ้าแน่นหรือสวมเสื้อชั้นในคับเกินไป
5 ในรายที่แพทย์เปิดแผลเพื่อระบายหนองออก ให้ทำความสะอาดแผลวันละ 2 ครั้ง
6 แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็ว
ภาวะซึมเศร้าและโรคจิตหลังคลอด
(Postpartum depression and Psychosis)
โรคซึมเศร้าหลังคลอด
(Postpartum depression)
อาการและอาการแสดง
1 เศร้า หม่นหมอง ร้องได้บ่อย
2 รู้สึกจุกแน่นในอก และบางครั้งรู้สึกเหมือนมีก้อนมาจุกที่ลำคอ
3 แบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลงไป นอนไม่หลับ หรือนอนหลับตลอดเวลา
4 ขาดความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ การรังสรรค์ รวมไปถึงความสนใจในเรื่องเพศ
5 ท้อแท้ หมดหวัง มองโลกในแง่ร้าย ไม่พึงพอใจ หรือไม่ถูกใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว
การพยาบาล
1 ดูแลให้สตรีหลังคลอดได้รับความสุขสบายด้านร่างกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
2 สนับสนุนให้สตรีหลังคลอดได้รับการประคับประคองทางด้านจิตใจ จากบุคลากรทีมสุขภาพ สามีและญาติ
3 ส่งเสริมและให้กำลังใจในการแสดงบทบาทการเป็นมารดา
4 ให้สตรีหลังคลอดได้รับความช่วยเหลือ และดูแลการรักษาเพื่อบำบัดภาวะซึมเศร้าอย่างเหมาะสม
โรคจิตหลังคลอด
(postpartum psychosis)
อาการและอาการแสดง
อาการนำ มักเริ่มเป็นในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอด โดยมีอาการไม่สุขสบายนำมาก่อน ได้แก่
1) นอนไม่หลับ ฝันร้าย
2) บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม รอบตัว กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย
3) ภาวการณ์รู้ตัวเลือนราง สับสน ความจำเสีย และขาดสมาธิ
4) การเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น กระตุก เกร็ง พูดเร็ว
อาการโรคจิต ต่อจากระยะแรก สตรีจะมีอาการโรคจิตหรือวิกลจริตร่วมกับความผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งอาการโรคจิตที่จำเพาะของโรคจิตหลังคลอด คือ bipolar disorder หรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองแบบ ซึ่งจะมีทั้งอาการซึมเศร้าและอาการแมเนีย โดยบางครั้งมีอาการซึมเศร้าอย่างมากและบางครั้งมีอาการแมเนีย หรืออาจมี อาการทั้ง 2 แบบ ผสมกันในเวลาเดียวกัน
การพยาบาล
1 เพื่อให้สตรีหลังคลอดได้รับความสุขสบาย และส่งเสริมให้มีสุขภาพอนามียที่ดี
2 ให้มารดา สามี และญาติ ได้ทราบถึงการวินิจฉัย และการรักษาของแพทย์ โดยอธิบายให้มารดาและสามีเข้าใจถึงวิธีการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้า หากแพทย์มีความเห็นว่ามารดาได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ เพื่อให้เข้าใจและยอมรับการรักษา
3 ให้มารดาได้รับความปลอดภัยและได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
4 ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว และให้ครอบครัวสามารถเผชิญต่อเหตุการณ์ได้ตามความเหมาะสม
นางสาวนภวรรณ ภาระตะวัตร รหัสนักศึกษา 624N46136