Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hematology
โลหิตวิทยา - Coggle Diagram
Hematology
โลหิตวิทยา
โลหิตหรือเลือด (blood) เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือดทั่วร่างกาย โดยอาศัยการสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ร่างกายมนุษย์ใช้ในการสร้างเม็ดโลหิต คือไขกระดูก ในร่างกายของคนเรามีโลหิตมากน้อย ตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณ 80 ซีซี ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ดังนั้นถ้าท่านมีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ท่านจะมีโลหิตประมาณ 4,000 ซีซี
-
พลาสมา หมายถึง น้ำเลือดที่แยกเอาส่วนของเม็ดเลือดออกไปแล้ว มีลักษณะ เป็นของเหลวสีเหลืองใส ซึ่งมีสารต่างๆ ละลายอยู่ ได้แก่ โปรตีนชนิดต่างๆ รวมถึงปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ต่างๆ (อิเล็กโทรไลต์) ฮอร์โมน และสารอื่นๆ
-
หน้าที่ของเลือด
1.การขนส่ง(Transportation)
1.1การขนส่งสารอาหาร
1.2 การขนส่งแก๊ส
1.3การขนส่งของเสีย
1.4การขนส่งฮอร์โมน
2.การควบคุม(Regulation)
2.1การควบคุมความเป็นกรด-เบสของร่างกาย
2.2การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
2.3 การควบคุมน้ำในร่างกาย
- การป้องกัน (Protection)
3.1การป้องกันการสูญเสียเลือด
3.2การป้องกันสิง่ แปลกปลอม
-
โลหิตจาง (Anemia)
หรือซีด หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า เลือดน้อย คือ การที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทางการแพทย์จะหมายถึงการที่ระดับค่าฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่า 13 กรัม / เดซิลิตรในผู้ชายหรือ 12 กรัม / เดซิลิตรในผู้หญิง ถ้าคิดเป็นค่าฮีมาโตคริตคือความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 39 และ 36 เปอร์เซ็นต์ในผู้ชายและผู้หญิงตามลำดับ
สาเหตุ
1.การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง 2.การทำลายเม็ดเลือดแดงมากขึ้นในร่างกาย 3.การเสียเลือดที่อาจเกิดอย่างฉับพลัน
-
อาการ
ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะแรก มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ใจสั่น หายใจลำบาก เล็บซีด ลิ้นซีด บวมตามข้อ ชาตามมือและเท้าหรือปลายมือและเท้าเย็นปากเปื่อย
ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะรุนแรง มักมีอาการเล็บเปราะ ด้าน แบนหรืองอนขึ้น และซีดมาก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซึมเศร้า ผิวเหี่ยวย่นมีสีซีดหรือเหลือง ผมแห้งแตกและร่วง สมาธิสั้นลง หัวใจโต ลิ้นรับรสเปลี่ยนไป บวมทั้งตัว และอาจเสี่ยงหัวใจวายได้
การรักษา
1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม
2.รับประทานยาหรือฮอร์โมน
3.ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก
4.เปลี่ยนถ่ายเลือด
-
-
-
โรคลิมโฟม่า
โรคลิมโฟม่า” หรือที่รู้จักกันในชื่อ”มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นภาวะการณ์เจริญเติบโตอย่างผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและได้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ที่ได้รับสารเคมีบางชนิด
อาการ
การพบก้อนที่บริเวณต่างๆของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ ขาหนีบ ไข้ หนาวสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืนเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวกต่อมทอนซิลโตปวดศรีษะ
-
-
-
การรักษาด้วยวิธีต่างๆ
การรักษาด้วยเคมีบำบัด หมายถึง การให้ยาซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย บางครั้งอาจมีผลทำให้เซลล์ปกติของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ท้องเสีย ผมร่วง ซึ่งอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา สภาวะความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ป่วย
-
การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy เป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยหลักการทำงานของภูมิคุ้มกัน กล่าวคือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้ทำการกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากร่างกาย เป็นการส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเพื่อให้สามารถกำจัด หรือควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
รังสีรักษาคือ การรักษาโรคมะเร็ง (Malignant Tumor) และรอยโรคที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง (Benign tumor) ด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือ อนุภาคซึ่งเป็นรังสี โดยอาศัยคุณลักษณะของรังสีแต่ละชนิดในการทำลายเซลล์
-
การถ่ายเลือดโดยทั่วไปเป็นกระบวนการรับผลิตภัณฑ์ของเลือดเข้าระบบไหลเวียนของบุคคลเข้าหลอดเลือดดำ การถ่ายเลือดใช้ในภาวะการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อทดแทนส่วนประกอบของเลือดที่เสียไป การถ่ายเลือดช่วงแรก ๆ ใช้เลือดเต็ม แต่เวชปฏิบัติสมัยใหม่ทั่วไปใช้เฉพาะบางองค์ประกอบของเลือดเท่านั้น เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว น้ำเลือด ปัจจัยจับลิ่มของเลือด (clotting factor) และเกล็ดเลือด
-
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem Cell Transplantation) เป็นการรักษาผู้ป่วยโดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมาให้แก่ผู้ป่วยทางหลอดเลือดดำ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่นำมาให้จะสามารถเคลื่อนเข้าไปในโพรงกระดูกของผู้ป่วย และแบ่งตัวสร้างเม็ดเลือดใหม่ได้
-
การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง หรือ targeted therapyเป็นการรักษาโรคมะเร็งแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยให้ยาหรือสารไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ชนิดของมะเร็งที่สามารถรักษาด้วย targeted therapy.
-