Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิจัย, 202102021137411_pic, VcHMT0zSLFLzn, IMG…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิจัย
ความหมาย
“การวิจัย” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Research” หมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก
กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริง และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใดๆ ที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ด้วยวิธีการศึกษาที่เป็นระบบ เชื่อถือได้
การวิจัย เป็นกระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีระบบ ระเบียบ มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ที่เชื่อถือได้
ลักษณะที่สำคัญของการวิจัย
เป้าหมายของการวิจัยมุ่งที่จะหาคำตอบต่าง ๆ เพื่อจะนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีอยู่โดยพยายามที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปรในลักษณะความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
การวิจัยเน้นถึงการพัฒนาข้อสรุป หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป้าหมายของการวิจัยนั้นมิได้ หยุดอยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเท่านั้น แต่ข้อสรุปที่ได้มุ่งที่จะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร เป้าหมาย
การวิจัยจะอาศัยข้อมูล หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถสังเกตได้รวบรวมได้ คำถามที่น่าสนใจบางคำถามไม่สามารถทำการวิจัยได้
การวิจัยต้องการเครื่องมือและการรวบรวมข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง
การวิจัยจะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ จากแหล่งปฐมภูมิหรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่เดิมเพื่อหาคำตอบของวัตถุประสงค์ใหม่
กิจกรรมที่ใช้ในการวิจัย เป็นกิจกรรมที่กำหนดไว้อย่างมีระบบแบบแผน
การวิจัยต้องการผู้รู้จริงในเนื้อหาที่จะทำการวิจัย
การวิจัยเป็นกระบวนการที่มีเหตุผล และมีความเป็นปรนัยสามารถที่จะทำการตรวจสอบความตรงของวิธีการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา และข้อสรุปที่ได้
สามารถที่จะทำซ้ำได้ โดยใช้วิธีเดียวกัน หรือวิธีการที่คล้ายคลึงกันถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากร สถานการณ์ หรือระยะเวลา
ความสำคัญ/ประโยชน์ของการวิจัย
ปัจจุบันนี้หน่วยงานและบุคคลในวงการต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจการวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะได้เล็งเห็นประโยชน์ของการวิจัยที่มีต่อมวลมนุษย์นั่นเอง แต่ประโยชน์ของการวิจัยจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเชื่อถือและถูกต้องมากน้อยเพียงใด ถ้าข้อมูลเป็นเท็จ ผลการวิจัยที่ได้แทนที่จะเป็นประโยชน์จะกลับกลายเป็นโทษต่อผู้นำผลการวิจัยนั้นไปใช้ ดังนั้น การวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย
ลักษณะของการวิจัยที่ดี
ด้ให้ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะที่ดีของปัญหาการวิจัยที่ดี
ความสำคัญและประโยชน์ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา :check:
สามารถหาข้อสรุปหรือยุติได้ :
มีขอบเขตที่เหมาะสมแก่ความสามารถ และทรัพยากร
ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยอื่น ด้านประเด็นปัญหา สถานที่ ประชากร และวิธีการศึกษา
ประเภทของการวิจัย
การแบ่งประเภทของการวิจัย ทำได้หลายลักษณะ ดังนี้
แบ่งตามระเบียบวิธีวิจัย
1.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
1.2 การวิจัยเชิงพรรณนา
1.3 การวิจัยเชิงวิเคราะห์
การวิจัยเชิงทดลอง
แบ่งตามคุณลักษณะและการวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ
2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ
แบ่งตามประโยชน์หรือความต้องการที่จะได้รับจากการวิจัย
3.1 การวิจัยพื้นฐาน
3.2 การวิจัยประยุกต์
4 แบ่งตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ลักษณะการศึกษา จำนวนผู้วิจัย ลำดับเวลา
4.1 การวิจัยเชิงสำรวจ
4.2 การวิจัยเชิงทดลอง