Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ ผู้สูงอายุ, นางสาวจีราวรรณ…
หน่วยที่ 4 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของ
ผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ
ปัจจัยภายใน
กรรมพันธุ์
คนแถบตะวันตกมีกระบวนการสูงอายุเร็วกว่า
คนแถบตะวันออก
สุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ
ผู้มีสุขภาพดีย่อมมีกระบวนการสูงอายุช้ากว่าผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม
ประสบการณ์ชีวิต
ผู้ที่มีความประทับใจที่ดีต่อการมีพฤติกรรมสุขภาพดี ย่อมมีพฤติกรรมสุขภาพดี และผู้สูงอายุที่มีความประทับใจที่ดีต่อการสูงอายุย่อมยอมรับและเตรียมตัวที่จะเป็นผู้สูงอายุ
ความเชื่อ (belief) และวัฒนธรรม
การยอมรับหรือการต่อต้านความรู้ ความคิดใหม่ ๆ การอยู่ร่วมกันกับคนต่างวัย
ปัจจัยภายนอก
การศึกษา
ผู้ที่มีการศึกษาสูงย่อมสามารถทำงานที่มีรายได้สูง ทำให้มีฐานะหรือเศรษฐกิจดี สามารถซื้อหาอาหารที่มีคุณค่ามา
รับประทาน มีความสามารถในการเข้าถึงข่าวสารที่ถูกต้อง จึงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
การเกษียณการทำงาน (Retirement)
ทำให้สูญเสียความมั่นคง รายได้ อำนาจ สังคมหรือบทบาทหน้าที่ในครอบครัว การเตรียมตัวดีจะทำให้ไม่รู้สึกสูญเสียแต่ต้องปรับตัวเพื่อรับบทบาทใหม่
การจากไป
การจากไปของสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เช่น การแต่งงานแยกครอบครัวไปของลูก ๆ การเสียชีวิตของคู่ชีวิต
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ลดลง
ริมฝีปากแห้ง ลอกง่าย ฟันผุ โยกแตกง่าย
การรับรู้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป ชอบรสจัดขึ้น
การเปล่งเสียงไม่มีพลัง เนื่องจากกระดูกอ่อน
บริเวณกล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น
กระดูกขากรรไกรหดสั้นลง ทำให้ฟันโยกคลอนได้ง่าย
การบดเคี้ยวลำบากขึ้นเพราะเหงือกรุ่น รากฟันโผล่พ้นขอบเหงือก ทำให้ฟันผุและเขียวฟันได้ง่าย หินปูนเกาะจะเกิดการติดเชื้อ ทำให้ฟันร่วงและเกิดภาวะขาดสารอาหาร
ความสามารถในการรับรสลดลง เนื่องจากการลดลงของต่อมรับรสและน้ำลายข้นขึ้น รับประทานอาหารรสจัดขึ้นโดยเฉพาะรสหวานและเค็ม
ผมมีหงอกขาว ผมจะบางลงและแข็งแรงน้อยลง
ผิวหนังเหี่ยวย่น หย่อนคล้อย แห้ง
ทำให้แตก คัน และแพ้ง่าย
หลังโกง เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้าลง
กระดูกที่ผุกร่อนและกล้ามเนื้อที่ลีบเล็กลง
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยา
ระบบประสาท
มวลสมองลดลง น้ำหนักสมองของคนอายุ 80 ปี ลดลงประมาณร้อยละ 10 จากวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเซลล์ประสาทมีจำนวนที่ลดลง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน และความจำระยะสั้น
ระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อมลง
ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบท ควบคุมหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ และสมรรถภาพทางเพศเสื่อม
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ
ทำให้ผู้สูงอายุมีช่วงการหลับสนิทลดลง จึงตื่นกลางดึกบ่อย รู้สึกนอนไม่พอ มักใช้ยานอนหลับมากเกินความจำเป็น
ตา
สายตายาว
ต้อหิน
แก้วตามีการสะสมของโปรดีนเพิ่มขึ้น เลนส์มัวมีความยืดหยุ่นลดลง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงทั้งแสงและสี
ท่อน้ำตาอุดต้นทำให้มีน้ำตาในเบ้าตาเพิ่มขึ้น
เปลือกตาบนตกลง
กล้ามเนื้อควบคุมม่านตาทำงานลดลง
หู
เกิดภาวะหูตึงเนื่องจากวัยชรา (presbyacusia)
การเปลี่ยนแปลงของ Cochlea ทำให้ความสามารถในการได้ยินเสียงที่มีความกี่สูงจะลดลง (presbycusis)
ได้ยินไม่ชัด เพราะประสาทหูเสื่อม
ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เนื่องจากผนังเส้นเลือด
แดงในหูแข็งตัว
การทรงตัว มีอาการวิงเวียนเมื่อเปลี่ยนท่าทางหรือเปลี่ยนทิศทางของศีรษะอย่างรวดเร็ว
เบาหวาน
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ Target organs ของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้อินซูลิน ออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
ต่อมไทรอยด์
เมื่อทำงานลดลง ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวช้าลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องผูก
ถ้าทำงานเพิ่มขึ้นอาจเกิดอาการซึม สับสน เหนื่อยจากภาวะหัวใจวาย
ต่อมหมวกไต
สร้างฮอร์โมน Aldosterone ลดลงทำให้มีการสูญเสียเกลือโซเดียมออกจากร่างกาย หากมีอุจจาระร่วงมักมีความดันโลหิดต่ำ
ฮอร์โมนเพศ
ทั้งเอสโตรเจนและแอนโดรเจนลดลง ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง จึงเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย
เยื่อบุช่องคลอดบาง ช่องคลอดแห้ง และการผลิตอสุจิรวมทั้งการหลั่งน้ำกามลดลง
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์บกพร่อง
วัณโรค
งูสวัด
มะเร็ง
กระเพาะอาหาร
การตึงตัวของกระเพาะอาหารลดลง กรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้การย่อยอาหารโปรตีนลดลง
ลำไส้
ะมีการลดลงของการดูดซึมวิตามินดี โฟลิก วิตามินบี 12 แคลเซียม ทองแดง สังกะสีกรดไขมันและคอเลสเตอรอล
เคลื่อนไหวช้า ความสามารถในการดูดซึมอาหารลดลงและท้องผูกได้ง่าย
ตับ
จำนวนเซลล์และปริมาณเลือดมาหล่อเลี้ยงลดลง ทำให้การกำจัดสารพิษต่าง ๆ เช่น แอลกอฮอล์ สีผสมอาหาร ยากันบูด และยาต่างๆ ช้าลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจ
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดลงและมีผังผืดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ขยายขนาดขึ้น เซลล์กำหนดจังหวะการการเต้นของหัวใจลดล่ง ทำให้ผู้สูงอายุบางรายมีจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ลิ้นหัวใจ
เกิดความเสื่อมเนื่องจากมีไขมันสะสม และหินปูนเกาะทำให้การปิดเปิดของลิ้นหัวใจมีประสิทธิภาพลดลง
หลอดเลือดแดง
เซลล์กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้น และเกิดการสะสมของหินปูน ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงได้ง่าย
ระบบหายใจ
ปอดจะยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้มีอากาศคงเหลือในปอดเพิ่มขึ้น และผนังทางผ่านของก๊าซหนาตัวขึ้น ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊ซระหว่างอากาศและเลือดลดประสิทธิภาพลง
หลอดลมแข็งตัวและมีพังผืดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจึงเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่เพียงพอ ต้องชดเชยด้วยการหายใจให้เร็วขึ้น และหายใจแบบตื้นๆ
ทรวงอก หากผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังคดงอและกระดูกซี่โครงยุบห่อตัวเข้าหากัน ทำให้การยืดขยายทรวงอกขณะหายใจเข้าทำได้ไม่เต็มที่ จึงจำเป็นต้องใช้ทั้งกระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยในการหายใจเพิ่มขึ้น
น้ำหนักไตลดลง ทำให้ความสามารถในการกรองของเสียออกจากร่างกายลดลง
กระเพาะปัสสาวะ ความจุลดลง ประสิทธิภาพในการหดตัวลดลง หลังจากถ่ายปัสสาวะจึงมีปัสสาวะค้างมากขึ้น ทำให้ติดเชื้อง่าย
ต่อมลูกหมากหนาตัวขึ้นจนอาจเบียดหรืออุดตันท่อปัสสาวะ ผู้สูงอายุจึงต้องปัสสาวะบ่อยและเบ่งปัสสาวะเป็นเวลานาน
กล้ามเนื้อ
มวลูกล้ามเนื้อลดลง ทำให้กล้ามเนื้อลีบลง
มวลกระดูกลดลงเนื่องจากอายุมากขึ้นและการไม่เคลื่อนไหว
การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นลดลง ปริมาณไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น เซลล์ที่ผิวหนังแบ่งตัวช้าลง ทำให้บาดแผลหายช้าลง ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันทำงานลดลง ทำให้ผิวหนังแห้งและคัน
ชั้นไขมันหนาขึ้น กล้ามเนื้อน้อยลง กระดูก
บางลง ข้อต่อและเส้นเอ็นยืดหยุ่น
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
การรับรู้ ซึ่งผู้สูงอายุมักยึดติดกับความคิดและเหตุผลของตนเอง
จำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ค่อยได้ หลง ๆ ลืม ฯ และชอบย้ำคำถามบ่อย ๆ
เรียนรู้สิ่งใหม่ได้ยากเพราะไม่มีความมั่นใจในการปรับตัว
การแสดงออกทางอารมณ์ อาจจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจ
ตนเอง มักจะคิดซ้ำซาก ลังเล หวาดระแวง
หมกมุ่นเรื่องของตนเอง ทั้งเรื่องในอดีตและอนาคต
กลัวลูกหลานทอดทิ้ง
สนใจสิ่งแวดล้อมน้อยลง ผู้สูงอายุมักสนใจเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเองมากกว่าเรื่องของผู้อื่น
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ที่พบได้บ่อยคือมีความสุขลดน้อยลง ซึ่งมักมีสาเหตุจากความเสื่อมของร่างกาย ความเจ็บป่วย สถานะทางสังคมที่เปลี่ยนไป การสูญเสียคนใกล้ชิด
การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
การะหน้าที่และบทบาททางสังคมลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุห่างจากสังคม
คนส่วนใหญ่มักมองว่าผู้สูงอายุมีสมรรถภาพและความสามารถลดน้อยลง จึงไม่ให้ความสำคัญหรือใส่ใจมากนัก
เปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้นำครอบครัว กลายเป็นเพียงผู้อาศัยหรือเป็นสมาชิกของครอบครัวเท่านั้น
สมรรถภาพร่างกายลดลง ทำให้ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองหรือกิจวัตรประจำวันเป็นไปได้ยากลำบาก จะส่งผลกระทบต่อจิตใจ เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง หดหู่กับสภาพตัวเอง อีกทั้งยัง ทำให้ผู้สูงอายุไม่กล้ามีสังคมหรือมีกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสถานภาพและบทบาททางสังคม เช่น ผู้ที่เคยทำงาน เมื่อครบอายุ 60 ปี ต้องออกจากงานการ
สูญเสียทบาทในการเป็นผู้นำครอบครัว
การถูกทอดทิ้ง สภาพสังคมในปัจจุบัน คนหนุ่มสาวต้องหางานทำ ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง
ความเคารพเชื่อถือลดลง คนส่วนใหญ่มัมองว่าผู้สูงอายุมีความสามารถน้อยลง ทำให้ความเคารพนับถือในฐานะที่มีประสบการณ์เปลี่ยนไป เด็กไม่ให้ความเคารพผู้ใหญ่เหมือนเช่นเคย
การสูญเสียชีวิตของคู่สมรส ญาติคนใกล้ชิดหรือเพื่อน
การรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางกายที่เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการสูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุคิดว่าตนเองแก่แล้ว แสดงพฤติกรรมแบบผู้สูงอายุใน 2 ลักษณะ
ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง อ่อนไหว โกรธง่าย
แสดงให้สังคมรับรู้ว่าสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่ต้องการความช่วยเหลือ
การเรียนรู้สิ่งใหม่ช้าลง
แต่สามารถประมวลความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ได้ จึงมีความสุขุมและมีวิจารณญาณที่ดี
มีความเป็นตัวของตัวเองสูง
ทำให้การเข้ากับคนต่างวัยที่ไม่เข้าใจผู้สูงอายุได้ ไม่ง่ายนัก
การเกษียณจากงาน
หากผู้สูงอายุไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือขาดการ
เตรียมตัวเพื่อการเกษียณจากงาน จะทำให้ผู้สูงอายรู้สึกว่าสูญเสียทุก ๆ อย่างเพียงข้ามคืน ความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับบทบาทใหม่จึงลดลง
การจากไปของสมาชิกในครอบครัว
ที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเสียชีวิตของคู่ชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุขาดคู่คิด ต้องวางแผนชีวิตใหม่อย่างโดดเดี่ยวและต้องจำยอมรับการเปลี่ยนคู่คิดหรือ
ผู้ดูแล
ปัญหาที่พบ
ปัญหาทางด้านสุขภาพกาย
ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่าง ๆ เบียดเบียนทั้งโรคทางกายและทางสมอง ผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง คือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า
ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ผู้สูงอายุที่มีฐานะไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู อาจจะไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพอาจจะไม่มีที่อยู่อาศัยทำให้ได้รับความลำบาก
ปัญหาทางด้านความรู้
ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับวัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและ
เพื่อให้เข้ากั้นได้กับเยาวชนรุ่นใหม่
ปัญหาทางด้านสังคม
ผู้สูงอายุอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เดยเป็นข้าราชการตำแหน่งสูงซึ่งเคยมีอำนาจและบริวารแวดล้อม เมื่อเกษียณอายุราชการอาจเสียดายอำนาจและตำแหน่งที่เสียไป เยาวชนและหนุ่มสาวหลายคนมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุเห็นคนรุ่นเก่าล้าสมัยพูดไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์
ปัญหาทางด้านจิตใจ
ผู้สูงอายุจะไม่ได้รับความเอาใจใส่และความมอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้างและอาจจะมีความวิตกกังวลต่าง ๆ เช่น กังวลว่าจะถูกลูกหลานและญาติพื้น้องทอดทิ้งกังวลในเรื่องความตาย ผู้สูงอายุมักมีอารณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจต้นเองผู้สูงอายุบางคนก็ยังมีความต้องการความสุขทางโลกีย์ ซึ่งไม่เหมาะสมกับวัยของตนทำให้ได้รับความผิดหวัง
ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว
ปัญหาผู้สูงอายุที่น่าเป็นห่วง คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในอดีตจะเป็นครอบครัวใหญ่ที่เรียกว่าครอบครัวขยาย ทำให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟันและเกิดความอบอุ่นระหว่างพ่อแม่และลูกหลาน ในปัจจุบันครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองจะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะมาทำงานในเขตเมืองทิ้งพ่อแม่ให้เฝ้าบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้รับการดูแลและได้รับความอบอุ่นดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้เยาวชนมีความกตเวทีต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์น้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา ในอนาคตเมื่อประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมแบบใหม่ สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตก คือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้นก็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา
นางสาวจีราวรรณ ทองเจียม
รหัสนักศึกษา 6317701001006 Sec.1