Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Conference of Parties-COP 26 (Glasgow Climate Pact) - Coggle Diagram
Conference of Parties-COP 26
(Glasgow Climate Pact)
ข้อมูลทั่วไป
มีผู้นำจาก 117 ประเทศได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์การดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม
แผนเดิมตั้งใจจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่ถูกเลื่อนอีกไปปีเต็มเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ (World Leaders Summit)
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร
ประเด็นการเจรจาที่สำคัญในการประชุม COP26**
1)การกำหนดกลไกความร่วมมือสำหรับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ
2)การกำหนดกรอบระยะเวลา (Timeframe)
ในการดำเนินงานตามเป้ามายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC)
3)การกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนแก่ประเทศกำลังพัฒนา
4)การกำหนดรูปแบบการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก (GHG Inventory)
5)การรายงานความก้าวหน้าด้านการดำเนินงานของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
สาระสำคัญ (1)
Global Coal to Clean Power Transition Statement
ปฏิญญาการเปลี่ยนผ่านพลังงานถ่านหินสู่พลังงานสะอาด มุ่งสู่การเปลี่ยนการใช้พลังงานจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด โดย 1] เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานสะอาดและศักยภาพการใช้พลังงาน 2] ยกระดับเทคโนโลยีและนโยบายภายในปี ค.ศ. 2040 (ภายใน 10 ปีนี้ สำหรับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่) 3] หยุดการออกใบอนุญาตและโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และภาครัฐหยุดสนับสนุนโดยตรงต่อโรงไฟฟ้าถ่านหิน
Glasgow Leaders’ Declaration on Forests and Land Use
ปฏิญญากลาสโกว์ แสดงความมุ่งมั่นของผู้นำที่จะร่วมกันหยุดยั้งการสูญเสียป่าไม้และความเสื่อมโทรมของที่ดินภายในปี ค.ศ. 2030 เปลี่ยนผ่านสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน และหยุดยั้งการสูญเสียพื้นที่ป่าและความเสื่อมโทรมของที่ดิน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทบาทและการดำเนินการของประเทศไทย
มุ่งสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน (Carbon Neutrality)
ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
การจัดการของเสีย
การจัดการกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์
การจัดการการเกษตร
การจัดการป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
บัญชีก๊าซเรือนกระจก
ใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Thailand Greenhouse Gas Emissions Inventory System : TGEIS) คำนวณตามคู่มือ IPCC2006
นโยบายและแผนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แผนระดับ 1
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
แผนระดับ 2
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พศ 2566-2570) การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
แผนระดับ 3
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พศ 2564-2573 ศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก 20.8% จากกรณีปกติ ณ ปี 2030
การดำเนินงานในภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ประเทศไทยวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ พื้นที่ป่าธรรมชาติ 113.23 ล้านไร่ (ร้อยละ 35) พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 48.42 ล้านไร่ (ร้อยละ 15) และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท 16.17 ล้านไร่ (ร้อยละ 5)
ประเทศไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับประชาคมโลกตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ รวมถึงประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรก ๆ ของโลกที่สามารถดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีกรอบมาตรการในการดำเนินงานที่ชัดเจน
คาร์บอนเครดิต
โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) คือ กลไกลภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยโครงการฯ มีระบบขึ้นทะเบียนการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองผลการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบบัญชี T-VER Credits ให้แก่ผู้ดำเนินโครงการ หรือผู้ซื้อ-ผู้ขายคาร์บอนเครดิต
สาระสำคัญ (2)
COP26 Declaration on Accelerating the Transition to 100% Zero Emission Cars and Vans
ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรอื่น ๆ ตั้งใจเร่งการเปลี่ยนไปสู่การใช้ยานยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อมุ่งบรรลุตามเป้าหมายของความตกลงปารีส โดยจะร่วมกันผลักดันให้ทั่วโลกจำหน่ายยานยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี คศ 2040 และภายในปี ค.ศ. 2035 สำหรับตลาดที่เป็นผู้นำในเรื่องนี้
World Leader Summit Statement on the Breakthrough Agenda
แสดงความตั้งใจของประเทศ ที่จะร่วมกันในระดับสากลเพื่อเร่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีสะอาดและทางเลือกที่ยั่งยืนไปใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส โดยมีราคาที่เหมาะสม เข้าถึงได้ ช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาด การสร้างงาน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ เป็นทางเลือกแก่ภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 2030 (ครอบคลุมการผลิตไฟฟ้า การขนส่งทางถนน เหล็ก และไฮโดรเจน)