Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม 6.3…
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตสังคม
6.3 ภาวะวิกฤติทางอารมณ์
ความหมาย คือ ภาวะที่เผชิญกับปัญหา ความตึงเครียดอย่างรุนแรง ไม่สามารถหนีหรือแก้ไขปัญหานั้นได้ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
ประเภทของภาวะวิกฤต (Classification of crisis)
1.สถานการณ์วิกฤติ (Situational crisis) คือ เหตุการณ์ภายนอกทำให้อารมณ์ไม่ดีเสียความสมดุลของจิตใจ ทำให้เกิดความเครียดในครอบครัว เช่น เสียคนรัก เจ็บป่วย หย่าร้าง สอบตก
2.วัยวิกฤติหรือการเจริญเติบโตเต็มที่ในแต่ละวัย (Maturation crisis) คือ การเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆของการเจริญเติบโต
3.ภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ (Disaster Crisis) คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นไม่คาดคิด อาจเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เช่น ไฟไหม้ อุทกภัย จลาจล
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อภาวะวิกฤติ
2.งงงวย เช่น ปฏิกิริยาตอบสนองเชื่องช้า ไม่มีกิจกรรม ไร้จุดหมาย เดินเตร็ดเตร่ หน้าซีดเขียว เหงื่อออก ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ-หนาว ผิวหนังชื้้น คลื่นไส้/อาเจียน เป็นลมหมดสติ
1.ความวิตกกังวลสูงช็อกทางอารมณ์ เช่น กรีดร้องหรือร้องไห้ ปัดมือไปมา พูดเร็วมาก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หายใจถี่เร็ว หน้าแดง คลื่นไส้/อาเจียน
การปรับสมดุลทางอารมณ์เมื่อเผชิญเหตุการณ์วิกฤติ
1.การรับรู้เหตุการณ์ของบุคคล
1.1 การรับรู้เหตุการณ์สูญเสีย อาจจะสูญเสียจริงหรือแยกจากกันบุคคลจะมีอาการซึมศร้า
1.2 การรับรู้เหตุการณ์ที่เป็นการท้าทายความสามารถ
บุคคลจะระดมเอาพลังของเขามาใช้ในการแก้ไขปัญหา
1.3 การรับรู้เหตุการณ์เป็นจริงหรือบิดเบือน
1.3.1 รับรู้เหตุการณ์ตรงความเป็นจริงตระหนักถึงเหตุการณ์วิกฤติกับความเครียดของตนจะสามารถแก้ไขปัญหาได้
1.3.2 ถ้ารับรู้เหตุการณ์บิดเบือน นำไปสู่ความเครียดความพยายามในการแก้ไขปัญหาจะไร้ผล
2.มีบุคคลให้การช่วยเหลือ
จะช่วยปกป้องเขาจากความรู้สึกไม่ปลอดภัยในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลที่ช่วยประคับประคอง ทำให้อยู่ในภาวะไม่สมดุล และเกิดภาวะวิกฤติทางอารมณ์ได้
3.ความสามารถเผชิญกับความเครียด
ถ้าบุคคลที่ความสามารถในการเผชิญความเครียดดีจะสามารถจัดการกับอารมณ์ได้แต่ถ้าเผชิญความเครียดไม่ดี อาจอยู่ในภาวะไม่สมดุลเกิดภาวะวิกฤติได้
การพยาบาล/การดูแลบุคคลผู้อยู่ในภาวะวิกฤติ (Crisis intervention)
1.ประเมินปัญหา (Assessment) สำรวจความต้องการของผู้ป่วย เหตุการณ์คุกคามนั้นๆ ความต้องการที่ควรคำนึงถึง คือ บทบาทหน้าที่ การพึ่งพาคนอื่น และการทำหน้าที่ของร่างกายผู้ป่วย
2.การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis) ผู้ประสบภัยอาจมีปัญหาหลายอย่าง เช่น ตกตะลึง เงียบสงบหรืออยู่ไม่ติดที่
3.การวางแผนช่วยเหลือ (Planning) พึงระละไว้เสมอว่าการช่วยเหลือบุคคลในภาวะวิกฤติ มุ่งหวังเพียงเพื่อรักาาภาวะสมดุลทางอารมณ์ของผู้ป่วย
4.การดูแลช่วยเหลือ (Intervention)
4.1เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (Environmontal manipulation) เป็นการนำผู้รับบริการออกมาจากสภาพแวดล้อมเดิม เพื่อลดความตึงเครียด เช่น ภาวะวิกฤติที่ทำงานอาจต้องหยุดงานเพื่อลดความเครียด 1 สัปดาห์
4.2ให้การดูแลความช่วยเหลือทั่วๆไป(General support)คอยช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างผู้รับบริการ ให้ความรู้สึกอบอุ่น ยอมรับและเห็นใจแบบมีความรู้สึกร่วมด้วย (Empathy)
4.3การช่วยเหลือในกลุ่มคนใหญ่ (Generic approach)ช่วยโดยเพ่งเล็งลักษณะและชนิดภาวะวิกฤติ มุ่งคนทั้งกลุ่ม
การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ช่วยเหลือขั้นต้น คือ ย้ายออกจากพื้นที่ พยายามช่วยชีวิต แหล่งอาหาร ที่พักอาศัยและยารักษาโรค
หลังช่วยเหลือระยะฉับพลัน ผู้ประสบภัยต้องการกลับบ้าน ช่วยฟื้นฟูบ้านให้กลับสู่สภาพเดิม
A6480079 นางสาวจิราภา บัวหอม