Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปการวางแผนและการจัดทำ แนวการสอบบัญชี - Coggle Diagram
สรุปการวางแผนและการจัดทำ แนวการสอบบัญชี
ความหมายของการวางแผนสอบบัญชี
การวางแผนการสอบบัญชี หมายถึงการกำหนดขอบเขต ช่วงเวลา และการกำหนดวิธีการโดยรายละเอียดสำหรับลักษณะช่วงเวลาและขอบเขตการตรวจสอบเพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอและเหมสะสม
การกำหนดลักษณะการตรวจสอบ
การทดสอบการควบคุม
การตรวจสอบเนื้อหาสาระ
ช่วงเวลาการตรวจสอบ
การตรวจสอบระหว่างปี (Interim Audit)
การตรวจสอบสิ้นปี (Yearend Audit)
ขอบเขตของการตรวจสอบ
ประโยชน์ของการวางแผนการสอบบัญชี
1.ช่วยผู้สอบบัญชีให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญต่อการตรวจสอบอย่างเหมาะสม
2.ช่วยผู้สอบบัญชีในการระบุประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและแก้ปัญหาได้อย่างทันที
3 ช่วยผู้สอบบัญชีให้จัดการและบริหารงานตรวจบัญชีอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานสอบบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยในการเลือกสมาชิกในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบที่มีระดับความรู้และความสามารถที่เหมาะสม ตอบสนองต่อความเสี่ยงที่คาดการณ์ไว้และช่วยในการมอบหมายงานให้แก่สมาชิกอย่างเหมาะสม
5.ช่วยในการกำหนดแนวทางและควบคุมดูแลสมาชิกในกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบและสอบทานงานของสมาชิกในกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ
6.ช่วยในการประสานงานกับผู้สอบบัญชีของกิจการภายในกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญการวางแผนอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการตรวจสอบ
การวางแผนก่อนการรับงานสอบบัญชี
ประกอบด้วย3ขั้นตอน ดังนี้ 1.การประเมินความเสี่ยงในการรับงานสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะต้องพิจารณาความเสี่ยงในการรับสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายใหม่และรายเดิม
2.การจัดทำข้อตกลงในการรับงานสอบบัญชี หลังจากผู้สอบบัญชีรับงานแล้ว ผู้สอบบัชีควรจะทำหนังสือตอบรับงานสอบบัญชีก่อนที่จะเริ่มงานตรวจสอบเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะของการรับงาน
3.การจัดเตรียมคณะทำงานตรวจสอบ ที่เหมาะสมจะช่วยให้การตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีและการปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปอย่างมีปรัสิทธิภาพ
ขั้นตอนการวางแผนการสอบบัญชี
1.การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ เป็นการพิจารณาว่ากิจการได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายในการวางแผนงานสอบบัญชี
2.การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น เป็นการเปรียบเทียบความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางการเงินและที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่
3.การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ ในการวางแผนงานสอบผู้สอบบัญชีต้องกำหนดความมีสาระสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง
4.การประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่อง ก่อนการตรวจสอบผู้สอบบัญชีจะประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้และความเสี่ยงสืบเนื่องโดยศึกษาให้เข้าใจกิจการ