Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนและการจัดทำแนวการสอบบัญชี image - Coggle Diagram
การวางแผนและการจัดทำแนวการสอบบัญชี
1.ความหมายของการวางแผนสอบบัญชี
1.ลักณษณะของวิธีการตรวจสอบ
คือ การควบคุมตรวจสอบสาระเนื้อหา
2.ช่วงเวลาของวิธีการตรวจสอบ
คือ ผู้สอบบัญชีปฏิบัติการตรวจสอบ อาจเเบ่งการตรวจสอบเป็นการตรวจสอบระหว่างปี หรือ การตรวจสอบเเบบสิ้นงวดบัญชี
3.ขอบเขตของวิธีการตรวจสอบ
คือ ปริมาณที่จะเลือกมาตรวจสอบมากน้อยเพียงใดเเละจะเลือกรายการใดมาตรวจสอบ
2.ประโยชน์ของการวางแผนการสอบบัญชี
ช่วยผู้สอบบัญชีให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาเรื่อง
ที่สำคัญต่อการตรวจสอบอย่างเหมาะสม
ช่วยในการเลือกผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบที่มีระดับความรู้และความสามารถที่เหมาะสมและช่วยในการมอบหมายงานให้แก่สมาชิกอย่างเหมาะสม
ช่วยผู้สอบบัญชีให้จัดการและบริหารงานสอบบัญชีอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานสอบบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ช่วยในการประสานงานกับผู้สอบบัญชีของกิจการภายในกลุ่มและผู้เชี่ยวชาญ
ช่วยผู้สอบบัญชีในการระบุประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ช่วยในการกำหนดแนวทางและควบคุมดูแลสมาชิก และสอบทานงาน
ช่วยผู้สอบบัญชีให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญต่อการตรวจสอบอย่างเหมาะสม
4.ขั้นตอนการวางแผนการสอบบัญชี
1. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอเเละศึกษาให้เข้าใจสภาพโดยทั่วไปเกี่ยวกับกรอบของกฏหมายเเละข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบและศึกษาให้เข้าใจสภาพโดยทั่วไปเกี่ยวกับกรอบของกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เป็นการพิจารณาว่ากิจการได้มีการปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายและ
ข้อบังคับ ในการวางแผนงานสอบบัญชีผู้สอบบัญชีควรรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจซึ่งจะช่วยให้ผู้สอบบัญชี
มีความรู้ ความเข้าใจในระบบบัญชี และวิธีปฏิบัติทางการบัญชีอันจะเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ การรวบรวมเอกสาร
2.การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
การเปรียบเทียบความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางการเงินและที่มีใช่ข้อมูลทางการเงินว่าเป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบในช่วงการวางแผนเพื่อช่วยให้เข้าใจจะช่วยให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้ทราบถึงรายการผิดปกติในงบการเงิน เช่น ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบบัญชีลูกหนี้การค้าของปีที่ตรวจสอบกับยอดขายของปีก่อน หากพบว่ายอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นมากซึ่งไม่สัมพันธ์กับยอดขายที่ลดลง ผู้สอบบัญชีควรหาสาเหตุการเพิ่มขึ้นของบัญชีลูกหนี้เเละตรวจสอบบัญชีลูกหนี้จากการเปรียบเทียบของปีปัจจุบันก่อน
3 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ
การวางแผนงานสอบผู้สอบบัญชีต้องกำหนดความมีสาระสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญและกำหนดสักษณะ ช่วงเวลาและขอบเขตของวิธีการตรวจสอบต่อไป
ระดับความมีสาระสำคัญ
หมายถึง ระดับของความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลซึ่งถือว่ามีผลต่อความถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
4.การประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้เเละความเสี่ยงสืบเนื่อง
การตรวจสอบผู้สอบบัญชีจะประเมินความเสี่ยงในการสบบัญชีที่ยอมรับได้เเละความเสี่ยงสือเนื่องโดยการศึกษาจากสภาพเเวด ล้อมของกิจการเกี่ยวกับข้อบังคับทางกฏหมาย เช่น ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การดำเนินธุรกิจ
5.การศึกษาให้เข้าใจระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม
ผู้ตรวจสอบต้องมีการเข้าใจระบบบัญชีเเละการควบคุมภายในเพื่อกำหนดเเละเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของรายการที่สำคัญในการดำเนินงานของกิจการ เช่น สภาพเเวดล้อมของการควบคุม ควรประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ระบบสารสนเทศเเละการสื่อสาร
6.การจัดทำกลยุทธ์การสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี
ทำกลยุทธ์การสอบบัญชีโดยรวมทำกลยุทธ์การสอบบัญชีโดยรวม ซึ่งเป็นแผนงานที่มีไว้เพื่อให้การปฏิบัติงานสอบบัญชีมีประสิทธิผลช่วยให้แนใจว่ามีการพิจารณาเรื่องที่สำคัญอย่างเหมาะสม ทำให้งานตรวจสอบเสร็จอย่างรวดเร็วผู้สอบบัญชีจะบันทึกข้อมูลที่สำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบไว้ในกลยุทธ์การสอบบัญชีโดยรวม
3.การวางแผนก่อนการรับงานสอบบัญชี
1.การประเมินความเสี่ยงในการรับงาน
ลูกค้าใหม่
ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องรวบรวมข้อมูลโดยพิจารณาสภาพโดยทั่วไปของลูกค้า เเละต้องประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นในการรับงานสอบบัญชีรวมถึงพิจารณาจรรยาบรรณ มารยาทของผู้ตรวจสอบบัญชีด้วย ในกรณีที่งบการเงินของลูกค้าปีก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น จะต้องทำหนังสือไปยังผู้สอบเดิมว่ามีเหตุผลทางจรรยาบรรณวิชาชีพใดหรือไม่ ที่ผู้สอบบัญชีสามารถนำพิจารณาการรับงาน
ลูกค้าเดิม
การตรวจสอบงบการเงินผู้สอบต้องประเมินว่ามีที่ต้องเเก้ไขข้อตกลงในการรับงานในส่วนใดบ้างเเละจำเป็นต้องเเจ้งข้อตกลงเดิมให้กับกิจการหรือไม่
2.การจัดทำข้อตกลงในการรับงานสอบบัญชี
2.1 วัตถุประสงค์เเละขอบเขตการตรวจสอบงบการเงิน
2.2 ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี
2.3 ความรับผิดชอบของผู้บริหาร
2.4 รายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง รูปเเบบเเละเนื้อหาของรายงานผู้สอบบัญชี
2.5ค่าธรมเนียมในการสอบบัญชี
3. การจัดเตรียมคณะทำงานตรวจสอบ
การตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเเละการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดเตรียมคณะทำงานงานตรวจสอบ คือ การตรวจสอบกิจการนันหรือธุรกิจประเภทเดียวเเละความต่อเนื่องของคณะทำงานการตรวจสอบ