Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การควบคุมการเจริญเติบโต และการตอบสนองของพืช - Coggle Diagram
การควบคุมการเจริญเติบโต
และการตอบสนองของพืช
ฮอร์โมนพืช
สารเคมีที่พืชสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulator)
จิบเบอเรลลิน (Gibberellin; GA)
แหล่งสร้าง: เมล็ดที่กำลังเจริญ, เมล็ดที่กำลังงอก, เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย, อับเรณู, ผล
ผลของจิบเบอเรลลิน
กระตุ้นการงอกของเมล็ด
กระตุ้นการสร้างเอนไซม์สำหรับย่อยแป้งที่เก็บสะสมอยู่ในเมล็ด ให้เป็นน้ำตาล เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการงอก
กระตุ้นเซลล์ที่ลำต้นพืชให้มีการยืดตัวและแบ่งเซลล์มากขึ้นร่วมกับออกซิน
ประเภท
Gibberellic acid (GA3)
GA ชนิดอื่นๆ เช่น GA1, GA2
นำไปใช้เพื่อ
ช่วยยืดช่อผลองุ่นให้ยาว และทำให้ผลขยายขนาดใหญ่ขึ้น
กระตุ้นการออกดอกแก่พืชที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ เช่น กะหล่ำปลี แครอท
เอทิลีน (Ethylene)
แหล่งสร้าง: ทุกส่วนของพืชที่เกิดกระบวนการเมแทบอลิซึม
ผลของเอทิลีน
กระตุ้นการเสื่อมตามอายุ เช่น การร่วงของใบ ดอก และผล
กระตุ้นการสุกของผลไม้ที่สามารถบ่มให้สุกได้ (Climacteric fruit)
เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า มะละกอ
กระตุ้นการขยายขนาดของเซลล์ทางด้านข้าง, การงอกของเมล็ด
กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรด
กระตุ้นการเกิดขนราก, ยับยั้งการแตกรากแขนง
นำไปใช้เพื่อ
1.เร่งการสุกของผลไม้ให้สุกพร้อมกันและให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
การใช้เอทิฟอน (ethephon) ที่ให้แก๊สเอทิลีน
การใช้ถ่านแก๊ส (calcium carbide) ทำปฏิกิริยากับน้ำจะให้แก๊สอะเซทิลีน (acetylene: C2H2) ให้ผลคล้ายแก๊สเอทิลีน
ไซโทไคนิน (Cytokinin)
แหล่งสร้าง: เนื้อเยื่อเจริญปลายราก, บริเวณที่มีการแบ่งเซลล์
ผลของไซโทไคนิน
กระตุ้นการแบ่งเซลล์ และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์
กระตุ้นการเจริญของตาข้าง, การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ, การเกิดยอด
การพัฒนาของแกมีโทไฟต์
4.ชะลอการเสื่อมตามอายุ (senescence) ทำให้ใบมีอายุยาวนานขึ้น
ประเภท
ไซโทไคนินธรรมชาติ: zeatin (ในเมล็ดข้าวโพด), kinetin (ในน้ำมะพร้าว)
ไซโทไคนินสังเคราะห์: 6-benzylamino purine (BA), tetrahydropyranyl benzyladenine (TDZ)
นำไปใช้เพื่อ
เร่งการแตกตาข้างของพืช
ใช้ร่วมกับออกซินเพื่อควบคุมทรงพุ่มของไม้ดอก, ไม้ประดับ และไม้ผลบางชนิด
ใช้ร่วมกับออกซินในการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อกระตุ้นการสร้างตาใหม่ และการสร้างยอด
กรดแอบไซซิก (Abscisic acid; ABA)
แหล่งสร้าง: สร้างได้ในคลอโรพลาสต์ หรืออะไมโลพลาสต์
ผลของกรดแอบไซซิก
ควบคุมการพักตัวของเมล็ด
กระตุ้นการปิดปากใบในภาวะที่พืชขาดน้ำ
กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนที่สะสมในเมล็ด
ยับยั้งการทำงานของจิบเบอเรลลินในการสร้างเอนไซม์ ย่อยแป้งที่เก็บสะสมอยู่ในเมล็ดพืช
กระตุ้นให้เกิดการเสื่อมตามอายุ
ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์
นำไปใช้เพื่อช่วยชะลอการเหี่ยวเฉาของผลผลิตขณะขนส่ง ทำให้รูปากใบปิด (แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีราคาแพง)
ออกซิน (Auxin)
แหล่งสร้าง: เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด,ใบอ่อน,ผลอ่อน,เนื้อเยื่ออื่นๆ
ประเภท
ออกซินธรรมชาติ: Indole-3-Acetic Acid (IAA)
ออกซินสังเคราะห์: Indole-3-Butyric Acid (IBA), Naphthalene Acetic Acid (NAA), 2,4-Dicholophenoxy acetic acid (2,4-D)
นำไปใช้เพื่อ
เร่งการเกิดรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ
การพัฒนาของรากแขนง
การเกิดรากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
กระตุ้นให้พืชบางชนิดติดผลลม (parthenocarpy fruit) เช่น องุ่น แตงโม
ออกซินที่มากเกินจะยับยั้งการเจริญเติบโต
ผลของออกซิน
ทำให้เกิดการเจริญของปลายยอดเข้าหาแสงและการเจริญของปลายรากเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก
กระตุ้นเซลล์บริเวณที่มีการยืดตัวให้ขยายขนาด, กระตุ้นการแบ่งเซลล์ของแคมเบียม ร่วมกับไซโทไคนิน, กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อไซเล็มและโฟลเอ็ม
ยับยั้งการเจริญของตาข้าง (Apical dominance), การหลุดร่วงของใบ
ชะลอการสุกของผล
ควบคุมการสร้างดอก
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าโดยทิศทางของการตอบสนอง และสิ่งเร้ามีความสัมพันธ์กัน Tropic movement (Tropism)
Phototropism
Positive phototropism คือ การเบนเข้าหาแสง
Negative phototropism คือ การเบนออกจากแสง
Gravitropism
Positive gravitropism คือ การเบนเข้าหาแรงโน้มถ่วง
Negative gravitropism คือ การเบนหนีจากแรงโน้มถ่วง
Chemotropism: การตอบสนองของพืชต่อสารเคมีอย่างมีทิศทาง เช่น การงอกหลอดละอองเรณูไปยังออวุลเนื่องจากการตอบสนองต่อสารออวุลสร้างขึ้น (+)
Hydrotropism
Positive hydrotropism คือ การเบนเข้าหาน้ำ
Negative hydrotropism คือการเบนหนีจากน้ำ
Thigmotropism: การตอบสนองของพืชต่อการสัมผัสอย่างมีทิศทาง
เช่น การเกี่ยวพันมือเกาะตำลึง มะระ ถั่วลันเตา องุ่น บวบ น้ำเต้า ฟักทอง แตงกวา
การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าโดยทิศทางของการตอบสนองและสิ่งเร้าไม่มีความสัมพันธ์กัน Nastic Movement (Nasty)
Photonasty: การตอบสนองของพืชต่อแสงอย่างมีไม่ทิศทาง เช่น การบานของดอกบัวสายตอนเช้าและหุบตอนเย็น เนื่องจากเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง(Turgor pressure) ทำให้กลุ่มเซลล์ด้านในและด้านนอกของกลีบขยายขนาดต่างกัน
Thigmonasty or Seismonasty: การตอบสนองของพืชต่อการสัมผัสอย่างมีไม่ทิศทาง เช่น การหุบใบของไมยราบ และกาบหอยแครง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (Turgor pressure) ของกลุ่มเซลล์บริเวณ พัลไวนัส (pulvinus)
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
Nutation Movement: การเคลื่อนไหวของพืชเนื่องจากปลายยอดโยกหรือแกว่งขณะเจริญเติบโต เช่น การเจริญของยอดถั่ว
Circumnutation spiral movement: การเคลื่อนไหวของพืชเนื่องจากปลายบิดหมุนซ้ายขวา แต่ลำต้นตั้งตรง เช่น
การเจริญของยอด Arabidopsis thaliana