Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผ่าตัด - Coggle Diagram
การพยาบาลผ่าตัด
การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด (Preoperative Nursing Care)
การประเมินก่อนผ่าตัด โดยใช้เกณฑ์ของ American Society of Anesthesiologists (ASA) ในการประเมินความเสี่ยงในการได้รับยาระงับความรู้สึก
ASA Class 1: ผู้ที่มารับการผ่าตัดที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติดี
ASA Class 2 ผู้ที่มารับการผ่าตัดเป็นโรคทาง systemic เล็กน้อยสามารถทํางานต่างๆได้ปกติ
ASA Class 3 ผู้ที่มารับการผ่าตัดเป็นโรคทาง systemic รุนแรงปานกลาง ไม่สามารถทํางานต่างๆได้ปกติ
ASA Class 4 ผู้ที่มารับการผ่าตัดเป็นโรคทาง systemic รุนแรงมาก อาจมีผลทําให้เสียชีวิต หรือเกิดทุพลภาพจนไม่สามารถทํางานได้
ASA Class 5 ผู้ที่มารับการผ่าตัดที่มีโอกาสเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะได้รับการผ่าตัดหรือไม่
ASA Class 6 ผู้ที่มารับการผ่าตัดที่มีสมองตายแล้ว และเป็นผู้ที่จะบริจาคอวัยวะ
ประเมินความเสี่ยงในการผ่าตัด ต้องบันทึกประวัติการใช้ยาและภาวะสุขภาพทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันให้ครบถ้วน
การเจ็บป่วยที่รุนแรงหรืออุบัติเหตุ สําคัญต่อการผ่าตัดและการฟื้นตัวของผู้ป่วย จะใช้สัญลักษณ์ ABCDE
A – Allergy การแพยา แพ้สารเคมี และสิ่งอื่นๆที่อยู่ในห้องผ่าตัด เช่น ยาง (latex) ต้องรายงานให้วิสัญญีแพทย์และศัลยแพทย์ทราบก่อนเริ่มการผ่าตัด และติดป้ายบอกไว้ที่แขนผู้ที่มารับการผ่าตัด
B – Bleeding tendencies แนวโน้มในการมีเลือดออกหรือใช้ยาที่ทําให้เลือดไม่แข็งตัว เช่น Aspirin, heparin, warfarin sodium หรือยาสมุนไพรที่อาจเพิ่มระยะเวลาการแข็งตัวของเลือด
C – Cortisone การใช้สเตียรอยด์
D – Diabetis mellitus มีโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดที่สามารถทําได้หรือไม่ หากควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ดีจะส่งผลทําให้แผลหายช้าและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
E – Emboli การเกิด emboli หรือเคยเกิด emboli เช่น เกิดมีลิ่มเลือดอุดตันที่ขาจากการไม่ได้เคลื่อนไหวขาเป็นเวลานาน
เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อนหรือไม่ หากเคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน ยาระงับความรู้สึกที่เคยได้รับ เคยอาการไข้สูงหรือไม้ หรือเคยมีการเสียชีวิตของสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับการผ่าตัดและทราบว่าเคยได้รับอันตรายจากการที่ร่างกายมีภาวะอุณหภูมิสูง (malignant hyperthermia) มีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวิสัญญีแพทย์ในการพิจารณาชนิดของยาระงับความรู้สึกที่จะใช้ในการผ่าตัด
ประวัติการได้รับยากดระบบภูมิคุ้มกัน จะมีอัตราเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดการติดเชื้อหลังผ่าตัดและลดความสามารถในการต่อต้านการติดเชื้อด้วย
ประวัติการดื่มสุรายาเสพติดหรือใช้นิโคติน จะส่งผลต่อการบริหารการใช้ยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวด เสี่ยงต่ออาการแทรกซ้อน
อาการไม่สุขสบาย ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยเมื่อต้องงดอาหารและน้ําทางปาก หรือติดการดื่มกาแฟประจําเมื่อหยุดดื่มจะมีอาการปวดศีรษะได้ ซึ่งเมื่อมีอาการปวดศีรษะอาจทำให้การวินิจฉัยผิดได้
การเจ็บป่วยเรื้อรัง หากมีการอักเสบของกระดูกคอหรือหลังจะมีปัญหาในการจัดท่าและระหว่างผ่าตัดต้องมีการแหงนคอระหว่างใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องระมัดระวังในการจัดท่ามากๆ
กรณีผู้ที่มารับการผ่าตัดสูงอายุจะมีความต้องการการดูแลในระยะก่อนผ่าตัดเป็นพิเศษ ต้องพิจารณาวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม
ประวัติการใช้ยา พยาบาลต้องประเมินความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่เป็นผลมาจากยาที่ใช้เป็นประจํา และจดบันทึกเกี่ยวกับชนิดของยา วิธีการใช้ยาทั้งหมดไว้ในรายงานผู้ป่วย
ประวัติความเชื่อและวัฒนธรรม พยาบาลต้องซักถามให้ครอบคลุมเพื่อให้คําแนะนําสิ่งที่ถูกต้องให้กับผู้ที่มารับการผ่าตัด
ความสามารถในการทนต่อภาวะเครียดก่อนผ่าตัด พยาบาลต้องประเมินความวิตกกังวลของผู้ที่มารับการผ่าตัด เพื่อให้การพยาบาลอย่างถูกต้องและลดความเครียดจากการผ่าตัด เนื่องจากส่งผลต่อความสมดุลของระบบไหลเวียนในร่างกาย
แบบแผนการดําเนินชีวิต ต้องมีการประเมินเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ เช่น ผู้ป่วยที่ชอบนั่งนิ่งๆ เป็นเวลานานทําให้เกิดปัญหาหลังผ่าตัด เพราะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ประวัติทางสังคม ถามเกี่ยวกับอาชีพ ความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจในการทํางานเพื่อการวางแผนให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การตรวจรางกาย Head-to toe
1.การรับรู้ของผู้ที่มารับการผ่าตัด โดยการสังเกตและปฏิกิริยาโต้ตอบในการตอบข้อซักถาม เช่น เวลา สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ การใช้งาน ความสามารถในการทรงตัว การเคลื่อนไหว และความสามารถในการโค้งงอของหลัง มีความสําคัญในผู้ที่ต้องได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง
การประเมินสัญญาณชีพและลักษณะการหายใจ จังหวะการเต้นของหัวใจ ต้องบันทึกโดยละเอียดทั้งเสียง การเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจและเสียงการหายใจที่ฟังปอดทั้งสองข้าง ลักษณะนิ้วมือปุ้ม อาการเขียว (cyanosis) อาการไอมีเสมหะ สีเสมหะใสหรือข้นเป็นหนอง อาการไข้ หากพบต้องรีบรายงานวิสัญญีแพทย์ และศัลยแพทย์ทันที และซักประวัติการแพ้ยาและแพ้อาหาร การสูบบุหรี่ด้วย
สังเกตตรวจดู ตา จมูกและการเคลื่อนไหวของคอ เพื่อประเมินความผิดปกติ
ประเมินการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
บันทึกการเคลื่อนไหวของหน้าและไหล่ทั้งสองข้าง ท่าเดินว่าสมมาตรเท่ากันทั้งสองข้าง เพื่อประเมินการทํางานของระบบประสาทสมอง (Cranial nerve) ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายส่วนบน ส่วนกลาง และปฏิกิริยารับความรู้สึกจะต้องประเมินอย่างละเอียดสําหรับผู้ที่มารับการผ่าตัดสมอง
สังเกตสภาพผิวหนัง บันทึกและระบุตําแหน่งที่มีพยาธิสภาพ แผลกดทับ เนื้อตาย ความตึงตัวของผิวหนัง ผื่นแดง การเปลี่ยนสีผิวหนัง และท่อที่ต่อออกมานอกร่างกาย บันทึกสิ่งที่ผิดปกติเพื่อเปรียบเทียบหลังผ่าตัด
ทบทวนประวัติการรักษา และติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ผลตรวจ Chest x-ray, EKG, CBC; Hb, Hct, Electrolytes, Urine analysis
การประเมินตามระบบต่างๆของร่างกายในระยะก่อนผ่าตัด
การประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือด
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 40
ปี เจาะเลือดตรวจ CBC; Hemoglobin and Hematocrit, Electrolytes; Na, K, Cl, HCO3
การประเมินระบบหายใจ
ตรวจ Chest x-ray มีผลการบันทึกการฟังเสียงปอดทั้งสองข้าง หากพบอาการติดเชื้อต้องรายงานศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ทันทีก่อนทําการผ่าตัด เพื่อลดภาวะแทรกซอนในระบบทางเดินหายใจก่อนและหลังผ่าตัด
การประเมินระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ซักประวัติการบาดเจ็บที่ข้อหรือปัญหาของกล้ามเนื้อและกระดูก เนื่องจากจะเป็นปัญหาสําคัญของการจัดท่าในการทําผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัด มีการประเมิน passive และ active range of motion กรณีที่มีการใส่ ท่อหลอดลมคอ (Endotrachial tube) องศาในการแหงนคอต้องมีการระมัดระวังในผู้ที่มารับการผ่าตัดที่มีพยาธิสภาพบริเวณกระดูกไขสันหลังช่วงต้นคอ ต้องบันทึกไว้ในแผนการพยาบาลอย่างละเอียดและจัดท่าให้เหมาะสม เพราะจะมีอาการปวดบริเวณคอและไม่สุขสบายหลังการผ่าตัด
การประเมินความแข็งแรงของผิวหนัง
ตรวจดูความผิดปกติของผิวหนังและอาการของการติดเชื้อของผิวหนัง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเปรียบเทียบกับหลังผ่าตัด และเพื่อให้การดูแลและระมัดระวังการติดเชื้อของบาดแผลผ่าตัด
การประเมินการทํางานของไต
ซักถามประวัติการขับถ่ายปัสสาวะ และติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ ผลตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและการสูญเสียโปรตีนที่เป็นผลมาจากการกรองของไตเสียหน้าที่ การติดเชื้อ ติดตามผลตรวจ Blood Urea Nitrogen (BUN) และ Creatinine (Cr) เพื่อดูความสามารถของไตในการขับถ่าย urea, protein wastes ถ้าค่าสูงขึ้นอาจเกิดจากภาวะขาดน้ํา เลือดออกจากหัวใจ ลดลงหรือไตวาย ถ้าาค่า Cr สูงเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางโรคไตที่มีอาการรุนแรงและมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะด้วย จําเป็นต้องให้การรักษาก่อนทําการผาตัด
ประเมินการทํางานของตับ
ซักประวัติเกี่ยวกับการดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และโรคตับ ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง จะมีภาวะเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากตับทําหน้าที่ในการเมตาบอลิซึมยาในการขจัดพิษของยาต่างๆรวมทั้งยาดมสลบด้วย และตับยังมีการสังเคราะห์ปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด เมื่อมีพยาธิสภาพที่ตับ ส่งผลต่อความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดและการหายของแผลผ่าตัด มีระดับ albumin ในเลือดต่ำผิดปกติ ส่งผลต่อระดับ immunoglobulin และ fibrinogenลดลง ทําให้น้ําออกมานอกหลอดเลือดและการหายของแผลช้าลง มีโอกาสในการติดเชื้อแผลผ่าตัดได้มากขึ้น ต้องมีการติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ผลตรวจหาความผิดปกติ การแข็งตัวของเลือด (Prothrombin time;PT, & Partial thromboplastin time; PTT) ในกรณีผ้ที่มีความเสี่ยงของโรคตับต้องรายงานทีม่าตัด ศัลยแพทย์จะพิจารณาให้อาหารที่มีแคลอรี่สูงหรือ hyperalimentationในระยะก่อนและหลังผ่าตัดและตรวจหาความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
ประเมินการรับรู้และระบบประสาท
ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทที่รุนแรง เช่น โรคลมชัก (epilepsy) หรือ โรคพากินสัน (Parkinson’s disease) จะมีภาวะเสี่ยงสูงในการผ่าตัด ควรมีการประเมินอาการผิดปกติที่สําคัญ ได้แก่ อาการปวดศีรษะรุนแรง ความถี่ในการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ มีเสียงดังในหู ท่าเดินไม่มั่นคง รูม่านตาไม่เท่ากัน ประวัติการเกิดอาการชัก การทดสอบการทํางานของเส้นประสาทสมอง และการเกิด reflex ของร่างกาย
ประเมินระบบต่อมไร้ท่อ
ซักประวัติเกี่ยวกับโรคความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่นโรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ผลตรวจระดับน้ําตาลในเลือด เพื่อประเมินภาวะเบาหวาน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อ, ผลตรวจหาระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ กรณีได้รับไทรอยด์ฮอร์โมน หากหยุดยาอาจจะทําให้เกิดภาวะ Hypothyroidism ซึ่งจะมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติและอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ จะเกิดในระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดทันทีจึงต้องระมัดระวัง
การประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition status)
ภาวะโภชนาการมีความเกี่ยวข้องโดยตรงในระยะระหว่างผ่าตัดและการฟื้นตัวในระยะหลังผ่าตัด หากผู้ที่มารับการผ่าตัดมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีความพร้อมในการรับภาวะความเครียดจากการทําการผ่าตัด จะทําให้การฟื้นฟู สภาพหลังการผ่าตัดนั้นกลับสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว
ต้องมีการซักถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และสังเกตลักษณะทั่วๆไปของร่างกายและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
serum albumin ต่ำ บ่งชี้ถึงค่าโปรตีนในเลือดต่ำจะทําให้มีการหายของแผลช้า มีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ความสมดุลของน้ําและเกลือแรกในร่างกาย (Serum electrolytes) จะดูจากความตึงตัวของผิวหนัง จํานวนปริมาณของ ปัสสาวะที่ขับถ่าย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากมีภาวะขาดน้ําจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการผ่าตัดมากขึ้น เนื่องจากส่งผลถึงระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
ประเมินดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) ซึ่งค่าปกติ คือ 18.5-22.99 หากมากกว่านี้จะบ่งชี้ว่ามีภาวะอ้วน ส่งผลการผ่าตัดไม่ดี มีไขมันในเนื้อเยื่อมากทําผ่าตัดลําบาก เนื้อเยื่อเลือดมาเลี้ยงได้น้อย มีการติดเชื้อหลังผ่าตัด มีโอกาสเกิดไส้เลื่อนที่รอยแผลผ่าตัด และแผลแยกหลังผ่าตัดได้ การเย็บแผลต้องใช้วิธีเย็บปิดแผลผ่าตัดให้แข็งแรงกว่าคนที่ BMI ปกติ และหากน้อยกว่านี้ก็บ่งชี้ว่ามีน้ําหนักน้อยเกินไป บ่งชี้ถึงภาวะพร่องโภชนาการและขาดสารอาหาร ส่งผลให้แผลหายช้าและติดเชื้อได้ง่าย
การประเมินสภาวะทางโลหิตวิทยา
ติดตามการแข็งตัวของเลือดซึ่งมี ผลต่อการประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกจากการสูญเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด พยาบาลห้องผ่าตัดต้องมีการสังเกตรอยจ้ำเลือดตามร่างกาย ซักประวัติเกี่ยวกับโรคตับและการได้รับยาที่มีผลต้านการแข็งตัวของเลือดของผู้ที่มารับการผ่าตัด เช่น Aspirin, warfarin ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และต้องมีการเตรียมเลือดเพื่อทดแทนการสูญเสียเลือด
การประเมินความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ที่มารับการผ่าตัด
ต้องซักประวัติเกี่ยวกับประสบการณ์การได้รับการผ่าตัด สอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัด พยาบาลต้องให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดในช่วงเวลาระยะก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ที่มารับการผ่าตัดและส่งเสริมให้มีความสามารถในการทนต่อสภาวะความเครียดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดกลับมาสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว
1.การฝึกหายใจเข้า-ออก (Breathing exercise and incentive spirometry) ช่วยในการขยายปอด ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอุดกั้นของสารคัดหลั่งและการเกิดภาวะปอดแฟบหลังผ่าตัด และช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดี ขับสารที่ใช้ในการดมยาสลบออกจากร่างกายได้เร็ว
วิธีการหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆ (Deep breathing exercise)
1) ให้นั่งตัวตรงที่ข้างเตียงหรืออยู่ในท่า Semi-Fowler’s position
2) ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ท้องจะได้รู้สึกเวลาหน้าอกขยาย ซึ่งบ่งชี้ได้ว่ามีการขยายตัวของปอด
3) ให้หายใจเข้าทางจมูกจนรู้สึกว่าหน้าท้องขยาย
4) หายใจออกทางปากขณะกล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว
5) ให้ทําแบบนี้ซ้ำทุกชั่วโมงในวันแรกหลังผ่าตัด (ประมาณ 5-10 ครั้งในทุกชั่วโมง)
วิธีการใช้ Triflow ในการทํา incentive spirometry เพื่อลดภาวะการเกิดปอดแฟบ
1) ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าลึกๆแล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ 2-3 ครั้ง
2) อ้าปากอม Mouth piece จนมิด แล้วดูดขึ้นช้าๆค้างไว้ 3-5 วินาที หรือเท่าที่ร่างกายจะสามารถทําได้
3) ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกควรทําเป็นชุดละ 5-10 ครั้งโดยทําวันละกี่ชุดก็ได้ตามความพร้อมของร่างกาย
2.การฝึกการไออย่างมีประสิทธิภาพ ( Coughing and splinting) ช่วยขับเสมหะที่ตกค้างอยู่ในท่อ หลอดลม ทางเดินหายใจให้ออกมาภายนอก ป้องกันการเกิดการติดเชื้อในปอดและลดการเกิดภาวะปอดแฟบ ผู้ที่มารับการผ่าตัดจําเป็นต้องได้ยาระงับปวดและการฝึกประคองแผลที่ทําการผ่า เพื่อลดแรงดันและควบคุมความเจ็บปวดขณะไอ โดยกางมือกดให้แน่นรอบบริเวณแผลก่อนไอ หรือใช้หมอนขนาดเล็ก หรือผ้าเช็ดตัวม้วนประคองแผลแทน
1) ฝึก hold the heart เมื่อไอ โดยหายใจเข้าลึกๆและผ่อนลมออกทางปาก 3 ครั้งก่อนที่จะไอ กระตุ้นให้เกิดอาการไอและสามารถไอขับเสมหะออกมาทําให้รู้สึกคอโล่ง โดยไม่กระทบกระเทือนบาดแผล และสามารถควบคุมอาการปวดแผลได้
2) Low – tech breathing ใช้สไปโรมิเตอรเพื่อขยายถุงลมในปอดหลังผ่าตัด ให้เป้าถี่ระดับที่ตั้งไว้ให้ปอดขยายตัวช่วยให้ลมเข้าไปในถุงลมและทําให้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจแข็งแรง ซึ่งกล้ามเนื้อช่วยหายใจนี้จะอ่อนแรงขณะที่ได้รับยาสลบ ทําให้ได้ 5 – 10 ครั้งต่อชั่วโมงหลังผ่าตัด
3.การทํา Antiembolism stocking และ Elastic wraps เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของหลอดเลือดดําจากบริเวณขาให้ไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ดี ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณหลอดเลือดดําที่ขา (Deep vein thrombosis; DVT) มักใช้กับขาเมื่อทําการผ่าตัดและอาจใช้ในระยะก่อนผ่าตัดหรือขณะทําการผ่าตัด และ External pneumatic compression devices คือถุงที่ใช้ Low compression gradient ช่วยกระตุ้นการ ไหลเวียนของหลอดเลือดดํา ส่วน sequential pressure stocking ใช้กดส่วนบนและส่วนล่างของขา นวดขาเป็นจังหวะ ป้องกัน DVT
4.การฝึกลุกจากเตียง (Ambulation) ต้องกระตุ้นให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดลุกจากเตียงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น ปอดแฟบ ข้อติด แผลกดทับ โดยยึดหลักที่ทําให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดลุกจากเตียงได้ โดยไม่มีอาการปวดแผลและไม่เกิดความดันโลหิตต่ำขณะยืน ให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดนอนตะแคงและให้ใช้แขนพยุงขึ้นลุกนั่งโดยจะไม่มีแรงตึงของช่องท้อง และควรกระทําอย่างช้าๆ เมื่อนั่งแล้วให้อยู่ในท่านั่งสักพักแล้วค่อยๆยืนขึ้น ใช้มือประคองบริเวณแผลเพื่อลดแรงตึงของหน้าท้อง
5.การฝึกการพลิกตัวและการออกกําลังแขน-ขา (Turning exercise and Range of motion exercise) ให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดหัดพลิกตัวจากดานหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งโดยใช้ไม้กั้นเตียงช่วยในการพลิกตัว ช่วยป้องกันการคั่งของเลือดดํา (venous stasis) หลอดเลือดดําอักเสบอุดตัน (Thrombophlebitis) แผลกดทับ (bed sore หรือ pressure sore) และอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ให้ทําการพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมงหลังผ่าตัด และการออกกําลังกายแขน-ขา จะช่วยป้องกันภาวการณ์อุดตันของหลอดเลือดดํา และช่วยให้การไหลเวียนของหลอดเลือดดําไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น สอนให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดหัดงอและเหยียดข้อต่างๆทุกข้อ โดยเฉพาะข้อ สะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ขณะนอนราบหลังและขาอยู่แนวราบและเหยียดตรงเท้าต้องหมุนเป็นวงกลมขณะนอนหรือนั่ง ควรสอนกระตุ้นให้ทําก่อนผ่าตัดให้คุ้นเคยและสามารถนําไปปฏิบัติหลังการผ่าตัดได้
การวินิจฉัยทางการพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด
การตั้งข้อวินิจฉัยได้จากการประเมินสภาพร่างกาย จิตใจและแรง สนับสนุนทางสังคมของผู้ที่มารับการผ่าตัด และการประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการผ่าตัด ความวิตกกังวลและความกลัวที่สัมพันธ์กับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด ที่มีสาเหตุจากความไม่รู้หรือความไม่มีตัวตน ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่มีอยู่ พยาบาลต้องประเมินและวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้ในช่วงระยะก่อนผ่าตัด
การพยาบาลในระยะก่อนผ่าตัด
การพยาบาลทางด้านร่างกาย
การเตรียมความสะอาดผิวหนัง: ต้องอธิบายให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดสระผมและอาบน้ําในคืนก่อนทําการผ่าตัด และบริเวณที่ต้องทําการผ่าตัด ต้องทําความสะอาดด้วยสบู่และน้ําหรือสารละลายที่ใช้กําจัดแบคทีเรียเพื่อลดจํานวน แบคทีเรียที่ผิวหนัง และต้องระวังการเกิดบาดแผลที่ผิวหนังจากการโกนขน ต้องทําก่อนการผ่าตัด 2 ชั่วโมงเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่บาดแผลผ่าตัด
การเตรียมทางระบบทางเดินอาหาร: ต้องเตรียมให้ผู้ป่วยงดน้ําและอาหารอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนทําการผาตัดเพื่อลดการสูดสําลักสิ่งคัดหลั่งจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ปอด ในการผ่าตัดบางชนิดโดยเฉพาะการผ่าตัดเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารรอบๆทวารหนักต้องมีการสวนอุจจาระ และในการผ่าตัดส่องกล้องในระบบทางเดินอาหารต้องมีการให้ยาระบายและสวนอุจจาระเพื่อให้การผ่าตัดทําได้สะดวกและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ แบคทีเรียในลําไล้ ในการงดน้ํางดอาหารพยาบาลจะแขวนป้าย NPO ที่ประตูห้องและที่เตียงของผู้ที่มารับการผ่าตัด โดยพยาบาลต้องอธิบายเหตุผลที่ห้ามอย่างเด็ดขาดเมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนก่อนวันผ่าตัด และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
การดูแลภาวะโภชนาการ: กรณีผู้ที่มารับการผ่าตัดมีภาวะทุพโภชนาการ พยาบาลต้องดูแลให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดนั้นได้รับสารอาหารคาร์โบไฮเดรทสูงเพื่อเพิ่มพลังงาน โปรตีนสูงเพื่อช่วยให้การหายของแผลเป็นไปได้ดี และควรให้ได้รับวิตามินเพิ่ม เช่น วิตามินซี ซึ่งช่วยในการหายของแผล บางรายอาจต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดดําใหญ่ Total Parenteral Nutrition (TPN) ในระยะก่อนผ่าตัดเพื่อให้ภาวะโภชนาการดีขึ้นก่อนทําการผ่าตัด
การสอนการผ่าตัด: พยาบาลต้องประเมินความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยและทําการสอนสาธิตและให้ปฏิบัติจริงก่อนได้รับการผ่าตัด จะทําให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้เป็นอย่างดี
การพยาบาลทางด้านจิตใจ
ประเมินหาสาเหตุของความวิตกกังวลและความกลัวของผู้ป่วยให้ได้ พยาบาลต้องมีการวางแผนในการสนับสนุน ช่วยเหลือให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัด การปฏิบัติตัวและต้อง คอยให้กําลังใจลดความวิตกกังวล และต้องประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่มารับการผ่าตัดเข้ามาช่วยเหลือ รวมทั้งญาติผู้ใกล้ชิด ต้องสนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลด้านจิตใจของผู้ที่มารับการผ่าตัด จะทําให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดมีความสามารถในการทนต่อสภาวะความเครียดในการผ่าตัดได้เป็นอย่างดี
การเตรียมเอกสารก่อนนําส่งผู้ที่มารับการผ่าตัดเข้าห้องผ่าตัด
ผู้ที่มารับการผ่าตัดทุกรายต้องยินยอมให้ทําการรักษา เซ็นยินยอมเป็นเอกสารทางกฎหมายที่ยืนยันว่า ผู้ป่วยได้รับการบอกกล่าวและเข้าใจทุกอย่างที่จะรับการรักษาและป้องกันการคัดค้านของผู้ป่วยที่ อ้างว่าไม่ได้อนุญาตให้ผ่าตัด เป็นการป้องกันหน่วยงานและทีมสุขภาพทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของรายงานผู้ป่วยที่ต้องส่งต่อไปยังห้องผ่าตัด พยาบาลเป็นพยานในการเซ็นยินยอมและให้การสนับสนุนแก่ผู้ป่วย การยินยอมต้องเซ็นขณะที่ผู้ที่มารับการผ่าตัดยังมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนและยังไม่ได้รับยาชนิดใดๆที่อาจทําให้ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง หากผู้ที่รับการผ่าตัดหมดสติ หรือสภาพจิตใจไม่สมประกอบจะให้ผู้รับผิดชอบ ญาติหรือผู้ปกครองตามกฎหมายเป็นผู้เซ็นยินยอม หากเป็นเด็กที่ไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องมีบิดามารดาหรือผู้รับผิดชอบตามกฎหมายอนุญาต
การปฏิบัติในระยะก่อนผ่าตัด
1.บันทึกสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ทั้งหมดและเขียนชื่อยาที่แพ้ติดไว้กับแถบข้อมือของผู้ป่วย
2.ตรวจสอบและบันทึกสัญญาณชีพหากพบว่าผิดปกติต้องรีบรายงานศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์
3.เซ็นใบยินยอมผ่าตัดให้เรียบร้อยและชนิดของการผ่าตัดถูกต้อง
4.เตรียมความสะอาดผิวหนังที่สั่งให้ทําก่อนผ่าตัดถูกต้อง
5.คําสั่งพิเศษ เช่น การสวนอุจจาระการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา
6.ผู้ป่วยงดอาหารและน้ําดื่มอย่างน้อย8ชั่วโมง
7.ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะและบันทึกจํานวนถ้าจําเป็น
8.ดูความสะอาดปาก ฟัน ให้การพยาบาลด้านร่างกายให้ครบถ้วน
ตรวจดูฟันปลอม ที่ดัดฟัน หรืออวัยวะเทียมและรายงานให้วิสัญญีทราบ
เก็บของมีคมและถอดเครื่องประดับมอบให้ญาติช่วยถอดผมปลอมและอื่นๆออก
หากผู้ป่วยมีเครื่องช่วยฟัง พยาบาลต้องรับทราบและให้คงใส่ไว้เพื่อการสื่อสาร
ให้ผู้ป่วยสวมเสื้อคลุมผ่าตัดและหมวก ถ้าแพทย์สั่งผ้าพันชนิดยืดหรือยาปฏิชีวนะให้นําไปพร้อมผู้ป่วย
เช็ดเครื่องสําอางบนใบหน้าออกเพื่อสังเกตลักษณะสีผิวได้ชัดเจน
การพยาบาลผูปวยในระยะระหวางผาตัด (Intraoperative Nursing Care)
การดูแลจะมุ่งไปที่การดูแลสภาพอารมณ์ที่ตื่นเต้นของผู้ที่มารับการผ่าตัดอย่างเหมาะสม องค์ประกอบด้านร่างกายได้แก่ ความปลอดภัย การจัดท่าในการผ่าตัด ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ควบคุมสภาพแวดล้อมในการผ่าตัด การ ประเมินผู้ที่มารับการผ่าตัดก่อนทําการผ่าตัด และนํามาวางแผนการพยาบาล พยาบาลต้องสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่มารับการผ่าตัดและดูแลให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดอยู่ในความสงบ
การจัดท่าผู้ป่วยในการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับชนิดการทําผ่าตัดและความต้องการของศัลยแพทย์ พยาบาลห้องผ่าตัดต้องมีความรู้ในการจัดท่าในการทําผ่าตัดแล้วการหายใจและระบบไหลเวียนของโลหิตต้องปกติ เพื่อป้องกันอันตรายจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และหลอดเลือดจากแรงกดทับ เสียดสี การดึงรั้งจากาการผ่าตัดที่ใช้เวลานานโดยใช้หมอน หรือผ้านุ่มๆ รองรับแรงกดบริเวณปุ่มกระดูกให้พอเพียงและเหมาะสม ไม่มีการกดทับบริเวณผิวหนังมากเกินไป และต้องทําผ่าตัดได้สะดวก มีที่ยืนทํางานได้สะดวกขณะผ่าตัด
องค์ประกอบที่สําคัญในการจัดท่าผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัด
1.ขนาดของการผ่าตัด
2.อายุและขนาดตัวผู้ป่วย สภาพของผิวหนังและข้อจํากัดทางด้านร่างกายของผู้ที่มารับการผ่าตัด
3.ชนิดของยาระงับความรู้สึกที่ผู้ป่วยได้รับ
4.ความเจ็บปวดจากโรคที่มีผลต่อผู้ป่วยในปัจจุบัน เช่น การอักเสบของข้อ
การจัดท่าผู้ป่วยในการผ่าตัด (Position in client)
1.ท่านอนหงายปกติ (Dorsal Recumbent (Supine) position) ใช้ทําการผ่าตัดด้านหน้าของลําตัว เช่น ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (coronary bypass grafting) ผ่าตัดซ่อมแซมไส้เลื่อน (repair hernia) ผ่าตัดเต้านม (mastectomy) หรือตัดลําไส้ (bowel resection)
2.ท่านอนหงายศีรษะต่ำ (Trendelenburgposition) เป็นการจัดท่าที่ต้องการให้ลําไส้ขึ้นไปอยู่ส่วนบนของช่องท้อง ใช้ในการทําผ่าตัดหน้าท้องส่วนล่างหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน
3.ท่านอนขึ้นขาหยั่ง (Lithotomyposition) ใช้ทําผ่าตัดบริเวณฝีเย็บซ่อมแซมช่องคลอดขูดมดลูก และใช้มากในการทําผ่าตัดลําไส้ใหญ่ส่วนล่างหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน
4.ท่านอนคว่ำ (Proneposition) ใช้ทําผ่าตัดกระดูกต้นคอผ่าตัดสมองส่วนท้ายทอย (posteriorfossa craniotomy) และผ่าตัดบริเวณหลัง
5.ท่านอนตะแคง (Lateralposition) ใช้ทําผ่าตัดไตทรวงอกและผ่าตัดสะโพก
6.ท่านอนคว่ำศีรษะและปลายเท้าต่ำ (Jack-knifeposition (kraske)) และบริเวณก้นสูงใช้ในการทําผ่าตัด บริเวณทวารหนัก ริดสีดวงทวาร ฝีกัณสูตร
7.ท่านั่ง (Sittingposition) ใช้ผ่าตัดบริเวณศีรษะสมองตกแต่งเต้านม
กิจกรรมพยาบาลในการจัดท่าผู้ที่มารับการผ่าตัด พยาบาลต้องคอยดูแลเฝ้าระวังการจัดท่าทั้งหมดตลอดการผ่าตัด เนื่องจากผู้ที่มารับการผ่าตัดต้องอยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานานหลายชั่วโมง
อธิบายการจัดท่าและการรัดตรึงให้แน่นแก่ผู้ที่มารับการผ่าตัด และต้องคํานึงถึงความเป็นบุคคลของผู้รับบริการ โดยไม่เปิดเผยร่างกายผู้รับบริการมากเกินไป และการรัดตรึงผู้รับบริการควรรัดให้เหนือเข่าประมาณ 2 นิ้ว
ป้องกันการกดทับเส้นประสาทกล้ามเนื้อและปุ่มกระดูกโดยใช้ผ่านุ่มรองรับ
การจัดท่าควรคํานึงถึงการหายใจและการแลกเปลี่ยนก๊าซต้องเพียงพอและระบบการไหลเวียนปกติ เพื่อให้แน่ใจว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนในเนื้อเยื่อปกติ ลดการคั่งของเลือดตามบริเวณต่างๆและการไหลเวียนช้า อาจทําให้เกิดลิ่มเลือด (thrombosis)
หลีกเลี่ยงการกดทับบนทรวงอกและส่วนของร่างกาย เช่น เต้านมของหญิงและอวัยวะเพศชาย เพื่อป้องกันการ บาดเจ็บและชอกช้ำหลังผ่าตัด
อย่าให้อวัยวะแขนขาของผู้ป่วยห้อยตกข้างเตียงผ่าตัด เพราะอาจทําให้มือและเท้าถูกกดระหว่างเตียงผ่าตัดกับบุคลากรในทีมผ่าตัดที่ยืนชิดตัวผู้รับบริการเป็นผลให้การไหลเวียนโลหิตผิดปกติ หรือเส้นประสาทและกล้ามเนื้อถูกทําลาย
อย่ากางแขนผู้รับบริการบนไม้รองแขนเกิน 90 องศา เพราะทําให้มีการยืดหรือกดทับ brachial plexus ระหว่างกระดูกซี่โครงซี่ที่ 1 และสะบัก (scapula) ทําให้เส้นประสาทแขนเสียอย่างถาวร
หลีกเลี่ยงการดึงกล้ามเนื้อผู้ป่วยมากเกินไปเพราะมีผลทําให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้ออ่อนแรงหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยที่นอนคว่ำระวังข้อเท้าหัก พับ งอ อาจทําให้เกิดการไหลเวียนโลหิตอุดตัน
ให้ยกขาผู้รับบริการพร้อมกันทั้งสองข้างทั้งเวลายกขึ้นและยกลงเพื่อป้องกันการเกิดข้อสะโพกหลุดหรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ
การเฝ้าระวัง (Monitoring) ผู้ที่มารับการผ่าตัดในระยะระหว่างผ่าตัด ต้องควบคุมอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยให้มีความอบอุ่น ป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายและป้องกันการขยายตัวของหลอดเลือด ทําให้มีการสูญเสียเลือดมากขึ้น ต้องห่มผ้าให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดทันทีที่ขึ้นเตียงผ่าตัด พยาบาลต้องรายงานอุณหภูมิต่ำสุดของผู้ที่มารับการผ่าตัดขณะอยู่ในห้องผ่าตัดให้กับพยาบาลผู้ที่ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดทราบ และสารน้ําที่ให้ทางหลอดเลือดต้องทําให้อุ่นเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกายและต้องประเมินอุณหภูมิร่างกายของผู้ที่รับการผ่าตัดบ่อยๆ
ภาวะที่อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (Hypothermia) ทําให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดไม่สุขสบาย เพิ่มการเสียเลือดในการผ่าตัด และเกิดภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิตหลังผ่าตัด เช่น หัวใจเต้นเร็ว ทําให้การหายของแผลช้าและอาจมีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ทําให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
-ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเป็นเวลานาน ผ่าตัดหลายอวัยวะ ทําให้อวัยวะในช่องท้องต้องสัมผัสกับความเย็นเป็นเวลานาน
-ผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง มีไขมันผิวหนังน้อย
-ผู้สูงอายุ
-ผู้ที่ได้รับการจัดท่าในการผ่าตัดและทําให้ร่างกายเป็นส่วนใหญ่สัมผัสความเย็นของห้องผ่าตัด
ภาวะอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างเฉียบพลันและต่อเนื่อง (Malignant hyperthermia) เป็นความผิดปกติของพันธุกรรม มีลักษณะการหดตัวของกล้ามเนื้อลายที่ควบคุมไม่ได้ทําให้อุณหภูมิสูงมากจนเสียชีวิต พบในผู้ป่วยที่ได้รับ succinylcholine ร่วมกับการใช้ยาสูดดมเฉพาะ halothane เกิดภายใน 30 นาทีหลังได้รับยาระงับความรู้สึก หรือหลายชั่วโมงหลังผ่าตัด เริ่มแรกจะมี CO2 เพิ่มขึ้นในถุงลม (end tidal) กล้ามเนื้อขากรรไกรแข็งเกร็ง หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ และอัตราการเผาผลาญเพิ่มมากขึ้น มีไข้สูง 43 องศา การรักษาจะให้ยาหย่อนคลายกล้ามเนื้อลาย Dantrolene พยาบาลต้องเตรียมยาด้วยความรวดเร็วในการช่วยชีวิตผู้ป่วย
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะทําการตัดชิ้นเนื้อจากกล้ามเนื้อ vastus lateralis หรือ abdominal rectus แต่ค่าส่งตรวจแพงมากและการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจผู้ป่วยจะเจ็บมาก การวินิจฉัยอาจใช้ประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เคยมีปัญหาการได้รับยาระงับความรู้สึก หากมีก็จะมีความ เสี่ยงสูงในการที่จะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการผ่าตัด หากจําเป็นต้องผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ต้องพิจารณาการใช้ยาโดยหลีกเลี่ยงยาที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้อย่างเด็ดขาด
ภาวะหัวใจและการหายใจหยุด (Cardiac and respiratory arrest) เกิดขึ้นได้น้อยในห้องผ่าตัดเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ มีการใช้ code blue status แต่ในห้องผ่าตัดใช้ Key people คือบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่อยู่ในห้องผ่าตัดต้องรู้ว่าทุกคนอยู่ที่ไหน พยาบาลที่เป็นผู้จัดการและเป็น key people ต้องเรียกสมาชิกได้ทันที กรณีหากมีผู้เสียชีวิตในห้องผ่าตัด เป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ต้องแจ้งข่าวกับ ครอบครัวของผู้เสียชีวิต
ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) การซักประวัติผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ในครอบครัว บางครั้งไม่สามารถบอกได้ว่าแพ้อะไร มักพบการแพ้ยาที่ใช้ในระหว่างการผ่าตัดและแพ้ยาง ต้องใช้เครื่องมือที่ไม่มียางเป็นส่วนประกอบ บางสถานที่ใช้ latex free carts เฉพาะรายที่มีการแพ้
การบันทึกที่ใช้ในการพยาบาลระหว่างผ่าตัด (Documenting intraoperative care) บันทึกเหตุการณ์ในห้องผ่าตัดในระยะระหว่างผ่าตัด ข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น ท่อระบายชนิดไหน กี่อัน จํานวนท่อยางหรือสิ่งอื่นๆที่ใส่และติดตัวไปกับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ชนิดการเย็บแผลและวัสดุที่ปิดบาดแผล การสูญเสียเลือด ปริมาณสารน้ําเข้าออกร่างกาย ต้องบันทึกให้ละเอียดและส่งต่อให้กับพยาบาลที่ดูแลหลังผ่าตัด
การดูแลความปลอดภัยและป้องกันอันตราย (Maintaining safety and preventing injury) พยาบาลมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการประเมินและให้การพยาบาลผู้ป่วยในแต่ละรายแตกต่างกันไป ดูแลจัดท่าในการผ่าตัด การดูแลอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการผ่าตัดให้อยู่ในภาวะปลอดเชื้อ ใช้เครื่องตรวจวัดติดตามสัญญาณชีพของร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายบริเวณที่ทําผ่าตัดต้องทําเครื่องหมายไว้และตรวจสอบความถูกต้องกับผู้ป่วย
1) ถามผู้ป่วยว่าเป็นข้างไหนใช้ปากกาที่ไม่ลบทําเครื่องหมายไว้
2) ถามศัลยแพทย์เพื่อตรวจสอบให้ตรงกับข้างของเครื่องหมายก่อนผ่าตัด
3) ถามเกี่ยวกับการผ่าตัดก่อนเริ่มทําผ่าตัดกับทีมผ่าตัดทุกคน เพื่อยืนยันว่าถูกคน ถูกข้างถูกอวัยวะ
4) “Timeout” ในห้องผ่าตัดให้ทีมผ่าตัดตรวจสอบอีกครั้งระหว่างพวกเขาเองว่ามีการตรวจสอบประวัติและรายละเอียดของผู้ป่วย
5) ตรวจรายละเอียดตามรายการ (Checklist) รวมถึงการบันทึกการใช้ยารายงาน X-rays และ Imaging studies ในห้องผ่าตัดเพื่อให้ถูกคน ถูกข้าง ถูกอวัยวะ
การนับอุปกรณ์เครื่องมือผ่าตัดและผ้าซับโลหิต
ป้องกันการตกค้าง ต้องมีการนับจํานวนให้ถูกต้องครบถ้วนพยาบาลส่งเครื่องมือและพยาบาลผู้ช่วยเหลือรอบนอกอย่างน้อย 2 คนนับ 3 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มทําผ่าตัด, ระหว่างผ่าตัด, และก่อนเย็บปิดแผล ต้องออกเสียงนับทุกชิ้น นับทีละชิ้นและนับทุกชิ้นที่ใส่ในช่องท้อง อุ้งเชิงกราน ผ้าซับโลหิตต้องมีขนาดมาตรฐานของแต่ละสถาบัน หากมีความแตกต่างจะนําแยกออกไป ไม่นํามาใช้ การนับครั้งสุดท้ายแจ้งให้ศัลยแพทย์รับทราบและลงบันทึกในรายงานการผ่าตัดให้เรียบร้อย และผ้าซับโลหิตควรมี radiopagre marker ติดทุกชิ้น กรณีที่สงสัยหรือนับไม่ครบจะได้ตรวจสอบได้ด้วยการถ่ายภาพรังสี ผ้าซับโลหิตที่สกปรกให้พยาบาลช่วยเหลือรอบนอกนับจํานวนใส่ถุงปิด เขียนจํานวนวางไว้ในห้องผ่าตัดไม่นําออกนอกห้องผ่าตัดและไม่นับอีกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในห้องผ่าตัด ผ้าซับโลหิตยังช่วยประเมินภาวะสูญเสียเลือดของผู้รับบริการระหว่างผ่าตัดอีกด้วย
การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัดในระยะหลังผ่าตัด (Postoperative Nursing Care)
การพยาบาลผู้ป่วยระยะพักฟื้นจากยาระงับความรู้สึก (Post-Anesthesia Care Unit Nursing; PACU) ในห้องพักฟื้น มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผูป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยปลอดภัย พยาบาลต้องเฝ้าระวังและตรวจสอบสัญญาณชีพจนกว่าจะหมดฤทธิ์ของยาสลบ จัดท่าที่ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ ท่าที่ไม่กระทบต่อบาดแผล คือ ท่านอนตะแคงงอตัว เพราะทําให้ลิ้นตกมาข้างหน้า น้ําลาย และอาเจียนจะไหลออกมาทางปากเองไม่เกิดการสําลักเข้าสู่ปอดและตรวจสอบรายละเอียดในบันทึกการพยาบาลในห้องผ่าตัดเกี่ยวกับการได้รับยาระงับความรู้สึก
1) รายงานการได้รับยาระงับความรู้สึกยาทางหลอดเลือดดําและจํานวนเลือดที่ให้ระหว่างการผ่าตัด
2) อาการแทรกซ้อนในระหว่างการผ่าตัด
3) การตรวจในระยะก่อนผ่าตัดพบสิ่งใดที่สําคัญ
4) ผู้รับบริการมีท่อระบายและการเย็บปวดแผลด้วยวิธีใด
5) ระยะเวลาในการทําการผ่าตัด การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด การพยาบาลที่ผ่านมา ใบรายงานละเอียดเรียบร้อย นํามาเปรียบเทียบกับการประเมินผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยแรกรับหลังผ่าตัด (Immediate assessments) ตามระบบ ABCs (airway, breathing, and circulation)
-ทางเดินหายใจ (Airway) ประเมินว่าทางเดินหายใจโล่ง มีท่อหรืออุปกรณ์ช่วยหายใจหรือไม่
-การหายใจ (Breathing) ประเมินอัตราการหายใจ ความลึกของการหายใจ ฟังเสียงการหายใจของปอดทั้ง
สองข้าง ดูลักษณะทรวงอกบุ๋ม (Stridor) หายใจมีเสียงวี๊ด (Wheezes) หรือเสียงผิดปกติใดๆ หรือเสียงหายใจเบาลง ต้องเฝ้าระวังดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจนกว่าปฏิกิริยาการกลืน (gag reflex) จะกลับคืนมา
-การไหลเวียนโลหิต (Circulation) มีการประเมินชีพจร ความดันโลหิต สีผิว ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ลักษณะบาดแผลและผ้าปิดบาดแผลโดยตรวจสอบผู้ป่วยทั่วร่างกายว่ามีเลือดซึม หรือมีเลือดออกมากหรือไม่
การประเมินอื่นๆ เช่น การประเมินระดับความรู้สึกตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการปฏิบัติตามคําสั่ง การตรวจดูสภาพร่างกายทั่วไปว่ามีผ้าปิดแผล ท่อระบายหรืออุปกรณ์ใดๆที่ติดมากับตัวผู้รับบริการ สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ตรวจดูสภาพผิวหนังที่ถูกกดทับหรือบริเวณที่ถูกรัดด้วยสายรัดว่าดูรอยแดงหรือช้ำ รอยไหม้จากการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าหรือจากแผลไหม้ วัดอุณหภูมิกายและให้ความอบอุ่นเพื่อให้อุณหภูมิกายปกติ
การวินิจฉัยทางการพยาบาลผู้ป่วยในระยะหลังผ่าตัด
ปัญหาของผู้รับบริการในระยะนี้ ได้แก่ การเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เสี่ยงต่อการสําลัก อาเจียน ความเจ็บปวดรุนแรง และ Disturbed thought process อาการแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหาเรื่องการหายใจ hypothermia หรือ hyperthermia ภาวะเลือดออกและปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
กิจกรรมการพยาบาล
การดูแลทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อนที่สําคัญในระยะนี้ คือ การอุดกั้นทางเดินหายใจ (airway obstruction) หรือการหายใจไม่เพียงพอ (hypoventilation)
-ในกรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือมีการหายใจไม่เพียงพอ ต้องจับศีรษะเล็กน้อยและยกคางขึ้นเพื่อป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจ และถ้าผู้ป่วยไม่สามารถบ้วนเสมหะหรืออาเจียนออกมาได้เองต้องใช้เครื่องดูดออกทันที
-การใส่ท่อทางเดินหายใจทางปากหรือทางจมูก (oral or nasal airway) เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งและป้องกันลิ้นตกลงมาปิดหลอดลม หากผู้ป่วยตื่นและมีปฏิกิริยาการกลืนจะคายท่อนี้ออกมาเอง แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถ คายออกมาเองได้ พยาบาลต้องช่วยนําออกให้ เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะระคายเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้อาเจียนหรือเป็นเหตุให้เกิดการหดเกร็งของหลอดลม (Laryngospasm)
-เมื่อนําท่อช่วยหายใจออกแล้วต้องเฝ้าระวังและสังเกตอาการหายใจ หากพบ crowing respirations เพราะเกิดจากการหดเกร็งของหลอดลม ซึ่งหากปล่อยไว้ผู้ป่วยอาจเกิดการหยุดหายใจได้ต้องได้รับการช่วยเหลือ ทันที โดยใช้หน้ากากครอบและให้ออกซิเจนให้กระชับพอดีกับปากและจมูก และใช้ positive pressure ช่วยแก้ไขการหดเกร็งของหลอดลม แต่หากพบว่ามีการหดเกร็งต่อเนื่องต้องดูแลให้ได้รับยา Succinylcholine ซึ่ง เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อและใช้เครื่องช่วยหายใจ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยานี้ ต้องมีการติดตามสัญญาณชีพบ่อยๆเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเพราะกล้ามเนื้อมีโอกาสกลับมาเป็นอัมพาตอีก
-พยาบาลต้องปรึกษาวิสัญญีแพทย์เพื่อให้ยาแก่ผู้ป่วยตามแผนการรักษา และดูแลการได้รับออกซิเจนโดยให้แบบ positive pressure เพื่อช่วยในการหายใจรวมทั้งการให้ยาแก้ฤทธิ์การกดการหายใจของยาระงับความรู้สึกและ opioids, neostigmine with glycopyrrolate (Robinul) ใช้แก้ฤทธิ์ของ neuromuscular blocking agent บางชนิด
การติดตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดโดยใช้เครื่องตรวจวัดระดับของออกซิเจน ต้องมีการตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนการรักษาว่าให้ทางจมูก (nasal canular) หรือทางหน้ากาก (Mask) และปริมาณออกซิเจนนั้นมีการให้ที่แตกต่างกันไปในแต่ละราย (2-15 ลิตร/นาที) ซึ่งต้องมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่นในผู้ป่วย COPD ให้ได้ไม่เกิน 20%
การดูแลในระบบไหลเวียนโลหิต ความดันโลหิตต่ำมักพบในผู้ป่วยหลังผ่าตัด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการหายใจไม่เพียงพอ หายใจไม่สะดวก เป็นผลข้างเคียงจากยาระงับความรู้สึกหรือยานําสลบ การเปลี่ยนท่าเร็ว การปวดแผลมาก การเสียเลือด การมีเลือดคั่งที่อวัยวะส่วนปลายหลังจากได้รับยาชาเฉพาะที่
-กรณีที่มีความดันโลหิตต่ำและมีการเต้นเร็วของชีพจร สามารถบ่งชี้ได้ว่ามีการสูญเสียเลือด หรือมีการเสียน้ําออกนอกหลอดเลือด มีการไหลเวียนเลือดล้มเหลวต้องรีบแก้ไขทันที และพยาบาลต้องประเมินสัญญาณชีพวัดความดันโลหิตทุก 5 นาทีเป็นเวลา 15 นาที เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลง ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากยาระงับความรู้สึกหมดฤทธิ์และผู้ป่วยปวดแผลมาก
-กรณีความดันโลหิตต่ำร่วมกับภาวะช็อก มีชีพจรเบาเร็ว กระสับกระส่าย สัมผัสผิวหนังเย็นชื้น ซีดหรือเขียว
1) ให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือดให้สูงขึ้นกว่าเดิม
2) ยกขาทั้งสองข้างของผู้ป่วยให้สูงกว่าหัวใจ
3) เพิ่มอัตราการไหลของสารน้ําทางหลอดเลือดดํา (ยกเว้นผู้ป่วยที่มีข้อจํากัด เนื่องจากมีปัญหาการขับน้ำออก)
4) รายงานศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ และเตรียมยาที่จําเป็นต้องใช้ให้พร้อม
5) เฝ้าติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด
-ในรายที่มีความดันโลหิตสูงมักพบในผู้สูงอายุที่มีประวัติความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจเกิดจากภาวะเครียดหลังผ่าตัด พยาบาลอาจปรึกษาศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ เพื่อพิจารณาขอยาลดความดันโลหิต
การดูแลติดตามระดับความรู้สึกตัว พยาบาลผ่าตัดจะทําหน้าที่ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยจากการพูดโต้ตอบ เพื่อทดสอบเพราะผู้ป่วยอาจมีอาการมึนงงจากยาระงับความรู้สึก หรือยาระงับปวดที่ได้รับ การเปรียบเทียบระดับความรู้สึกตัวและความจําของผู้ป่วยนั้นควรมีการประเมินทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
การดูแลติดตามประเมินการกลับคืนของความรู้สึกและการเคลื่อนไหว พยาบาลผ่าตัดต้องมีการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของขา โดยให้ผู้ป่วยลองขยับหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง หากทําได้แสดงว่าระบบประสาทการเคลื่อนไหวฟื้นตัวแล้ว
การติดตามประเมินอุณหภูมิกายผู้ป่วยหลังผ่าตัดขณะที่อยู่ใน PACU ต้องตรวจวัดอุณหภูมิกายและสัญญาณชีพทุก 15 นาที จนกว่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ผู้ป่วยหลังการป่าตัดควรมีอุณหภูมิกาย 36 องศา ซึ่งเกิดจากร่างกายสูญเสียความร้อนต่อเนื่องในห้องผ่าตัด พยาบาลต้องดูแลให้ผ้าห่มอุ่นแก่ผู้ป่วยและต้องเฝ้าระวังภาวะ malignant hyperthermia
การประเมินอาการปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยใช้ pain score ในการวัดระดับความเจ็บปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัด เพื่อดูแลให้ยาระงับความเจ็บปวดตามแผนการรักษา และหากยังคงมีอาการปวดอยู่ต้องปรึกษาศัลยแพทย์ และวิสัญญีแพทย์ เพื่อพิจารณาให้ยาหรือปรับเปลี่ยนยาแก้ปวดในแผนการรักษา แบะดูแลส่งเสริมความสุขสบายด้วยการจัดท่าให้เหมาะสมจะทําให้ผู้ป่วยได้พักและบรรเทาความเจ็บปวดได้
การประเมินบาดแผลผ่าตัด พยาบาลต้องประเมินผ้าปิดบาดแผลว่ามีสารคัดหลั่งออกมาเปียกผ้าปิดแผล ถ้ามีต้องบันทึกสี ชนิด จํานวน การปิดแผลควรปิดแน่นโดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือเปิดผ้าปิดแผล โดยไม่มีคําสั่งแพทย์ ควรทําเครื่องหมายและบันทึกเวลาเพื่อเทียบกับการตรวจดูในครั้งต่อไป และพยาบาลต้องสํารวจให้ทั่วตัวผู้ป่วยว่ามีเลือดออกที่อื่นนอกจากแผลผ่าตัดหรือไม่ หากพบต้องรีบรายงานศัลยแพทย์ทันที
-กรณีบาดแผลมีท่อระบายต้องตรวจสอบว่ามีจํานวนเท่าไร กี่สาย และชนิดใด ดูแลไม่ให้สายระบายหัก พับ งอ และหากเป็นระบบสุญญากาศควรแยกออกแต่ละอัน สังเกตลักษณะของเหลวที่ออกมากับท่อระบายให้บันทึก สี จํานวน ในบันทึกทางการพยาบาลให้ละเอียด
ประเภทการผ่าตัด
ประเภทการผ่าตัดที่แบ่งตามการสูญเสียเลือดและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
1 การผ่าตัดเล็ก (Minor surgery) เป็นการผ่าตัดที่ผู้รับการผ่าตัดมีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนน้อย มีการสูญเสียเลือดในปริมาณที่น้อย
2 การผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) เป็นการผ่าตัดที่ทําให้ผู้ที่มารับการผ่าตัดมีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากและมักเป็นการผ่าตัดเกี่ยวกับอวัยวะที่สําคัญ และอาจต้องมีการสูญเสียเลือดมาก หรือมีการสูญเสียอวัยวะบางส่วน
ประเภทการผ่าตัดที่แบ่งตามระยะเวลาความเร่งด่วน
1 การผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน (Elective surgery) เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม
2 การผ่าตัดเร่งด่วน (Urgent surgery) เช่น การผ่าตัดลําไส้ใหญ่จากภาวะลําไส้อุดตัน
3 การผ่าตัดฉุกเฉิน (Emergency surgery) เช่น การผ่าตัดไส้ติ่ง
ประเภทของการผ่าตัดที่แบางตามวัตถุประสงค์การผ่าตัด
1 Palliative surgery การผ่าตัดเพื่อการบรรเทาอาการของโรคแต่ไม่ใช่การรักษาโรค เช่น การผ่าตัดเจาะคอเพื่อช่วยในการหายใจของผู้ป่วย การผ่าตัดเปิดลําไส้ทางหน้าท้อง
2 Diagnostic surgery การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยโรค หาสาเหตุของโรค เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อส่งตรวจหาพยาธิสภาพของโรค
3 Restorative surgery การผ่าตัดเพื่อการแก้ไขหรือซ่อมแซมอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บให้ทํางานได้ตามปกติ ลดความพิการ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
4 Cosmetic surgery การผ่าตัดเพื่อเพิ่มความสวยงามหรือเรียกว่า ศัลยกรรมความงาม เช่น การผ่าตัดเสริมจมูก
5 Curative surgery การผ่าตัดเพื่อการรักษา เป็นการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นโรคออก ป้องกันการลุกลามของโรค เช่น ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ ผ่าตัดเนื้องอก
โครงสร้างภายในห้องผ่าตัดและทีมผ่าตัด
ห้องผ่าตัด (Operating Room) เป็นสถานที่จัดเตรียมไว้สําหรับทําการผ่าตัด ตรวจและรักษาผู้ป่วยทางศัลยกรรม เน้นความปลอดภัยมากที่สุด
คุณสมบัติห้องผ่าตัดที่ดี
ห้องผ่าตัดทั่วไป
สะดวก ปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายผู้ที่มารับการผ่าตัด
มีระบบระบายอากาศผ่านเครื่องกรองที่ได้มาตรฐานการหมุนเวียนของอากาศผ่านเครื่องกรองอากาศ มีความดันเป็นบวก (Positive pressure) ระบบการถ่ายเทอาการเป็นแบบ High flow ผ่านทางเดียว
มีเครื่องสํารองไฟฟ้าอัตโนมัติที่ใช้ได้ทันทีที่ไฟฟ้าดับ
ระบบก๊าซท่อสามารถเปิดใช้ได้ตลอดเวลา
มีความปลอดภัย ควบคุมมาตรฐานป้องกันการเกิดการติดเชื้อ, การเกิดไฟ, การสัมผัสสารเคมี, การลัดวงจรของเครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ
พื้นห้องผ่าตัดเป็นพื้นเรียบไม่มีร่องหรือรอยต่อกันน้ําซึม ป้องกันไฟได้ วัสดุที่นํามาใช้ทําพื้นและเพดานห้องผ่าตัดสามารถล้างทําความสะอาดได้ด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อโรค ต้องไม่ลื่น สามารถมองเห็นเข็มที่ตกได้ รอยต่อของผนังโค้งเพื่อง่ายต่อการทําความสะอาด
ประตูควรเป็นประตูเลื่อนทําให้ไม่เกิดการฟุ้งกระจาย ควรมีช่องกระจกให้ดูภายในห้องผ่าตัดได้โดยไม่ต้องเปิดประตู วัสดุที่นํามาทําประตูและผนังมีความทนทานต่อการกระแทกหรืออาจมีเครื่องป้องกันการกระแทกจากรถเข็นหรือรถนอนที่ให้บริการผู้ที่มารับการผ่าตัด
ตู้ควรใช้ตู้ที่ทําด้วยสแตนเลทและกระจกเพื่อง่ายต่อการดูแลทําความสะอาดและสามารถมองเห็นวัสดุภายในตู้ได้ชัดเจน
รถที่นําเครื่องมือเครื่องใช้ที่ส่งมาจากหน่วยจ่ายกลางของโรงพยาบาลปกคลุมมิดชิดใช้เสร็จแล้วเวลาส่งคืนต้องนําส่งโดยจัดรถที่ใช้เฉพาะและใช้ลิฟท์เฉพาะไม่ปะปนกับลิฟท์ที่ใช้ทั่วไป หากจําเป็นต้องมีการล้างเครื่องมือที่ห้องผ่าตัดก่อนนําส่งห้องจ่ายกลางต้องแยกเครื่องมาล้างในเขตไม่ปลอดเชื้อ
จัดระเบียบการวางตําแหน่งเครื่องมือให้สะดวกในการใช้และเป็นระเบียบ
ขนาดห้องผ่าตัดมาตรฐาน 400 ตารางฟุต และห้องผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดหัวใจต้องมีขนาดอย่างน้อย 600 ตารางฟุต และ ต้องมีที่ว่างอีก 20 ตารางฟุตสําหรับเครื่องมือและสะดวกในการทํางานของทีมผ่าตัด ห้องตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง (Endoscopy & Cystoscopy) ควรมีขนาด 350 ตารางฟุต และในทุกห้องผ่าตัดต้องมีสัญญาณฉุกเฉินที่ติดต่อกันภายในทุกห้อง
การแบ่งเขตห้องผ่าตัด มีความชัดเจนว่าบริเวณไม่ปลอดเชื้อ บริเวณกึ่งปลอดเชื้อ และบริเวณปลอดเชื้อ
ห้องผ่าตัดในสถานการณ์ระบาดโควิด 19
ติดตั้งห้อง Anteroom ก่อน และ/หรือ หลังห้องผ่าตัด ห้องจะต้องทําให้มีความดันบวก (positive pressure) และต้องให้มีอากาศไหลเข้าห้องผ่าตัดที่สะอาดโดยให้อากาศผ่าน High Efficiency Particulate Air Filter (HEPA) ซึ่งสามารถกรองผงฝุ่น 0.3 ไมครอนออกได้ถึง 90%
ข้อกําหนดในการกั้นห้อง Anteroom
ฉากกั้นห้องควรเป็นวัสดุโปร่งใสทําความสะอาดได้ง่ายและไม่มีรอยต่อ มีโครงยึดที่มีความแข็งแรงตั้งแต่พื้นห้องจนถึงฝ้าเพดาน
การกั้นห้อง Anteroomในห้องผ่าตัดต้องคํานึงถึงการทํางานเปลี่ยนชุดให้ความสะดวกหรือมีความกว้างที่เพียงพอ
ภายในห้องผ่าตัดบริเวณผนังห้องพื้นประตูหน้าต่างและฝ้าเพดานโดยรอบควรจะต้องมีรูรั่วให้อากาศเข้าน้อยที่สุดเพื่อการรักษาความดันภายในห้อง
โคมไฟในห้องผ่าตัดต้องมีฝาครอบแบบเรียบป้องกันฝุ่น
ข้อกําหนดในการระบายอากาศ Exhaust ทิ้งสู่ภายนอก
อากาศที่ระบายทิ้งสู่ภายนอกต้องอยู่ในตําแหน่งที่ปลอดภัย ไม่สามารถย้อนกลับเข้ามาภายในตัวอาคารได้
อากาศที่ระบายทิ้งให้ปล่อยสูงจากหลังคาอย่างน้อย 3 เมตร และต้องห่างจากหน้าต่างช่องเปิดต่างๆรวมทั้งการสัมผัสบุคคลต่างๆไม่น้อยกว่า 8 เมตร ระบายทิ้งสู่บรรยากาศในทิศทางแนวดิ่งด้วยความเร็วอากาศปากปล่องไม่น้อยกว่า 2500 ฟุตต่อนาที
หากไม่สามารถทําตามข้อ 2 ได้ อากาศที่ระบายทิ้งจะต้องกรองด้วย HEPAfilterโดยติดตั้งระบบระบาย อากาศทิ้งให้สามารถเข้าบํารุงรักษาระบบได้สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน
อุณหภูมิภายในห้องผ่าตัดต้องอยู่ในช่วง 24 + 2 องศาเซลเซียส
ความชื้นในห้องผ่าตัดต้องอยู่ในช่วง 50 + 10% RH (RH= Relative humidity)
มีความดันอากาศภายในห้องผ่าตัดเป็นลบอย่างน้อย -2.5 Pa มีความดันสูงกว่าภายนอก (Positive pressure) เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาในห้องผ่าตัด
ห้องผ่าตัดต้องมีอัตราการหมุนเวียนอากาศไม่ต่ำกว่า 20 ACH มีอัตรา
การนําเข้าอากาศบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 4 ACH และควรมีการหมุนเวียนอากาศภายในห้องผ่าตัด 12-25 ครั้งต่อชั่วโมง และมีการถ่ายเทอากาศออก 2-3 เท่าของห้อง ทุก 1 นาที และการไหลเวียนอากาศควรจะไปในทิศทางเดียว
บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในทีมผ่าตัด
ศัลยแพทย์ (Surgeon) เป็นหัวหน้าทีมผ่าตัด ตัดสินใจเกี่ยวกับการผ่าตัดตามชนิดของการผ่าตัด
พยาบาลห้องผ่าตัดทั่วไป (Holding area nurse) บริหารจัดการเกี่ยวกับผู้ป่วยที่อยู่ในห้องผ่าตัด เอกสารต่างๆที่เกี่ยวกับการผ่าตัดรวมทั้งการจดบันทึกทางการพยาบาลระหว่างการผ่าตัด
วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist) และวิสัญญีพยาบาลบริหารจัดการเกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกเจ็บปวดและยาที่ช่วยในการคลายกล้ามเนื้อ การดมยาสลบและดูแลการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้ได้อย่างเพียงพอผ่านทางท่อช่วยหายใจในระหว่างทําการผ่าตัด และเฝ้าติดตามประเมินการไหลเวียนโลหิตและการหายใจ ดูแลการได้รับสารน้ําทดแทน การให้ยาเพื่อควบคุมการไหลเวียนโลหิตของผู้ที่รับการผ่าตัดอย่างใกล้ชิดและต้องรายงานศัลยแพทย์ทันทีเมื่อพบภาวะแทรกซ้อนระหว่างทําการผ่าตัด
พยาบาลช่วยรอบนอกทั่วไปในห้องผ่าตัด (Circulatingnurse) คอยช่วยประสานงานกับทุกๆคนใน ทีม ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับการผ่าตัด ประเมินอาการผู้ที่รับการผ่าตัดในระยะก่อนผ่าตัด วางแผนการพยาบาลสําหรับให้การดูแลผู้ที่รับการผ่าตัดในระหว่างที่ได้รับการผ่าตัด ช่วยจัดท่าผู้ที่รับการผ่าตัด ช่วยทําความสะอาดผิวหนังบริเวณผ่าตัด ดูแลเครื่องมือที่อยู่ในห้องผ่าตัดให้พร้อมใช้ และเก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจหาพยาธิสภาพ เดินเข้าออกในห้องผ่าตัดได้ตลอดเวลาซึ่งไม่จําเป็นต้องสวมเสื้อคลุมปลอดเชื้อ
พยาบาลช่วยส่งเครื่องมือผ่าตัด (Scrub nurse) จัดเตรียมเครื่องมือและส่งเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดให้ถึงมือศัลแพทย์โดยคํานึงถึงหลักปราศจากเชื้อและดูแลให้อยู่ในสภาวะปราศจากเชื้อตลอดเวลา นับจํานวนผ้าซับโลหิต ใบมีด เครื่องมือบนบริเวณที่ปลอดเชื้อร่วมกับพยาบาลช่วยรอบนอกทั่วไปทั้งก่อนและหลังผ่าตัดให้ถูกต้องครบถ้วน
พยาบาลผู้ชํานาญด้านผ่าตัด (Specialty nurse) เป็นศัลยแพทย์ผู้ช่วยผ่าตัดมือหนึ่งในขณะผ่าตัด สามารถใช้เครื่องมือยึดถือ ตัด แยกและจับเนื้อเยื่อ ช่วยห้ามเลือดและช่วยเย็บซึ่งต้องทําร่วมกับศัลยแพทย์และห้ามทําการผ่าตัดเอง
การป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยในห้องผ่าตัด
สาเหตุสําคัญของการติดเชื้อในห้องผ่าตัด
บุคลากรในทีมผ่าตัด (surgical team)
บุคลากรในทีมผ่าตัดต้องมีสุขภาพแข็งแรงและสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ร่างกายต้องสะอาด ไม่มีรอยโรคที่ผิวหนัง (skin lesion)
ไม่เป็นพาหะโรคติดต่อใดๆโดยเฉพาะโรคในทางระบบทางเดินหายใจและโรคติดต่อที่ไม่แสดงอาการ
ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (เสื้อกางเกงติดกันหรือเป็นชิ้นเดียว) ไม่สวมเสื้อผ้าที่ใช้ทํางานในห้องผ่าตัดออกนอกตึกผ่าตัด ไม่ควรสวมเครื่องประดับต่างๆ เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ส่วนรองเท้าจะต้องแห้งและสะอาดเสมอซึ่งควรทําความสะอาดทุกวัน การสวมหมวกคลุมผมต้องเก็บผมให้มิดชิดและควรสวมหมวกก่อนที่จะเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ใช้ในห้องผ่าตัด ป้องกันฝุ่นที่ผมลงมาปนเปื้อนเสื้อผ้า การสวมผ้าปิดปากและจมูก (mask) ต้องสวมให้คลุมทั้งปากและจมูกและต้องกระชับพอดี และควรเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อเสร็จการผ่าตัดในแต่ละราย
ต้องมีความรู้ด้าน OR technique และ aseptic technique เป็นอย่างดีและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ต้องยึดหลัก universal precautions (U.P.) เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคที่มาจากสารคัดหลั่งต่างๆของผู้ที่มารับการผ่าตัด
ต้องล้างมือและแขนอย่างถูกต้องและใช้น้ํายาล้างมือที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณเชื้อโรคที่ผิวหนัง
ต้องสวมเสื้อคลุมผ่าตัดและถุงมือปลอดเชื้ออย่างถูกต้องโดยคํานึงว่า บริเวณที่ปลอดเชื้อคือ เสื้อด้านหน้าใต้ไหล่ลงมาถึงระดับเอว และแขนทั้งสองข้างเท่านั้น และถ้ามีการปนเปื้อนของเสื้อคลุมผ่าตัดและถุงมือต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
สําหรับในสถานการณระบาดโรคโควิด 19 นั้น บุคลากรในทีมผาตัดจะตองใชอุปกรณปองกันรางกาย (Personal Protective Equipment; PPE) โดยปฏิบัติตามมาตรฐานการปองกันและควบคุมโรคติดเชื้อแบบ Droplet precaution (DP) Contact precaution (CP) และแบบ Airborne precaution (AP) ในกรณีที่ทําหัตถการที่จะ กอใหเกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) หรือผูปวยที่ไอมาก
แพทย์ผ่าตัดและพยาบาลส่งเครื่องมือผ่าตัดให้สวม Hood, N95, ถุงมือผ่าตัด, Goggle หรือ face shield เสื้อคลุมแขนยาว (gown) และถุงคลุมเท้าแล้วจึงสวมชุดคลุมผ่าตัดและถุงมือปลอดเชื้อ
บุคลากรอื่นในห้องผ่าตัดสวมหมวก, เสื้อคลุมแขนยาว (gown), N95, Goggle หรือ face shield เสื้อคลุมแขนยาว (gown) และถุงคลุมเท้า
ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงหรือก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ การพ่นยา หรือ การ CPR ให้ใช้ N-100/P100 PAPR (a powered air-purifying respirator) ถ้าไม่มีให้ใช้ N95 mask เป็นอย่างน้อย สวม Hood, Goggle หรือ face shield ถุงมือ 2 ชั้น เสื้อคลุมแขนยาว (gown) และถุงคลุมเท้า
ใส่ surgical maskให้กับผู้ป่วยขณะรู้ตัวและหายใจเอง
การไหลเวียนของอากาศ (air circulation)
เมื่อย้ายผู้ป่วยมาบนเตียงผ่าตัดและคลุมผ้าเรียบร้อยแล้ว จึงเปิดห่อของ เครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อที่ใช้ในการผ่าตัด ไม่ควรเปิดทิ้งไว้นานเกินไป
ควรจํากัดบุคลากรในห้องผ่าตัดและไม่เดินเข้า-ออกในห้องผ่าตัดมากเกินความจําเป็น ลดการเคลื่อนไหวของอากาศในห้องผ่าตัด โดยการเดินไปมาให้น้อยที่สุด ลดการพูดคุย ไอจามขณะทําการผ่าตัดและปิดประตูห้องผ่าตัดตลอดเวลาขณะทําการผ่าตัด เนื่องจากทําให้ฝุ่นจากมุมห้องหรือบริเวณชั้นบนของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ภายในห้องผ่าตัดมาสัมผัสกับแผลผ่าตัด
ขณะทําการผ่าตัดไม่กระพือและสะบัดผ้าแรงๆทําให้ฝุ่นละอองจากพื้นมุมห้องฟุ้งกระจายขึ้นมาบริเวณปลอดเชื้อ
สิ่งแวดล้อมในตึกผ่าตัด (environment)
ลักษณะภายในตึกผ่าตัดต้องมีการออกแบบที่ได้มาตรฐานทั้งขนาด ระบบการสัญจรทางเข้า-ออกของเจ้าหน้าที่ ทางรับ-ส่งผู้ที่มารับการผ่าตัด ทางผ่านของเครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อและสิ่งของที่ติดเชื้อหลังผ่าตัด ระบบการถ่ายเทอากาศ
พื้นห้องผ่าตัดต้องมีความปลอดภัยต่อการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและง่ายต่อการทําความสะอาด
มีการแบ่งเขตสะอาดปลอดเชื้อ (Sterile area) เขตกึ่งปลอดเชื้อ (semi-sterile area) และเขตไม่ปลอดเชื้อ (non- sterile area)
มีระบบสุขาภิบาล (sanitation) ที่ดี การทําความสะอาด การกําจัดฝุ่น การเช็ดถูทําความสะอาดพื้น อุปกรณ์เครื่องใช้ของเจ้าหน้าที่ในห้องผ่าตัด และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ใช้ในการผ่าตัดต้องมีเครื่องหมายที่แสดงถึงการปลอดเชื้อและต้องระบุวันหมดอายุของการปลอดเชื้อ ต้องแห้งสะอาดไม่เปียกชื้น
อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ขณะทําผาตัด
(supplies used during surgical intervention)
ในการเทสารละลายที่ใช้ในการผ่าตัดลงในภาชนะปลอดเชื้อ มือที่จับขวดสารน้ําขณะเทต้องให้สูงเหนือจากบริเวณปลอดเชื้อประมาณ 6 นิ้วฟุตและต้องระมัดระวังการปนเปื้อนจากคอขวดสารน้ําและการเทหกเปื้อนในบริเวณปลอดเชื้อ
การเปิดห่อเครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดต้องระมัดระวังการปนเปื้อนตลอดเวลา ควรเปิดเมื่อจะทําการผ่าตัดทันที ไม่ควรเปิดล่วงหน้าแต่หากจําเป็นต้องเปิด ควรมีบุคลากรเฝ้าระวังตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนและยังอยู่ในสภาพปลอดเชื้อก่อนผ่าตัด
เครื่องมือที่ต้องทําให้ปลอดเชื้อด้วยวิธีการแช่น้ํายาฆ่าเชื้อก่อนนํามาใช้ต้องล้างน้ํายาออกด้วยน้ํากลั่นปลอดเชื้อ
ขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องมือผ่าตัดที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยหลักการ droplet precautions
1) การเก็บรวบรวมและการนําส่งเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน (collectionandtransportationof contaminated medical devices)
2) การทําความสะอาดเครื่องมือแพทย์ (cleaning)
3) การห่อเครื่องมือแพทย์ (packaging)
4) การจัดเรียงห่อเครื่องมือแพทย์และการทําให้ปราศจากเชื้อ (loadingandsterilizing)
5) การตรวจสอบประสิทธิภาพการทําให้ปราศจากเชื้อ (monitoring)
6) การจัดเก็บเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (sterilestorage)
7) การแจกจ่ายเครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (distribution)
ขั้นตอนการทําความสะอาดเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ผ่าตัดในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 โดยหลักการ Standard precautions ร่วมกับ droplet precautions
ผู้ใช้งานเครื่องมือแพทย์ ควรลดจํานวนคนที่สัมผัสเครื่องมือที่ใช้กับ ผู้ป่วย เป็นไปได้ควรเลือกใช้เครื่องมือชนิดใช้แล้วทิ้ง (Disposable) เมื่อใช้งานเสร็จต้องทิ้งในขยะติดเชื้อ กรณีเครื่องมือผ่าตัดชนิดใช้ซ้ำได้ ผู้ใช้งานควรเช็ดคราบเลือดหรือสารคัดหลั่งหลังใช้งานทันที (point of use) ห้าม Pre-rinse ด้วยน้ําหรือสารละลายต่างๆ เพื่อป้องกันการกระเด็นหรือการเกิดฝอยละออง หากมีการใช้ enzymatic ห้ามใช้ชนิดสเปรย์ ควรใช้ชนิดโฟมหรือสารละลาย นําเครื่องมือปนเปื้อนเชื้อโควิด19 ใส่ภาชนะรับเครื่องมือ ปนเปื้อน (contaminated box หรือ dirty box) โดยเขียนที่กล่องว่า COVID-19 ปิดฝาให้สนิทขนส่งโดยรถขนสงชนิดปิด (closed cart) ส่วนผ้าห่อเครื่องมือใส่ถุงแดงเพื่อแยกส่งซักแบบผ้าติดเชื้อ
ผู้นําส่งเครื่องมือปนเปื้อนและผู้รับเครื่องมือปนเปื้อนต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) ขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรคและป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะปฏิบัติงาน ประกอบด้วย หมวก แว่นตานิรภัย (goggle) Face shield Surgical mask กาวน์กันน้ําหรือ isolation gown ถุงมือไนไตรหรือถุงมือยางหนาสําหรับล้างเครื่องมือ รองเท้าบู้ทหรือ shoe cover กันน้ํา ในการถอดอุปกรณ์ป้องกันต้องถอดให้ถูกวิธีและด้วยความระมัดระวัง จากนั้นทิ้งชุดลงในถุงขยะติดเชื้อ การเตรียมอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ควรจัดเตรียมภาชนะรองรับเครื่องมือ แอลกอฮอล์เจล จัดพื้นที่รองรับเครื่องมือแพทย์ปนเปื้อน ระมัดระวังเวลาหยิบเครื่องมือออกจากภาชนะ ไม่ควรให้ปนเปื้อนบริเวณอื่นนอกเหนือจากพื้นที่รับเครื่องมือปนเปื้อน ทําความสะอาดบริเวณที่รับเครื่องมือปนเปื้อนและภาชนะบรรจุเครื่องมือปนเปื้อนทันที
การล้างทําความสะอาดเครื่องมือปนเปื้อนเชื้อโควิด 19 ให้รับเครื่องมือที่ผ่านการขจัดคราบปนเปื้อนเบื้องต้น (point of use) มาจากหน่วยงานแล้วทําความสะอาด
3.1 กรณีการล้างเครื่องมือด้วยมือ (manual cleaning) แช่เครื่องมือด้วยสารขัดล้างโดยผสมสารขัดล้างให้เสร็จเรียบร้อยตามความเข้มข้นที่บริษัทกําหนด ไม่เปิดน้ําระหว่างการขัดล้างเพื่อลดการกระเด็นหรือทําให้เกิดละออง การแปรงเครื่องมือต้องทําใต้น้ําเท่านั้น
3.2 กรณีการล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติ (Auto washer disinfectant) ให้แยกเครื่องมือใส่ตะแกรงตามกระบวนการปกติ เลือกโปรแกรมการทําความสะอาดตาม IFU ของบริษัทผู้ผลิต และควรล้างเครื่องมือปนเปื้อนเชื้อโควิด 19 เป็นรอบสุดท้าย
ตัวผู้ที่รับการผ่าตัด/ผู้ป่วย (customer/patient)
ผู้ที่มารับการผ่าตัด หากมีการติดเชื้อมาก่อนการผ่าตัดควรได้รับการรักษาเพื่อลดภาวะติดเชื้อก่อนได้รับการผ่าตัด หากภาวะติดเชื้อนั้นมีสาเหตุทางด้านศัลยกรรมจะต้องรีบทําการผ่าตัดทันทีเพื่อลดภาวะติดเชื้อและควรทํา การผ่าตัดเป็นรายสุดท้ายของการผ่าตัด และหากเป็นไปได้ควรทําการผ่าตัดในห้องแยกที่ใช้ผ่าตัดเฉพาะผู้รับการผ่าตัดที่มีภาวะติดเชื้อ
การดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยหรือผู้ที่มารับการผ่าตัด
การเตรียมผ่าตัดผู้ที่มารับการผ่าตัดต้องทําความสะอาดร่างกาย ต้องเข้าพักในโรงพยาบาลให้มีระยะเวลาที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ ต้องงดน้ําและอาหาร ทําความสะอาดเฉพาะที่ หากจําเป็นต้องมีการโกนขนจะต้องโกนขนก่อนผ่าตัดไม่เกิน 2 ชั่วโมงเพราะหากเกิน 2 ชั่วโมงจะมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
ต้องมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของห้องผ่าตัดรวมทั้งผ้าคลุมตัว สวมหมวกคลุมผมให้มิดชิด และในผู้ที่มีภาวะติดเชื้อหรือมีภูมิต้านทานต่ำ ควรสวมผ้าปิดจมูกและปาก (Mask) เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ
การเตรียมความสะอาดเฉพาะที่ที่ห้องผ่าตัด ทําความสะอาดด้วยวิธีปลอดเชื้อที่ตําแหน่งที่จะทําการผ่าตัดให้เป็นบริเวณที่กว้างอย่างเพียงพอด้วยน้ําสบู่ ยา และน้ําเกลือปลอดเชื้อ (0.9% NSS) ก่อนที่จะเช็ดด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ และปูผ้าปลอดเชื้อคลุมที่มีขนาดหนาพอที่จะรักษาสภาวะปลอดเชื้อไว้ได้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคมาสู่บริเวณที่ผ่าตัด
ในสถานการณ์ระบาดโรคโควิด 19 ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดต้องได้รับการคัดกรองจากการซักประวัติ
(social risk factor, physical/medical risk factor) และต้องให้มีการตรวจการติดเชื้อไวรัส โดยวิธี RT-PCR ก่อนการผ่าตัด โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมีการดมยาสลบหรือมีแนวโน้มว่าต้องมีการดมยาสลบแบบ General anesthesia และการผ่าตัดที่เป็น high risk สําหรับ droplet and aerosol generating procedures ซึ่งต้องรีบดําเนินการผ่าตัดให้เร็วที่สุดหลังทราบผลไม่เกิน 7 วันนับตั้งแต่วันเก็บสิ่งส่งตรวจ
ในกรณีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดชนิดที่ไม่เร่งด่วนและได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไม่มีอาการให้ลื่อนการผ่าตัดไปก่อนและให้รับการรักษาการติดเชื้อและรอดูอาการอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อพิจารณาเตรียมผ่าตัดใหม่ โดยไม จําเป็นต้องมีการตรวจการติดเชื้อไวรัสซ้ำ
ในกรณีจําเป็นต้องผ่าตัดกรณีเร่งด่วนที่ไม่สามารถรอได้ให้ดําเนินการผ่าตัดตามเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิดที่ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
ปัจจัยที่มีผลทําให้เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
ชนิดของแบคทีเรียที่ปนเปื้อน จํานวนปริมาณและความรุนแรงของเชื้อ ระยะเวลาที่ปนเปื้อนเชื้อในบาดแผล
อายุของผู้ที่มารับการผ่าตัด หากเป็นวัยผู้สูงอายุหรือวัยเด็กนั้นจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อที่บาดแผลผ่าตัดเพิ่มมากกว่าในวัยผู้ใหญ่
โรคประจําตัว โดยเฉพาะผู้ที่รับการผ่าตัดเป็นโรคเบาหวานจะมีอัตราการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเพิ่มขึ้น
ประวัติการได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ผู้ที่ได้รับยามีโอกาสเกิดการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของคนปกติ
ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหารมีอัตราการติดเชื้อที่สูงกว่าปกติ
ระยะเวลาในการผ่าตัด ถ้าน้อยกว่า 30 นาทีมีโอกาสการติดเชื้อน้อยกว่าผู้ที่ได้รับการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานานกว่าชั่วโมง
ชนิดการผ่าตัด ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดชนิดแบบ emergency จะมีการติดเชื้อมากกว่าผู้ที่รับการผ่าตัดแบบ elective
ระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลก่อนการผ่าตัด ถ้ามีระยะเวลาสั้นโอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่าผู้ที่พักอยู่โรงพยาบาลนานกว่า
การมีสายท่อระบายออกจากบาดแผล แผลผ่าตัดที่มีท่อระบายมีโอกาสติดเชื้อได้สูงกว่าบาดแผลที่ไม่มีท่อระบาย
หลักการพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด
การส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด (Enhanced Recovery After Surgery; ERAS)
ERAS: Pre-surgery
1) การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยโดยให้ข้อมูลความรู้ คําปรึกษาก่อนการ ผ่าตัดเกี่ยวกับโรค วิธีการผ่าตัดและการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
2) เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พบศัลยแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลในห้องผ่าตัด
3) การดูแลการงดน้ํางดอาหารและการให้ได้รับคาร์โบไฮเดรตก่อนการผ่าตัด ได้แก่ Complex clear carbohydrate-rich drink ซึ่งจะไม่เพิ่มปริมาณ gastric residual volume จนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสูดสําลักได้ สามารถลดภาวะ insulin resistance หลังผ่าตัดได้ ทําให้รักษามวลกล้ามเนื้อไว้ได้และลดระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล
4) การจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดโดยให้ยาควบคุมความเจ็บปวดทางช่องเหนือไขสันหลัง ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ปวดแผล เคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น
ERAS: During surgery
1) การจัดการสารน้ําแบบ Goal directed therapy บอกสภาวะสารน้ําได้ดี เช่น Transesophageal Doppler ultrasonography, arterial pulse contour analysis ลดอัตราการเกิดการทํางานของไตบกพร่อง ระบบหายใจล้มเหลว และทําให้การกลับมาทํางานของลําไส้ได้เร็ว ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และลดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
2) การพิจารณาใช้ยาระงับปวดชนิดเสพติดระหว่างการผ่าตัด
3) การลดระยะเวลาในการทําการผ่าตัดให้น้อยลงถ้าเป็นไปได้
4) มีการตระหนักในการให้เลือดในระหว่างการผ่าตัดอย่างระมัดระวัง
ERAS: Post surgery
1) การกระตุ้นผู้ป่วยให้มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด โดยพยายามกระตุ้นให้ลุกจากเตียงให้ได้โดยเร็ว เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดําและภาวะแทรกซ้อนในระบบหายใจ
2) ต้องนําสายยางหรือท่อระบายสารคัดหลั่งต่างๆออกให้เร็วที่สุด
3) ต้องปรับยาระงับปวดให้เป็นชนิดรับประทานให้เร็ว
4) ต้องพยายามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้เร็ว