Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาศัลยกรรมชาย 2 สัปดาห์ที่ 1 - Coggle Diagram
กรณีศึกษาศัลยกรรมชาย 2
สัปดาห์ที่ 1
ชายไทยอายุ 48 ปี
รับมาตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
CC : ปวดท้อง เหนื่อยอ่อนเพลีย 1 day PTA
PI : 1 day PTA ปวดท้อง ท้องโตขึ้น มีไข้ ญาตินำส่งโรงพยาบาลชุมชนเวียงเก่า หายใจหอบเหนื่อยมาก on-Tube refer มาที่โรงพยาบาลขอนแก่น
Diagnosis ที่ 2 : pelvic mass with complete colonic obstruction
Complete colonic obstruction
ลำไส้ใหญ่อุดตัน
พยาธิสภาพ
มีการบดบังทางเดินลำไส้ใหญ่ ทั้งยาก intraluminal ,intramural ,extramural มีผลทำให้มีการอุดตัน lumen ของ bowel
ทำให้ content ไม่สามารถผ่านจากส่วน poximal ไปยัง distal ได้ และมีการเพิ่มการหดรัดตัว (contractility) ของลำไส้ เพื่อบรรเทาการอุดตัน
มีผลทำให้ปวดบิดและลำไส้ส่วนต้นขยายตัว ถ้า content ผ่านไปไม่ได้เลย จึงเรียกว่า complete obstruction
การรักษา/การผ่าตัด
Rt anterior loop tansaverse colostomy
เป็นการผ่าตัดช่องเปิดลำไส้ใหญ่บริเวณลำไส้ขวางออกมาภายนอกร่างกายทางด้านขวา
Pelvic mass
ก้อนในอุ้งเชิงกราน
ได้รับการอัลตราซาวด์และการใส่ PCN ทางด้านซ้าย
Diagnosis ที่ 1 : UGIB with Rs failure , AKI ,Suprapublic mass
UGIB (Upper Gastrointestinal Bleeding)
ภาวะเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น
การมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารกระเพาะอาหารจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีอาการนำมาด้วยอาเจียนเป็นเลือดสด หรือเลือดเก่าและถ่ายอุจจาระดำ
AKI (Acute kidney injury) ภาวะไตวายเฉียบพลัน
ไตมีการเสื่อมหรือสูญเสียหน้าที่ลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเป็นวัน
Rs failure (Respiratory failure) ภาวะหายใจล้มเหลว
ภาวะที่ระบบหายใจเสื่อมสมรรถภาพ ไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซหรือระบายอากาศให้อยู่ระดับปกติ ทำให้ออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงลดลง
Suprapublic mass (ก้อนเนื้อที่บริเวณหัวหน่าว)
ยาที่ได้รับระหว่างการรักษา
-Ceftriaxone : ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
-Metronidazole : ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียและโปรโตซัว
-Omeprazole : ยาลดกรดการหลั่งกรด
-Losartan : ยาลดความดันโลหิตสูง
-Tazocin : ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
-Paracetamol : ยาบรรเทาอาการปวด
-Lorazepam : ยาลดความวิตกกังวล
-Tramadol : ยาบรรเทาอาการปวด
-Piperacillin + Tazobactam : ยาปฏิชีวนะ
-D-5-W : สารละลาย dextrose 5%
-50% magnesium : รักษาภาวะเกลือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
-Acetated ringer sol : สารละลายริงเกอร์ ปรับค่าความเป็นกรดด่าง
-Phosphate mixture : รักษาภาวะฟอตเฟสต่ำในเลือด
-Morphine : ยาบรรเทาอาการปวด
-Potassium chloride : รักษาภาวะโพแทสเซียมต่ำ
โรคประจำตัว
เบาหวาน : Diabetes
Beta cell ตับอ่อนมีการสร้างและหลั่งอินซูลินน้อยลง
น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ออกซิเจนจับกับน้ำตาล จากนั้นออกซิเจนออกสู่เซลล์ไม่ได้
ร่างกายขาดออกซิเตน ออกซิเจนในร่างกายต่ำ
หลอดเลือดขยายตัวจนแตก
ร่างกายสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่ จะเปราะแตกง่าย
ความดันโลหิตสูง : Hypertension
หมายถึง ค่าความดันตัวบน/ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว >=140 mmHg
ค่าความดันตัวล่าง/ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว >=90 mmHg
อาการแสดง : อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ใจสั่น
พยาธิสภาพ
หลอดเลือดบีบตัวมากขึ้นและขนาดของหลอดเลือดใหญ่ขึ้น
ทำให้เพิ่ม strok volum และ Heart rate
หลอดเลือดหนาตัว แข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น หลอดเลือดบีบตัวมากขึ้น ทำให้ cadiac output เพิ่มขึ้น
ทำให้ความต้านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น
เกิด Hypertension crisis (ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต)
2 more items...
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-linking)
เมื่ออายุมากขึ้นมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของการไขว้ของโมเลกุลขนาดใหญ่ โดยโปรตีนจะมีลักษณะไขว้ขวางกัน
1 more item...
แบบแผนสุขภาพ
การรับรู้สุขภาพ
3 เดือนที่ผ่านมา รู้ตัวว่ามีก้อนเนื้อที่หน้าท้อง รู้สึกปวดท้องตึง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีโรคประจำตัวเป็น DM และ Hypertension ปฏิเสธการรับประทานยาชุด ยาสมุนไพร ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ขณะปกติมีการสูบบุหรี่วันละ 6 ม้วนต่อวัน
โภชนาการและเผาผลาญ
ไม่ติดรสชาติใดรสชาติหนึ่งเป็นพิเศษ รับประทานอาหารพื้นบ้าน ชอบอาหารดิบ ดื่มน้ำเยอะ ขณะอยู่โรงพยาบาลได้รับการ NPO
การขับถ่าย
ได้รับการผ่าตัดแบบ colostomy และการ on foley cath ขณะปกติท้องผูกสลับกับการถ่ายเหลว ไม่มีปัสสาวะแสบขัด
กิจกรรมและการออกกำลังกาย
ขณะปกติไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้รับบริการปฏิเวธประวัติการล้ม สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด ขณะป่วยการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง
การนอนหลับพักผ่อน
ขณะปกติเข้านอนเวลา 19.00 น. ตื่นนอน 05.00 น. ระยะเวลาเฉลี่ย 10-11 ชั่วโมงต่อวัน ขณะป่วยนอนไม่สนิท
สติปัญญา
การมองเห็น การได้ยิน การรับกลิ่น การรับรส ความคิด ความจำและการสื่อสารเป็นปกติ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งขณะปกติและขณะป่วย
การรับรู้ตนเอง
มีความวิตกกังวลที่ต้องขับถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 1 มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีถุงระบายทางหน้าท้อง
กิจกรรมและเหตุผลทางการพยาบาล
1.แนะนำด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ดังนี้
-รับระทานอาหารอ่อนย่อยง่ายใน 1-2 สัปดาห์หลังการผ่าตัดและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรืออาหารหมักดอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย
-รับประทานอาหารที่ป้องกันอาการท้องผูก ได้แก่ การดื่มน้ำ-น้ำผักผลไม้ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
-หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้การเกิดแก๊สและอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่น เช่น ปลา ไข่ หน่อไม้ เครื่องเทศ กระเฉด สะตอ ข้าวโพด เป็นต้น เพราะอาจผายลมต่อหน้าผู้อื่นและทำให้ท้องอืด
-ส่งเสริมการรับประทานโยเกิร์ตจะช่วยลดการเกิดแก๊ส หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ตรงเวลา จะช่วยให้การควบคุมการขับถ่ายดีขึ้น
2.ด้านการทำความสะอาด colostomy
-เทอุจจาระเมื่อมีปริมาณอุจจาระ 1 ใน 3 ส่วนของถุง
-ล้างบริเวณปลายถุงหรือใส่น้ำเข้าไปล้างในถุงเล็กและใช้สำลีหรือผ้านุ่มเช็ดปลายถุงให้สะอาด
-ใช้น้ำมันทาผิว เช่น เบบี้ออยล์ หยดใส่ในถุงรองรับอุจจาระแล้วเกลี่ยให้ทั่วจะช่วยให้อุจจาระไม่ติดถุงและเทอุจจาระได้ง่ายขึ้น
-ถ้าถุงแบบ 2 ชิ้น สามรถดึงถุงไปล้างทำความสะอาดด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างจานและนำมาผึ่งแห้ง ห้ามโดนแดดสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 2 พักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมและเหตุผลทางการพยาบาล
1.ประเมินสาเหตุและแบบแผนการนอน เพื่อลดหรือขจัดสาเหตุที่ทำให้ผู้รับบริการพักผ่อนไม่เพียงพอ
2.จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เปิดพัดลมระบายอากาศ ลดเสียงรบกวนรวมทั้งปูผ้าปูที่นอนให้เรียบตึง หากไม่สามารถจัดสิ่งแวดล้อมได้เนื่องจากเป็นหอพักผู้ป่วยรวม อาจแนะนำหอพักผู้ป่วยแบบแยกเดี่ยว เพื่อให้รู้สึกสดชื่น สร้างบรรยากาศที่ดีและลดความเครียด
3.พักกิจกรรมการทำงานของร่างกายหรือพักการทำงานอวัยวะต่าง ๆ โดยนั่งเฉยชั่วขณะหรือทำกิจกรรมเบา ๆ เพื่อให้อวัยวะได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความกังวลหรือแนะนำผู้รับบริการให้ทำกิจกรรมที่ช่วยในการนอนหลับได้ดี เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง เป็นต้น
4.ก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มี่สารคาเฟอีนเนื่องจากสารคาเฟอีนจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการตื่นตัวกระตุ้นการทำงานระบบต่าง ๆ เช่น กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจ กระตุ้นฮอร์โมน เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 3 มีโอกาสเกิดโรคพยาธิเนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารดิบ
กิจกรรมและเหตุผลทางการพยาบาล
1.ประเมินอาการแสดงของโรคพยาธิ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด จำนวน และตำแหน่งที่พยาธิอาศัยอยู่รวมถึงระยะเวลาการเป็นโรค เช่น โรคพยาธิใบไม้ในตับที่มีพยาธิจำนวนน้อยจะไม่แสดงอาการแต่ถ้าจำนวนมากจะมีท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมซีด
2.หากมีอาการอาเจียนให้สังเกตอาการท้องอืด อาเจียน ลักษณะ ปริมาณและจำนวนของการอาเจียน เพื่อประเมินการทำงานของลำไส้และการขาดน้ำ
3.สังเกตตนเองว่าพบสิ่งแปลกปลอมในอุจจาระและคาดว่าเป็นพยาธินั้น หากเป็นพยาธิจริงแสดงว่าต้องมีปริมาณที่ค่อนข้างมากจึงสังเกตเห็นได้ ดีงนั้นการพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์รักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
4.ไม่ควรซื้อยาหรือยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุกปีหรือเพียงเพราะรูปร่างผอมเนื่องจากความผอมเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุให้ข้อแนะนำและข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
-งดรับประทานหอยทั้งน้ำจืดและหอย
บกดิบ ๆ หรือดิบ ๆ สุก ๆ รับประทานเนื้อสัตว์ที่สุก สะอาด และไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่มีตัวอ่อนพยาธิซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดสาคูปนเปื้อนไม่รับประทานอาหารที่ตกพื้น
-ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนบริโภค
-หากต้องการดื่มน้ำจากแหล่งธรรมชาติต้องดื่มน้ำที่ต้มเดือดแล้ว
-ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหาร
-เก็บอาหารให้ปลอดจากแมลง สัตว์พาหะ
ข้อวินิจฉัยข้อที่ 5 มีโอกาสเกิดโรคไตเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
กิจกรรมและเหตุผลทางการพยาบาล
1.ประเมินสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงโรคไต สังเกตอาการอ่อนเพลีย มึนงง เบื่ออาหาร อาเจียน นอนไม่หลับ เพื่อประเมินความรุนแรงการคั่งของเสียและให้การรักษาอย่างเหมาะสม
2.หากผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไต จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนโดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1.การปลูกถ่ายไต 2.การล้างไตทางช่องท้อง และ 3.ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
3.ให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารที่เพียงพอเหมาะสมกับระยะโรค
-ควรเป็นอาหารที่มีโปรตีน โปแตสเซียม โซเดียม โดยโปรตีนต่ำจะช่วยลดการทำงานของไต ลดการกรอง
-รับประทานอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำ โดยอาหารที่มีฟอสเฟตต่ำหรืออาหารที่มีสารจับฟอสเฟต เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต จะช่วยลดการดูดซึมฟอสเฟตในลำไส้ ลดอัตราการเสื่อมของไต ลดโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ
-หลีกเลี่ยงการรับประทานไข่แดง เนื้อสัตว์ นม เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เนื่องจากฟอสเฟตสูง
-หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสัตว์ กะทิ เพื่อควบคุมปริมาณคอลเรสเตอรอลไม่เกิน 300 mg/dl