Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
STEMI - Coggle Diagram
STEMI
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยหญิง อายุ 42 ปี นอนพักอยู่บนเตียง ตื่นรู้ตัวรู้เรื่อง หายใจ Room air ไม่มีหอบเหนื่อย RR 20 bpm O2 sat 96% BP 141/103 mmHg monitor EKG show sinus tachycardia HR 101 bpm no chest pain
-
Chief complain
8 hr PTA มีการเจ็บแน่นหน้าอก Pain score 10/10 ไป รพช. รักษาโรคกระเพาะกินยา* เวลา 6.00 มีอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้น ไป รพช.EKG elevation II, III, AVF consult KKH load ASA (300) 1 tab และ Plavix 1tab refer KKH
-
-
วินิฉัยการพยาบาล
2.เสี่ยงต่อปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
กิจกรรมการพยาบาล
- ประเมินปริมาณเลือดออกจากหัวใจ โดยประมินความแรงและจังหวะการเต้นของชีพจร ประเมิน capilary filling time (ค่าปกติ < 2 วินาที) ร่วมกับสังเกตอาการแสดงของภาวะช็อค ได้แก่ หน้ามืด เหงื่อออก ตัวเย็น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงสับสน ซึม ไม่รู้สึกตัว ผิวหนังซีดหรือเขียว (Cyanosis)
- ติดตามคลื่นและจังหวะการเต้นของหัวใจจาก Monitor อย่างต่อเนื่อง เมื่อพบผิดปกติให้รายงานแพทย์ทราบทันที และเตรียมอุปกรณ์การช่วยฟื้นคืนชีพไว้ให้พร้อมเพื่อการช่วยเหลือทันที
- ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 1 ชม. พร้อมทั้งคลำและสังเกตลักษณะชีพจรส่วนปลาย อาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ปลายมือปลายเท้าเย็นซีดเขียว เพื่อให้การช่วยเหลือทันทีเมื่อพบความผิดปกติ
- ติดตามและประเมินปัสสาวะทั้งลักษณะ สี จำนวนปัสสาวะที่ออกควรมากกว่า 0.5 ml/kg/hr. หรือมากกว่า 30 ml/hr. เพื่อประเมินภาวะช็อคจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และประเมินประสิทธิภาพการทำงานของไต หากมีอาการผิดปกติให้รายงานแพทย์
- Absolute bed rest และส่งเสริมให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยจัดสิ่งแวดล้อมให้สงบเพื่อลดปริมาณการใช้ออกซิเจนติดตามผล 02 Sat ทุก 1 ชั่วโมงถ้าต่ำกว่า 94 ให้รายงานแพทย์ทันที
- ดูแลควบคุมให้สารน้ำ 0.9% NSS iv rate KVO ตามแผนการรักษา
- สังเกตอาการบวมที่ขา ปลายมือปลายเท้า หนังตาพร้อมบันทึกน้ำเข้าออกร่างกาย (I/0) เพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ
- ติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) และตรวจเอ็นไซม์ของหัวใจ (Troponin) เพื่อติดตามประเมินผลการตายของกล้ามเนื้อหัวใจตามแผนการรักษาของแพทย์
-
-
4.Hyperglycemia
- แนะนำญาติให้คอยสังเกตอาการน้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วย เช่น หน้าแดง ตัวร้อน ปัสสาวะออกมากหากพบ
อาการผิดปกติตามที่ได้ให้คำแนะนำให้ญาติรีบแจ้งพยาบาลทันที เพื่อให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
-
- ประเมิน vital sign ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะพบว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้น ชีพจรเต้นเร็ว ความดัน โลหิตสูง ให้รีบรายงานแพทย์
- ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจ urine examination เพื่อประเมินระดับ น้ำตาลในปัสสาวะไหลเวียนให้ดีขึ้น
- Observeอาการ Hyperglycemia เช่น กระสับกระส่าย หน้าแดง คลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก ซึมไม่รู้สึกตัว ชีพจรเต้นเร็ว เพื่อประเมินภาวะสภาพร่างกายของผู้ป่วยและให้การพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
-
-
-
พยาธิสภาพ
เป็นภาวะของหลอดเลือดหัวใจที่มีภาวะเสื่อมสภาพหรือแข็งตัว(atherosclerosis) แล้วเกิดมีการฉีกขาดหรือปริแตกที่ด้านในของผนังหลอดเลือดส่วนที่เสื่อมสภาพอย่างเฉียบพลัน เกิดแผลขึ้นที่ผนังด้านในของหลอดเลือด (raw surface) เกล็ดเลือดจะเกาะกลุ่ม อย่างรวดเร็วตรงบริเวณที่มีการปริแตกหรือฉีกขาด หลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วที่บริเวณดังกล่าว หากมีการอุดตันบางส่วน ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบางส่วน เกิดอาการเจ็บหน้าอกไม่คงที่ (unstable angina) โดยยังไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าลิ่มเลือดเกิดอุดต้นโดยสมบูรณ์ (complete occlusion) จะมีผลทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction: AMI)
-