Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เตียง 18 Acute ischemic…
เตียง 18 Acute ischemic stroke (โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน)
ยาที่ผู้ป่วยได้รับ (19/02/2566)
PARACETAMOL 500 MG. TAB.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง เวลาปวด หรือ มีไข้
เป็นยาในกลุ่ม analgesics กลไกในการบรรเทาอาการ คือ ไปยับยั้งกระบวนการสร้าง prostaglandin ในระบบประสาทส่วนกลาง เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยลดไข้
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น : อาจมีผื่นคัน อุจจาระสีดำ ปัสสาวะน้อยลง มีแผลร้อนใน เบื่ออาหาร
OMEPRAZOLE 20 MG. CAP.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
กลุ่มยา Proton pump inhibitors
ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกัน รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กและอาการแสบยอดอกเนื่องจากหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน
ผลข้างเคียง : ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผื่นขึ้น
ข้อควรระวังเมื่อใช้ยา : เสี่ยงในการเกิดกระดูกแตกหักหรือ แมกนีเซียมในเลือดต่ำ ขาดวิตามินบี 12
ระวังในผู้ป่วยโรคตับ โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคลมชัก -ไม่ควรใช้ยาร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อรา ยาต้านไวรัสเอดส์ ยาต้านการชัก ยาคลายกังวลกลุ่ม benzodiazepine
LOSARTAN 50 MG.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น
Losartan เป็นยาในกลุ่มแองจิโอเทนซิน 2 รีเซพเตอร์ แอนตาโกนีสต์ (Angiotensin II Receptor Antagonists)
ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น ใช้ลดความดันโลหิตสูง
ในผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามใช้ยา Losartan ร่วมกับยาตัวอื่นที่มีส่วนประกอบของยาอะลิสคิเรน (Aliskiren)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น : เป็นไข้หวัด คัดจมูก ไอแห้ง ๆ เป็นตะคริว ปวดขา ปวดหลัง รู้สึกเหนื่อยล้า หมดเเรง
MANIDIPINE 20 MG.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า
เป็น calcium antagonist ใช้รักษาภาวะความดันโลหิตสูง โดยยับยั้งการเคลื่อนที่ calcium จากภายนอกเซลเข้าสู่ภายในเซลล์ผ่านทาง calcium channel จึงลดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดเลือด เป็นผลให้หลอดเลือดคลายตัว
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น : ข้อเท้าบวม ปวดศรีษะ ใจสั่น หน้าแดง อ่อนเพลีย
SIMVASTATIN 20 MG.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
กลุ่มยาลดไขมันในหลอดเลือด
นำมาใช้ในการลดระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มระดับคลอเรสเตอรอลชนิดดีด้วย
และห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับตับและไต
ผลข้างเคียง : อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มวนท้อง แต่จะไม่รุนแรงและอาการจะดีขึ้นหลังใช้ไปประมาณ 1-2 เดือน
ยาฉีด (19/02/2566)
NICARDIPINE 1 MG./ML. INJ. 10 ML
(1:5) IV rate 5-40 ml/hr.
เป็นยากลุ่ม Calcium-channel blockers
ข้อบ่งใช้ยา :
-ความดันโลหิตสูงขั้นปานกลาง-รุนแรงซึ่งจำเป็นต้องลดความดันโลหิต ลงทันที
-ความดันโลหิตสูงระหว่าง และหลังผ่าตัด
-ความดันโลหิตสูงในระยะสั้นเมื่อไม่สามารถใช้ยาในรูปแบบรับประทานได้
MORPHINE SULPHATE 10 MG. INJ.
1ML
3 mg IV pm q 4 hr
เป็นยาระงับความปวด ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อลดึวามรู้สึกปวด
AMIODARONE 150 MG. INJ. 3 ML
900 mg+5%dw 500 ml IV drip in 24 hr.
เป็นยา antiarrhythmic ที่ใช้ในการรักษาและป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
METOCLOPRAMIDE 10 MG./2ML. INJ.
10 mg IV pm q 8 hr
เป็นยาเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) ที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคหรืออาการ เช่น ภาวะเจ็บหน้าอกเฉียบพลันจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลวและโรคหัวใจ
[ CEFAZOLIN 1 GM. INJ. ]
ครั้งละ 1 g ฉีด IV ทุก 6 Hrs.
เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มเซฟาโลสปอริน มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย
[ LEVETIRACETAM 500 MG. INJ. 5 ML. ]
ครั้งละ 500 mg ฉีด IV ทุก 12 Hrs.
เป็นยาที่ใช้รักษาโรคลมชัก มันถูกใช้สำหรับอาการชักบางส่วน
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ (19/02/2566)
เคมีคลินิก
Sodium(Na) 134 mmol/L ค่าปกติ 136-145 mmol/L
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : อาจเกิดจากการกินโซเดียมหรืออาหารเค็มน้อยเกินไป
BUN 7.0 mg/dL ค่าปกติ 8.9-20.6 mg/dL
ค่าต่ำกว่าค่าปกติ : ระบบการทำงานของไตมีปัญหา
Creatinine 0.68 mg/dL ค่าปกติ 0.73-1.18 mg/dL
ค่าต่ำกว่าค่าปกติ : อาจเกิดภาวะทุพโภชนาการ
Glucose(FBS) 167 mg/dL ค่าปกติ 70.0-99.0 mg/dL
ค่าสูงกว่าค่าปกติ :มีน้ำตาลในเลือดสูง อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
Phosphorus 1.63 mg/dL ค่าปกติ 2.3 - 4.7 mg/dL
ค่าต่ำกว่าค่าปกติ : อาจเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร
Calcium 8.15 mg/dL ค่าปกติ 8.4-10.2 mg/dL
ค่าต่ำกว่าค่าปกติ : ภาวะที่ร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนพาราไทรอยด์น้อยเกินไป หรือขาดวิตามิน D
CO2 20.8 mmol/L ค่าปกติ 22-29 mmol/L
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : อาจกําลังมีสภาวะของโรคไตวายระยะเริ่มต้น จึงควบคุมไบคาร์บอเนตไม่ได้
โลหิตวิทยา
Red Blood Cell Count 5.72 ^6/ul ค่าปกติ 4.03-5.55 ^6/ul
ค่าสูงกว่าอ้างอิง : ภาวะเลือดข้น อาจทำให้เกิดการเกาะกลุ่มกันของเม็ดเลือดแดง แล้วไปอุดตันหลอดเลือด
MCV 78.5 fL ค่าปกติ78.9-98.6 fL
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : อาจมีภาวะโลหิตจางเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเล็ก อาจเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
MCH 25.0 pg ค่าปกติ25.9-33.4 pg
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : อาจเกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ
RDW 15.7 % ค่าปกติ11.8-15.2%
ค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง : เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดเม็ดเลือดแดง โลหิตจางจากการขาดวิตามิน B12
Neutrophil 88.6 % ค่าปกติ 48.2-71.2%
ค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง : อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Lymphocyte 8.2 %ค่าปกติ 21.1- 42.7 %
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : เกิดการติดเชื้อ
PT 13.6 sec ค่าปกติ10.4-13.2 sec
ค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง : มีการขาดวิตามิน K
Hemoglobin 12.5 g/dL ค่าปกติ 12.8-16.1 g/dL
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : ร่างกายผลิตเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ เนื่องจาก ภาวะขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 หรือวิตามินบี 6
Eosinophil 0.1 % ค่าปกติ 0.4-7.2 %
ค่าต่ำกว่าค่าอ้างอิง : อาจมีการติดเชื้อไวรัส
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
สมองได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก
วัตถุประสงค์
ผู้ผู้ป่วยได้รับเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอหรือดีขึ้น
เกณฑ์ประเมินผล
หายใจสะดวก
อาการทางระบบประสาทดีขึ้น ได้แก่ ลักษณะของ pupil ทั้งสองข้างมีขนาดเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน Motor power ทั้ง 4 รยางค์ สามารถต้านแรงผู้ตรวจได้ปกติ หรือมีอาการดีขึ้น
การตอบสนองต่อการเรียก สามารถตอบสนองหรือสื่อสารได้ดีขึ้น
อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ/หรือเกณฑ์ที่แพทย์รับได้
ข้อมูลสนับสนุน
ความดันโลหิตหิตสูง 143/104
อัตราการเต้นของหัวใจ HR120
ผู้ป่วยมีอาการสมองบวม
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ให้ออกซิเจน cannula 5 LPM ตามแผนการรักษาแก่ผู้ป่วย
ประเมินสัญญาณชีพ ลักษณะการหายใจ และอาการทางระบบประสาท ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการบกพร่อง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอโดยการเข้าทำหัตถการเตียงผู้ป่วย ใช้เวลาให้น้อยที่สุด และทำให้ครบจบในรอบเดียว ไม่เข้า-ออกเตียงผู้ป่วยหลายครั้งเพราะจะเป็นการรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย การพักผ่อนส่งผลให้เลือด และออกซิเจนไปเลี้ยงสมองดีขึ้น
2.การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีความดันเพิ่มในกะโหลก และระดับความรู้สติเปลี่ยนเเปลง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วย on cannula อัตราการไหล 5 LPM
ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะระบายความดันและเลือด
วัตถุประสงค์
หายใจสะดวกไม่มีเสมหะอุดกัน
อัตราการหายใจของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปลายมือปลายเท้าอุ่น ไม่ซีด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจดูลักษณะการหายใจ หากหายใจมีเสียงครืดคราด ควรดูดเสมหะผู้ป่วย
2.สังเกตลักษณะการหายใจ วัด vital sign ดู ออกซิเจนในเลือด ความดันโลหิต และสังเกตอาการขาดออกซิเจน คือ กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น เขียว หายใจหอบ
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจอยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกซิเจนในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติและไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงการขาดออกซิเจน เช่น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น เขียว หายใจหอบ
Case study
Chief complaint
ผู้ป่วยขยับตัวไม่ได้ ไม่มีปัสสาวะ อุจจาระราด ตื่นทำตามคำสั่งได้ช้า ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลทันที
Present illness
ญาติให้ประวัติว่า เวลา 14.00น.วันที่ 16/02/2566 ผู้ป่วยมีอาการปกติ ตอนทานข้าวเที่ยง จากนั้นไม่ได้พบผู้ป่วย จนถึงเวลา 03.30น. วันที่17/02/2566 พบผู้ป่วยนอนขยับตัวไม่ได้ ตื่นทำตามคำสั่งช้า มีอุจจาระราด จึงนำส่งโรงพยาบาล
General appearance
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 58ปี รู้สึกตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จาก Neuro signs มี Glasgow Coma Scale ลืมตาได้เมื่อเรียก การเคลื่อนไหวทำตามคำสั่งได้ pupils ตาทั้ง2ข้าง สมมาตร ขนาด3 mm มีปฏิกิริยาต่อเเสงดี concest ผู้ป่วยตอบสนองเมื่อมีเสียงเรียก มีเเผลผ่าตัดศีรษะด้านขวา เป็นการผ่าตัดแบบ decompressive craniectomy ปิด gauze ไม่มีbeeding ซึม ต่อสายVentriculostomy drain ผู้ป่วยon cannula อัตราการไหล 5 LPM Monitor O2 sat 100 ผู้ป่วย on NG tube รับอาหาร Blenderized diet (BD) 1:1 300 ml x 4 feeds +น้ำตาม 50 ml/feed ร่างกายติด lead EKG ต่อ Monitor EKG มี Tachycardia อัตราการเต้นของหัวใจ ได้ 117 ข้อพับแขนขวา on injection plug ให้ยา Nicardipine (1:5) 50 mg+ Nss 250 ml rate 20 เป็นยารักษาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง keep BP <160 mmHg Motor Power แขนขวาต้านเเรงผู้ตรวจได้บ้าง ข้อมือซ้ายมีเเผลปิด gauze ไม่มีbeeding ซึม Motor Power แขนซ้าย ขยับได้เล็กน้อย ผู้ป่วย retained Foley’s Catheter ปัสสาวะเหลือง ไม่มีตะกอน ปริมาณปัสสาวะใน urine bag ได้ 500 ขาข้างขวา Motor Power ต้านเเรงผู้ตรวจได้บ้าง on injection plug ให้ยา codarone 150 mg.inj 3ml 900 mg+ 5% dw 500 ml rate 21 เป็นยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาข้างซ้าย Motor Power ขยับได้เล็กน้อย on injection plug ให้ยา Zofalin 2 gm.inj + Nss 50 ml เป็นยาต้านเชื้อเเบคทีเรีย
Past history
HT ความดันโลหิตสูง ไม่ได้ทานยา เป็นเวลา 2 ปี
Diagnose : Acute ischemic stroke (โรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน)
พยาธิสภาพโรคเปรียบเทียบกับผู้ป่วย
พยาธิสภาพของโรค
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการขาดเลือด (ischemic stroke) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 การตีบตันของหลอดเลือดนสมองส่วนใหญ่ มักจะมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดเเข็งตัว(atherosclerosis) และความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นเวลานานโดยภาวะหลอดเลือดแข็งตัวจะทำให้รูของหลอดเลือดแดงในสมองมีขนาดเล็กลง จนเลือดไม่สามารถไหลเวียน ไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ การตีบตันหลอดเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกแห่งของหลอดเลือดสมอง โดยจะพบมากที่บริเวณหลอดเลือดแดงส่วนกลาง (middle cerebral arteries)
1.2 การอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากลิ่มเลือดที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด ต้นกำเนิดของลิ่มเลือดดังกล่าวมักเกิดจากหัวใจ ภาวะหรือโรคหัวใจที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (atrial fibrillation) โรคลิ้นหัวใจ (vulvular heart disease) หรือจาก การใส่ลิ้นหัวใจเทียม และภายหลังการผ่าตัดหัวใจ การอุดตันของหลอดเลือดสมองที่เกิดจากสิ่งอุดกั้น อื่น ๆ ที่ลอยในกระแสเลือด เช่น ฟองอากาศ ชิ้นส่วนของไขมันที่เกิดภายหลังจากการได้รับบาดเจ็บ หรือกระดูกหัก เป็นต้น
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะเลือดออก (hemorrhagic stroke) สาเหตุสําาคัญ ได้แก่ ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งพบร่วมกับผนังของหลอดเลือดสมองขนาดเล็กอ่อนแอ ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่าย เมื่อเกิดการฉีกขากของหลองเลือดสมอง เลือดที่ออกมาจากการเเตกของ หลอดเลือดจะรวมตัวกันเป็นก้อนเลือด (hematoma) เข้าไปเบียดแทนที่เนื้อสมองบริเวณที่มีการแตก
อาการ และอาการเเสดง
โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage) มักเกิดจากการแตกของหลอดเลือดที่โป่งพองบริเวณชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง สาเหตุการแตกของหลอดเลือด มักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ กระแทก อุบัติเหตุ ความดันโลหิตสูง หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง