Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติ สภาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖ - Coggle Diagram
พระราชบัญญัติ สภาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖
มาตรา๑พระราชบัญญัตินี้เรียกว่าพระราชบัญญัติสภาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา๒ให้ใช้ตั้งเเต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจนุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา๔กระทรวงหมายความว่ากระทรวงศึกษาธิการ วิชาชีพหมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน ใบอนุญาติหมายความว่าใบอนุญาติประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำเเหน่ง เจ้าหน้าที่หมายความว่าบุคคลที่ได้รับการเเต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๕การประกอบวิชาชีพต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์บังคับพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๖ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด๑ สภาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา ส่วนที่๑ บททั่วไป
มาตรา๘คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกเเละเพิกถอนใบอนุญาติ ๒กำหนดนโยบายเเละเเผนพัฒนาวิชาชีพ ๓ประสานส่งเสริมการศึกษา
มาตรา๙คุรุสภามีอำนาจดังนี้๑กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ๒ควบคุมความประพฤติ๓ออกใบอนุญาติ๔พักใช้ใบอนุญาติหรือเพิกถอน๕สนับสนุนส่งเสริมเเละพัฒนาวิชาชีพ๖สนับสนุน ยกย่อง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา๗รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร๘ รับรองความรู้เเละประสบการณ์ทางวิชาชีพ๙ส่งเสริมการศึกษา๑๐เป็นตัวเเทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย๑๑ ออกข้อบังคับของคุรุสภา๑๒ให้คำปรึกษาหรือเสนอเเนะ๑๓ให้คำเเนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี๑๔กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ ๑๕ ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
มาตรา๗ให้มีสภาครูเเละบุคลากรทางการศึกษาเรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา๑๐คุรุสภาอาจมีรายได้ดังนี้๑ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้๒เงินอุดหนุนจากงบประมาณเเผ่นดิน๓ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สิน๔เงินที่มีผู้อุทิศให้๕ดอกผลของเงินเเละทรัพย์สิน
มาตรา๑๑ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี
ส่วนที่๒คณะกรรมการคุรุสภา
คณะกรมการคุรุสภาประกอบไปด้วย๑ประธานกรรมการ๒กรรมการโดยตำเเหน่ง๓กรรมการผู้ทรงคุณวุติจำนวน๗คน๔กรรมการซึ่งได้รับการเเต่งตั้ง๕กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรา๑๓ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุติต้องมีคุณสมบัติทั่วไปเเละไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๑๔กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตำเเหน่งครู ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ
มาตรา๑๕ นอกเหนือจากมาตรา๑๔ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนเเละมีประสบการณ์ในตำเเหน่งรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี
มาตรา๑๖กรรมการตามมาตรา๑๒ให้อยู่ในตำเเหน่งคราวละ๔ปีเเต่จะดำรงตำเเหน่งสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา๑๗พ้นจากตำเเหน่งเมื่อ ตาย ลาออก รัฐมนตรีใหเออก ขาดคุณสมบัติ
มาตรา๑๘ก่อนครบวาระการดำรงตำเเหน่งของกรรมการตามมาตรา๑๒ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
มาตรา๑๙ในกรณีพ้นตำเเหน่งก่อนครบวาระให้เเต่งตั้งผู้อื่นจัดสรรหาในลำดับถัดไป
มาตรา๒๐ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจดังต่อไปนี้๑ บริหารเเละดำเนินตามวัตถุประสงค์๒ให้คำปรึกษาเเละเเนะนำ๓พิจารณาวินิจฉัยอุธรณ์คำสั่ง
ส่วนที่๓คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรา๒๑ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย๑ประธานกรรมการ๒กรรมการโดยตำเเหน่ง๓กรรมการผู้ทรงคุณวุติจำนวนสี่คน๔กรรมการจากครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์๕กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนหกคน
มาตรา๒๒การสรรหา การเลือก ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภา
มาตรา๒๓ กรรมการมาตรฐานวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติเเละไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๒๔กรรมการตามมาตราให้อยู่ในตำเเหน่งคราวละ๔ปีเเต่จะดำรงตำเเหน่งสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา๒๕คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจเเละหน้าที่ดังต่อไปนี้๑พิจารณาออกใบอนุญาติ๒กำกับดูเเลการปฎิบัติตามมาตรฐาน๔ส่งเสริมยกย่อง๕เเต่งตั้งที่ปรึกษา๖ปฎิบัติการอื่นใดตามที่กฏหมายกำหนดไว้๗พิจารณาหรือดำเนินการเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนที่๔การดำเนินงานของคุรุสภา
มาตรา๒๖ให้คณะกรรมการคุรุสภาประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง
มาตรา๒๗ถ้าประธานไม่อยู่ให้เลือกใครคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา๒๘ให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมเเละชี้เเจงความเห็นในที่ประชุมเรื่องใดก็ได้
มาตรา๒๙ให้นำความในมาตรา๑๖เเละ๒๗มาบังคับใใช้ในที่ประชุม
มาตรา๓๐ให้กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฏหมายอาญา
มาตรา๓๑ให้คณะกรรมการมีอำนาจส่งเอกสารหรือวัตถุพยานที่จำเป็นต่อการดำเนินงานตามอำนาจเเละหน้าที่
๓๒ให้กรรมการคุรุสภาได้รับเบี้ยประชุมเเละประโยขน์ตอบเเทนอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา๓๓กรรมการคุรุสภาจะดำรงตำเเหน่งในคราวเดียวกันไม่ได้
มาตรา๓๔ให้มีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ต่อไปนี้๑รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา๒ประสานเเละดำเนินกิจกรรมอื่นที่ครุมอบหมาย๓จัดทำรายงานประจำปี
มาตรา๓๕คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจสรรหา เเต่งตั้งเเละถิดถอนเลขาธิการคุรุสภา
มาตรา๓๖เลขาธิการคุรุสภาต้องทำงานได้เต็มเวลาเเละต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปเเละไม่มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๓๗เลขาธิการคุรุสภามีวาระอยู่ในตำเเหน่งคราวละสี่ปีเเต่จะดำรงตำเเหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา๓๘เลขาธิการคุรุสภาพ้นตำเเหน่งเมื่อ ตาย ลาออก คณะกรรมการคุรุสภาให้ออก มีลักษณะต้องห้าม
มาตรา๓๙เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่ ๑ดูเเลรักษาทะเบียนผู้รับใบอนุญาติ ๒ควบคุมดูเเลทรัพย์สิน๓เสนอรายงานประจำปี
มาตรา๔๐เลขาธิการคุรุสภา มีอำนาจดังนี้ ๑บรรจุ เเต่งตั้ง เลื่อนลด ตัดเงินเดือน ลงโทษทางวินัย๒วางระเบียบการดำเนินงานโดยไม่ขัดกับที่คณะกรมมการคุรุสภากำหนด
มาตรา๔๑เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฎิบัติงานเฉพาะอย่างเเทนก็ได้เเต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คุรุสภากำหนด
มาตรา๔๒ให้คณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้กำหนดเงินเดือนเเละผลประโยชน์ของเลาขาธิการครุสภาโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ส่วนที่๕การประกอบวิชาชีพควบคุม
มาตรา๔๓ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๔๔ผู้ขออนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมต้องมีคุณสมบัติเเละไม่มีลักษณะต้องห้ามดังในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา๔๕การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การกำหนดอายุใบอนุญาติ การต่ออายุใบอนุญาติ การขอรับใบเเทนใบอนุญาติ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
๔๖ห้ามมิให้ผู้ใด เเสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา
มาตรา๔๗ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับเเห่งข้อจำกัดเเละเงื่อนไขตามข้อบังคับของคุรุสภา
มาตรา๔๘ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาติต้องประพฤติตนตามมาตรฐานเเละจรรยาบรรณ
มาตรา๔๙ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ๑ มาตรฐานความรู้เเละประสบการณ์๒มาตรฐานการปฏิบัติงาน๓ มาตรฐานการปฏิบัติตน
มาตรา๕๐มาตรฐานการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพ๑จรรยาบรรณต่อตนเอง๒จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ๓จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ๔จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ๕จรรยาบรรณต่อสังคม
มาตรา๕๑บุคคลได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้ได้รับใบอณุญาตมีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตโดยยื่นต่อคุรุสภา
๕๒เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาตามมาตรา๕๑ให้เลขาธิการเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
มาตรา๕๓ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือเเจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนเริ่มพิจารณา
มาตรา๕๔คณะกกรมการวิชาชีพมีอำนาจวินิฉัยชี้ขาดดังนี้๑ยกข้อกล่าวหา๒ตักเตือน๓ภาคทันฑ์๔พักใช้ใบอนุญาติเเต่ไม่เกินห้าปี๕เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา๕๕อุทรคำวินิฉัยภายในสามสิบวันนับตั้งเเต่วันได้รับเเจ้งคำวินิฉัย
มาตรา๕๖ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตในระหว่างพักใช้ ใช้ใบอนุญาตใให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
มาตรา๕๗ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นห้าปี
ส่วนที่๖สมาชิกคุรุสภา
มาตรา๕๘สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท๑สมาชิกสามัญ๒สมาชิกกิตติมศักดิ์
๕๙สมาชิกสามัญต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา๑๓เเละเป็นผู้มีใบอนุญาต สมาชิกกิตติมศักดิ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาเเต่งตั้งโดยมติเอกฉันท์
มาตรา๖๐สิทธิเเละหน้าที่ของสมาชิกสามัญ๑เเสดงความคิดเห็นซักถาม๒เลือก รับเลือกตั้ง๓ชำระค่าธรรมเนียมตามประกาศของคุรุสภา๔ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์เเห่งวิชาชีพ
มาตรา๖๑สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดเมื่อ๑ตาย๒ลาออก๓ขาดคุณสมบัติ๔ครุสภาถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์๕ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา๓ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับ๑ถึง๖
หมวด ๒ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
สวนที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๖๒ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
๑ ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ
๒ ส่งเสริมความสามัคคี
๓ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
๔ ส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา
มาตรา ๖๓ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑ ดำเนินงานสวัสดิการ สวัสดิภาพ
๒ ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง
๓ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามสมควร
มาตรา ๖๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
๑ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
๒ กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธการสภาการศึกษา
๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน
๔ กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกาอบวิชาชีพทางการศึกษา
มาตรา ๖๕ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา ๖๔ (๓) และ (๔) ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖๖ การประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้นำความในมาตรา ๒๖ และ มาตรา ๒๗ มาใข้บังคับโดยอนุโลม
ส่วนที่ ๒
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๖๗ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑ รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมาย
๓ จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรา ๗๐ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เต็มเวลา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๖
มาตรา ๖๘ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีรายได้ ดังต่อไปนี้
๑ เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
๒ เงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ
๓ เงินผลประโยชน์ต่างๆ จากการลุงทุนและการจัดหาผลประโยชน์
๔ เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศ
๕ ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖ ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม ๒ ๓ ๔ และ ๕
มาตรา ๖๙ ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงาน รวมทั้งดำเนินการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมาย
มาตรา๗๑ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
๑ ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒ เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับดำเนินงานต่างๆ
๓ เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามวัตถุประสงค์
มาตรา ๗๒ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจดังนี้
๑ บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรืค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานเจ้าหน้าที่ตลอดจนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกจากตำแหน่ง
๒ วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
มาตรา ๗๓ ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมายเป็นผู้แทนของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการนี้ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
มาตรา ๗๔ ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หมวด๓ การกำกับดูแล
มาตรา๗๖ ให้คุรุสภาเสนอรายงานประจำปีเกียวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆของคุรุสภา
มาตรา๗๗ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจการปฎิงานด้านการเงินการบัญชีของคุรุสภาเป็นประจำทุกปี
มาตรา ๗๕ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำกับดูแลการดำเนินงานของคุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพทางบุคลากรทางการศึกษา
(2) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(3) สั่งเป็นหนังสือให้คุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาระงับหรือแก้ไขการกระทำใดๆที่ปรากฎว่าขัดต่อวัตถุประส่งค์ของคุรุสภา
หมวด๔ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา43ต้องระวังโทษไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรืทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา๗๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา46หรือมาตรา56ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ