Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค, บุคคลสำคัญ, แหล่งอ้างอิง
การแสดงพื้นบ้านThai.(ม…
การแสดงพื้นเมือง 4 ภาค
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง
-
-
ประวัติความเป็นมา
ภาคกลางมีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายเหมาะแก่การกสิกรรม ทำนา ทำสวน และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ
-
-
-
-
ตัวอย่างการแสดง
ระบำชาวนา
การแต่งกาย
แต่งชุดม่อฮ่อมเพราะเป็นชุดที่เรียบง่าย ไม่หรูหรา เป็นชุดพื้นบ้าน ที่เห็นแล้วทำให้รู้ได้เลยว่าการแสดงชุดนี้ต้องเกี่ยวกับการทำนา
ฉาก อุปกรณ์
เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการทำนาตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเกี่ยวข้าว
อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ เมล็ดข้าว เคียวเกี่ยวข้าว รวงข้าง กระด้ง เป็นต้น
ดนตรีที่ใช้ประกอบ
ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีมีจังหวะที่สนุกสนาน
เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และให้หายเหนื่อยจากการทำนา
ท่าทางสื่อความหมาย
ท่ารำเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา
เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น
-
ประวัติความเป็นมา
เป็นระบำชุดหนึ่งที่กรมศิลปกรมอบให้
ครูมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แต่งทำนองเพลง และท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ประดิษฐ์
ลีลาท่ารำและทำนองเพลง สะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพกสิกรรมของชาวนาผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ
-
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
ประวัติความเป็นมา
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย และมีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม การพูดจาไพเราะมีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลง ดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า “ฟ้อน”
-
ตัวอย่างการแสดง
ฟ้อนเทียน
ลักษณะการแสดง
ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ถือเทียนจุดเทียนมือละเล่ม นิยมแสดงในเวลากลางคืน ความงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่ผู้ฟ้อนหมุนข้อมือและลีลาการเคลื่อนไหวช้าๆ ทำให้เห็นแสงเทียนเดินเป็นทาง มีการแปรขบวน ควงคู่ สลับแถว ฯลฯ
การแต่งกาย
นุ่งซิ่นยาวกรอม สวมเสื้อแขนยาว คอปิด คาดเข็มขัดทับ ห่มสไบ เกล้าผมมวยสูง ประดับดอกไม้ล้อมมวย ห้อยอุบะยาวเคลียไหล่ ถือเทียนมือละเล่ม
-
ฟ้อนเทียน เป็นการแสดงสำคัญอย่างหนึ่งของไทยภาคเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง 2 มือ ยิ่งมีนักฟ้อนมากยิ่งดี ฟ้อนเทียนนี้เดิมเป็นการฟ้อนบูชาแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ เมื่อก่อนเป็นการแสดงประกอบพิธีเฉพาะงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านาย เชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ความงามของการฟ้อนอยู่ที่การได้ชมแสงวับๆ แวมๆ จากดวงเทียนที่ถือในมือ การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน คือเมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือ ให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำต่อๆกันมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยอาศัยเค้าโครงของเก่า
-
-
บุคคลสำคัญ
พ่อครูคำ กาไวย์
-
-
-
ผลงาน : พ่อครูคำ ได้คิดค้นและประดิษฐ์ชุดการแสดงจำนวนมาก และผลงานที่โดดเด่นคือ การคิดค้นท่ารำ ร่วมกับอาจารย์ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
-
-
นายมานพ ยาระณะ
-
-
-
-
ผลงาน : เป็นผู้ประดิษฐ์กระบวนท่า “ฟ้อนผาง” ขึ้นใหม่ จนเป็นแบบฉบับของการทำตำราเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
-
-
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้
-
ประวัติความเป็นมา
โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเลฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง ประชากรจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีและบุคลิกบางอย่างที่คล้ายคลึงกันคือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจ รวดเร็ว เด็ดขาด มีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่นที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้
การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น
-
ตัวอย่างการเเสดง
โนรา
เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้ มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า มโนห์รา
ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา มีความเป็นมาหลายตำนานในแต่ละจังหวัด ทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
การเเต่งกาย
การแต่งกายของโนรา ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก จะแต่งเหมือนกันหมด ตามขนบธรรมเนียม เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่น ๆ ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง หรือ "พาไล" และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม "เทริด" ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ
เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักรแถบใต้ อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนราไป สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย
-
-
-
-
บุคคลสำคัญ
นายอิ่ม จิตต์ภักดี
ประวัติ : เกิดเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 ตรงกับวันจันทร์ ที่บ้านคลองช้าง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
-
-
-
-
-
-
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
ประวัติความเป็นมา
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้ง ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จีงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส
การแสดงของภาคอีสานมักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้ามีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลัง
-
-
-
-
บุคคลสำคัญ
-
ครูลมุล ยมะคุปต์
ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากรในฐานะผู้เชี่ยวชาญ : ฟ้อนแคน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-