Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดง
พื้นบ้าน4ภาค, image, xitgriu1, image, จระเข้, ดาวน์โหลด (4),…
การแสดง
พื้นบ้าน4ภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ฟ้อนภูไทเรณูนคร
การฟ้อนภูไทเรณูนคร เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร
การแต่งกาย
หญิงแต่งตัวแบบพื้นเมืองเดิม เกล้ามวยผม ใส่เล็บยาว ผูกแถบผ้าสีแดงบนมวยที่เกล้าไว้ ชายนุ่งกางเกง ใส่เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าคาดพุง และมีผ้าพันศีรษะ
ดนตรี
เครื่องดนตรีประกอบที่ใช้ในการเล่น ประกอบด้วย กลองสั้น กลองยาว ตะโพน ม้าล่อรำมะนา แคน ฉิ่ง ฉาบ
ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์
การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนประกอบทำนองหมอลำภูไท ซึ่งเป็นทำนองพื้นเมืองประจำชาชาติพันธุ์ภูไท ซึ่งปกติแล้วการแสดงหมอลำภูไท มักจะมีการฟ้อนรำประกอบกันไปอยู่แล้ว ซึ่งทำให้การฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ในแต่ละอำเภอหรือหมู่บ้าน จะมีท่าฟ้อนที่แตกต่างกัน
การแต่งกาย
สวมเสื้อแขนกระบอกสีดำ แนวปกคอเสื้อและแนวกระดุมตกแต่งด้วยผ้าแถบลายแพรวาสีแดง กุ๊นขอบลายผ้าด้วยผ้ากุ๊นสีเหลืองและขาว ประดับด้วยกระดุมเงิน ห่มผ้าสไบไหมแพรวาสีแดง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ภูไทมีตีนซิ่นยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยมัดมวยผมด้วยผ้าแพรมน
ดนตรี
แบบดั้งเดิม ใช้ แคน กลองกิ่ง กลองตุ้ม กลองแตะ กลองยาว ฆ้องโหม่ง พังฮาด ไม้กั๊บแก๊บ สำหรับวงโปงลาง ใช้เครื่องดนตรีครบชุดของวงโปงลาง
ศิลปินทรงคุณค่า
นายเปลื้อง ฉายรัศมี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(ดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง) ผลงาน
- เขาศึกษาค้นคว้า ปรับปรุงและพัฒนา "เกราะลอ" ให้เป็นโปงลางตลอดระยะเวลา 40 ปี
- มีความสามารถพิเศษในการเล่น และ ถ่ายทอด ในการเล่นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานได้เกือบทุกชนิด
เช่น พิณ แคน และโดยเฉพาะ โปงลาง
แหล่งข้อมูล https://www.isangate.com/
วันที่ค้นหา 18/12/64
นางบุญเพ็ง ไฝผิวชัย
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(หมอลำ)ผลงาน
- กลอนลำแต่ละคำของเธอมีความโดดเด่นใน ทางด้านสาระปรัชญาชีวิต คติสอนใจ จนเธอได้รับความนิยม และในไม่นาน ในปี พ.ศ.2498 เธอก็เป็นหมอลำหญิงคนเดียว ที่ได้รับการบันทึกแผ่นเสียงมากที่สุด
- ได้รับฉายาว่า "ราชินีหมอลำกรอน"
แหล่งข้อมูล https://www.isangate.com/
วันที่ค้นหา 18/12/64
-
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสะบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
-
ภาคเหนือ
-
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น ที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” มีลักษณะการแสดงลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อย นุ่มนวล และสวยงาม แต่การแสดงบางชุดได้รับอิทธิพลจากศิลปะของพม่า เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนบายศรีตีกลองสะบัดชัย ฟ้อนสาวไหม การแต่งกายแบบพื้นบ้านภาคเหนือ ดนตรีที่ใช้คือ วงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว
การฟ้อนเล็บ
ฟ้อนเล็บเป็นศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางภาคเหนือโดยเฉพาะรูปแบบการฟ้อนมีอยู่ ๒ แบบ คือแบบพื้นเมืองหรือฟ้อนเมือง และแบบคุ้มเจ้าหลวง กระบวนท่ารำเป็นลีลาท่าฟ้อนที่มีความงดงามเช่นเดียวกับฟ้อนเทียน เพลงแต่ไม่ถือเทียน นิยมฟ้อนในเวลากลางวัน สำหรับชื่อชุดการแสดงจะมีความหมายตามลักษณะของผู้แสดงที่จะสวมเล็บยาวสีทองทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ
การฟ้อนรำ
การฟ้อนรำแบบดั้งเดิม แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ ฟ้อนเมือง ฟ้อนม่าน และฟ้อนเงี้ยวดังต่อไปนี้
๓. ฟ้อนเงี้ยว ความจริงแล้ว ฟ้อนเงี้ยวเป็นการฟ้อนตามแบบแผนของชาวไตหรือไทยใหญ่ การฟ้อนของชาวไตมีหลายแบบ ส่วนใหญ่แล้วมักใช้กลองก้นยาว ฉาบ และฆ้อง เท่านั้น มีอยู่บ้างที่ใช้ดนตรีอื่น คือ ฟ้อนไต
ฟ้อนเงี้ยวแบบดั้งเดิม เป็นการฟ้อนรำของผู้ชายฝ่ายเดียว ไม่มีผู้หญิงปนเหมือนที่มีการประยุกต์ขึ้นใหม่ ตามแบบดั้งเดิมนั้นไม่กำหนดท่ารำที่แน่นอน แต่จะออกท่ารำ ต่าง ๆ ผสมการตลกคะนองไปด้วยในตัว ไม่ลง “มง แซะ มง …” แต่จะออกทำนองกลองก้นยาว คือ “บอง บอง บอง เบอง เทิ่ง บอง” การแต่งกายก็แต่งแบบชาวไตมีการพันศรีษะด้วยผ้าขาวม้า
ฟ้อนกินราหรือกิงกะหลา แบบเดิมเป็นอย่างไรไม่อาจระบุชัดได้ เพราะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงออกไปต่าง ๆ แม้การแต่งกายก็เช่นเดียวกัน เดิมนั้นเป็นการรำเลียนแบบนก มีการรำคู่กัน เกี้ยวพาราสีกัน หรือหยอกล้อเล่นหัวกัน ดนตรีที่ใช้ประกอบการรำก็คือกลองก้นยาว ฉาบ ฆ้อง ไม่มีการร้อง
๒. ฟ้อนม่าน หมายถึงการฟ้อนรำตามแบบอย่างของพม่าหรือมอญ คงจะเป็นด้วยเมื่อครั้งเชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า จึงมีการถ่ายทอดแบบอย่างการฟ้อนรำ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ได้แก่
รำม่านหรือฟ้อนพม่า เป็นการรำตามแบบแผนของพม่า โดยการยกแขยแอ่นตัวยืดขึ้นสูง แล้วทิ้งตัวลงต่ำทันที จึงดูคล้ายการเต้นช้า ๆ แต่อ่อนช้อย มีทั้งที่รำเดี่ยวและรำหมู่ ตลอดจนรำเป็นคู่หญิงชาย แต่ค่อนข้างหาดูได้ยาก ทั้งท่ารำก็ไม่ค่อยมีแบบแผนมากนัก ดนตรีประกอบใช้ดนตรีพื้นเมืองที่ออกสำเนียงพม่าหรือมอญ
ฟ้อนผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำโดยการเข้าทรงเช่นเดียวกับฟ้อนผีมด นิยมเล่นในงานสงกรานต์ตามแบบแผนของชาวรามัญ (มอญ) ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในดินแดนล้านนาส่วนหนึ่งหลังจากอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและพม่าเคยกวาดต้อนเอาเข้ามาอยู่ตามหัวเมืองเหนือ ในการฟ้อนนี้จะตั้งเตาไฟและหม้อดินบรรจุปลาร้าไว้ตรงหน้าโรงพิธีซึ่งปลูกแบบเพิงง่าย ๆ การฟ้อนเริ่มด้วยการที่ผู้เข้าผีเริ่มขยับร่างกาย
๑. ฟ้อนเมืองหมายถึงการฟ้อนรำแบบพื้นเมือง เป็นการฟ้อนรำที่มีแบบอย่างถ่ายทอดสืบ ต่อกันมานานอันประกอบด้วยการฟ้อนรำ ดนตรี และการขับร้อง ซึ่งฟ้อนบางอย่างก็มีแต่ดนตรีกับฟ้อนแต่ไม่มีการขับร้องอาจจำแนกได้หลายชนิด
ฟ้อนเล็บแบบดั้งเดิม ผู้แสดงเป็นหญิงทั้งหมด ใช้ดนตรีประกอบคือ วงติ่งโนง ประกอบด้วยกลองแอว (กลองติ่งโนง) หรือกลองหลวง กลองตะโล้ดโป้ด ปี่แนน้อย ปี่แนหลวง ฉาบ ฆ้อง ฟ้อนเล็บนี้ภายหลังได้รับการปรับปรุงใหม่ ทำให้ลีลาการฟ้อนรำแตกต่างออกไปจากเดิมบ้าง
ฟ้อนแง้น เป็นที่นิยมอยู่ในแถบจังหวัดแพร่ น่าน เชียงราย พะเยา ประกอบการบรรเลงดนตรีสะล้อซึงและปี่ เมื่อซอสิ้นคำลงและปี่เป่ารับตอนท้ายก็ฟ้อนรำ ฟ้อนได้ทั้งหญิงและชาย ฯลฯ
อาณาบริเวณทางภาคเหนือของไทย ที่เรียกว่า “ล้านนา”นั้น เคยมีประวัติอันซับซ้อนและยาวนานเทียบได้กับสมัยสุโขทัย ถือว่าเป็นศูนย์กลางทั้งด้านปกครอง การเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือมีความเด่นอยู่ในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าเคยอยู่ในอำนาจของรัฐอื่น ๆ มาบางระยะบ้าง ก็มิได้ทำให้รูปแบบของการแสดงต่าง ๆ เหล่านั้นเสื่อมคลายลง ส่วนที่ได้รับอิทธิพลก็มีอยู่บ้าง แต่ก็ได้รับการประยุกต์ให้เขารูปแบบของล้านนาดั้งเดิมอย่างน่าชมเชยมาก แสดงว่าสามารถรักษาเอกลักษณ์ไว้ได้อย่างสมบูรณ์
-
-
การแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น 8 หรือ 10 คน แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น และความจำกัดของสถานที่ โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะและอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย มีอุบะห้อยศีรษะ
-
ดนตรี
ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมมี จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ
กลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผน เร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทาให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้คนที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
-
ภาคกลาง
ศิลปินทรงคุณค่า
นางบัวผัน จันทร์ศรี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(เพลงพื้นบ้านภาคกลาง)ผลงาน
- เธอมีความคิดที่เป็นเลิศ สามารถด้นสดและแต่กลอนคำร้องได้อย่างคมคาย สามารถบอกเพลงได้โดยไม่ติดขัด มีความจำที่เป็นเยี่ยม
โดดเด่นในเรื่องของการขับร้องเพลงอีแซ่ว และ เพลงฉ่อย
- และยังได้ร่วมบันทึกเพลงพื้นบ้านต่างๆ เพื่อคนรุ่นหลังไว้อย่างมาก
แหล่งข้อมูล https://th.wikipedia.org/
วันที่ค้นหา 18/12/64
นางขวัญจิต ศรีประจันต์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(เพลงพื้นบ้าน-อีแซ่ว)ผลงาน
- เธอมีความสามารถในการเล่นเพลงที่หาตัวจับได้ยาก
เป็นแม่เพลงพื้นบ้านภาคกลางที่มีชื่อเสียง และ อุทิศชีวิต
ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและ เผยแผ่เพลงอีแซ่วมาจนถึงปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล https://th.wikipedia.org/
วันที่ค้นหา 18/12/64
-
ภาคกลางเป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงมีการถ่ายทอดสืบต่อกัน และพัฒนาดัดแปลงขึ้นเรื่อยๆ จนบางอย่างกลายเป็นการแสดงนาฏศิลป์แบบฉบับไปก็มี เช่น รำวง เป็นต้น และเนื่องจากเป็นที่รวมของศิลปะนี้เอง ทำให้คนภาคกลางรับการแสดงของท้องถิ่นใกล้เคียงเข้าไว้หมด แล้วปรุงแต่งตามเอกลักษณ์ของภาคกลางคือ การร่ายรำที่ใช้มือ แขน และลำตัว เช่นการจีบมือ ม้วนมือ ตั้งวง การอ่อนเอียงและยักตัว สังเกตได้จาก รำลาวกระทบไม้ ที่ดัดแปลงมาจาก เต้นสาก การเต้นเข้าไม้ของอีสานในการเต้นสากก็เป็นการเต้นกระโดดตามลีลาอีสาน แต่การรำลาวกระทบไม้ที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นใหม่นั้น นุ่มนวลอ่อนหวาน กรีดกรายร่ายรำ แม้การเข้าไม้ก็นุ่มนวลมาก
รำกลองยาว
รำกลองยาวหรือบางครั้งเรียกว่ารำเถิดเทิง สาเหตุที่มีชื่อเรียกว่ารำเถิดเทิงก็เนื่องมาจากเสียงกลองยาวที่เวลาตีมีเสียงคล้าย ๆ คำว่าเถิดเทิงนั่นเอง การแสดงชุดนี้ใช้แสดงเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ หรือในงานบวช เครื่องแต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของภาคกลางรำกลองยาว สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่าทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรีในเวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น "กลองยาว" พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง และมีกลองยาวเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
การแต่งกาย
- ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
- หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ สร้อยคอ และต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย
รำสีนวล
เป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบการแสดงละคร ประกอบกิริยาไปมาของสตรีที่มารยาทกระชดกระช้อย ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความพริ้งเพราไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ทำนองร้องขึ้นประกอบการรำซึ่งทำให้ความหมายของเพลงเด่นชัด ปรากฏเป็นภาพงดงามเมื่อมีผู้ร่ายรำประกอบแต่เดิมการรำเพลงสีนวลมีอยู่แต่ในเรื่องละคร ภายหลังจึงแยกออกมาใช้เป็นระบำเบ็ดเตล็ด เพราะมีความงดงามไพเราะทั้งในชั้นเชิงของทำนองเพลง และท่ารำความหมายของการรำสีนวล เป็นไปในการบันเทิงรื่นรมย์ของหญิงสาวแรกรุ่นที่มีจริตกิริยางดงามตามลักษณะกุลสตรีไทย ด้วยความที่ทำนองเพลง บทขับร้อง และท่ารำที่เรียบง่ายงดงาม จึงเป็นชุดนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปจำนวนผู้แสดง ใช้แสดงเป็นหมู่ หรือแสดงเดี่ยวก็ได้ ตามโอกาสที่เหมาะสมดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์
สีนวลเป็นการรำของผู้หญิงพื้นเมืองภาคกลาง ลักษณะการแต่งกายจะห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน ปล่อยผม ทัดดอกไม้ด้านซ้าย สวมเครื่องประดับ สร้อยคอ ตุ้มหู สะอิ้งนาง และกำไลเท้า
-
-
-
ระบำชาวนา
ซึ่งผู้แต่งทำนองเพลงนี้คือ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ ส่วนท่ารำนั้นท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้คิดและออกแบบท่ารำ เมื่อได้ชมการแสดงระบำชาวนา แล้วจะมีสุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ที่เกิดขึ้นดังนี้
ตัวละคร เครื่องแต่งกายตัวละครนั้นจะเป็นชาวบ้านทั้งหญิงและชาย จะเป็นแต่งชุดม่อฮ่อม ซึ่งเป็นชุดที่เรียบง่าย
-
-
ภาคใต้
-
-
การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ ศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ - วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง วัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง
โนรา
เป็นการร่ายรำตามแบบฉบับของชาวปักษ์ใต้ มีการขับร้องประกอบดนตรีการรำโนราน่าจะเป็นวัฒนธรรมของอินเดียมาแต่เดิม แล้วแพร่หลายเข้าสู่ชวา มลายู ในช่วงที่อาณาจักรศรีวิชัยกำลังรุ่งเรือง
-
-
ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู
ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจาก
คำว่า ลิเก ส่วนการขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
องค์ประกอบ
-
-การเเต่งกาย ผู้เล่นลิเกฮูลูนิยมนุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะ
-เครื่องดนตรี เล่นลิเกฮูลู ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้องเป็นเครื่องกำกับจังหวะ
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-