Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค, การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน, นายวุฒิพร ทองเพ็ง เลขที่…
การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค
ภาคกลาง(ระบำชาวนา)
ความเป็นมา
เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลางสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน สื่อให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงามหลังจากนั้นพากันร้องรำทำเพลงเพื่อความบันเทิง
ตัวละคร เครื่องแต่งกาย
ตัวละครนั้นจะเป็นชาวบ้านทั้งหญิงและชาย จะเป็นแต่งชุดม่อฮ่อม ซึ่งเป็นชุดที่เรียบง่าย ไม่หรูหรา เป็นชุดพื้นบ้าน ที่เห็นแล้วจะทำให้รู้ได้เลยว่าการแสดงชุดนี้ต้องเกี่ยวกับการทำนา
ท่าทางสื่อความหมาย
ท่ารำจะเป็นท่าที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา เป็นขั้นตอนการทำนาตั้งแต่เริ่มหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าว ฝัดข้าว เป็นต้น
-
-
วิธีในการเล่นระบำชาวนา
จะแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายชาย เรียกว่า พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
บุคคลสำคัญ
-
เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๔๔๖ เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ถวายตัวในสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์ลีลาท่ารำของระบำชาวนา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๓ ( ๙๖ ปี )
ภาคเหนือ (ฟ้อนเล็บ)
-
บุคคลสำคัญ
-
-
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์พื้นเมืองล้านนา) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ อดีตนักร้องในวังพระราชชายาเจ้าราดารัศมี เปิดโรงเรียนที่ภาคเหนือและสอนเพลงพื้นเมืองจนแพร่หลาย เกิด ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๖ เสียชีวิต ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ (๙๐ ปี)
ท่าทางสื่อความหมาย
มีการแบ่งท่ารำออกเป็น ๔ ชุด คือ
ชุดที่ ๑ประกอบด้วยท่า จีบหลัง (ยูงฟ้อนหาง) บังพระสุริยา วันทา บัวบา กังหันร่อน ชุดที่ ๒ประกอบด้วยท่า จีบหลัง ตระเวนเวหา รำกระบี่สี่ท่า พระรถโยนสาร ผาลาเพียงไหล่ บัวชูฝัก กังหันร่อน ชุดที่ ๓ ประกอบด้วยท่า จีบหลัง พรหมสี่หน้า พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อน ชุดที่ ๔ ประกอบด้วยท่า จีบหลัง พรหมสี่หน้า พิสมัยเรียงหมอนแปลง ตากปีก
-
ตัวละครและเครื่องแต่งกาย
ฟ้อนแต่ละชุดจะใช้จำนวนคนแตกต่างกันไป นิยมกันมี 4 คู่ 6 คู่ 8 คู่ หรือ 10 คู่
จะแต่งกายแบบไทยชาวภาคเหนือสมัยโบราณ สวมเสื้อทรงกระบอกแขนยาว คอกลมห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง และ สวมเล็บมือยาว 8 นิ้ว เว้นแต่นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ
ความเป็นมา
ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนชนิดหนึ่งของชาวไทยในภาคเหนือ ลีลาท่ารำคล้ายกับฟ้อนเทียน แต่เดิมเรียก "ฟ้อนเล็บ" ด้วยเห็นว่าเป็นการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของ "คนเมือง" เนื่องจากมีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง 8 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า "ฟ้อนเล็บ”
ภาคอีสาน (เซิ้งโปงลาง)
-
ท่าทางการแสดง
ใช้ท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นตามทำนองเพลง อันเกิดจากความบันดาลใจ ด้วยลีลาแคล่วคล่องว่องไวกระฉับกระเฉง สนุกสนาน ใช้ร่างกายเบื้องต้น ท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู เป็นต้น
บุคคลสำคัญ
หมอลำเคน ดาเหลา
เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ใช้ชีวิตที่ขอนแก่นหลายสิบปี เริ่มแสดงหมอลำ ตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี เป็นศิลปินหมอลำอาวุโส ที่มีลีลาการลำและศิลปะการแสดงเป็นแบบฉบับ นอกจากนั้นยังมีปฏิภาณและคารมที่เฉียบคม นัยว่าเป็นหมดลำชั้นครูผู้หนึ่ง ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น “ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๑” และ “ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(หมอลำ) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๔” ตามลำดับ
ความเป็นมา
เป็นการแสดงของชาวไทยภาคอีสาน ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง
การแต่งกาย
ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้
-
ภาคใต้ (หนังตะลุง)
-
-
บุคคลสำคัญ
นายอิ่ม จิตต์ภักดี
เกิดเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 เป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสดงหนังตะลุงอย่างแท้จริง ได้ใช้ชีวิตการเป็นศิลปินอยู่ในแวดวงของการแสดงหนังตะลุงมาเป็นเวลานานกว่า 30 ปี ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็น “ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น” สาขาหนังตะลุง ปี พ.ศ. 2540 ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ ให้เป็น แห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ”สาขาศิลปะการแสดง” (หนังตะลุง)
ความเป็นมา
หนังตะลุงเป็นการละเล่นที่เพิ่งมีการประดิษฐ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยชาวบ้านที่บ้านควนพร้าว จังหวัดพัทลุง ได้เลียนแบบมาจากหนังของชวาเปลี่ยนเป็นการแสดงเรื่องไทยๆ และมีการแสดงถวายหน้าพระที่นั่งเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็เป็นที่รู้จักกันในนามของหนังพัทลุงหรือหนังตะลุง
ขั้นตอนการเเสดง
ตั้งเครื่อง เบิกโรง ออกลิงหัวค่ำ ออกฤๅษี ออกรูปพระอิศวร ออกรูปฉะ ออกรูปรายหน้าบท ออกรูปบอกเรื่อง ขับร้องบทเกี้ยวจอ ตั้งนามเมือง
-
-
การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
ภูมิประเทศภาคอีสานเป็นที่ราบสูง ค่อนข้างแห้งแล้งเพราะพื้นดินไม่เก็บน้ำ ฤดูแล้งจะกันดาร ฤดูฝนน้ำจะท่วม แต่ชาวอีสานก็มีอาชีพทำไร่ทำนา และเป็นคนรักสนุก จึงหาความบันเทิงได้ทุกโอกาส
ลักษณะการแสดงซึ่งเป็นลีลาเฉพาะของอีสาน คือ ลีลาและจังหวะในการก้าวเท้า มีลักษณะคล้ายเต้น แต่นุ่มนวล มักเดินด้วยปลายเท้าและสบัดเท้าไปข้างหลังสูง เป็นลักษณะของ เซิ้ง
การแสดงของภาคอีสาน มักเกิดจากกิจวัตรประจำวัน หรือประจำฤดูกาล เช่น แห่นางแมว เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสวิง เซิ้งกระติบ รำลาวกระทบไม้ ฯลฯ
-
นายมนตรี ตราโมท
ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๓ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงที่ใช้ในการประกอบระบำชาวนา
การแสดงพื้นบ้านภาคกลาง
เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว
การแสดงพื้นบ้านภาคเหนือ
จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน
การแสดงพื้นบ้านภาคใต้
ภาคใต้เป็นภาคที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาลาเชีย และเป็นดินแดนที่ติดทะเล ทำให้เกิดการผสมผสานทั้งทางศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมจากกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ เกี่ยวโยงถึงศาสนาและพิธีกรรม
จนทำให้นาฏศิลป์ และดนตรีในภาคใต้มีลักษณะที่เป็นเครื่องบันเทิงทั้งในพิธีกรรม และพิธีชาวบ้าน รวมทั้งงานรื่นเริงโดยมีลักษณะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือมีจังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง
โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีให้จังหวะเป็นสำคัญ ส่วนลีลาท่ารำจะมีความคล่องแคล่วว่องไว สนุกสนาน การแสดงพื้นเมืองภาคใต้มีทั้งแบบพื้นเมืองเดิม และแบบประยุกต์ที่ได้แนวความคิดมาแล้วพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบใหม่ หรือรับมาบางส่วนแล้วแต่งเติมเข้าไป
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-