Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มที่ 3 การพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน - Coggle Diagram
กลุ่มที่ 3 การพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน
สาเหตุ/ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค
สาเหตุที่สำคัญของโรคพาร์กินสันมาจากการมีอายุที่มากขึ้น ทำให้เซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองส่วน Substantia nigra ลดจำนวนลงมาก โดยเฉพาะในส่วน Substantia nigra pars compacta (SNpc) ที่ทำหน้าที่สร้างสารโดปามีน (Dopamine) สารโดปามีน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้เป็นปกติ เมื่อสมองขาดสารโดปามีน (Dopamine) ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลทั้ง Direct และ Indirect pathway จึงมีอาการแสดงออกมา อาการจะแสดงชัดเจนเมื่อมีจำนวน Dopaminergic cells ในส่วน Substantia nigra pars compacta (SNpc) ลดน้อยลงเหลืออย่างน้อย 60% จากปกติ
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากสถานการณ์พบว่าผู้ป่วยรายนี้มีประวัติบิดาเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งโอกาสในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคพาร์กินสันพบได้ถึงร้อยละ 10-15
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ข้อมูลสนับสนุน และแผนการพยาบาล
ความวิตกกังวล เนื่องจากคนในครอบครัวไม่ให้ความสำคัญ
วัตถุประสงค์
ทางการพยาบาล
ความวิตกกังวล
ข้อมูลสนับสนุน
คนในครอบครัวไม่กล้าพาไปไหน เพราะอายที่จะพาไปด้วย แม้แต่ตอนหลานรับปริญญาก็ยังโดนสั่งห้ามไม่ให้ไป
ผู้ป่วยมักเก็บตัวเงียบอยู่ในห้องคนเดียว
กิจกรรมการพยาบาล และเหตุผลการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก รับฟังปัญหาของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ และให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจ และให้ข้อมูลในสิ่งที่กังวลได้ครบถ้วนชัดเจน และมีกำลังใจในการใช้ชีวิต
แนะนำวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวล เช่น ฟังเพลง ทำสมาธิ ดูโทรทัศน์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล มีจิตใจที่สงบ
แนะนำให้เพื่อน และครอบครัวคอยให้กำลังใจ ใส่ใจ พูดคุยกับผู้ป่วยบ่อย ๆ อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน เพื่อให้ครอบครัวมีความผูกพันธ์ คุ้นเคยกับผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นใกล้ชิด พร้อมทั้งครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน และทำให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลได้
4.แนะนำให้จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบ ๆ ผู้ป่วย ให้มีความเหมาะสม สะอาด และอากาศถ่ายเท ร่มรื่น เพราะ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม สะอาด และอากาศถ่ายเท จะทำให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลได้
แนะนำให้ญาติ คนในครอบครัว ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วย เช่น พาผู้ป่วยไปวัด ทำบุญ ไปเที่ยว เป็นต้น เพราะ การทำกิจกรรมร่วมกับผู้ป่วย จะทำให้ผู้ป่วยไม่คิดมาก เรื่องครอบครัวไม่สนใจ หรืออายที่เป็นโรคพาร์กินสัน
สังเกตและประเมินสีหน้าของผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยมีสีหน้าอย่างไร มีการแสดงความวิตกกังวลบนสีหน้าไหม
เกณฑ์การประเมินผล
มีสีหน้ายิ้มแย้ม
พูดคุยกับคนในครอบตัวและคนรอบข้าง
ไม่เก็บตัวเงียบในห้องคนเดียว
ผู้ป่วยบอกว่า ‘ไม่มีความวิตกกังวล’
ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลงหรือกิจวัตรประจำวันลดลง เนื่องจาก ความสามารถของกล้ามเนื้อทำงานได้น้อยลง
ข้อมูลสนับสนุน
มีอาการมือสั่นจนเขียนหนังสือไม่ได้ บางครั้งสั่นแล้วมือปัดแก้วน้ำตกแตก
เดินช้าลง เดินลากขา ไม่แกว่งแขน ตัวแข็งเกร็ง
พูดเสียงเบาและช้าลง
ทำกิจวัตรประจำวันช้าลง
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
สามารถทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น
กิจกรรมทางการพยาบาล และเหตุผลการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวัน เพื่อ ประเมินความสามารถทำกิจกรรม และกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ให้ความช่วยเหลืออย่างถูกที่และนำไปสู่การรักษาทางการพยาบาลขั้นต่อไป
จัดสิ่งแวดล้อมผู้ป่วยให้มีความเหมาะสม สะดวกต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย และป้องกันอันตรายต่อการบาดเจ็บ
ทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ
ฝึกการเดินให้ค่อยๆก้าวขาแต่พอดี โดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดินเพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทงในอิริยาบทต่างๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าควรใช้เป็นแบบส้นเตี้ยและพื้นไม่ต้องทำจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย
เมื่อถึงเวลานอน ไม่ควรให้นอนเตียงที่สูงเกินไป เวลาจะขึ้นเตียงต้องค่อย ๆ เอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ศอกยันก่อนยกเท้าขึ้นเตียง
ฝึกการพูด โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ
เพื่อให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ (นิพนธ์ พวงวรินทร์, 2553) อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ และยืดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันข้อยึดติด
แนะนำให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น Tripod cane, Walker และสอนวิธีการเคลื่อนย้ายตัวป้องกันการล้ม เพื่อป้องกันอัตราย การบาดเจ็บที่เกิดจากการล้ม(ม.ป.ช.,2558)
แนะนำให้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดเข่า โดยใช้ ถุงทราย, Quadriceps board เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานให้กับกล้ามเนื้อ(ม.ป.ช.,2558)
เกณฑ์การประเมิน
สามารถเขียนหนังสือได้
สามารถเดินได้ปกติ ไม่ลากขา แกว่งแขนได้ ตัวไม่เกร็ง
สามารถพูดได้เสียงดังฟังชัด ไม่ช้า
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้คล่องแคล่วว่องไว
พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดงของโรคในผู้ป่วยรายนี้
พยาธิสภาพของโรคพาร์กินสันเกิดจากการเสื่อมตายของเซลล์ในสมองส่วนที่เรียกว่า
Basel Ganglia ส่งผลทำให้สารเคมีในสมองที่มีความสำคัญในการควบคุมความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ที่เรียกว่า “โดปามีน (Dopamine)” ลดลง ส่งผลให้เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลในส่วนของ Direct และ Indirect pathway ใน Basal ganglia
อาการที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น อาการสั่น จะสั่นในขณะอยู่เฉยๆ หรือขณะพัก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า ก้าวขาลำบาก ก้าวเท้าสั้นๆ หกล้มง่าย และจะมีอาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวด้วย เช่น นอนละเมอ ฝันร้ายบ่อยๆ ท้องผูก เรื้อรัง ภาวะซึมเศร้า พูดเสียงเบา พูดช้าลง ผู้ที่เป็นมากอาจมีปัญหาการกลืนลำบาก สำลักบ่อย โดยอาการส่วนใหญ่จะแสดงออกให้เห็นชัด เมื่อจำนวนเซลล์ (Dopaminergic cells) ในส่วนของ SNc ลดน้อยลงไปอย่างน้อยร้อยละ 60 จากปกติ ซึ่งอาการและอาการแสดงของโรคในผู้ป่วยรายนี้ คือ มีอากการมือสั่นจนเขียนหนังสือไม่ได้ บางครั้งสั่นแล้วมือปัดแก้วตกแตก เดินช้าลง เดินลากขา ไม่แกว่งแขน ตัวแข็งเกร็ง พูดเสียงเบาและช้าลง ทำกิจวัตรประจำวันช้าลง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยรายนี้ :
ผลกระทบทางด้านกิจกรรมและการออกกำลังกาย ผู้ป่วยรายนี้มีเคลื่อนไหวที่ลำบาก อาจทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองไม่ได้ดีเหมือนเดิม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น เดินช้าลง เดินลากขา มือสั่น ตัวแข็งเกร็งและส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
2.ผลกระทบด้านการปรับตัวและความทนทานกับความเครียด เนื่องจากผู้ป่วยมักเก็บตัวเงียบอยู่ในห้องคนเดียว
ผลกระทบทางด้านการรับรู้ตนเองและอัฒมโนทัศน์ ผู้ป่วยมีความภูมิใจในตนเองลดน้อยลง เพราะครอบครัวไม่กล้าพาไปไหน แม้แต่ตอนหลานรับปริญญาก็ยังโดนสั่งห้ามไม่ให้ไปเพราะอายคนอื่น
ผลกระทบทางด้านบทบาทและสัมพันธภาพ ผู้ป่วยพาร์กินสันไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เต็มที่ ทำให้ผู้อื่นต้องสละเวลามาช่วยดูแล เพิ่มความกังวลของคนในครอบครัว และอาจทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวแย่ลง
แนวทางการประเมินสภาพ การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยรายนี้
การวินิจฉัย
ขั้นตอนที่ 1 การวินิจฉัยโรคพาร์กินโซนิซึ่ม
-อาการพาร์กินโซนิซึ่มประกอบด้วยอาการอย่างน้อย 2 ใน 4 อาการดังต่อไปนี้
-อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ถือเป็นอาการหลักที่ต้องเกิดในผู้ป่วยพาร์กินโซนิซึมทุกรายและการเคลื่อนไหวที่เล็กลงหรือน้อยลง (Hypokinesia) ดังเช่นการขยับนิ้วที่น้อยหรือช้าลง
-อาการสั่นขณะอยู่เฉย (Rest tremor) มักเกิดขึ้นที่มือมากกว่าขา
-อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) มักเกิดขึ้นในข้างเดียวกับที่ผู้ป่วยมีอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า
-ปัญหาในเรื่องการทรงตัว (Postural instability) ซึ่งอาการอาจจะไม่เด่นชัดในช่วง 2-3 ปีแรก
-อาการของโรคพาร์กินสันมักเริ่มขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วง 2-3ปีแรกหลังจากนั้นอาการมักจะเป็นทั้งสองข้างร่วมกับมีปัญหาของการทรงตัวในภายหลัง
ขั้นตอนที่ 2 คัดแยกโรคอื่นที่ทําให้มีอาการคล้ายโรคพาร์กินสันจากประวัติดังต่อไปนี้
-อาการหลอดเลือดสมองผิดปกติหลายครั้งและการดำเนินโรคเป็นขั้นบันได
-อุบัติเหตุที่สมองหลายครั้ง
-ได้รับยาทางจิตเวชหรือยาต้านโดปามีน
-เป็นโรคสมองอักเสบ
-ญาติในครอบครัวมีอาการมากกว่า 1 คน
-ไม่ตอบสนองต่อยาลีโวโดปาเลย
-อาการคงอยู่ข้างเดียวนานเกิน 3 ปี
-อาการทางระบบประสาทอื่นที่ไม่พบในโรคพาร์กินสัน
-สัมผัสกับสารพิษ
-พบก้อนเนื้องอกหรือช่องน้ำในโพรงกะโหลกขยายจากรังสีวินิจฉัย
-ควรซักถามผู้ป่วยถึงอาการดังกล่าวข้างต้นถ้าพบประวัติดังกล่าวอาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากโรคพาร์กินสัน
ขั้นตอนที่ 3 ลักษณะอาการที่สนับสนุนของโรคพาร์กินสัน (ควรมีอย่างน้อย 3 ข้อจากอาการดังต่อไปนี้เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันที่แน่นอนหรือ Definite Parkinson's disease)
-เริ่มต้นจากข้างใดข้างหนึ่งแสดงอาการด้วยอาการสั่นขณะเฉย
-อาการของโรคดำเนินมากขึ้นเรื่อย ๆ
-ส่วนใหญ่อาการจะคงความไม่สมมาตรกันถึงแม้ว่ามีอาการพาร์กินโซนิซึมแล้วทั้ง 2 ข้าง
-ตอบสนองดีมาก (70-100%) ต่อยาลีโวโดปา
-มีอาการยุกยิกรุนแรงที่เป็นผลจากยาลีโวโดปา
-มีการตอบสนองต่อยาลีโวโดปานานเกิน 5 ปี
-การดำเนินโรคตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
การประเมินสภาพ
การซักประวัติ
อายุ : เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีโอกาสพบโรคพาร์กินสันมากขึ้น
ประวัติครอบครัว : ความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสัน ในคนอายุน้อย
อาชีพ : อาชีพที่มีการสัมผัสกับสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง รวมไปถึงอาชีพที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะอย่างรุนแรง จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพาร์กินสัน
ประวัติการรับประทานยา : เนื่องจากยาบางกลุ่มอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการพาร์กินสันได้ ยาที่พบว่าใช้บ่อย ได้แก่ ยาแก้อาการเวียน ศีรษะ เช่น ฟลูนาริซีน (Flunarizine) ซินนาริซีน (Cinnarizine) ยาสำหรับโรคจิตเวช เช่น ฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ริสเพอริโดน (Risperidone) ยาแก้แพ้แก้อาเจียน กลุ่มเมโทโครพลาไมด์ (Metoclopramide) ยาลดความดันโลหิตสูง กลุ่มรีเซอพีน (Reserpine) เมทิลโดปา (Methydopa) แอมโลดิปิน (Amlodipine)
การตรวจร่างกายเบื้องต้น (สังเกตการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ)
ให้ผู้ป่วยนั่งท่านั่ง โดยให้ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ที่มีผนักพิง ไม่มีที่รองแขน แล้วให้ผู้ป่วยวางมือบนโต๊ะ หรือบนหน้าขาตัวเอง เพื่อตรวจอาการสั่นขณะอยู่เฉย ๆ
ให้ผู้ป่วยยกแขนขี้นในท่า เหยียดแขนไปทางด้านหน้า สังเกตอาการสั่น
ให้ผู้ป่วยเคาะนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ต่อเนื่องนาน 10 วินาที โดยให้ผู้ป่วยพยายามทำให้กว้าง และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วสังเกตอาการการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือความกว้าง (Amplitude)ที่ ลดลง
ให้ผู้ป่วยกำมือสลับแบมือ นาน 10 วินาทีโดยให้ผู้ป่วยพยายามทำให้กว้าง และ เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วสังเกตอาการ การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือความกว้าง (Amplitude) ที่ลดลง
ให้ผู้ป่วยคว่ำมือสลับหงายมือนาน 10 วินาทีโดยให้ผู้ป่วยพยายามทำให้ กว้าง และเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วสังเกต อาการการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือ ความกว้าง (Amplitude) ที่ลดลง
ให้ผู้ป่วยเคาะส้นเท้ากับ พื้นนาน 10 วินาทีโดยให้ผู้ป่วยพยายามทำให้สูง และ เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วสังเกตอาการ การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือความกว้าง (Amplitude) ที่ลดลง
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง ผู้ตรวจหมุนแขน/ ขาและศีรษะเพื่อตรวจดูแรง ต้านในทุกทิศทาง ทั้งงอ/เหยียด คว่ำา/หงาย สังเกตอาการแข็งเกร็งจากการเพิ่มขึ้นของแรง ต้านทานเท่ากันตลอดการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะช้า หรือเร็ว
ให้ผู้ป่วยเอามือกอดอก แล้วลุกขึ้นยืน ผู้ตรวจสังเกตการทรงตัวว่า สามารถลุกขึ้นจากเก้าอี้ได้อย่างลำบากหรือไม่ มีอาการเซ ขณะลุกขึ้นยืนหรือไม่
ให้ผู้ป่วยเดินไปข้างหน้า ประมาณ 10 เมตร แล้วหมุนตัวกลับ ผู้ตรวจ สังเกตลักษณะการเดินของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยยืนกางขากว้าง ประมาณระยะไหล่ 2 ข้าง ผู้ตรวจตรวจการทรงตัวโดนการดึงตัวผู้ป่วยบริเวณไหล่ จากด้านหลัง (Pull test) หากผู้ป่วยถอยหลังมากเกิน 2 ก้าว หรือล้มไปข้างหลัง แสดงว่าผู้ป่วยมีปัญหาเรื่อง การทรงตัว
การดูแลรักษา :
การเลือกใช้ยาชนิดใด แพทย์จะพิจารณาจากอาการและสภาพของผู้ป่วย เช่น การรักษาด้านการทำงานด้านการรู้คิด (cognitive function) อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยากลุ่ม cholinesterase inhibitor เพื่อช่วยด้านการคิดและหาเหตุผลของสมองและลดอาการทางจิต การรักษาอาการทาง motor ควรใช้ยาให้น้อยที่สุดที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงยาที่อาจทำให้อาการจิตเภทแย่ลง เช่น anticholinergic agent อาจพิจารณาให้เฉพาะยากลุ่ม levodopa เพียงชนิดเดียว
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผลจริงๆ เช่น มีอาการยุกยิก แขนขาขยับคล้ายรำละครอยู่ตลอดเวลา (dyskinesia) ที่ปรับยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดโดยการฝังตัวระตุ้นไม่ได้ทำให้โรคพาร์กินสันหายไป แต่ทำให้อาการดีขึ้นและช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการผ่าตัดอาจมีโอกาสเสี่ยงเล็กน้อยต่อการติดเชื้อ หลอดเลือดสมองตีบ หรือเลือดออกในสมองได้
2.การรักษาทั่วไป
การแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และผู้ดูแล การแนะนำการทำกายบริหารอย่างง่ายในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน ฝึกการใช้แขนและมือ ออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังที่ดีและข้อไม่ยึดติด ฝึกอย่างระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสการเกิดปัญหาแทรกซ้อนจากโรค ในกรณีที่ยังเดินได้ไม่คล่อง อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดินหรือมีคนประคอง เพื่อป้องกันการหกล้ม