Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
DM with Hyperglycemia - Coggle Diagram
DM with Hyperglycemia
สาเหตุและ ปัจจัยเสี่ยง
1. ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยลูกที่มีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นเบาหวานร้อยละ 30 หากทั้งพ่อและแม่เป็นเบาหวาน โอกาสที่ลูกจะเป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60
2. น้ำหนักเกินหรืออ้วน ในปัจจุบันพบว่าจำนวนคนอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกินอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน การรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดที่อุดมด้วยไขมันและคาร์โบไฮเดรต ตลอดจนวิถีชีวิตที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง อยู่นิ่งๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น ทำให้ร่างกายใช้พลังงานลดลง เมื่อความต้องการใช้พลังงานของร่างกายลดลง แต่ยังคงบริโภคอาหารในปริมาณเท่าเดิม จึงเกิดความไม่สมดุลและกระตุ้นให้เกิดการดื้ออินซูลินมากขึ้น
3. ไขมันในเลือดสูง ความดื้อต่ออินซูลินทำให้ไขมันในเลือดสูง หากตรวจพบว่าไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น และไขมันเอชดีแอล (HDL) ซึ่งเป็นไขมันดีลดลง จะเป็นสัญญาณว่าร่างกายมีความดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น
4. ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงนับเป็นส่วนหนึ่งของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในผู้ที่เป็นเบาหวานเริ่มต้นจากความผิดปกติของไต ซึ่งทำให้หลอดเลือดเกิดความต้านทานเพิ่มขึ้น หัวใจจึงต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามมา
5. ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงระหว่างการตั้งครรภ์จะเป็นเบาหวานภายใน 5 ปีหลังคลอดบุตร ดังนั้น จะต้องได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีทั้งด้านการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย
6. PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายที่ทำให้ไม่มีการตกไข่ตามรอบประจำเดือน รังไข่มีถุงน้ำจำนวนมากจากไข่ที่ไม่ตก ทำให้รังไข่ใหญ่ผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดความดื้อต่ออินซูลิน และมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเบาหวาน
พยาธิสรีรวิทยา
โรคเบาหวานเกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลิน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยตับอ่อน ทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือดเข้าเซลล์ทั่วร่างกายเพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานสำหรับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ผู้ที่เป็นเบาหวานจะพบว่าตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลยหรือผลิตได้ปกติ แต่ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง เมื่อขาดอินซูลินหรืออินซูลินทำหน้าที่ไม่ได้น้ำตาลในเลือดจึงเข้าสู่เซลล์ต่างๆได้น้อยกว่าปกติจึงเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและน้ำตาลก็ถูกขับออกมาทางปัสสาวะน้ำตาลที่เข้มข้นสูงจะพาน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยพร้อมกับสูญเสียเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะโซเดียม ร่างกายจึงขาดอาหาร น้ำ เกลือแร่ จึงมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระหายน้ำบ่อยและน้ำหนักลดลง ผอม บางรายอาจอ่อนเพลีย
การรักษา
การรักษาโรคเบาหวาน การรักษาผู้ป่วยเบาหวานในประเภทที่ 1 จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 หากเป็นในระยะแรก ๆ สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลัง และควบคุมน้ำหนัก หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจให้ยาควบคู่ไปด้วยหรือฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทนเช่นเดียวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ป้องกันแผล เช่น รองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เฝือก หรือผ้าพันแผล เป็นต้น หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม
การรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงไม่รุนแรงหรืออยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ควบคุมอาหาร ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน หรือรับการรักษาเพิ่มเติม วิธีการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่รุนแรงมักมีแนวทาง ดังนี้
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น
-
-
- ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะโคมาจากน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่วนภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรัง เช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ไต ระบบประสาท ปัญหาที่เท้าจากเบาหวาน รวมทั้งโรคที่มักพบร่วมกับเบาหวาน เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การที่ไม่สามารถคุมเบาหวานได้ ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจทำให้คุณเสี่ยงโรคร้ายแรง ดังนี้
-
โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
เส้นประสาทถูกทำลายและทำงานผิดปกติ ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อน เจ็บเหมือนเข็มทิ่ม และการรับรู้สึกความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป
โรคทางตาหรือเกิดความผิดปกติกับดวงตา เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา เช่น จอประสาทเสียหาย โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
ผิวหนังเกิดการติดเชื้อ มีปัญหาเกี่ยวกับเท้า เนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลายและเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เช่น เท้าติดเชื้อหรือไร้ความรู้สึก บางรายอาจรุนแรงจนต้องตัดขาทิ้ง
-
-
สำหรับภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและมักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ ภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตน (Diabetic Ketoacidosis) เกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ขาดพลังงานและต้องสลายไขมันมาใช้เป็นพลังงาน โดยในระหว่างกระบวนการนี้จะเกิดสารคีโตนที่เป็นพิษขึ้นในเลือด และบางส่วนตรวจพบได้ในปัสสาวะ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาพนี้นานเกินไปจะเสี่ยงต่ออาการโคม่าและเสียชีวิตได้
อาการและ อาการแสดง
-
-
-
-
- ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนัง คันตามผิวหนัง
- ตาพร่ามัว ชาปลายมือปลายเท้า
-
-