Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่, ตัวอย่าง, ตัวอย่าง, ละครสังคีต, F7D902FE-31A4-4B60…
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครสังคีต :red_flag:
การแต่งกาย :pen:
แต่งแบบสมัยนิยม คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของฐานะตัวละครตามท้องเรื่อง และความงดงามของเครื่องแต่งกาย
การแสดง :pen:
มุ่งหมายที่ความไพเราะของเพลง ตัวละครจะต้องร้องเองคล้ายกับละครร้อง แต่ต่างกันที่ละครร้องดำเนินเรื่อง
ด้วยบทร้อง การพูดเป็นการเจรจาทวนบท ส่วนละครสังคีตมุ่งบทร้อง และบทพูดเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่อง เป็นการแสดงหมู่ที่งดงาม ในการแสดงแต่ละเรื่องจะต้องมีบทของตัวตลกประกอบเสมอ และมุ่งไปในทางสนุกสนาน
-
เรื่องที่แสดง :pen:
นิยมแสดงบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 4 เรื่อง
ได้แก่ เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ทรงเรียกว่า "ละครสลับลำ" เรื่องวิวาหพระสมุทร ทรงเรียกว่า "ละครพูดสลับลำ"
เรื่องมิกาโดและวั่งตี่ ทรงเรียกว่า "ละครสังคีต"
-
ดนตรี :pen:
บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบไปด้วย ขลุ่ยเพียงออ ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ฉิ่ง ตะโพน ระนาดเอก กลองทัด
-
-
ความสำคัญของละครสังคีต ขึ้นอยู่กับ :pen:
-ความไพเราะของเพลง
-มีตัวตลกประกอบ
-มีความงดงามของการแสดงหมู่
-มีฉากที่งดงามตามบท
-เครื่องแต่งตัวงามตามเรื่อง
-มีการล้อเลียนและเล่นได้โลดโผนบ้าง
-
ละครสังคีต :check: คำว่า "สังคีต" หมายถึง การรวมเอาการฟ้อนรำ และการละคร พร้อมทั้งดนตรีทางขับร้อง และดนตรีทางเครื่องด้วย ละครสังคีต หมายถึง ละครที่มีทั้งบทพูดและบทร้องเป็นส่วนสำคัญเสมอ จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้ เป็นละครอีกแบบหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากละครพูดสลับลำ ต่างกันที่ละครสังคีตมีบทสำหรับพูด และบทสำหรับตัวละครร้องในการดำเนินเรื่องเท่าๆกัน จะตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกมิได้เพราะจะทำให้เสียเรื่อง
ละครร้อง :red_flag:
-
ละครร้องสลับพูด มีทั้งบทร้อง และบทพูด ยึดถือการร้องเป็นส่วนสำคัญ บทพูดเจรจาสอดแทรกเข้ามาเพื่อทวนบทที่ตัวละครร้องออกมานั้นเอง แม้ตัดบทพูดออกทั้งหมดเหลือแต่บทร้องก็ยังได้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ มีลูกคู่คอยร้องรับอยู่ในฉาก ยกเว้นแต่ตอนที่เป็นการเกริ่นเรื่องหรือดำเนินเรื่อง ลูกคู่จะเป็นผู้ร้องทั้งหมด ตัวละครจะทำท่าประกอบตามธรรมชาติมากที่สุดทรงเรียกว่า “ละครกำแบ”
ละครร้องล้วน ๆ ตัวละครขับร้องโต้ตอบกัน และเล่าเรื่องเป็นทำนองแทนการพูดดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงล้วน ๆ ไม่มีบทพูดแทรก มีเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาบถของตัวละคร จัดฉากตามท้องเรื่อง ใช้เทคนิคอุปกรณ์แสงสีเสียงเพื่อสร้างบรรยากาศให้สมจริง
-
ละครร้องสลับพูด บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ ในกรณีที่ใช้แสดงเรื่องเกี่ยวกับชนชาติอื่น ๆ ละครร้องล้วน ๆ บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม
-
-
ละครร้องสลับพูด ใช้เพลงชั้นเดียวหรือเพลง 2 ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ซออู้คลอตามเบา ๆ เรียกว่า “ร้องคลอ”text
-
-
ละครร้อง :check: กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศละครร้องนั้นต้นกำเนิด มาจากจากแสดงของชาวมลายูเรียกว่“บังสาวัน”ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย ละครของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์นี่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า “ละครหลวงนฤมิตร” บางครั้งคนยังเรียกว่า “ละครปรีดาลัย” ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมายเช่น คณะปราโมทัย ปราโมทย์เมือง ประเทืองไทย วิไลกรุง ไฉวเวียง เสรีสำเริง บันเทิงไทย และนาครบันเทิง เป็นต้น ละครนี้ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยราชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
-
-
-
ละครพูด :red_flag:
ละครพูดสลับลำ :star:
-
ดนตรี :pen: บรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆ แต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้องดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
เรื่องที่แสดง :pen: ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายบัว ทองอิน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา" และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. 2449
-
-
ละครพูดสลับลำยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียวบทร้องเป็นเพียงบทแทรกเพื่อเสริมความเเละย้ำความ ประกอบเรื่องไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง ถ้าตัดบทร้องออกก็ไม่ทำให้เนื้อเรื่องของละครขาดความสมบูรณ์แต่อย่างใด คำว่า “ลำ” มาจากคำ “ลำนำ” หมายถึง บทร้องหรือเพลง
-
-
-
ละครพูด :check: เริ่มขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงละครพูดสมัครเล่นเป็นครั้งแรก ละครพูดในสมัยนี้แตกต่างกับละครพูดในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในสมัยหลังเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง คือ เนื้อเรื่องละครพูดที่แสดงในสมัยนี้ดัดแปลงมาจากบทละครรำที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลาย พ.ศ. 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงสำเร็จการศึกษา และเสด็จนิวัติประเทศไทยแล้ว ทรงตั้ง “ทวีปัญญาสโมสร” ขึ้นในพระราชอุทยานวังสราญรมย์ ในสมัยเดียวกันนี้ได้มีการตั้ง “สามัคยาจารย์สโมสร” ซึ่งมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นประธานอยู่ก่อนแล้ว กิจกรรมของ 2 สโมสรที่คล้ายคลึงกัน คือ การแสดงละครพูดแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากละครตะวันตก ละครพูดแสดงเป็นครั้งแรกที่สโมสรใดไม่ปรากฏหลักฐานยืนยัน แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมงกุฎราชกุมาร ทรงมีส่วนร่วมในกิจการแสดงละครพูดของทั้ง 2 สโมสรนี้ จึงได้ถวายพระเกียรติว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดละครพูด :
-
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเห็นว่าเป็นของแปลก และแสดงได้ง่ายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนละครพูดอย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดที่ดีเด่นไว้เป็นจำนวนมาก และทรงร่วมในการแสดงด้วยหลายครั้ง
-
ตัวอย่าง
เรื่องชิงนาง
เรื่องปล่อยเเก่
-
-
-
-
-
-
-
-
เรื่อง โพงพาง
-
-
-
-
-
-
-
-
-