Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ละครไทยประเภทละครรำ - Coggle Diagram
ละครไทยประเภทละครรำ
ละครที่พัฒนาขึ้นใหม่
ละครร้อง
ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินเรื่องด้วยการร้อง ไม่มีท่ารำ ผู้แสดงจะต้องร้องเอง เรื่องที่นิยมแสดงคือ ตุ๊กตายอดรัก สาวเครือฟ้า ขวดแก้วเจียระไน เป็นต้นแบบของละครเพลง
ละครสังคีต
บทร้องและบทเจรจาเป็นสำคัญ เท่ากัน จะตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไม่ได้ และเป็นต้นแบบของละครอิงประวัติศาสตร์
ละครพูด
. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำกลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
ละครเพลง
ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลง และดนตรีสากลประกอบ จัดฉาก [และแต่งกายแบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง
ละครเวที
เน้นการร้องมากกว่าการพูดบทสนทนาเพียงอย่างเดียว :
ละครวิทยุ
เป็นการแสดงละครโดยใช้เสียงอย่างเดียว เมื่อไม่มีภาพ จึงต้องขึ้นอยู่กับบทสนทนาโต้ตอบ ดนตรีและเอฟเฟ็กซ์เสียงเพื่อช่วยให้ผู้ฟังจินตนาการถึงตัวละครและนิยายออก ละครวิทยุอาจเป็นละครที่เขียนขึ้นเพื่อออกอากาศทางวิทยุโดยเฉพาะ ละครสารคดี งานบันเทิงคดีที่สร้างเป็นละคร หรือละครที่เดิมเขียนขึ้นเป็นละครเวที
ละครโทรทัศน์
รายการทางโทรทัศน์ที่มีบทละครและเรื่องราว ไม่รวมถึงรายการจำพวก กีฬา ข่าว เรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ สแตนอัพคอเมดี้ และวาไรตี้โชว์ โดยละครโทรทัศน์โดยมากจะมีหลายตอน เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพื่อการรับชมภายในเคหสถาน
ละครอิงประวัติศาสตร์
เป็นละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ดำเนินเรื่องในช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ ให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์
ละครรำ
ละครรำแบบดั้งเดิม
ละครชาตรี
เป็นต้นแบบของละครรำ นิยมใช้ ผู้ชายแสดง มีตัวละคอน 3 ตัว คือ ตัวพระ ตัวนาง และเบ็ดเตล็ด ( เป็นตลก , ฤษี ฯลฯ ) เรื่องที่เล่นคือ “ มโนห์รา ” ตอน จับนางมโนห์รามาถวายพระสุธน การแสดงเริ่มด้วยการบูชาครูเบิกโรง ผู้แสดงออกมารำซัดไหว้ครู โดยร้องเอง รำเอง [ตัวตลกที่นั่งอยู่เป็นลูกคู่เมื่อร้องจบจะมีบทเจรจาต่อ
ละครนอก
ดัดแปลง มาจากละคร ชาตรี เป็นละครที่เกิดขึ้นนอกพระราชฐาน เป็นละครที่คนธรรมดาสามัญนิยมเล่นกัน ผู้แสดงเป็นชายล้วน ไม่มีฉากประกอบ นิยมเล่นกันตามชนบทท่ารำและเครื่องแต่งกายไม่ค่อยพิถีพิถัน เรื่องที่ใช้แสดงละครนอกเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น สังข์ทอง มณีพิชัย
ละครใน
เป็นละครไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงดัดแปลงมาจากละครนอก ใช้ผู้หญิงแสดงล้วน และแสดงในพระราชฐานเท่านั้น การแสดงละครไทยในมีความประณีตวิจิตรงดงาม ท่ารำต้องพิถีพิถันให้มีความอ่อนช้อย เครื่องแต่งกายสวยงาม บทกลอนไหเราะ สำนวนสละสลวยเหมาะสมกับท่ารำ
ละครรำแบบปรับปรุง
ละครพันทาง
เกิดหลังละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครรำแบบละครนอกผสมละครในมีศิลปะของชาติต่าง ๆ เข้ามาปะปนตามท้องเรื่อง ทั้งศิลปะการร้อง การรำ และการแต่งกาย ผสมกับศิลปะไทย โดยยึดท่ารำไทยเป็นหลัก นิยมแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับต่างชาติ เช่น พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน พระลอ ราชาธิราช สามก๊ก พญาน้อย ฯลฯ จึงมีลีลาของต่างภาษาตามท้องเรื่อง
ละครเสภา
เป็นละครที่ดำเนินเรื่องด้วยการรำประกอบบทร้องและบทขับเสภา มีเครื่องประกอบจังหวะพิเศษคือ “ กรับเสภา ” เรื่องที่นิยมแสดง มักจะนำมาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง หรือเรื่องจากบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เช่น เรื่องพญาราชวังสัน สามัคคีเสวก
ละครดึกดำบรรพ์
เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นำแบบอย่างมาจากละครโอเปร่า (Opera) ของยุโรป ลักษณะการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ผู้แสดงร้องและรำเอง ไม่มีการบรรยายเนื้อร้อง ผู้ชมต้องติดตามฟังจากการร้องและบทเจรจาของผู้แสดง
-