Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม, 1599020251, 1599020265, image, image,…
บทที่2 การพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม
การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด
พยาบาลมีบทบาทหน้าที่
อธิบาย ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคยกับพยาบาล
เกิดความอบอุ่นใจ ไว้วางใจและเชื่อมั่นในทีมที่จะให้การรักษา
ให้ญาติมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยจะต้องเผชิญ
การเตรียมบนหอผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยไปห้องผ่าตัดแล้ว
เตรียมตําแหน่งเตียงให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม
เตรียมเตียง ปูเตียงแบบอีเธอร์ เปลี่ยนผ้าปู ปลอกหมอน ปูผ้าขวางเตียงตรงตําแหน่งที่ทําผ่าตัด
เตรียมเครื่องใช้ต่างๆที่จําเป็นเครื่องช่วยหายใจ เสาแขวนน้ำเกลือ เครื่องดูดเสมหะ อุปกรณ์ให้ออกซิเจน
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ยาฉุกเฉิน
1.การเตรียมผู้ป่วยด้านจิตใจ
ผู้ป่วยจะเกิดความวิตกกังวล ความเครียด และความหวาดกลัวเมื่อต้องได้รับการผ่าตัด
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องหรือการ
สาเหตุของความวิตกกังวลอันดับแรกมาจากกลัวเสียชีวิตในขณะผ่าตัดรวมถึงความกลัวจากการขาดความรู้และความเข้าใจ
การสื่อสารเพื่อให้ผู้ป่วยได้ข้อมูลข่าวสารเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่สามารถลดระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้
การเตรียมผู้ป่วยด้านจิตใจจะต้องมีระยะเวลานานพอจึงจะทราบความคิด ทัศนคติความกังวลใจของผู้ป่วย
มีการให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเกี่ยวกับสถานการณ์ในห้องผ่าตัดที่ต้องเผชิญ
การให้ความรู้และการอธิบายอย่างถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพนั้นมีส่วนสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
2.การเตรียมผู้ป่วยด้านร่างกาย
เป็นการให้ความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายกับผู้ป่วยเพราะหากผู้ป่วยปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลต่อการถูกเลื่อนการผ่าตัด
มีความสำคัญเท่าๆกับความสมดุลด้านจิตใจ เพื่อเป็นการป้องกัน หรือแก้ไขไม่ให้เกิดภาวะผิดปกติ หรือโรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
ต้องประเมินการทํางานของระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่
ต้องได้รับการการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกทุกราย เพื่อ
ประเมินสภาพของปอดและหลอดลม
หน้าที่ของไตบอกถึงความสามารถของผู้ป่วยในการที่จะทนต่อการได้รับสารน้ํา สารอิเลคโตรลัยด์ที่จะให้ในระยะผ่าตัด
ความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับน้ำและอาหารที่พอเหมาะ
สารน้ำและอิเลคโตรลัยด์เป็นตัวควบคุมภาวะความสมดุลภายในร่างกาย หากร่างกายขาดสมดุลจะเป็นอันตรายต่อการผ่าตัดได้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดน้ำอาจทําให้เกิดอาการช็อค
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ตั้งแต่ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติ ได้รับการวินิจฉัยและต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ก่อนแพทย์ลงมือ ผู้ป่วยควรได้รับการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดด้วยอาการที่ดีที่สุด
การปฏิบัติตัวก่อนผ่าตัด
งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าตัด
ควรอาบน้ำ สระผม ล้างหน้าให้สะอาด งดการใช้ครีมและครื่องสำอางทุกชนิด ตัดเล็บให้สั้น ล้างสีเคลือบเล็บมือและเท้าออก
ถอดของมีค่าต่างๆ เครื่องประดับทุกชนิด
ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด
งดโกนขนบริเวณที่จะผ่าตัดด้วยตัวเอง
แนะนำงดสูบุหรี่ก่อนมาผ่าตัดอย่างน้อย 30 วัน
การพยาบาลระยะผ่าตัด
ยาระงับความรู้สึก
พยาบาลต้องสามารถบอกผู้ป่วยและญาติได้ถึงการให้ยาระงับความรู้สึกเข้าใจการเตรียมผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก
ผลของการระงับความรู้สึกตลอดจนวิธีการที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาระงับความรู้สึก
1.การให้ยาก่อนระงับความรู้สึก
แพทย์หรือแพทย์วิสัญญีต้องเป็นผู้พิจารณาให้ขึ้นกับผู้ป่วย คือ เพศ อายุ สภาพร่างกาย และจิตใจ
มักจะให้ล่วงหน้าในคืนก่อนผ่าตัด มีทั้งยาฉีดและยารับประทานให้เพื่อลดความกลัวความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด
2.การให้ยาระงับความรู้สึก
ประเภทของยาระงับความรู้สึก
ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General anesthesia)
ทำให้ผู้ป่วยหมดสติไม่รู้สึกตัวสามารถให้ได้กับผู้ป่วยทุกประเภทและการผ่าตัดทุกชนิด
มีข้อเสีย คือ
กดการหายใจ กดการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด
เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดีอาจมีเสมหะและน้ำลายมาก
ต้องระวังการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ
มีวิธีการให้ 2 ทาง คือ
โดยการสูดดมเอาแก๊ส (Inhalation anesthesia)
เป็นการสูดดมเอาไอระเหยของยาสลบ
เริ่มจากการฉีดเข้าทางหลอดเลือดด้าก่อนเพื่อให้หมดความรู้สึก
จากนั้นจึงดมยาสลบทางหน้ากาก (mask) หรือท่อหลอดลมคอ (endotracheal tube)
นิยมใช้ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Halothane) โดยให้ร่วมกับก๊าซออกซิเจน
โดยการฉีดเข้าทางหลดเลือดดำ (Intravenous anesthesia)
มีข้อดี คือ
ใช้ได้กับการผ่าตัดที่นาน
ควบคุมการระงับความรู้สึกได้ดี
ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลในระหว่างการผ่าตัดเหมาะ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ร่วมมือ
ควบคุมความดันเลือดไม่ให้ต่ำได้ดีกว่า
ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (Regional or Local anesthesia )
ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะทำผ่าตัดผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ แต่รู้สึกตัวดีตลอดเวลา
ยาที่นิยมใช้คือ lidocaine (xylocaine lignocaine)
มีวิธีการให้ คือ
การฉีดพ่นบนผิวหนัง (Local anesthesia)
การ หยอด ทา พ่น ยาชาลงเฉพาะที่ (Topical anesthesia)
การฉีดบริเวณรอบๆ กลุ่มประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณที่จะทำผ่าตัด(Nerve block)
1 more item...
ยาที่พ่นจะมีความเย็น สามารถลดความเจ็บปวดได้
ใช้ในการผ่าฝีและใช้ในการตรวจตา ทวารหนัก ช่องคลอด
เป็นการฉีดยาชาลงบริเวณที่จะท้าผ่าตัด ใช้ในการผ่าตัดเล็กๆ
มีข้อดี คือ
เป็นวิธีการที่ง่ายปลอดภัย กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีมาก
ไม่กดการหายใจรวมทั้งไม่กดการหายใจของ
เพิ่มความผูกพัน ความรัก ระหว่างมารดา และบุตรในกรณีผ่าตัดคลอด
มีข้อเสีย คือ
การฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังอาจเกิดความดันโลหิตต่ำ
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ เลือดคั่ง ภาวะปวดศีรษะหลังการฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง
ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
อาจทำให้เกิดอาการคัน คลื่นไส้ อาเจียน หรือกดการหายใจ
การพยาบาลระยะหลังผ่าตัด
การดูแลหลังผ่าตัดระยะ 24 ชั่วโมงแรก
ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดพยาบาลจะต้องประเมินอาการได้หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น
ต้องติดตามอาการผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในระยะต่างๆหลังผ่าตัด ดังนี้
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดระยะแรก พยาบาลจะต้องปฏิบัติ ดังนี้
เวลาที่รับผู้ป่วยไว้
ทางเดินหายใจโล่งสะดวกหรือไม่ มีท่อช่วยหายใจชนิดใดอยู่
ระดับความรู้สึก
สัญญาณชีพ
ลักษณะของผิวหนัง เช่น ชื้น แห้ง อุ่นหรือเย็น
ปฏิกิริยาโต้ตอบ การกระพริบตา การไอ การกลืน
สภาพของแผลผ่าตัด ผ้าปิดแผล ท่อระบายต่าง ๆ ตำแหน่ง การทำหน้าที่ของท่อระบาย จำนวนและลักษณะของสิ่งระบายที่ออกมา
การขับถ่ายปัสสาวะได้เอง หรือมีสายสวนหรือหน้าท้องบริเวณหัวเหน่าโป่งตึงหรือไม่
สิ่งที่ต้องคำนึงในการดูแลผู้ป่วย
1.ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยต้องโล่ง ป้องกันการสำลัก อาเจียน หรือน้ำลายเข้าไปในปอด
2.หมั่นวัดสัญญาณชีพซึ่งจะบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ เช่น การตกเลือด การหยุดหายใจ
3.ระวังการได้รับบาดเจ็บโดยไม่จำเป็น เช่น ตกเตียง ขาฟาดเหล็กกั้นเตียง
4.ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าจะรู้สึกตัวดี
การดูแลหลังผ่าตัดระยะหลังโดยทั่วไป
อาการแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจ
คือ หลอดลมอักเสบ ปอดแฟบ (Atelectasis) ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบากไข้สูงชีพจรเร็วเขียวคล้ำขาดออกซิเจนกระสับกระส่าย
การดูแล
ป้องกันการสำลักน้ำ น้ำลาย อาเจียน เข้าไปในปอด
พลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว
ให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอ จะทำให้ปอดขยายได้เต็มที่ การไอเพื่อขจัดเสมหะ
ยกเว้นในรายที่ทำผ่าตัดที่ต้องการให้อยู่นิ่งๆ เช่น การผ่าตัดตา หู
อาการแทรกซ้อนในระบบไหลเวียนเลือด
เช่น หลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดดำอุดตัน
ถ้าเกิดกับหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้น มักมีอาการแดงและแข็ง
เป็นหลอดเลือดดำที่ลึกลงไป เช่น บริเวณโคนขา ขาจะบวมและซีด
การดูแล
ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดโดยเร็ว กระตุ้นการออกกำลังแขนขา
กระตุ้นการทำกิจวัตรประจำวัน ลุก นั่ง เดิน
ไม่ควรให้ผู้ป่วยนั่งห้อยเท้านาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดคั่งที่ปลายเท้า
อาการสะอึก
พบในผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดช่องท้อง ที่มีอาการท้องอืด การอาเจียนต่อเนื่อง และจะเกิดได้ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด เป็นระยะเวลาสั้นๆ
การดูแล
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า–ออก ในถุงกระดาษเป็นพักๆ
เพื่อสูดเอาแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือแพทย์อาจให้ยากล่อมประสาท ประเภท Tranquilizers
แผลติดเชื้อ
มักจะมีการอักเสบให้เห็นก่อนภายใน 36-48 ชั่วโมง แรกหลังการผ่าตัด
มีอาการแดง ร้อน รอบๆแผลผ่าตัด
อาการติดเชื้อจะปรากฏในวันที่ 5 หลังการผ่าตัด
ผู้ที่ติดง่าย ได้แก่ อ้วนหรือผอมมากเกินไป มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน
การดุแล
เครื่องมือให้สะอาดปราศจากเชื้อหรือปลอดเชื้อตามการใช้สอย
ทำความสะอาดแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้ออย่างเคร่งครัดแยกผู้ป่วยแผลติดเชื้อออกจากแผลสะอาด
แผลแยก
พบในรายที่แผลมีการติดเชื้อ การเย็บแผลไม่แน่นพอ การไอจามที่รุนแรงและไม่มีการพยุงแผล
การดูแล
แผลหน้าท้องขนาดใหญ่อาจช่วยพยุงแผลโดยใช้ผ้าพันหน้าท้องการพยุงแผลขณะไอ จาม
การฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังผ่าตัด
สอนให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอเป็นครั้งคราว
แนะนำให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงให้เร็วที่สุด
ถ้าไม่มีข้อห้ามผู้ป่วยจะลุกขึ้นนั่งบนเตียงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง
วันรุ่งขึ้นจึงให้เดินรอบ ๆเตียง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคั่งของระบบไหลเวียน และเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด
ปัญหาทางการพยาบาลที่พบบ่อย
ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด
ระบบทางเดินหายใจ
ภาวะขาดออกซิเจนเป็นปัญหาที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุที่อันตรายถึงชีวิต
เกิดจาก
การลดต่่าของออกซิเจนในปอดในผู้ป่วยที่ดมยาสลบด้วยไนตรัสออกไซด์
มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
การหายใจไม่เพียงพอ แม้ไม่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจ แต่ผู้ป่วยอาจเกิดอันตรายจากการหายใจน้อยกว่าปกติได้
ผู้ป่วยต้องการออกซิเจนมากขึ้น จากอาการหนาวสั่น เพราะในขณะที่ท่าผ่าตัดยาสลบที่ผู้ป่วยได้รับ ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
เป็นความดันโลหิต หลังผ่าตัดพบได้ทั้งความดันโลหิตต่่าและความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตต่่าที่เป็นผลจากยาดมสลบ
พบได้เนื่องจากยาดมสลบ กดการท่างานของระบบประสาทซิมพาเทติก เมื่อเปลี่ยนท่าต้องท่าช้าๆด้วยความนุ่มนวล
ความดันโลหิตสูง พบได้ในผู้สูงอายุที่มีโรคของหลอดเลือด
ภาวะหัวใจหยุดท่างาน ( Cardiac arrest) จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มีการหายใจไม่เพียงพอ และมีความดันโลหิตต่่ามากอยู่นาน
ต้องวัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที จนกว่าจะคงที่
ใน 1-2 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และ 30 นาที ต่ออีก 2 ชั่วโมง ต่อไปบันทึกทุก 4 ชั่วโมง
ระบบประสาท
มี Reflex ต่อสิ่งกระตุ้น เช่น การลืมตา ปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา การกลืน
การพยาบาล
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย โดยเรียกชื่อ สัมผัส เขย่าตัว การใช้เสียง การใช้ความเจ็บปวด จะต้องใช้ให้เหมาะสมกับระดับความรู้สึกตัว
ความสมดุลของสารน้่าและอิเลคโตรลัยด์
เกิดจากการตอบสนองตามปกติของร่างกายที่สูญเสียเลือดและสารน้่าออกจากร่างกาย
อาการบวมจากโซเดียมและน้ำคั่ง
การขับถ่ายปัสสาวะลดลง
การตอบสนองต่อความเครียดจากโรคที่เกิดขึ้น
ผลจากการท่าผ่าตัดและการได้สารน้ำชดเชยไม่เพียงพอ
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทดแทนคามแผนการรักษา และบันทึกจ่านวนสารน้ำเข้า –ออกจากร่างกายอย่างถูกต้อง รวมทั้งท่อระบายต่างๆด้วย
ระบบทางเดินอาหาร
อาการคลื่นไส้อาเจียน ผลมาจากยาดมสลบและผล
ของการผ่าตัด ทำให้อาเจียนและสำรอกออกมา
ส่วนใหญ่ปัญหานี้จะพบใน
ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ไม่ได้เตรียมผ่าตัด
จากความเจ็บปวด ความวิตกกังวลและหญิงตั้งครรภ์
การผ่าตัดช่องท้องที่มีอัมพาตของลำไส้
การพยาบาล
จัดท่านอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้สึกตัว เพื่อป้องกันการสำลักเอาสิ่งอาเจียนลงไปในระบบทางเดินหายใจและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดมักมีปัสสาวะออกน้อย หรือมีปัสสาวะคั่งค้างในระยะหลังผ่าตัด
การพยาบาล
ประเมินความต้องการการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ตรวจการโป่งตึงของกระเพาะปัสสาวะ
ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดการอักเสบติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเนื่องจากผิวหนังถูกท่าลาย
พยาบาลจะต้องประเมินการติดเชื้อของแผลผ่าตัดก่อนการผ่าตัดด้วย
ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย อายุ น้ำหนัก
ภาวะโภชนาการเจ็บป่วยที่ทำให้ติดเชื้อง่ายเช่นเบาหวานการใช้ยา steroid การอยู่โรงพยาบาลนาน ๆ และการติดเชื้อเฉพาะที่
ลักษณะผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บแผลเปิดการฉีกขาด
การพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
ดูแลทำความสะอาดแผลให้ถูกต้องแห้งสะอาดและให้ได้รับยาต้านจุลชีพตามแผนการรักษา
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดและการสอดใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก
การถูกทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย จะมีปฏิกิริยาตอบโต้เพื่อป้องกันอันตราย ทางจิตใจและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วย
ความปวดทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่พอซึ่งเกิดจากการไม่กล้าหายใจลึกๆ ไม่กล้าไอทำให้เกิดปอดแฟ้บ และปอดอักเสบ
ผู้ป่วยไม่ยอมเคลื่อนไหว การฟื้นฟูสภาพร่างกายเป็นไปได้ช้า และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
มีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมภายในห้องผ่าตัดมีอุณหภูมิต่ำกว่า 23องศาเซลเซียส หรือผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดใช้เวลานาน หรือมีการสวนล้างโดยใช้น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ
ส่งผลให้ผู้ป่วยฟื้นจากยาสลบช้าและท่าให้พร่องออกซิเจนมากกว่าปกติ
การพยาบาล
ประเมินภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ได้แก่ การมีอุณหภูมิกายต่ำกว่า 36 ◦c ตัวเย็น ขนลุก หนาวสั่น กล้ามเนื้อใบหน้า แขน ขา เกร็งกระตุก กัดฟัน
อบอุ่นร่างกายของผู้ป่วย เช่น ห่มผ้าห่ม และเปิดเผยร่างกายผู้ป่วยเท่าที่จำเป็น
การจัดการความปวด
(Pain management)
การจัดการความปวดด้วยยา
ยาที่ใช้ในการควบคุมความปวดมีหลายชนิด ได้แก่
ยาระงับปวดกลุ่มที่ไม่ใช่ยาเสพติด
ยากลุ่มที่ไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ (NSAIDS)
ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ลดปวด ลดไข้ (Acetaminophen)
ยาระงับปวดกลุ่มที่ออกฤทธิ์คล้ายยาเสพติด (Opioid analgesics)
ยาที่ใช้ในการรักษาความปวดปานกลางหรือรุนแรง (Weak to moderate opioid)
ยาที่ใช้ในการรักษาความเจ็บปวดรุนแรง (Strong opioid)
ยาเสริม (Adjuvant)
การจัดการกับความปวดโดยไม่ใช้ยา
นำเอากิจกรรมการบรรเทาปวดโดยไม่ใช้ยาเพื่อแทนยาแก้ปวดได้
เป็นการแพทย์ทางเลือกซึ่งเป็นวิธีที่สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้อีกทางและมีหลากหลายวิธีที่นำมาปฏิบัติและได้ผลดี
การสอนหรือการให้ข้อมูลการสอนหรือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในระยะก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับความปวดเป็นการ
การใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
การจัดท่าผู้ป่วยการจัดท่าที่ถูกต้องให้ผู้ป่วยในขณะมีกิจกรรมต่างๆจะช่วยลดการยืดขยายของกล้ามเนื้อที่มากเกินไปและขจัดแรงกด
การนวด เป็นการกระตุ้นใยประสาทขนาดใหญ่ทำให้มีการปิดกั้นหรือยับยั้งกระแสประสาทความปวด
การใช้ดนตรีเพื่อลดปวดภายหลังการผ่าตัด
ได้แก่