Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา โรค Cancer Lung ( โรคมะเร็งปอด ) - Coggle Diagram
กรณีศึกษา
โรค Cancer Lung ( โรคมะเร็งปอด )
การรักษา
การรักษามะเร็งโดยหลักๆ แล้วจะ เป็นการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ จุดเริ่มต้น และป้องกันไม่ให้เกิดแพร่กระจายไปยัง บริเวณอื่นๆ และ/หรือใช้รังสีรักษาเป็นการรักษา เสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค เฉพาะที่ เนื่องจากมะเร็งตอบสนองได้ดี ต่อยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา ซึ่งสามารถแบ่งการ รักษาตามระยะของโรคดังนี้
1) ระยะจำกัด (Limited-stage SCLC) การรักษาจะประกอบ
ไปด้วย การให้ยาเคมีบ่าบัด ร่วมกันหลาย กลุ่ม (Combination chemotherapy) ซึ่งมักจะใช้สูตร EP (etoposide/cisplatin) ร่วมกับการฉายรังสี บริเวณหน้าอก และการฉายรังสีที่สมองในผู้ป่วยที่ ตอบสนองดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็ง ไปยังสมอง
2) ระยะแพร่กระจาย (Extensive-stage SCLC) การรักษาจะประกอบไปด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกันหลายกลุ่ม (Combination chemotherapy) การฉายรังสีบริเวณสมอง กระดูกสันหลัง กระดูก หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่มะเร็งแพร่กระจายไป ซึ่งเป็นการรักษา ประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีประวัติการสูบบุหรี่จำนวนมากและติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี โดยผู้ป่วยสูบบุหรี่นาน 13 ปี วันละ 1.5 ซอง หรือ 30 มวน ต่อวัน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค
การสัมผัสสารก่อโรคจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อม การได้รับสารพิษและมลภาวะจากการ
เรดอน (Radon)
มลภาวะในอากาศ
ผงแอสเบสตอส (Asbestos)
รังสีรักษามะเร็ง (Radiotherapy)
ควันจากการประกอบอาหารหรือความร้อน (smoke form cooking and heating) ควันที่เกิดจากการเผาถ่านหรือไม้เพื่อ ประกอบอาหารหรือเพื่อให้เกิดความอบอุ่น เมื่อ ได้รับเป็นเวลานานสามารถท่าให้เกิดมะเร็งปอดได้ เช่นเดียวกันนอกจากนี้ยังมีการศึกษาใน ประเทศจีนพบว่าสัมผัสควันธูปเป็นเวลานานมี โอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดในอนาคตได้
ฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) มีรายงานว่าหากได้รับมากกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะเพิ่มความเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอด 1.3 เท่า
กัญชา (Marijuana)
ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
โรคปอดบางชนิด เช่น Idiopathic interstitial pulmonary fibrosis)
บุหรี่
พยาธิสภาพของโรค
พยาธิสภาพของโรค
โรคมะเร็งปอดแตกต่างกันตามชนิดของเซลล์มะเร็ง ซึ่งการแบ่งชนิดของโรคมะเร็งปอด
โดยทั่วไปมักใช้ WHO histological classificationออกเป็นชนิดย่อย ได้แก่ adenocarcinoma, squamous cell carcinoma,adenosquamous carcinoma, large cellcarcinoma, bronchoalveolar cell carcinoma small cell carcinoma, sarcomatoid carcinoma และ carcinoid tumor เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ตามลักษณะพยาธิวิทยาได้แก่
Non small cell lung cancer(NSCLC) ซึ่งพบประมาณร้อยละ 85 ของโรคมะเร็งปอดทั้งหมด โดยเจริญเติบโตช้ากว่าและแพร่กระจายช้ากว่า ที่พบบ่อยได้แก่
1.2 Adenocarcinoma เป็นมะเร็งปอดที่เซลล์มีการจัดเรียงตัวเป็น gland หรือมีการสร้างสาร mucin เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดในโรคมะเร็งปอด มีชนิดย่อยที่รู้จักกันดีคือ bronchoalveolar cell carcinoma สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่แต่น้อยกว่าชนิด squamous cell carcinoma นอกจากนี้ยังพบว่ามีความสัมพันธ์กับแผลเป็นที่เกิดขึ้นมาก่อนในปอด ตำแหน่งที่เกิดก้อนมะเร็งพบบ่อยที่สุดบริเวณชายปอด ภาพถ่ายรังสีทรวงอกมักพบก้อนบริเวณตรงชายปอดเป็นส่วนใหญ่
1.3 Large cell carcinoma เป็นเซลล์มะเร็งที่มีขนาดใหญ่และไม่มีพัฒนารูปร่างไปเหมือนกับเซลล์ชนิดอื่น การเกิดมะเร็งสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ตำแหน่งที่เกิดก้อนมะเร็งพบที่ส่วนกลางหรือบริเวณชายปอดและมักลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอด ผนังหน้าอกและรอบข้าง ตัวก้อนมะเร็งมีสีขาวปนชมพูและพบเนื้อเยื่อตายตรงส่วนกลางก้อนได้บ่อย
1.1 Squamous cell carcinoma เป็นมะเร็งเยื่อบุผิวของหลอดลมที่มี intercellular bridge และมีการสร้าง keratinมะเร็งชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่เป็นอย่างมาก ตำแหน่งที่เกิดก้อนมะเร็งพบบ่อยที่สุดบริเวณหลอดลมส่วนต้น ภาพถ่ายรังสีทรวงอก(CXR) มักพบก้อนบริเวณตรงกลางทรวงอกก้อนมะเร็งมีทั้งแบบที่ยื่นเป็นก้อนเข้าไปอุดตันท่อหลอดลม และแบบที่ลงลึกขยายเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบข้างเนื้อมะเร็งมักมีสีขาวและอาจปนด้วยสีดำของ carbon pigment
1.4 Adenosquamous carcinoma เป็นเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะก่ำกึ่งระหว่าง adenocarcinoma และ squamous cell carcinoma การย้อมพบการติดสีเข้าได้กับมะเร็งทั้งสองชนิด
Small cell lung cancer (SCLC)
ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 จะเจริญเติบโตเร็วและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเมื่อตรวจพบโรคมักลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ประกอบไปด้วยเซลล์ขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากเซลล์ Neuroendocrine cell ที่สามารถสร้างฮอร์โมนและสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด
พยาธิสภาพของกรณีศึกษา
จากกรณีศึกษาพบว่าผู้ป่วยสูบบุหรี่ประมาณ20มวนต่อวันและสูบมาเป็นระยะเวลานานกว่า13ปีจึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็งแบบ Non small cell lung cancer(NSCLC) จากการศึกษาพบว่า บุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า43ชนิด โดยขั้นตอนการทำให้เกิดก็คือขั้นกันทั่วไปประกอบไปด้วย 2 ระยะดังนี้
ระยะแรก เป็นระยะที่มีการทำลาย DNA ขึ้นโดย Carcingoens จะจับกับ DNA แบบพันธะโควาเลนท์(Covalent bonding) นอกจาก carcinogen แล้ว Metabolitesของ carcinogen เองก็ยังจับกับ DNA ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและทำลาย DNA เช่นกัน ในระยะนี้พบว่าเป็นระยะที่จะไม่เปลี่ยนแปลงกลับคืน
ระยะสืบเนื่องพบว่าหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงของDNA เกิดขึ้น ในระยะต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ขึ้น ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งในระยะเวลาต่อมา สารกระตุ้นการเกิดเนื้องอกที่สำคัญในบุหรี่ก็คือ Polyaromatic Hydrocarbon subfraction ซึ่งมี Tar เป็นส่วนประกอบโดย พบว่า Tarหรือ น้ำมันดิน จากการสูบบุหรี่จะจับตัวอยู่ที่ปอด ก่อให้เกิดสารที่ชื่อว่าคาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ การเกิดมะเร็งจะขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ของ Tar ที่ได้รับ
ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
อาการสำคัญ
Refer มาจากโรงพยาบาลเนินมะปรางด้วยอาการ ไอตลอด มีเสมหะปนเลือด เหนื่อยหอบ ก้อนที่คอโตขึ้นเรื่อยๆ เกินศักยภาพในการรักษา จึงส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลพุทธชินราช
ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการคอบวม หายใจลำบากเหนื่อยมากขึ้น ไอมีเสมหะ เบื่ออาหารน้ำหนักลด 19 กิโลกรัม ใน1 เดือน ไอมีเสมหะปนเลือดบางครั้ง มีก้อนที่คอ
1 เดือน ก่อนมาโรงพยาบาล ขณะรับประทานอาหารดื่มน้ำกลืนได้แต่ไม่สามารถกลืนของแข็งได้ กลืนข้าวแล้วข้าวติดคอ
2 อาทิตย์ ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการกลืนอาหารของแข็งไม่ได้กลืนน้ำลำบาก
1 อาทิตย์ ก่อนมาโรงพยาบาล มีเสียงแหบ ขณะหายใจมีเสียงครืดคราด รักษาโดยการHome oxygen
1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล Refer มาจากโรงพยาบาลเนินมะปรางด้วยอาการไอตลอด มีเสมหะปนเลือดบางครั้ง เหนื่อยเล็กน้อย ก้อนที่คอโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเกินศักยภาพในการรักษาและเพื่อวินิจฉัยรักษาENT ส่งตรวจCT Scan ตามนัด จึงส่งตัวมาโรงพยาบาลพุทธชินราช
การวินิจฉัยโรคครั้งสุดท้าย
Cancer Lung (โรคมะเร็งปอด)
ประวัติเจ็บป่วยในอดีต
ไม่มีโรคประจำตัว
การวินิจฉัยโรคเมื่อแรกรับ
Acute dyspnea cervical lymph node metastatic neck mass
(การหายใจลำบากเฉียบพลันจากการแพร่กระจายของต่อมน้ำเหลือง)
การผ่าตัด + วันที่ผ่าตัด
ไม่มีประวัติการผ่าตัด
ผู้ป่วย เพศ ชาย อายุ 50 ปี ศาสนาพุทธ อาชีพ รับจ้างทั่วไป